“sacit Craft Power” SACIT The Future of Crafts : Guru Panel 

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit จัดงานระดมความคิดขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาสินค้าศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย ให้เผยแพร่ไปในระดับสากล และเกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายแวดวงผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปหัตถกรรมไทย มาร่วมประชุมเสวนา “sacit Craft Power” SACIT The Future of Crafts : Guru Panel เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ โรงแรม อีสติน แกรนด์ กรุงเทพ

sacit  Craft Power

การประชุมเสวนาในครั้งนี้ sacit  เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปหัตถกรรมไทย 9 ท่าน มาแสดงความ คิดเห็น ใน 3 ด้าน คือ Unseen Craft, Thainess และ Craft Power ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณวิบูลย์ ลี้สุวรรณ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรมราชบัณฑิตยสภา / ครูมีชัย แต้สุจริยา ครูศิลป์ของแผ่นดิน ประเภทผลงานเครื่องทอ ปี 2559 (ผ้ากาบบัว) ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ทอผ้า) / ดร.สิริกร มณีรินทร์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถรรมไทย(องค์การมหาชน) และผู้อำนวยการสถาบันช่างศิลป์ ท้องถิ่น สำนักบริหารวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) / ม.ล.ภาวินี สันติศิริ กรรมการผู้จัดการบริษัท อโยธยาเทรด(93) จำกัด และ บริษัท สหัสชา (1993) จำกัด / รศ. ดร.สุภาวี ศิรินคราภรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร / อาจารย์ ดร.ไพโรจน์ พิทยเมธี อาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องการนำศิลปะไทยต่อยอดสู่ออกแบบร่วมสมัย และเรื่องสี “ไทยโทน” / นางสาวชลดา สิทธิวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มงานอำนวยการด้านนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) / นายอาสา ผิวขำ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม (CEA), นายพิติรัตน์ วงศ์สุทินวัฒนา หัวหน้างานยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน สำนักท่องเที่ยวโดย ชุมชน (อพท.)

sacit  Craft Power

ก่อนเริ่มประชุม นางสาวนฤดี  ภู่รัตนรักษ์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit ได้กล่าวถึงความสำคัญของ sacit Craft Power เพื่อระดมความคิดเพื่อจัดทำองค์ความรู้และกำหนดทิศทางงานศิลปหัตถกรรมในประเทศไทย รวมถึงนำข้อมูลไปเผยแพร่ในระดับนานาชาติให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงวัสดุ กระบวนการและวิธีคิดของทรัพยสินทางปัญญา ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมของประเทศไทยในระดับสากล

sacit  Craft Power
 นางสาวนฤดี  ภู่รัตนรักษ์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit

9 เครื่องควรค่าศิลปหัตถกรรมไทย

สำหรับศิลปหัตถกรรมไทยที่ sacit ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์และต้องการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก คือ งาน 9 เครื่อง โดยแบ่งจากวัสดุ ได้แก่ เครื่องทอ เครื่องโลหะ เครื่องดิน เครื่องหิน เครื่องไม้ เครื่องหนัง เครื่องกระดาษ เครื่องแก้ว และ เครื่องอื่นๆ ซึ่งการจะสืบสานงานศิลปหัตถกรรมให้ยั่งยืนได้นั้นต้องทำงานในหลากหลายมิติ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการทำงานร่วมกับพ่อครู แม่ครู ทายาทที่จะสืบสานงาน จนถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่จะช่วยการสืบสานศิลปหัตถกรรมไทยต่อไป

sacit Craft Power

sacit  Craft Power

Unseen Craf : ศิลปหัตถกรรมไม่สูญหาย  

ในประเด็น Unseen Craft สรุปความได้ว่า จริงๆ แล้วงานศิลปหัตถกรรมทุกประเภทมีเสน่ห์และมีคุณค่าในตนเอง วิถีของงานศิลปหัตถกรรมเกิดขึ้นจากประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยมีเรื่องของภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ชีวิตประจำวันของผู้คน ประเพณี ความเชื่อ และอาจมีการผสมผสานกับงานศิลปหัตถกรรมที่มาจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน จนถึงตะวันออกไกล  ทำให้งานศิลปหัตถกรรมไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ผ้าสมปักปูน  และผ้าเยียรบับ กระทั่งการผลิตชิ้นงานที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่เรียกว่าผลิตภัณฑ์สินค้าภูมิศาสตร์ หรือ GI (Geographical Indication) เช่น ผ้ากาบบัว ของจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีผสมผสานเทคนิควิธีการทอถึง 4 วิธีและนำลักษณะเฉพาะของอัตลักษณ์ผ้าประเภทต่างๆ มาไว้ด้วยกัน 

