6 วิธีเลือก เหล็กเส้น คุณภาพ - บ้านและสวน

6 วิธีเลือก เหล็กเส้น คุณภาพ รหัสเหล็กข้ออ้อยบอกอะไร เช็กสเป็กป้องกันบ้านพัง

เหล็กเส้น เป็นวัสดุหลักที่รองรับน้ำหนักและความมั่นคงของอาคาร บ้าน และสิ่งปลูกสร้างทุกชนิด การเลือกเหล็กที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการเข้าใจรหัสต่าง ๆ ที่ปั๊มอยู่บนเหล็ก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของบ้าน ผู้รับเหมา และผู้ควบคุมงานควรรู้

เหล็กเส้น

6 วิธีสังเกต เหล็กเส้น คุณภาพ

1.มีรหัสและข้อมูลปั๊มชัดเจนบนเหล็กทุกเส้น

2.ขนาดและน้ำหนักต้องตรงตามมาตรฐาน มอก.

3.ผิวเหล็กกลมต้องเรียบ ไม่เบี้ยว หรือมีรอยแตกร้าว

4.เหล็กข้ออ้อยต้องมีบั้งสม่ำเสมอ ระยะห่างเท่ากันตลอดเส้น

5.เมื่อดัดงอ ต้องไม่หักหรือปริแตกง่าย

6.ไม่เป็นสนิมขุม หากมีเพียงสนิมผิวสามารถขัดล้างได้ก่อนใช้งาน

วิธีอ่านรหัสเหล็กข้ออ้อยข้อมูลที่ต้องมีบนเหล็กข้ออ้อยทุกเส้น

ตามมาตรฐานเหล็กข้ออ้อยที่ดี ต้องปั๊มรหัสที่ระบุข้อมูลต่อไปนี้อย่างครบถ้วน

✅ชื่อผู้ผลิตหรือโรงงานที่ทำ (ต้องได้รับอนุญาต)

ชื่อขนาด (เช่น 16, 20, 25, 32 มม.)

✅ชั้นคุณภาพของเหล็ก (SD30, SD40, SD50)

✅สัญลักษณ์ “T” (ถ้ามี) เหล็กที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (Heat Treatment) เพื่อเพิ่มความแข็งแรง

✅สัญลักษณ์วิธีการผลิตเหล็ก (Process Code) เช่นOH = กรรมวิธีแบบโอเพนฮาร์ทBO = กรรมวิธีแบบบอสไซเมอร์EF = เตาอิเล็กทริกเฟอร์เนซIF = เตาอินดักชั่นเฟอร์เนซ

📌 หากผู้ผลิตมีหลายโรงงาน ต้องระบุรหัสโรงงานเพิ่มเติมด้วย

รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ วุฒิวิศวกรโยธา / รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อธิบายเกี่ยวกับเหล็กเสริมในงานก่อสร้างตึกสูงที่ประชาชนควรรู้

1. เหล็กเสริมที่ใช้ในประเทศไทยต้องผ่านการรับรองตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เท่านั้น ซึ่งระบุชัดเจนถึงคุณสมบัติเชิงกลของเหล็ก เช่น กำลังรับแรงดึง ความสามารถในการยืดตัว และการดัดงอ

2. ตัวเลขกำกับบนเหล็กแสดงถึง “ชั้นคุณภาพ” หรือ Grade เช่น SD30, SD40 ซึ่งแต่ละเกรดมีค่ากำลังรับแรงดึงต่างกัน โดยวิศวกรจะเลือกตามความเหมาะสมของโครงสร้าง

3. การตรวจสอบคุณภาพเหล็กมีได้หลายระดับ การตรวจสอบภายนอกอาจสังเกตสภาพผิวหรือตัวเลขกำกับเบื้องต้น ส่วนการตรวจสอบคุณสมบัตืต้องใช้การทดสอบในห้องปฏิบัติการ และถ้าผ่านตามมาตรฐาน มอก.ทุกขั้นตอนก็ควรมีกำลังและความเหนียวเพียงพอ เว้นแต่เป็นเหล็กที่ไม่ได้ผลิตตามมาตรฐานหรือไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างถูกต้อง

4. มีโอกาสเกิด “การสอดไส้” หรือใช้เหล็กไม่ได้มาตรฐานหรือไม่? รศ.ดร.สุทัศน์ ย้ำว่า ต้องดูเป็นรายกรณี เพราะในทางปฏิบัติยังมีช่องว่างที่อาจเกิดขึ้นได้หากมีการตรวจสอบที่เข้มงวดจากวิศวกรหรือผู้ควบคุมงาน

⚠️ การใช้เหล็ก T กับข้อต่อทางกล (Mechanical Coupler)เหล็กข้ออ้อยชนิด T มีผิวแข็งจากกระบวนการ Temp-coreหากต้องใช้ข้อต่อทางกล ต้อง กลึงผิวเหล็กเพื่อทำเกลียว ซึ่งอาจทำให้สูญเสียชั้นผิวแข็งไป ส่งผลต่อกำลังของเหล็กได้

ข้อควรระวัง:-ต้อง คำนวณระยะเกลียวที่สั้นที่สุด อย่างระมัดระวัง-ต้อง ทดสอบกำลังของจุดต่อ ให้เป็นไปตามมาตรฐานของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.)

เหล็กไมโครอัลลอย (Microalloyed Steel) คือเหล็กที่เติมธาตุอัลลอยในปริมาณน้อย เช่น ไนโอเบียม (Nb), วานาเดียม (V) หรือไทเทเนียม (Ti) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงโดยไม่ต้องอบชุบความร้อน

คุณสมบัติเด่น

• แข็งแรงและเหนียว

• ทนต่อแรงล้าและแรงกระแทกได้ดี

• โครงสร้างเกรนละเอียด

• เหมาะกับงานที่ต้องรับแรงซ้ำ เช่น สะพานหรืออาคารต้านแผ่นดินไหว

ประโยชน์ของการรู้เรื่องรหัสและการเลือกเหล็ก

✅ ลดความเสี่ยงจากการใช้เหล็กไม่ได้มาตรฐาน

✅ ตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิตได้

✅ ช่วยควบคุมงานก่อสร้างให้มั่นใจยิ่งขึ้น

✅ สร้างโครงสร้างที่แข็งแรง ปลอดภัย และอยู่ได้ยาวนาน

ภาพจาก : วันวาน ยังหวานอยู่

เรียบเรียง Pakaho


ราคาวัสดุก่อสร้าง 2565

เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส วัสดุทดแทนเหล็กเส้น

ติดตาม www.facebook.com/baanlaesuanmag

Related posts:

  1. 5 วิธี รักษาเนื้อเหล็ก ให้ทนทานแข็งแรง ลดการเกิดสนิม
  2. เทคนิคทำผิวสนิมให้สวยทน โชว์เสน่ห์อินดัสเทรียลลอฟต์