แบบบ้านเล็ก ปูนเปลือย อยู่เท่หลังนี้ มีความเรียบง่ายแบบบ้านเซน และดูแปลกตาด้วยการใช้วัสดุปูนเปลือยขัดมันทั้งหลัง แตกต่างจากบ้านหลังอื่นที่อยู่โดยรอบ ส่วนภายในเน้นความโปร่งโล่ง เป็นส่วนตัว และเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบตัวได้ดี
เจ้าของ-สถาปนิก : คุณสาริน นิลสนธิ สถาปนิกจาก Deekwa Design Studio
คุณสาริน นิลสนธิ เจ้าของ แบบบ้านเล็ก ปูนเปลือย เล่าถึงแนวคิดในการออกแบบว่า มาจากการที่อยากมีบ้านที่ใส่เสื้อผ้าสบายๆ เดินอยู่ในบ้านได้โดยไม่ต้องกลัวผู้อื่นมองเห็น เป็นโลกส่วนตัวที่ใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 100 ตารางเมตร โดยรอบบ้านตั้งใจออกแบบเป็นรั้วทึบปิดบังมุมมองจากภายนอกเกือบทั้งหมด เปิดช่องเฉพาะประตูทางเข้าหลักกว้างประมาณ 3 เมตร และมีรั้วโปร่งบริเวณด้านหลังเพียงฝั่งเดียวเท่านั้น ส่วนพื้นที่ด้านซ้ายของบ้านเป็นที่ดินว่างเปล่า มีต้นหญ้า เตี้ยๆ ขึ้นปกคลุมเต็มทั้งหมด สีเขียวของต้นหญ้า ตัดกับสีเทาของผนังรั้วปูนเปลือย
“ได้แรงบันดาลใจและต่อยอดแนวคิดการ ออกแบบมาจากบ้านของเพื่อนผมอีกหลังหนึ่ง ซึ่งสร้างก่อนไม่นาน ที่ประทับใจคือ เขาจะวางผัง เน้นความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย ออกแบบขนาด ของช่องเปิด ที่ว่าง และฟังก์ชันการใช้สอยต่างๆ ตามการใช้งานจริง”
บ้านหลังนี้ออกแบบเป็นสองชั้น มีพื้นที่ ใช้สอยประมาณ 100 ตารางเมตร รอบบ้านตั้งใจทำรั้วทึบเป็นพื้นผิวปูนเปลือยอารมณ์ดิบเท่เกือบทั้งหมด เพื่อปิดบังมุมมองจากภายนอก เปิดเป็นรั้วโปร่งขนาดเล็กเฉพาะบริเวณด้านหลังเพียงฝั่งเดียว ด้านหน้าบ้านทำช่องเปิดเป็นประตูทางเข้าหลักขนาดกว้างประมาณ 3 เมตร เมื่อเดินผ่านส่วนจอดรถเข้ามาด้านในจึงพบโถงโล่งซึ่งจัดเป็นส่วนรับแขกที่มีความสูงประมาณ 6 เมตร ฝ้าด้านบนทำผิวปูนเปลือย ใต้ท้องพื้นแผ่นหลังคาซึ่งมีความลาดชันไปตาม รูปทรงหลังคาแบบเพิงหมาแหงน (Lean-to) มอง ไปทางหน้าบ้านผ่านบานหน้าต่างขนาดใหญ่จะพบ สวนกรวดสไตล์เซนซึ่งปลูกต้นไม้เพียงไม่กี่ต้น เทคนิคการสร้างพื้นที่คอร์ตแบบนี้ช่วยให้ภายในบ้าน ดูเชื่อมโยงกับธรรมชาติโดยรอบ แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวด้วย
พื้นที่อเนกประสงค์ที่ปรับเป็นส่วนรับแขก ส่วนนั่งเล่น หรือส่วนรับประทานอาหารก็ได้ มีบันไดเล็กๆต่อเนื่องไปยังส่วนทำงานบนชั้นลอย และไม่กรุฝ้า โชว์หลังคาลาดเอียง เพราะแผ่นพื้นหลังคาเป็นคอนกรีต สถาปนิกจึงไม่กรุฝ้า โชว์ความลาดเอียงของหลังคา พื้นที่ภายในจึงดูสูงโปร่งมากขึ้น
