20 บ้านฟาซาดสวย ที่สร้างเอกลักษณ์ให้บ้านโดดเด่น ไม่เหมือนใคร
แบบบ้านใต้ถุนสูงในแบบฉบับกลิ่นอายไทยร่วมสมัย
- เจ้าของ : คุณสุวรัตน์ ศรีสกุล
- ออกแบบ : บริษัทโพล่าร์ อาคิเต็ค จำกัด โดยคุณปรเมศวร์ พลรัฐธนาสิทธิ์
บ้านใต้ถุนสูงที่ออกแบบให้มีความเชื่อมโยงกับสวน เพื่อแสดงตัวตนของผู้เป็นเจ้าของ ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุที่ดูกลมกลืนไปกับสวนอย่างอิฐมอญหรืออิฐแดง ซึ่งยังมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี รวมถึงฟาซาดไม้ระแนงซึ่งเป็นวัสดุที่ให้ความเป็นธรรมชาติที่สุด โดยมีโครงสร้างเหล็กรูปพรรณเชื่อมโยงทุกองค์ประกอบเข้าด้วยกัน >> อ่านต่อ
บ้านโครงเหล็กทรงกล่องกับฟังก์ชันเปิดโล่ง
- เจ้าของ : คุณพงษ์ศักดิ์ ก่อเกียรติสันติ และคุณนฤมล ตันติการุณย์
- สถาปนิก : บริษัทออฟฟิศ เอที จำกัด โดยคุณสุรชัย เอกภพโยธิน และคุณจุฑาทิพย์ เตชะจำเริญ
บ้านโครงสร้างเหล็กทรงกล่อง ที่ให้ลุค เบา ลอย โปร่ง โล่ง แถมยังทำให้บ้านสร้างเสร็จในระยะเวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น สถาปนิกวางแบบให้ตัวบ้านชิดกับแนวที่ดินทางทิศใต้ เพราะต้องการให้มีที่ว่างสำหรับสระว่ายน้ำซึ่งขนานไปกับตัวบ้านทางทิศเหนือ แล้วเน้นการเปิดโล่งของประตูหน้าต่างกระจกใสทางทิศเหนือนี้ เหลือแนวผนังทางฝั่งทิศตะวันตกกับตะวันออกให้น้อย เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการปะทะกับแสงแดดและความร้อนไปในตัว เพิ่มช่องรับลมเข้าและออกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้กับตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเจ้าของบ้านเปิดไว้อยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดลมพัดผ่านเข้าบ้านสร้างความเย็นสบาย นอกจากนี้ยังมีฟาซาดระแนงไม้โปร่งรีไซเคิลซึ่งตั้งใจทำให้เป็นผนังแบบ Double Layer Skin มาช่วยกรองความเป็นส่วนตัวและให้มิติของแสงเงาที่สวยงาม >> อ่านต่อ
บ้านเล็กแต่อยู่เย็นสบาย กันร้อนด้วยบล็อกช่องลม
- เจ้าของ : คุณอธิคม พรสัมฤทธิ์ – คุณปณิชา ปาลวัฒน์
- ออกแบบ : Eco Architect Co.,Ltd. โดยคุณคำรน สุทธิ
บ้านขนาดเล็กพื้นที่ 180 ตารางเมตร แต่อยู่สบายด้วยหลักการออกแบบให้มีสภาวะน่าสบาย ที่เน้นการป้องกันความร้อน การระบายอากาศตามธรรมชาติ แถมยังมีเทคนิคการออกแบบบ้านพื้นที่เล็กไม่ให้อึดอัด ซึ่งความสบายไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ใหญ่โต แต่กลับซ่อนอยู่หลังฟาซาดบล็อกช่องลมสีเทาเข้มแบบกึ่งทึบกึ่งโปร่งของบ้าน >> อ่านต่อ
บ้านเล็กที่มีโถงบันไดกลางบ้าน เป็นพื้นที่สีเขียว
- เจ้าของ: คุณภัทรชัย ทีฆบรรณ
- สถาปนิก: Bangkok Day Group โดยคุณกศิจสิณต์ สุวัฒนพิมพ์, คุณรัฐวุฒิ ยอดแก้ว และคุณกฤติน สุวรรณ์
บ้านหลังนี้มาพร้อมกับโจทย์เรื่องพื้นที่ที่มีลักษณะแคบยาว สถาปนิกจึงแก้ปัญหาด้วยการสร้างวิวสวนกลางบ้าน ให้เป็นช่องเปิดแบบ 3 in 1 ใช้นำแสงมาสู่ตัวบ้าน เป็นโถงบันได และคอร์ตยาร์ดที่มีต้นไม้ใหญ่ เชื่อมทุกพื้นที่เข้ามาไว้ด้วยกันอย่างมีความสุข ด้านเหนือซึ่งติดกับบ้านอีกหลังในบริเวณแนวกันใช้อิฐช่องลมก่อเป็นกำแพง พร้อมออกแบบพิเศษเมื่อเสริมแผ่นกั้นภายในทุกช่องเพื่อบังแสงและบังตาเพิ่มขึ้น ทั้งหมดเป็นบรรยากาศแบบ Outside In, Inside Out ที่ดึงธรรมชาติเข้าสู่ภายใน ส่วนแสงในทิศด้านหน้าบ้านถูกกั้นด้วยฟาซาดแผงตะแกรงเหล็กสีขาวตลอดแนว เนื่องจากอยู่ในทิศที่ค่อนข้างเฉียงไปทางตะวันตก >> อ่านต่อ
