ไฮเดรนเยีย ดอกไม้ที่เปลี่ยนสีได้ตามความเป็นกรด-ด่างของดิน ความลับที่หลายคนยังไม่รู้ ไปทำความเข้าใจพร้อมๆกัน
ไฮเดรนเยีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Hydrangea macrophylla (Thunb.) Ser. & hybrid ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ hydor ที่แปลว่า น้ำ และคำว่า aggeion แปลว่า ภาชนะ รวมกันแล้วหมายถึง ภาชนะใส่น้ำ สื่อถึงผลที่มีลักษณะคล้ายแก้วน้ำ ทั้งยังเป็นไม้ดอกที่ต้องการน้ำในปริมาณมากอีกด้วย
ดอกสามารถเปลี่ยนสีได้ตามค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินปลูก หากดินมีคุณสมบัติเป็นกรดสูง ดอกจะมีสีน้ำเงิน ถ้าหากดินมีความเป็นกรดอ่อนๆหรือมีความเป็นด่าง ดอกจะเป็นสีชมพู หากปลูกดอกไฮเดรนเยียในดินที่มีความเป็นกลางจะได้ดอกที่มีสีครีมซีด การเปลี่ยนแปลงของสีดอกนี้เกิดจากสารสีหรือรงควัตถุ หรืที่เรียกกันว่า เป็นกลุ่มสารแอนโทไซยานินที่ทำให้ใบไม้มีสีแดงในฤดูใบไม้ร่วง และสีของผลเบอร์รี่นั่นเอง
อีกหนึ่งปัจจัยร่วมที่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนสีดอกนี้ คือ แร่ธาตุอะลูมิเนียมที่อยู่ในดิน โดยในช่วงที่ดินเป็นกรด การใส่อะลูมิเนียมซัลเฟตลงไปในดินจะทำให้อะลูมิเนียมแตกตัวเป็นอิสระเกิดอะลูมิเนียมไอออน ซึ่งมันสามารถดูดซึมเข้าไปในพืชและจับกับสารสี ทำให้ดอกกลายเป็นสีฟ้า ส่วนในสภาวะที่ดินเป็นเบสหรือการใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง จะทำให้อะลูมิเนียมตกตะกอนไม่สามารถแตกตัวเป็นอิสระได้ จึงไม่สามารถดูดซึมเข้าในพืช เป็นผลให้ดอกไฮเดรนเยียกลายเป็นสีชมพู
ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้สีดอกไม่เปลี่ยนแปลงตามค่า pH
อ้างอิง : ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
บทความที่เกี่ยวข้อง
Plant Library ไฮเดรนเยีย
ทุ่งดอกไม้เชียงใหม่ บนเส้นทางสายแม่ริม
สวนดอกไม้ในฝัน ณ เมืองโรแมนติก
ติดตามไอเดียบ้านและสวนเพิ่มเติมได้ทาง : บ้านและสวน Baanlaesuan.com