พื้นที่ใต้บันไดปรับเป็นตู้ใส่เสื้อผ้าได้อย่างแนบเนียน
ในส่วนของการแบ่งพื้นที่ใช้สอยก็เน้นความ เรียบง่าย มีส่วนรับแขกอยู่ตรงกลางเชื่อมระหว่าง ครัวและห้องน้ำฝั่งหนึ่งกับห้องนอนใหญ่อีกฝั่งหนึ่ง ชั้นบนเป็นส่วนทำงานและห้องนอนแขก
บ้านหลังนี้ไม่ได้มีดีแค่การวางผังและจัดวาง ฟังก์ชันเท่านั้น รายละเอียดการก่อสร้างรวมไปถึง การตกแต่งก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เจ้าของบ้านซึ่งเป็นสถาปนิกด้วยให้ความสำคัญกับขั้นตอนการเทคอนกรีต โดยใช้ไม้เก่าที่ได้จากการรื้อถอนอาคารมาทำเป็นไม้แบบ และยังนำมาใช้ทำผนังและกรอบ ประตูส่วนเก็บของต่อ เมื่อถอดไม้แบบแล้วก็นำไม้แบบชนิดที่เป็นไม้อัดยางพารามาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ได้เกือบทั้งหมด เป็นการใช้วัสดุที่มีอย่างคุ้มค่า
คุณเอกยังเล่าทิ้งท้ายด้วยว่า “มีความสุขและสบายใจทุกครั้งเมื่อได้กลับมาบ้าน ที่นี่เป็นเสมือนกรอบที่เราสร้างขึ้น ผมเชื่อว่าพื้นที่สำหรับความเป็นอิสระและความสบายใจในการใช้ชีวิตควรเป็นนิยามและคำจำกัดความของพื้นที่ ที่เรียกว่า ‘บ้าน’”
ห้องนอนของบ้านที่มองเห็นสวนกรวดสไตล์เซนได้ ส่วนพื้นที่ใต้หลังคาอย่าให้เสียใช้พื้นที่เหนือหน้าต่างให้คุ้มค่า เพิ่มบานเลื่อนปรับให้เป็นส่วนเก็บของได้
สวนกรวดอันเรียบง่าย สไตล์เซนที่มองเห็นได้จากส่วนรับแขกของบ้าน
ส่วนทำงานบนชั้นลอยที่นำไม้แบบอัดยางพารางใช้ทำดต๊ะและชั้นวางของ เข้ากันได้พอดีกับผนังก่ออิฐโชว์แนวสไตล์ลอฟต์
ครัวและห้องน้ำที่ออกแบบให้ติดอยู่กับส่วนเก็บของและส่วนเล็กๆ อีกฝั่งหนึ่งของบ้าน
สีเทาจากผิวปูนเปลือยของบ้านตัดกับสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้ารอบบ้านได้อย่างน่าสนใจ ปลูกโพแดงเพิ่มสีสันให้สวนกรวดสไตล์เซนที่เรียบง่าย ดูมีสีสันและจุดเด่นขึ้น
แผนผังแสดงพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน
1. ที่จอดรถ
2. ส่วนรับแขก พื้นที่รับประทานอาหาร
3. ห้องนอน
4. ครัว
5. ห้องน้ำ
6. ส่วนอาบน้ำกลางแจ้ง
7. สวนกรวดสไตล์เซน
8. ส่วนทำงาน
9. ห้องรับแขก
1. ที่จอดรถ
2. ส่วนรับแขก พื้นที่รับประทานอาหาร
3. ห้องนอน
4. ครัว
5. ห้องน้ำ
6. ส่วนอาบน้ำกลางแจ้ง
7. สวนกรวดสไตล์เซน
8. ส่วนทำงาน
9. ห้องรับแขก
เรื่อง : ศุภชาติ บุญแต่ง
ภาพ: สิทธิศักดิ์ น้ำคำ
ภาพประกอบ : www.ufogel.at, www.ccca.co.nz, คลังภาพบ้านและสวน