เชิญร่วมงาน SACIT Craft Power 2025 : Symposium วิเคราะห์เทรนด์ปี 68 หนุนงานศิลปหัตถกรรมไทยสู่ตลาดโลก

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ขอเชิญร่วมงาน SACIT Craft Power 2025 : Symposium วันอังคารที่ 3 กันยายน 2567   เวลา 13.00 – 17.00 น. ณ C asean Ratchada ห้อง AUDITORIUM & Multifunction Hall ชั้น 10   ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับงานศิลปหัตกรรมไทย  สู่เวทีสากล   พร้อมอัพเดท Craft Trend และองค์ความรู้ใหม่ๆ ในรูปแบบงานเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญในประเทศ   และต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก และสร้างความโดดเด่นในตลาดสากล

ภายในงาน SACIT Craft Power 2025 :  Symposium เป็นการเสวนาที่นำเสนอแนวทางการทำงานที่สอดคล้องกับงานศิลปหัตถกรรม โดย Speaker ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ เป็นชาวไทย และชาวต่างชาติ  ภายใต้แนวคิด “วิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มศิลปหัตถกรรมปี 2568” เพื่อถ่ายทอด แลกเปลี่ยนแนวคิด และมุมมองเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมในตลาดโลก เพื่อจะได้เห็นโอกาสในการใช้ประโยชน์จากแนวโน้มงานศิลปหัตถกรรมในอนาคต ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ สศท. จัดทำขึ้นสำหรับใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการผลิต และกลยุทธ์ทางการตลาดทั้งใน และต่างประเทศ

Speaker โดย

  • คุณศรัณญ  อยู่คงดี ผู้ก่อตั้ง  ‘SARRAN’ แบรนด์เครื่องประดับที่นำเสน่ห์หญิงไทยโบราณได้อย่างเฉียบคม
  • Mr. Jean Charales Chappuis ที่ปรึกษาประธานกรรมการบริษัท Currey&Company

ผู้นำเข้างานศิลปะ และของแต่งบ้านจากเอเซียสู่ตลาดยุโรป

เสวนาในหัวข้อ  “ศิลปหัตถกรรมไทย สู่สากล”  จากรากเหง้าสู่สากล พัฒนางานศิลปหัตถกรรมสู่เวทีระดับโลก

  • คุณนักรบ  มูลมานัส  ศิลปิน นักสร้างสรรค์
  • Mr. Haoyang Sun ฑูตศิลปะและการออกแบบระดับนานาชาติ, ภัณฑารักษ์โครงการเครื่องประดับระดับนานาชาติ

เสวนาในหัวข้อ  “ถอดรหัสศิลปหัตถกรรม สู่งานศิลปะร่วมสมัย”

การค้นหาอัตลักษณ์แห่งชนชาติ ต่อยอดสู่ศิลปหัตถกรรมร่วมสมัย

  • รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์ทางด้านนวัตกรรมอาคาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • Mr. Martin Venzky-Stalling ที่ปรึกษาอาวุโส อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 เสวนาในหัวข้อ “โลกตื่นตัวเรื่อง Sustainability ไทยตื่นตัวเรื่อง Soft Power”

การขับเคลื่อนศิลปหัตถกรรมด้วยพลังแห่งความยั่งยืน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 099-622-2499