เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์

เกี๊ยวหนองบัว ร้านบะหมี่เกี๊ยวสูตรเบตงชื่อดังแห่งจังหวัดตราด ที่ดำเนินกิจการมายาวนานกว่า 50 ปี ตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ เมื่อเปลี่ยนผ่านมาสู่รุ่นลูก เกี๊ยวหนองบัวได้รับการรีโนเวตและรีแบรนด์ใหม่ จากสาขาแรกในตึกแถว 3 คูหา กลางเมืองตราด ผ่านมาราว 3 ปี วันนี้เกี๊ยวหนองบัวได้ขยายสาขา 2 มายังย่านวังหลัง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ขอนำความเป็นตราดมาให้คนกรุงเทพฯ สัมผัสและลิ้มลอง

DESIGNER DIRECTORY
ออกแบบ: ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ

เกี๊ยวหนองบัว สาขาวังหลัง ตั้งอยู่ในตรอกวัดระฆัง หน้าร้านเป็นลานโล่งเชื่อมติดกับถนน เมื่อมองเข้ามาจะเจอกับตัวอาคารที่หยิบเอกลักษณ์บ้านเก่าสมัยรัชกาลที่ 4-5 ในจังหวัดตราด มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ กลายเป็นรูปทรงอาคารพื้นถิ่นประยุกต์ ผสมผสานกับความร่วมสมัย เน้นสะท้อนตัวตนและทำให้ร้านเกิดภาพจำด้วยการดึงคาแร็กเตอร์คุณพ่อเจ้าของร้าน ซึ่งมีบุคลิกสมถะและจริงใจมาเล่าผ่านการเลือกใช้วัสดุ ที่มีกลิ่นอายความเรียบง่ายและทันสมัยอยู่ในที

เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์
เกี๊ยวหนองบัว ขยายสาขา 2 จากตราดมายังย่านวังหลัง กับทำเลที่ตั้งใหม่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์
หยิบเอกลักษณ์บ้านเก่าสมัยรัชกาลที่ 4-5 ในจังหวัดตราด มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ กลายเป็นรูปทรงอาคารพื้นถิ่นประยุกต์ ผสมผสานกับความร่วมสมัย
เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์
ทำเลของร้านสาขา 2 ตั้งอยู่ในตรอกวัดระฆัง มีพื้นที่หน้าร้านเป็นลานโล่งเชื่อมติดกับถนน

ตัวอาคารออกแบบหลังคาให้มีความสโลบ เมื่อมองจากด้านนอกจะเหมือนว่าที่นี่เป็นอาคารชั้นเดียว แต่แท้จริงแล้วภายในแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ชั้น พร้อมชั้นดาดฟ้าให้ขึ้นไปชมวิว ชั้น 1 จะพบกับโซนขายของฝาก รวบรวมของฝากขึ้นชื่อของจังหวัดตราดมาให้ชอปปิ้ง จากโซนนี้สามารถมองเห็นครัวเปิด ซึ่งเป็นอีกสีสันหนึ่งของร้าน บ่งบอกความตั้งใจในการรังสรรค์ทุกเมนู โดยครัวเปิดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของครัวขนาดใหญ่ที่ออกแบบให้ยาวขนานไปตามแนวผนังฝั่งซ้าย และต่อเนื่องไปจนถึงถนนหน้าร้าน แล้วออกแบบแมสอาคารให้ปิดครัวส่วนหน้านี้ ไม่ให้รู้สึกว่าเห็นครัวจากหน้าถนน

เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์
ทำให้ร้านเกิดภาพจำ ด้วยการดึงคาแร็กเตอร์คุณพ่อเจ้าของร้าน ซึ่งมีบุคลิกสมถะ จริงใจ มาเล่าผ่านการเลือกใช้วัสดุที่ให้มีกลิ่นอายความเรียบง่ายและทันสมัย
เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์
ชั้น 1 จะพบกับโซนขายของฝาก รวบรวมของฝากขึ้นชื่อของจังหวัดตราดมาให้ชอปปิ้ง
เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์
สามารถมองเห็นครัวเปิด ซึ่งเป็นอีกสีสันหนึ่งของร้าน บ่งบอกความตั้งใจในการรังสรรค์ทุกเมนู
เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์
ตัวบันไดทำหน้าที่ช่วยแยกสัดส่วนสำหรับลูกค้าที่มาคาเฟ่ให้ขึ้นไปยังคาเฟ่ชั้นบนได้เลย โดยไม่ต้องผ่านโซนที่นั่งรับประทานอาหารข้างล่าง
เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์
เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์
จัดวางชุดเก้าอี้ไม้สไตล์วินเทจ ซึ่งเป็นชุดเฟอร์นิเจอร์ของร้านบะหมี่ดั้งเดิมที่นำมาทำสีใหม่

ถัดจากโซนขายของฝากจะค่อย ๆ เผยให้เห็นวิวแม่น้ำ ซึ่งอยู่ในโซนร้านอาหารที่สามารถนั่งรับประทานอาหารและชมวิวแม่น้ำได้เต็มอิ่ม มีที่นั่งให้เลือกทั้งอินดอร์และเอ๊าต์ดอร์ พื้นที่อินดอร์ตกแต่งด้วยภาพถ่ายเก่าของคุณพ่อ และภาพถ่ายที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของเกี๊ยวหนองบัว จัดวางชุดเก้าอี้ไม้สไตล์วินเทจ ซึ่งเป็นชุดเฟอร์นิเจอร์ของร้านบะหมี่ดั้งเดิมที่นำมาทำสีใหม่ โต๊ะและเก้าอี้ทั้งหมดเป็นแบบลอยตัว สามารถต่อโต๊ะรองรับแขกที่มาเป็นกลุ่มได้สะดวก ส่วนโซนที่นั่งเอ๊าต์ดอร์มีโต๊ะและเก้าอี้หัวกลมตามแบบร้านก๋วยเตี๋ยวที่หลายคนคุ้นเคย เหมาะมานั่งรับลมชมวิวในช่วงเย็นถึงค่ำ

เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์
เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์
เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์

ชั้น 2 ออกแบบเป็นคาเฟ่ ที่ขึ้นบันไดจากด้านขวาของร้าน ตัวบันไดทำหน้าที่ช่วยแยกสัดส่วนสำหรับลูกค้าที่มาคาเฟ่ให้ขึ้นไปยังคาเฟ่ชั้นบนได้เลย โดยไม่ต้องผ่านโซนที่นั่งรับประทานอาหารข้างล่าง การออกแบบคาเฟ่มีความพิเศษที่การสร้างพื้นที่นั่งแบบเล่นระดับให้อยู่ภายในพื้นที่ที่สูงถึง 4 เมตร ทำที่นั่งแบบเล่นระดับนี้ สามารถรองรับลูกค้าได้เพียงพอ และลูกค้าสามารถชมวิวแม่น้ำมุมสูงได้เต็มอิ่ม ไม่บดบังกัน มีระเบียงยื่นออกไปให้ออกไปนั่งแบบโอเพ่นแอร์ได้เหมือนชั้นล่าง การตกแต่งใช้วัสดุไม้จริงและไม้เทียมผสมกัน อย่างพื้นของคาเฟ่ใช้ไม้เทียมเพราะต้องใช้งานหนัก ส่วนประตูและหน้าต่างใช้ไม้จริง เพราะเป็นจุดที่สัมผัสได้ใกล้ ๆ บรรยากาศโดยรวมสร้างความรู้สึกที่สบาย อบอุ่น เหมือนอยู่บ้าน

