รวม 20 บริษัทสถาปนิกโมเดิร์น
สถาปนิกแนวโมเดิร์น
HAA Studio
จากความต้องการสร้างบ้านที่มีความยูนีค สะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น นำมาสู่ แบบบ้านโมเดิร์น ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก ภูเขา แม้น้ำ และต้นไม้ องค์ประกอบทางธรรมชาติที่มาผสมผสานราวกับงานประติมากรรม >> ชมภาพบ้านหลังนี้เพิ่มเติม
Hypothesis Design
บ้านโมเดิร์นทรงกล่องโครงสร้างเหล็กริมสนามกอล์ฟ ออกแบบให้เด่นด้วยฟาซาดอะลูมิเนียมฉีก ช่วยเป็นเกราะป้องกันบ้านจากลูกกอล์ฟ และกรองแสงแดดในตัว แถมสามารถเลื่อนออกเพื่อเปิดรับวิวได้ ด้วยคุณสมบัติที่มีน้ำหนักเบา ผ่านการเคลือบผิวแบบอโนไดซ์ (Anodize) มาแล้ว จึงช่วยลดความคมได้ดี ที่สำคัญมีความโปร่งไม่ปิดทึบ เวลานั่งในบ้านจึงยังสามารถมองเห็นวิวสีเขียวของสนามกอล์ฟด้านนอกได้ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของบ้านนี้
Idin Architects
บ้านที่มีความท้าทายในด้านการออกแบบหลังนี้ มีทั้งผนังที่เป็นเสมือนบังเกอร์ยักษ์ สระว่ายน้ำยกลอย ช่องเปิดไร้เสาซ่อนคานขนาดใหญ่ไว้กับโครงสร้าง มีห้องลับใช้สะสมโมเดลและนั่งทำงาน โดยมีบางส่วนได้แรงบันดาลใจมาจากไอรอนแมน แต่ทั้งบ้านก็อยู่สบาย อากาศไหลผ่านได้ดี และดูอบอุ่น จุดเริ่มต้นมาจากบุคลิกเฉพาะตัวของเจ้าของบ้านที่ชอบความท้าทายทางวิศวกรรม >> ชมภาพบ้านหลังนี้เพิ่มเติม
IF Integrated Field
บ้านโมเดิร์นรูปทรงกล่องสีขาวที่เลือกใช้วัสดุ “สีขาว” ล้วนเพื่อสร้างบรรยากาศสุดโมเดิร์นที่เรียบนิ่ง สะอาดสะอ้าน อีกท้ังความเรียบนั้นยังช่วยขับเน้นให้รายละเอียดที่เรียงร้อยต่อกันอย่างเป็นระเบียบเด่นชัดขึ้น ทุกสเปซเกิดขึ้นจากผลลัพธ์การคํานวณที่ตั้งต้นมาจากยูนิต ขนาด 0.60 x 0.60 เมตร ซึ่งเป็นขนาดของยูนิตที่เราสามารถใช้วัสดุก่อสร้างขนาดมาตรฐานได้โดยไม่มีเศษเหลือ และด้วยขนาดท่ีลงตัวน้ีเองทําให้เส้นสายรอยต่อระหว่างวัสดุเชื่อมต่อกันอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นแพตเทิร์นเรียบเท่สอดแทรกอยู่เกือบทุกจุดในบ้าน >> ชมภาพบ้านหลังนี้เพิ่มเติม
Ilikedesignstudio
บ้านสีขาวประหยัดพลังงาน ดูเรียบง่ายแฝงช่องเปิดเล็กๆ ไว้และกลายเป็นฉากขาวๆ ให้กับต้นพยอมทรงสูงชะลูดที่มีพุ่มสีเขียวเป็นเรือนยอดยิ่งโดดเด่นสวยงาม ภายในเน้นคอร์ตที่เปิดโล่งโปร่งตาเพราะเหมือนคว้านตรงกลางของก้อนอาคารด้านในออกให้กลายเป็นบ้านรูปทรงตัวยู (U) ตกแต่งด้วยต้นเสม็ดแดงในรูปทรงเอียงตามธรรมชาติที่ดูราวกับต้นบอนไซขนาดใหญ่ ส่วนบนสุดของหลังคายังมีพื้นที่สำหรับโซล่าเซลล์ระบบ On-Grid เพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าในบ้านและออฟฟิศตลอดช่วงเวลากลางวันได้ โดยประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ถึง 30% >> ชมภาพบ้านหลังนี้เพิ่มเติม
Lamoonta Architects