บ้านเหล็กเล่นระดับ ที่แอบซ่อนความเป็นส่วนตัว
- สถาปนิก : Junsekino A+D
บ้านเหล็กเล่นระดับ บังสายตาด้วยฟาซาด ทรงอาคารเรียบขรึม และการเว้นระยะจากถนนด้วยซุ้มประตูทางเข้าสีดำ เพิ่มความสงบในการพักผ่อนอย่างเต็มรูปแบบ >> อ่านต่อ
ดูแลกันใน บ้านครอบครัว 3 เจเนอเรชั่น
- เจ้าของ: คุณณัทพงศ์ วิญญรัตน์ และครอบครัว
- สถาปนิก: Architect9kampanad โดยคุณเฉลิมพล สมบัติยานุชิต และคุณณัทพงศ์ วิญญรัตน์
จากพื้นที่บ้านเดิมของสองครอบครัวพี่น้องที่มีบ้านหันหลังชนกัน กลายมาเป็นการเชื่อมที่ดินแคบยาวเพื่อสร้าง บ้านครอบครัว 3 เจเนอเรชั่น ที่ต่างก็ช่วยดูแลซึ่งและกัน พร้อมพื้นที่ส่วนกลางและสวนภายในบ้านที่ใช้งานได้จริง เติมลูกเล่นด้วยฟาซาดอิฐช่องลมวงกลม ช่วยทั้งสร้างความเป็นส่วนตัว และยังเปิดให้ระบายอากาศได้พอสมควร >> อ่านต่อ
ยึดหยุ่นใน บ้านปูนโปร่งโล่ง กับชานเรือนใต้หลังคา
- เจ้าของ: คุณอนงค์นุช และคุณปกรณ์ ตันมณีวัฒนา
- สถาปนิก: Research Studio Panin โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ต้นข้าว ปาณินท์ และคุณธนาคาร โมกขะสมิต
- ออกแบบสวน: Kaizentopia
บ้านปูนโปร่งโล่งหลังนี้ไม่ต้องการเปิดแอร์ อยากอยู่กับแสงและลมธรรมชาติ พื้นที่ภายใต้หลังคาเดียวกัน จึงมีทั้งตัวบ้านเรียบง่าย และชานบ้านต่อกับโถงบันไดซึ่งไม่ได้อยู่ภายนอกบ้านเหมือนบ้านไทยดั้งเดิมทั่วๆ ไป ในส่วนของฟาซาดก็เลือกให้มีความแตกต่างตามการใช้งาน โดยในด้านที่เป็นโถงบันไดเลือกเป็นอิฐช่องลมที่มีความหนาหน่อยเพื่อลดให้ฝนสาดน้อยลง ส่วนด้านหน้าใช้เป็นเหล็กเจาะรูแทน >> อ่านต่อ
เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบัน ผ่านความงามของบ้านอิฐหลังนี้
- เจ้าของ : Mr. Kenneth Koh
- ออกแบบ : DRTAN LM ARCHITECT by Dr.Tan Loke Mun
บ้านอิฐหลังนี้คือตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมที่เล่นกับเรื่องราวของอดีตและปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะในแง่ขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม การออกแบบความเชื่อมโยงของพื้นที่ภายในบ้าน หรือการสอดประสานเรื่องราวผ่านการตกแต่ง โดยจุดเด่นของบ้านหลังนี้คือฟาซาดผนังกระเบื้องดินเผาที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอก ซึ่งแท้จริงแล้วคือหลังคาของบ้านเดิมนั่นเอง >> อ่านต่อ
บ้านอิฐสีขาว ในบรรยากาศที่ปลอดโปร่งและเงียบสงบ
- เจ้าของ : Mrs.Liew Jun Keong
- ออกแบบ : Studio Bikin by Ms.Farah Azizan
บ้านอิฐสีขาวที่มีความประณีตในการเลือกใช้วัสดุ อย่างแรกคือไม้ไผ่ ซึ่งปกตินิยมนำไปทำเป็นท่อ แต่สถาปนิกนำมาตกแต่งเป็นฟาสาดของบ้าน และอย่างที่สองก็คืออิฐสีขาวซึ่งมีที่มาไม่ธรรมดา เพราะเป็นอิฐเก่าที่ได้มาจากการรื้ออาคารที่พักแบบโคโลเนียลที่สร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ในสายตาคนอื่นจะเห็นว่ามีร่องรอยหรือขนาดไม่เท่ากัน แต่ถ้าลองมองดูใกล้ๆ นี่ก็คือของเก่าที่ทรงคุณค่า เป็นไอคอนิกของยุคนั้น >> อ่านต่อ
บ้านอิฐขนาดกะทัดรัด ที่เด่นด้วย ช่องแสง ช่องลม และช่องหายใจ
- สถาปนิก: Tropical Space by Tran Thi Ngu Ngon and Nguyen Hai Long
- ภาพ : Oki Hiroyuki
บ้านอิฐขนาดกะทัดรัด ที่โดดเด่นด้วยผนังที่สร้างขึ้นจากอิฐทับซ้อนกันจนเกิดเป็นช่องในแพตเทิร์นอิสระ เพื่อให้แสงและลมธรรมชาติผ่านได้ นำมาสู่สภาวะน่าสบายให้แก่บ้านในเขตร้อนชื้น >> อ่านต่อ
เรียบเรียง : Tarnda
ภาพ : คลังภาพบ้านและสวน, room Books