คาเฟ่มีความพิเศษที่การสร้างพื้นที่นั่งแบบเล่นระดับ ทำที่นั่งแบบเล่นระดับนี้ รองรับลูกค้าได้เพียงพอ และลูกค้าสามารถชมวิวแม่น้ำมุมสูงได้เต็มอิ่ม ไม่บดบังกัน
การสื่อสารแบรนด์ทำให้คนไม่ลืมร้านเก่าและตัวตนของแบรนด์ เช่น วัสดุ และโทนสี อันสะท้อนคาแร็กเตอร์เรียบง่ายและสมถะของคุณพ่อ

สำหรับเมนูที่จัดเสิร์ฟมีการนำวัตถุดิบ หรือผลไม้ตามฤดูกาลของตราดเข้ามาผสมในเมนูชวนลิ้มลอง เช่นเดียวกับการนำอัตลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นตราดมาใช้ตกแต่งร้าน เช่น โคมไฟทำจากงอบบ้านน้ำเชี่ยว เพื่อแสดงออกและเน้นความเป็นตราดให้คนกรุงเทพฯ ได้เข้าใจว่า ร้านนี้มาจากจังหวัดตราด ซึ่งเป็นสิ่งที่ทีมออกแบบและเจ้าของร้านพยายามสร้างให้เกิดความแตกต่าง เป็นร้านบะหมี่ที่ไม่เหมือนร้านบะหมี่ทั่วไปที่คนกรุงเทพฯ เคยกิน

จากความสำเร็จในการรีโนเวตร้านเกี๊ยวหนองบัว สาขาจังหวัดตราด ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ เคยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากงาน ASA ARCHITECTURAL DESIGN AWARDS 2022 และสำหรับการออกแบบเกี๊ยวหนองบัว สาขาวังหลัง ทีมออกแบบต้องศึกษาและหาแนวทางการออกแบบให้เข้ากับบริบทที่ตั้งใหม่ ขณะเดียวกันกลิ่นอายร้านเกี๊ยวหนองบัวที่ลูกค้าคุ้นเคยในสาขาแรกก็ยังต้องมีปรากฏให้เห็น เพื่อช่วยในการสื่อสารแบรนด์ทำให้คนไม่ลืมร้านเก่าและตัวตนของแบรนด์ เช่น วัสดุ และโทนสี อันสะท้อนคาแร็กเตอร์เรียบง่ายและสมถะของคุณพ่อ พร้อมกันนั้นยังต้องมองหาภาษางานออกแบบใหม่ ๆ ช่วยสร้างคุณค่าและความกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งกับชุมชน โดยไม่ทิ้งตัวตนของแบรนด์และกลุ่มลูกค้า เพื่อให้ที่นี่เป็นร้านบะหมี่ของทุกคน อันเป็นจิตวิญญาณสำคัญของงานออกแบบในครั้งนี้

ที่ตั้ง
เกี๊ยวหนองบัว สาขาวังหลัง
264 ตรอกวัดระฆัง ถนนอรุณอัมรินทร์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
พิกัด https://maps.app.goo.gl/DBFaKiKqFEykj9a68
เปิดทุกวัน 9.00-21.00 น.
โทร.06-1580-9888

เจ้าของ: คุณเพียงหทัย พรรณมณีลักษณ์ และคุณชัชวาล ทองมโนกูร
ออกแบบ-ตกแต่ง: ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ
ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม: 8.18Studio
ออกแบบแสงสว่าง: LIGHT IS 
กราฟิกดีไซน์: อาจารย์โอภาส ลิมปิอังคนันต์
วิศวกร: สงวน เรืองโรจน์ธรรม และทีมงาน
ก่อสร้าง: บริษัท จันทบุรี รับสร้างบ้าน ธณภัทร เล็กชะอุ่ม
ก่อสร้าง for 1stFLR. และออกแบบเฟอร์นิเจอร์: Joung Jsk

ภาพ: อรรคพล ธนารักษ์
เรื่อง: Phattaraphon


KIEW NONG BUA ร้านบะหมี่เก่าแก่ในจังหวัดตราด กับการรีแบรนด์ใหม่ที่ดึงดูดลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่