ฉนวนกันความร้อนเดิมแตกหลุดร่วง แก้ปัญหาด้วยวัสดุใหม่ ฉนวนยาง กันความร้อน - บ้านและสวน
Aero-roof

ฉนวนกันความร้อนเดิมแตกหลุดร่วง แก้ปัญหาด้วยวัสดุใหม่ ฉนวนยาง กันความร้อน

สภาพอากาศเมืองไทย ไม่ว่าจะฤดูไหนก็ร้อน ถ้าอยากให้บ้านเย็นสบายตลอดทั้งปี การเลือกวัสดุที่ช่วยลดความร้อนให้บ้านเป็นสิ่งสำคัญ ‘ฉนวนกันความร้อน’ ถือเป็นวัสดุหลักที่ขาดไม่ได้ ถ้าอยากให้อุณหภูมิภายในบ้านลดลง ไม่ว่าจะเป็นบ้านสร้างใหม่หรือบ้านปรับปรุงรีโนเวท

แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่เจอจากการติดฉนวน มักจะเป็นเรื่องอายุการใช้งานและวัสดุที่ไม่คงทน เมื่อติดไปสักพักฉนวนจะหลุด แตกเป็นขุย การเปลี่ยนหรือซ่อมแซมก็เป็นเรื่องยุ่งยากเพราะต้องถอดฝ้าออกจึงจะเปลี่ยนได้ วันนี้บ้านและสวนขอแนะนำฉนวนวัสดุใหม่ คือ ฉนวนยาง จาก AERO-ROOF เป็นนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาเดิมเรื่องแตก หลุดล่อนเป็นขุย หรือเป็นฝุ่น ฉนวนยาง AERO-ROOF ทนทานใช้งานได้ยาวนาน ไม่ลามไฟ เป็นวัสดุเดียวกับที่ใช้ในโรงงาน โรงพยาบาล และอาคารขนาดใหญ่ 

แต่ก่อนจะไปรู้จักฉนวนยางให้มากขึ้น มาดูคุณสมบัติของฉนวนที่มักใช้โดยทั่วไปกันก่อนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง นั่นคือ ฉนวนใยแก้ว จะมีเนื้อฉนวนเป็นเส้นใยที่นำมาบีบอัดเป็นแผ่น ส่วนเนื้อฉนวนยางจะมีลักษณะแน่นเป็นแผ่นยางชิ้นเดียวกัน เมื่อเทียบฉนวนทั้งสองประเภท จะเห็นภาพความต่างของเนื้อวัสดุชัดเจน ซึ่งส่งผลต่อการใช้งานในระยะยาว 

ฉนวนใยแก้ว 

ฉนวนใยแก้วใช้แก้วเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต โดยการนำแก้วเข้าเตาหลอมอุณหภูมิสูง จนหลอมละลาย และนำไปปั่นเป็นเส้นใยขนาดเล็กจนละเอียด ผสานเส้นใยให้ยึดติดกันด้วยกาวชนิดพิเศษ และอบขึ้นรูปเป็นแผ่นฉนวนใยแก้ว การใช้งานเป็นฉนวนกันความร้อนจะนำมาหุ้มด้วยแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์อีกชั้น เพื่อความคงทนแข็งแรง มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน ดูดซับเสียงรบกวน ใช้งานได้กับอาคารทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นบ้านไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม

สิ่งที่ต้องระวังสำหรับฉนวนประเภทนี้อีกเรื่องหนึ่งคือละอองฝุ่น ที่ฟุ้งในอากาศ ที่มีลักษณะแหลมคม จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อหุ้มปอด

ฉนวนโฟม PU และ PE

ฉนวนโพลียูรีเทน ฉนวนชนิดแข็ง ขึ้นรูปกับลอนหลังคาโดยการฉีดพ่นทำให้หลังคาเป็นปึกแผ่น แต่จุดที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษคือเวลาติดตั้ง เนื่องจากการพ่นฉนวนประเภทนี้ เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าฉนวนที่พ่นได้มาตรฐานตามที่กล่าวไว้หรือไม่ เช่น ตามสเปกเขียนไว้ว่ามีความหนาแน่น 35 Kg/cu.m. แต่เอาเข้าจริง ผู้รับงานกลับพ่นโพลียูรีเทนที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าที่กล่าวไว้ด้านใน แล้วพ่นตัวที่มีความหนาแน่นตรงตามสเปคเคลือบไว้ด้านนอก เพื่อลดต้นทุน ดังนั้น ต้องหาผู้ที่เชื่อใจได้จริงๆมาทำงานนี้ให้ มิเช่นนั้น อาจได้ฉนวนที่ไม่คุ้มราคามาติดแทนนอกจากนี้หากเกิดเพลิงไหม้ โพลียูรีเทนจะทำปฏิกริยาเกิดก๊าซพิษออกมา แต่ในการใช้งานทั่วไป ถือว่าเป็นฉนวนใต้หลังคาที่ดีตัวหนึ่งทีเดียว