ในการเป็นนักสะสม หรือ ผู้อนุรักษณ์งานศิลปหัตถกรรมไทย หากเราศึกษาสะสมอย่างผู้มีความรู้ ความเข้าใจ จะทำให้งานศิลปหัตถกรรมแต่ละชิ้นมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่กำลังผลิตผลงาน การสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมต้องใช้เวลาในการทำงาน และต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ เพราะบางครั้งผลงานอาจไม่ได้เป็นที่ยอมรับในทันทีทันใด แต่อาจได้รับการยอมรับในภายภาคหน้าก็ได้ 

sacit  Craft Power
sacit  Craft Power

sacit Craft Power

Thainess : กระแสไทยในสากล

อะไรคือ สิ่งที่เรียกว่า Thainess และกระแสความเป็นไทยขายได้หรือไม่ในตลาดต่างประเทศ เป็นประเด็นที่กูรูได้ช่วยกันสะท้อนมุมมองออกมาได้ว่า 

Thainess เป็นสิ่งที่ขายได้ในตลาดต่างประเทศ แต่หากต้องการให้เกิดการยอมรับในระดับที่เป็นอุตสหกรรมวงกว้าง (Mass Industry) ต้องปรับรูปลักษณ์ ความเป็นไทย ให้มีความเป็นสากล ดังเช่นที่ ม.ล.ภาวินี กล่าวว่า “เราต้องพูดภาษาเดียวกับเขา” เพราะสินค้าศิลปหัตถกรรมยังถูกตีความว่าเป็นสินค้าเพื่อการสะสม หากต้องการให้สินค้าศิลปหัตถกรรมแพร่หลายขึ้น ควรปรับรูปแบบบางอย่างให้เข้าถึงจับต้องง่ายขึ้น แต่ยังคงคุณค่าในวิธีผลิตชิ้นงาน เช่น การนำผ้าทอ หรือลวดลายผ้าทอ ทำเป็นปลอกหมอนสามเหลี่ยม ที่รองนั่ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความเข้าใจตลาดและความต้องการของผู้บริโภคประกอบด้วย 

ขณะที่การสืบสานศิลปหัตถกรรมไทย ควรเริ่มตั้งแต่การปลูกฝังวิธีคิดของผู้คน เช่น ความหมายที่แท้จริงของเครื่องประดับ ไม่ใช่แค่สวมใส่ แต่ยังเป็นมรดกตกทอดให้ทายาท คุณค่าที่แท้จริงของเครื่องประดับเป็นสิ่งที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เครื่องประดับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมูลค่า 

อย่างไรก็ตาม Thainess มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคือรากแก้วของงานศิลปหัตถกรรมไทย การจะสร้างความภาคภูมิใจใน ความเป็นไทย ต้องมองให้เห็นถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” หรือ ราคา ที่สำคัญ ความเป็นไทย ยังทำให้เราโดดเด่นแตกต่างจากชาติอื่น และสามารถยืนอย่างสง่างามบนเวทีโลกได้ ยกตัวอย่างเช่น แฟชั่นชุดฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ผสมผสานทั้งความเป็นไทย และความสากล สะท้อนอัตลักษณ์ไทยทว่าสวยร่วมสมัยและสวมใส่ได้จริง

sacit  Craft Power
sacit  Craft Power
sacit  Craft Power

sacit Craft Power

sacit  Craft Power

Craft Power : ศิลปหัตถกรรมมมั่นคงยั่งยืน

ประเด็นสุดท้ายของการเสวนา คือ Craft Power ซึ่งมองย้อนกลับเข้ามาถึงการส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมภายในประเทศ โดยอาจเป็นไปได้ทั้งจากการสนับสนุนการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรม-ชุมชน การสนับสนุนให้เกิดการใช้สินค้าศิลปหัตถกรรมไทยอย่างแพร่หลาย จนถึงการสนับสนุนครูศิลป์ของแผ่นดิน  ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม

การจะทำให้ ศิลปหัตถกรรมไทย ยั่งยืนได้นั้น ต้องเกิดจากการร่วมมือจากหลายหน่วยงานทำงานร่วมกัน และ งานศิลปหัตถกรรม ก็คือ ทุนทางวัฒนธรรม (Culture Assets) ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจ หากมีการสนับสนุนส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็จะเป็นการสืบสานให้ งานศิลปหัตถกรรมไทย สืบต่อไปได้ เช่น การท่องเที่ยวชุมชนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีผ้าทอแม่แจ่มอันเป็นเอกลักษณ์ การท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดสุโขทัย การนำเที่ยวชุมชนโดยปราชญ์ท้องถิ่น ซึ่งไม่เพียงนำรายได้เข้าชุมชน แต่ยังเป็นการสืบสานผลงานและนำความภาคภูมิใจมาให้คนในชุมชน แม้แต่ไอศกรีมลายกระเบื้องวัดอรุณทีี่ดังในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่จะปังในคนไทยด้วยอย่างไร