บ้านโมเดิร์นแบบเปิดโล่ง ดีต่อสุขภาพ ไม่อึดอัด และไม่ต้องอยู่แต่ในห้องปรับอากาศตลอดทั้งวัน โดยยังคงความเป็นส่วนตัว สถาปนิกจึงผสมผสานทั้งหมดออกมาเป็นพื้นที่ซึ่งมีแสงธรรมชาติเข้าถึงง่าย ให้สามารถใช้ชีวิตสบายๆนอกบ้านได้แต่ยังรู้สึกเหมือนอยู่ในบ้าน กลายเป็นแนวคิดการทำลานกว้างเต็มพื้นที่ชั้นล่าง และจัดหมวดฟังก์ชันในบ้านเป็นก้อนๆ แต่ละก้อนถูกโปรยไปบนลานกว้างนี้แต่ไม่ต้องจับมาชนกัน ผลที่ได้คือช่องลมที่หมุนเวียนผ่านทุกส่วนได้หมด ไม่มีผนังที่บล็อกกันเอง จากนั้นแก้ปัญหาเรื่องแสงสว่างด้วยการทำผนังกระจกโดยรอบเพื่อให้ทุกมุมเห็นวิวเชื่อมต่อมาที่ลานกว้าง หรือคอร์ตกลางบ้านซึ่งมีทั้งที่นั่งเล่นและสระว่ายน้ำได้ >> ชมภาพบ้านหลังนี้เพิ่มเติม
Monotello
บ้านที่ทำกำแพงทึบหน้าบ้านเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว แต่ภายในกลับโปร่งสบาย ด้วยเทคนิคการเปิดช่องแสง เป็นบ้านชั้นเดียว เพื่อตอบสนองการใช้งานที่เข้าถึงง่ายและมีฟังก์ชันไม่มาก ด้วยการรวมพื้นที่การใช้งานเข้าด้วยกันแต่แบ่งโซนพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนกลางสำหรับนั่งเล่นไว้อย่างชัดเจน >> ชมภาพบ้านหลังนี้เพิ่มเติม
SO Architect
บ้านหลังคาขั้นบันได โครงสร้างคอนกรีตเปลือยเปล่า ที่ตั้งใจเผยความงามในความคลุมเครือ บนพื้นที่ส่วนตัว (กึ่งเป็นสาธารณะ) ความคลุมเครือที่ว่า เกิดจากความต้องการของเจ้าของบ้าน ซึ่งเดิมพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นทุ่งโล่ง ๆ ที่ชาวบ้านในละแวกนี้ใช้เป็นทางลัดในการสัญจรผ่านระหว่างซอย จึงตั้งใจสร้างสถาปัตยกรรมที่ชาวบ้านดูไม่รู้ว่าเป็นบ้าน เพราะยังปล่อยให้วัชพืชขึ้นตามธรรมชาติ และคงความตั้งใจที่จะเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านเข้า – ออกได้แบบสาธารณะดังเดิม
Vaslab
บ้านบนเนินเขาที่ออกแบบตัวอาคารให้มีการทับซ้อนและไขว้กัน ตามคอนเซ็ปต์การออกแบบซึ่งได้แรงบันดาลใจจากการทับซ้อนกัน (Overlapping) ของทิวเขา และออกแบบบ้านตามลักษณะเนินเขาบนพื้นที่กว่า 3 ไร่ในโครงการที่เขาใหญ่ การออกแบบระนาบของแปลนอาคารให้ทับซ้อน วางเหลื่อม และไขว้กัน ทำให้มีพื้นที่ทั้งจุดตัดและไม่ตัดกัน ส่วนหนึ่งเกิดเป็น Semi-outdoor space หรือพื้นที่เปิดโล่งที่อยู่ในร่มเงาจากชายคาหรือการบังเงาของตัวอาคารที่สัมพันธ์กับทิศทางแสงแดด >> ชมภาพบ้านหลังนี้เพิ่มเติม
WARchitect
บ้านทรงจั่ว โมเดิร์น สีขาวน่ารักดีไซน์มินิมัล 700 ตารางเมตร แต่ด้วยที่ดิน 106 ตารางวา จึงเป็นความ “แน่น” ในการออกแบบที่สถาปนิกต้องแก้ปัญหา เพราะต้องออกแบบให้เป็นบ้าน 2 หลังที่มีฟังก์ชันแยกกันแต่ดูเป็นหลังเดียวกัน เพื่อให้การอยู่อาศัยของครอบครัวใหญ่เป็นแบบใกล้ชิดอยู่ในขอบรั้วเดียวกัน >> ชมภาพบ้านหลังนี้เพิ่มเติม
เรียบเรียง : ภัทรสิริ โชติพงศ์สันติ์
ภาพ : ฝ่ายภาพบ้านและสวน, room