ฉนวนโพลีเอทธิลีน ฉนวนชนิดนี้เป็นฉนวนโฟมที่รีดติดลอนหลังคา โดยใช้กาวเป็นตัวประสาน ข้อดีคือราคาถูกมากแต่ด้วยความเป็นฉนวนราคาถูก ผู้ติดตั้งจึงต้องประหยัดกาวที่ใช้รีดติดกับหลังคาเพื่อลดต้นทุน ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือเมื่อใช้ไปซักพัก ฉนวนจะค่อยๆหลุดลอกออกมาต้องเลือกยี่ห้อที่ไว้ใจได้ เพราะส่วนใหญ่เขาจะรีดมากับหลังคาตั้งแต่ในโรงงาน จึงไม่มีทางทราบได้เลยว่ากาวที่ใช้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอต่อการใช้งานระยะยาวหรือไม่ ส่วนเรื่องความปลอดภัยนั้น หากเป็นการใช้งานปกติ ถือว่าเป็นฉนวนปลอดภัย แต่จุดที่อันตรายคือในกรณีเกิดเพลิงไหม้ หากสารกันไฟที่ใส่ไว้มีไม่เพียงพอ โพลีเอทธิลีนจะหลอมละลายกลายเป็นหยดไฟ


ฉนวนยาง EPDM

ฉนวนยาง ทำจากยาง EPDM หรือ Ethylene Propylene Diene Monomer เป็นยางสังเคราะห์ชนิดพิเศษ มีความยืดหยุ่นสูง ปกติแล้วใช้งานหุ้มท่อนําความเย็นและท่อกันความร้อนในระบบปรับอากาศและสุขาภิบาล ในโครงการขนาดใหญ่ มีคุณสมบัติทนความร้อน และความชื้นได้ดี วัสดุยางเป็นโครงสร้างเซลล์ปิด เนื้อยางประกอบกันแน่น น้ำไม่ซึมผ่าน แผ่นยางยืดหยุ่นดัดโค้งงอได้ไม่แตกหัก ทนต่อรังสี UV และสภาวะอากาศเมืองไทยได้ทุกฤดู

ด้วยคุณสมบัติอันโดดเด่นของยาง EPDM ที่ยืดหยุ่นไม่แตกหักง่าย เนื้อยางมีความหนาแน่นสูง หากหลังคามีรูรั่วแล้วน้ำฝนเข้าบ้าน น้ำจะไม่ซึมเข้าแผ่นฉนวน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเชื้อรา อีกทั้งเวลาตัดแผ่นยางจะไม่สร้างเศษฝุ่นผงซึ่งอาจสูดดมเข้าไปได้ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้วัสดุยาง EPDM เป็นวัสดุประเภทหนึ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับใช้เป็นฉนวนกันความร้อนให้กับบ้าน ซึ่งปัจจุบันบริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัดเป็นผู้คิดค้น และเป็นเจ้าแรกที่ผลิตและจัดจำหน่ายฉนวนยาง ซึ่งปัจจุบันบริษัท แอร์โรเฟลกซ์ จำกัดเป็นผู้คิดค้น และเป็นเจ้าแรกที่ผลิตและจัดจำหน่ายฉนวนยาง Pioneer-EPDM

อีกหนึ่งคุณสมบัติของยาง คือ มีน้ำหนักเบา ทำให้ติดตั้งง่าย มาชมขั้นตอนการติดตั้งฉนวนยางใต้ฝ้ากันว่าสามารถทำได้สะดวกขนาดไหน และมาดูตัววัสดุใกล้ๆ กันว่าไม่ทิ้งฝุ่นผงไว้ภายในบ้านจริงๆ 

ขั้นตอนติดตั้ง

  1. วัดขนาดของฝ้าที่ต้องการปูฉนวน เพื่อเลือกใช้ฉนวนให้พอดีกับขนาดพื้นที่

2. นำม้วนฉนวนยางวางบนโครงฝ้าเพดาน เริ่มจากฝั่งติดผนังแล้วทยอยปูต่อมายังส่วนกลางห้อง 

3. เมื่อปูฉนวนแผ่นต่อมา ให้ใช้ Roof-Tape เทปอะลูมิเนียมฟอยล์ปิดทับรอยต่อ ช่วยป้องกันความ

ร้อนผ่านลงมาจากรอยต่อของฉนวน และป้องกันไม่ให้น้ำซึมลงมาด้านล่าง หากหลังคาเกิดรูรั่ว

4. ใช้คัตเตอร์ตัดเก็บขอบแผ่นฉนวนจุดที่ติดกับโครงลวดยึดฝ้า และบริเวณเสามุมห้อง

5. เมื่อปูฉนวนเต็มพื้นที่แล้ว หากพบรอยต่อที่ยังติดไม่สนิท ใช้ Roof-Tape ติดเก็บรายละเอียดอีกครั้ง สำหรับห้องตัวอย่างที่ติดตั้ง เป็นห้องนอนขนาดพื้นที่ 20 ตารางเมตร ใช้เวลาทั้งหมดเพียง 1 ชั่วโมง เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

จะเห็นว่าขั้นตอนติดตั้งแผ่นฉนวนยาง ทำได้ไม่ยากเลย แผ่นมีน้ำหนักเบา ซึ่งจะช่วยให้โครงสร้างคาน และฝ้าไม่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป แผ่นฉนวนแข็งแรงทนทาน ใช้งานได้ยาวนานกว่า 10 ปี ติดครั้งเดียวหายห่วงเรื่องซ่อมบำรุงไปอีกนาน อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลเรื่องเศษฝุ่นในบ้านจากรอยแตกของแผ่นฉนวน 

หากสนใจฉนวนยาง สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์https://aero-roof.com/  และ  https://www.facebook.com/AeroroofThailand

สามารถซื้อฉนวนยาง AERO-ROOF ได้ที่ 

  • Global House