เก่ากว่าไดโนเสาร์ ก็ ” พรรณไม้ดึกดำบรรพ์ ” นี่แหละ

พรรณไม้ดึกดำบรรพ์

พรรณไม้เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกตั้งแต่เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน แถมยังมีมาก่อนการเกิดของไดโนเสาร์เสียอีก

พรรณไม้ที่เกิดขึ้นในดินแดงต่างๆนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปตามกาลเวลา ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ แน่นอนว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจะต้องมีพรรณไม้ที่สูญพันธุ์ไปบ้างแล้ว รวมถึงพรรณไม้ที่เกิดใหม่บนโลกใบนี้ แต่จะมีใครรู้หรือไม่ว่า  “ พรรณไม้ดึกดำบรรพ์ ” ที่อยู่คู่กับโลกเรามานานนมในปัจจุบันก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ แถมยังพบได้ทั่วไปส่วนจะมีพรรณไม้อะไรบ้าง บ้านและสวนได้รวบรวมมาให้ชมกันดังนี้ค่ะ

พรรณไม้ดึกดำบรรพ์
Credit: www.thaizest.com
  • ต้นสน สนต้นนี้เป็นพันธุ์สนดึกดำบรรพ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ อายุประมาณ 250 ล้านปีค้นพบครั้งแรกที่ประเทศจีน โดยพบอยู่ในซากฟอสซิลปัจจุบันหาชมได้ที่ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่
    ข้อมูลเพิ่มเติม : http://book.baanlaesuan.com/category/plant-guide/pine/

เฟิน

  • เฟิน พืชตระกูลเฟินถือเป็นไม้ดึกดำบรรพ์ที่อยู่คู่กับธรรมชาติมายาวนานหลายร้อยล้านปีก่อนยุคไดโนเสาร์ และยังเป็นดัชนีวัดความชุ่มชื้นของผืนป่าอีกด้วย
    ข้อมูลเพิ่มเติม : http://book.baanlaesuan.com/category/plant-guide/fern-fern-allies/

นอกจากนี้ยังมีพืชดึกดำบรรพ์ที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับเฟิน มีอายุราว 350 ล้านปี อาทิ

หญ้าถอดปล้อง

  • หญ้าถอดปล้อง เป็นพืชคล้ายเฟินน้ำ เจริญเป็นพุ่มอยู่เหนือน้ำ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเหนือดินกลม สีเขียวเข้ม มีข้อปล้องเห็นชัดเจน
    ข้อมูลเพิ่มเติม : http://book.baanlaesuan.com/หญ้าถอดปล้อง

หวายทะนอย

  • หวายทะนอย จัดเป็นเฟินดิน แต่ปรับตัวเจริญเติบโตเป็นไม้เกาะอาศัยตามต้นไม้ใหญ่ ซอกหิน ซอกกำแพงหรืองอกอยู่ตามพื้นดินก็ได้

กนกนารี

  • กนกนารี เป็นไม้คลุมดินประเภทเฟินใบเป็นเกล็ด เรียงสลับระนาบเดียวแผ่ออก แตกกิ่งแยกสองแฉก ใต้ใบมักมีขนสั้นปกคลุม สภาพนิเวศธรรมชาติที่พบกนกนารีได้บ่อยคือบริเวณที่ชุ่มชื้น มีร่มเงา มีบ้างที่เกิดบนพื้นที่กึ่งทะเลทรายซึ่งสามารถปรับตัวอยู่รอดได้ในฤดูแล้งด้วยการพักตัวและม้วนตัวห่อกลม เพื่อเก็บความชื้น
    ข้อมูลเพิ่มเติม : http://book.baanlaesuan.com/plant-guide/spike-moss/
ปรง
Credit: http://magoebaskloof.co.za/modjadji-cycad-reserve
  • ปรง หนึ่งในไม้พุ่มที่ถือว่าเป็นไม้ดึกดำบรรพ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ มีอายุราว1,000 ปี มีลักษณะคล้ายปาล์ม มีใบประกอบแบบขนนกเรียงหนาแน่นเป็นเรือนยอด แยกเพศต่างต้น มีลำต้นเหนือพื้นดิน ปรงมีนับ 100 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่หลายประเทศในเอเชีย ออสเตรเลีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนในประเทศไทยมีอยู่ 12 ชนิด ได้แก่ ปรงญี่ปุ่น ปรงป่า ปรงเขา ปรงเขาชะเมา ปรงตากฟ้า ปรงทะเล ปรงเท้าช้าง ปรงเหลี่ยม ปรงผา ปรงหิน ปรงปราณบุรี และปรงเดอบาวเอนซิส
    ข้อมูลเพิ่มเติม : http://book.baanlaesuan.com/category/plant-guide/palm-cycad/

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับพรรณไม้ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้พอสมควร สิ่งที่น่าตื่นเต้นคือพรรณไม้เหล่านี้ไม่ใช่พันธุ์ที่หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ แต่เป็นพรรณไม้ใกล้ตัวที่พบเห็นได้ทั่วไป สืบพันธุ์กันมายาวนานหลายร้อยล้านปี ถึงจะมีรูปลักษณ์เปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ก็สามารถอยู่รอดมาได้จนถึงปัจจุบัน