ทดลองประยุกต์วัสดุพื้นถิ่น ประโยชน์ใช้สอยใหม่ในวิถีคราฟต์แมนชิพ - บ้านและสวน

Craft วัสดุพื้นถิ่น ความสวยงามจากการทดลอง

วัสดุพื้นถิ่น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าสนใจและหลากหลายกว่าที่คิด โดยอาศัยความรู้ความเข้าใจทางภูมิปัญญามาปรับใช้เข้ากับเทคนิควิธีการใหม่

เมื่อพูดถึง เสน่ห์ของวัสดุพื้นถิ่น เราหมายถึงวัสดุที่หาได้เฉพาะในแต่ละพื้นที่ ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของช่างท้องถิ่นและเทคนิคการก่อสร้างที่เป็นเอกลักษณ์ จนก่อให้เกิดรูปแบบบ้านพื้นถิ่นที่แตกต่างจากบ้านโมเดิร์นทั่วไปแต่สำหรับนักออกแบบ ความท้าทายและความสนุกอยู่ที่การคิดค้นแนวทางใหม่ ๆ เพื่อให้วัสดุพื้นถิ่นตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น

1. บันไดจากเสาไม้เก่า


นำมาบากโดยใช้มุย(ขวาน) เเละมีด ก้อนหินที่นำมารองรับชิ้นไม้บันไดพบเจอจากบริเวณลำเหมืองในบริเวณใกล้อุทยานแห่งชาติออบขาน โดยนำมายึดกับเหล็กเพื่อรับน้ำหนักของบันได
ออกแบบ : ยางนา สตูดิโอ
ภาพ : Rungkit Charoenwat
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.baanlaesuan.com/…/vernacular-wood-house-2/

2. หลังคาซุ้มประตูทางเข้าบ้าน จากแพตเทิร์นไม้เก่า

default

สถาปนิกนำ “แผ่นหลังคาไม้เก่า” ในท้องถิ่นมาทดลองเรียงต่อกันจนได้แพตเทิร์นที่สวยงาม แลดูไม่เป็นระบบระเบียบมากจนเกินไป เพื่อคงความงามอันไม่จำเพาะเจาะจงแบบธรรมชาติ
ออกแบบ : Housescape Design Lab
ภาพ : Rungkit Charoenwat
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.baanlaesuan.com/312414/houses/black-modern-vernacular-house/

3. ต่อยอดเทคนิคการมุงหลังคาหญ้าคา

ด้วยการมุงหญ้าให้หนาขึ้นถึง 15 เซนติเมตร เพื่อให้ทนทานต่อสภาพอากาศและช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยการคิดค้นเทคนิคใหม่ๆ ในการยึดติดวัสดุหญ้าคากับโครงสร้างของหลังคา จากเดิมที่ใช้ปลอกไม้ไผ่มัดหญ้าคาไปกับโครงสร้าง แต่สถาปนิกประยุกต์ด้วยการใช้ Cable Tie Plastic หรือสายพลาสติกสำหรับรัดสายไฟมาผูกติดหญ้าคากับโครงสร้างหลังคาแทนการใช้ปลอกไม้ไผ่ และใช้แผ่นพลาสติกซ้อนเข้าไประหว่างหญ้าคาแต่ละชั้น เพื่อป้องกันน้ำฝนและเพิ่มความทนทานมากขึ้น
ออกแบบ : คุณแจ่มจรัส สุชีวะ
ภาพ : คุณจรณินท์ พวงใจแก้ว
อ่านเพิ่มเติมได้ที่>>https://www.baanlaesuan.com/…/houses/japanesemixthaihouse/

4. หลังคาจากกระเบื้องพื้นถิ่น

หลังคารูปทรงจั่วมีชายคายื่นยาวลงมาตามลักษณะบ้านไทย ใช้วัสดุมุงหลังคากระเบื้องกว่าสองหมื่นชิ้นร้อยเรียงเป็นแพตเทิร์นที่สวยงามด้วยฝีมือของช่างในท้องถิ่นชาวลำพูน และทาสีดำเพื่อให้สอดคล้องไปกับสีเข้มของผนังคอนกรีตและไม้
ออกแบบ :Housescape Design Lab
ภาพ : Rungkit Charoenwat
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.baanlaesuan.com/312414/houses/black-modern-vernacular-house/

5. เคาน์เตอร์ครัวจากไม้สัก

การออกแบบอ่างล้างผักหรืออ่างล้างจานซึ่งต่อเนื่องไปกับพื้นที่สวนเกษตรด้านล่าง โดยการเลือกใช้ไม้สักมากรุเป็นตัวอ่าง พร้อมทำรางระบายน้ำจากลำไม้ไผ่ พาดจากห้องครัวลาดไปยังพื้นที่ต้นกล้วยด้านล่างไว้สำหรับรดน้ำต้นไม้ได้อีกด้วย
ข้อดีของอ่างไม้สักคือ สามารถใช้งานได้ดี ค่อนข้างแห้งเร็วเเละเราไม่ต้องบำรุงรักษาเยอะ
ออกแบบ : ยางนา สตูดิโอ
ภาพ : Rungkit Charoenwat
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>https://www.baanlaesuan.com/…/vernacular-wood-house/

6.ผนังจากต้นมะพร้าว

ผนังคอนกรีตที่ใช้ต้นมะพร้าวเป็นแบบหล่อ จนได้พื้นผิวที่เป็นเอกลักษณ์ บอกเล่าความเป็นมาของสวนมะพร้าวแห่งนี้
ออกแบบ : Volume Matrix Studio
ภาพ : สิทธิศักดิ์ น้ำคำ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.baanlaesuan.com/292694/houses/baan-hinghoi/

7. เคาน์เตอร์จากระเบื้องดินเผา

ตกแต่งด้านหน้าเคาน์เตอร์คาเฟ่ทรงโค้งด้วยงานกระเบื้องดินเผาเพื่อสื่อถึงงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเชื้อสายมอญอันเก่าแก่ของเกาะเกร็ด
ออกแบบ : Studio Miti
ภาพ : สิทธิศักดิ์ น้ำคำ, กรานต์ชนก บุญบำรุง
ผู้ช่วยช่างภาพ : กสิณ สนลา
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>https://www.baanlaesuan.com/…/houses/home-elevated-kokret/

8. ประยุกต์ผนังไม้พื้นถิ่นเป็นระแนงกั้นแลงในตัว

เพราะเป็นส่วนระแนงที่ต่อเนื่องกับทางเดินไปสู่ห้องนอนจึงมีการออกแบบเสริมแผ่นอะคริลิกเพื่อกันแมลงเข้าโครงคร่าวผนังไม้ โดยมีแผ่นตรงกลางที่เจาะรูเล็กๆ ไว้ให้ลมสามารถผ่านได้
ออกแบบ : Studio Miti
ภาพ : สิทธิศักดิ์ น้ำคำ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>https://www.baanlaesuan.com/291542/houses/thai-wood-house/

9. ประตูและกลอนประตูไม้ไผ่

โดยเจาะไม้ไผ่เป็นช่องและทำตัวคั่นแบบที่เราเคยเห็นกันในชนบท แทรกลูกเล่นเป็นหัวแมวน่ารัก
ออกแบบ : Mutchima Studio
ภาพ : ฤทธิรงค์ จันทองสุข, อภินัยน์ ทรรศโนภาส
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.baanlaesuan.com/…/bamboo-house-cat-garden/