การใช้การสื่อสาร ศาสตร์แห่งการเล่าเรื่องและเรื่องเล่า น่าจะเป็นคำตอบที่ช่วยให้การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลผลิตของ ศิลปหัตถกรรมไทย ไปในวงกว้างได้ยิ่งขึ้น และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง การสร้างผลงานในวันนี้ อาจไม่ใช่เพียงเพื่อขายสินค้า แต่เป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการเกิด Creative Value ของงานศิลปหัตถกรรมไทย สืบต่อไป 

sacit  Craft Power
sacit  Craft Power
sacit  Craft Power
sacit  Craft Power

sacit  Craft Power

ก้าวต่อไปของ ศิลปหัตถกรรมไทย : สรุปสิ่งที่ได้จาก sacit The Future of Crafts : Guru Panel

ช่วงสุดท้ายของการเสวนา นางสาวนฤดี  ภู่รัตนรักษ์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit กล่าวสรุปเนื้อหาจากการประชุมเสวนา “sacit Craft Power” SACIT The Future of Crafts : Guru Panel มีทั้งหมด 8 ประเด็น คือ 

  • การจัดการองค์ความรู้และการจัดการการผลิต  คือ การจัดการองค์วามรู้จากผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม รวมทั้งภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้ การเผยแพร่เพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์ความรู้นั้นๆ นอกจากนี้ควรมีการจัดการการผลิต เพื่อให้การดำเนินธุรกิจนั้นใช้ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  • การเลือกใช้ให้เข้าใจง่าย คือการเลือกใช้องค์ความรู้ที่มีให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ในรูปลักษณ์ที่ลูกค้าเข้าใจง่าย
  • การสร้างคุณค่าให้สามารถส่งต่อเป็นมูลค่าได้ เช่น การมอบเครื่องประดับให้ในช่วงเวลาที่เด็กเกิด เผื่อวันหน้าครอบครัวขัดสนก็สามารถนำเครื่องประดับไปขายเพื่อเป็นทุนทรัพย์
  • การส่งต่อสิ่งของที่มีคุณค่าทางใจ เป็นการสร้างสินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้ในอนาคต
  • การ Collaboration การร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิต เพื่อแบ่งปันวัสดุรวมถึงกระบวนการก็อาจก่อให้เกิดสินค้าใหม่ๆ หรือการร่วมมือกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ผลิต เพื่อให้เกิดสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาดให้มากขึ้น
  • การสร้างสังคมผู้รักงานศิลปหัตถกรรม (ไทยนิยม -Thainess) sacit ได้มีการประชุมสมาชิกเครือสมาชิก สศท. ใน 4 ภูมิภาค ซึ่งทุกคนจะได้มาแบ่งปันสินค้าที่ผลิตเพื่อแสดงศักยภาพของตนเอง เป็นการสร้างเรือข่ายคนรักงานศิลปหัตถกรรม นอกจากนี้ ในชุมชนแต่ละชุมชนเองยังสามารถร่วมมือกันแล้วสร้างให้เกิดสังคมคนรักงานศิลปหัตถกรรม ได้ด้วยเช่นกัน
  • การสร้างประสบการณ์ เช่น การจัด Workshop ถ่ายทอดกระบวนการผลิต งานศิลปหัตถกรรม รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว จะช่วยสร้างความเข้าใจ ความรักในงานศิปหัตถกรรมและส่งต่อเรื่องราวออกไปภายนอก
  • การสร้างแฟชั่น การสนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้ผลิตสามารถลุกขึ้นมาเป็นแฟชั่นนิสต้า เป็นตัวแทนของสินค้าที่ตนเองผลิต จะช่วยให้งานศิลปหัตถกรรมได้รับการยอมรับ และเกิดการตระหนักว่าสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายและทุกคนเข้าถึงได้ 
sacit  Craft Power

สำหรับผู้ที่สนใจเนื้อหาแนวโน้มงานหัตถกรรมฉบับสมบูรณ์ ติดต่อขอรับหนังสือได้ที่ sacict Craft Trend Book 2025 ได้ที่ สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และศักยภาพ โทร. 0-3536-7054-9 ต่อ 1385 หรืออ่านในรูปแบบ E-book ได้ที่ https://www.sacit.or.th/th/detail/2024-06-20-16-40-45


จาก Soft Power สู่ Craft Power ติดอาวุธให้หัตถศิลป์ไทย ก้าวไกลสู่สากล กับ 𝐬𝐚𝐜𝐢𝐭 สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)

ติดตาม บ้านและสวน