สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
วัตถุประสงค์ขององค์กร
1.เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหาทางครอบครัวและสังคม ได้รับการพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งด้านสุขภาพ อนามัย จิตใจ วิชาความรู้ การประกอบอาชีพ และทักษะชีวิตโดยครอบครัวและสังคมมีส่วนร่วมจนสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. เพื่อให้ครอบครัวและสังคมมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เด็ก เยาวชนที่ประสบปัญหาเพื่อให้เกิดผลอย่างยั่งยืน
3. ดำเนินการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหาครอบครัว และสังคมให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุข 4. พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ และเทคนิควิธีการในการพัฒนาและเลี้ยงดูเด็กที่ประสบปัญหา
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหา
6. พัฒนาระบบการบริหารการจัดการให้งานมีความเป็นระบบได้มาตรฐาน มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
รูปแบบกิจกรรม/การทำงานของเรา
บริการของสถานสงเคราะห์
- บริการด้านการเลี้ยงดู
1.1 จัดบ้านพักเด็กจำนวน 14 หลัง ในลักษณะ COTTAGE HOME สำหรับเด็กหญิงอายุระหว่าง 5 – 18 ปี พักอาศัยหลังละประมาณ 20 – 25 คน
1.2 จัดอาหารและเครื่องอุปโภค บริโภคให้อย่างเพียงพอและเหมาะสม
1.3 จัดให้มีแม่บ้านพักประจำและอบรมสั่งสอน แนะนำปรึกษาตลอดจนให้ความรักความอบอุ่นต่อเด็กอย่างใกล้ชิดเสมือนเป็นมารดาทดแทน
- บริการด้านการรักษาพยาบาลและอนามัย
2.1 ดำเนินการตรวจสุขภาพและสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ แก่เด็ก
2.2 ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเด็กเจ็บป่วย
2.3 จัดส่งเด็กที่เจ็บป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลต่างๆ
2.4 ให้ความรู้ทางด้านสุขศึกษาแก่เด็ก
- บริการด้านการศึกษา
3.1 การศึกษาสามัญภายในสถานสงเคราะห์ จัดการศึกษาภาคบังคับตามหลักสูตรของสำนักงานการศึกษาแห่งชาติ
- จัดชั้นเรียนพิเศษแก่เด็กที่มีเชาว์ปัญญาต่ำ
- จัดฝึกวิชาชีพระยะสั้นให้เด็กในสถานสงเคราะห์
3.2 การศึกษาภายนอกสถานสงเคราะห์ทั้งสายสามัญและสายวิชาชีพโดยสนับสนุนให้
เด็กไปศึกษาภายนอกยังโรงเรียนต่างๆ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา รวมทั้งฝึกอาชีพที่ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพ สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
4.บริการด้านการจัดหางาน ดำเนินการจัดหางานให้แก่เด็กที่สำเร็จการศึกษาสายสามัญและสายวิชาชีพตามความเหมาะสมและตามความสมัครใจของเด็ก
5.บริการด้านสังคมสงเคราะห์และจิตวิทยาให้การสงเคราะห์พัฒนาและปรับสภาพโดยดำเนินงานตามกระบวนการสังคมสงเคราะห์และจิตวิทยา ดังนี้
5.1 จัดทำประวัติเด็กรับเข้าใหม่ สังเกต และทำรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กทุกคนรวมทั้งดำเนินการติดต่อกับครอบครัวของเด็กและจัดหาครอบครัวทดแทนสำหรับเด็กบางราย
5.2 ดำเนินการป้องกันแก้ไขและพัฒนาเด็กตามกระบวนการสังคมสงเคราะห์และจิตวิทยาทั้งในลักษณะรายบุคคล ( CASE WORK) เป็นกลุ่ม (GROUP WORK) หรือประชุมรายกรณี( CASE CONFERENCE) ตามความจำเป็นและเหมาะสมตลอดจนใช้เทคนิคการแนะแนวและการให้คำปรึกษา
( COUNSELLING) ควบคู่กันไป
5.3 การติดตามและประเมินผลการดำเนินการติดตามเด็กที่อยู่ระหว่างรับการสงเคราะห์และเด็กที่พ้นการสงเคราะห์ไปแล้ว
- บริการด้านนันทนาการและกิจกรรมต่างๆ
6.1 ส่งเสริมให้เด็กใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยให้เด็กเข้ากลุ่มกิจกรรมชมรมต่างๆ เช่น กีฬาดนตรีสากล นาฏศิลป์ กีฬา การขับร้องเพลงประสานเสียง ดนตรีไทย การวาดภาพสีน้ำและโภชนาการ เป็นต้น
6.2 จัดให้เด็กได้ทัศนศึกษานอกสถานที่เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ ตลอดจนการเรียนรู้เรื่องการปรับตัวอยู่ร่วมกัน
6.3 จัดให้เด็กได้บำเพ็ญประโยชน์ เช่น ไปเยี่ยมผู้รับการสงเคราะห์ตามสถานสงเคราะห์ต่างๆ อาทิ คนชรา เด็กอ่อน เด็กพิการ คนไร้ที่พึ่ง หรือตามโรงพยาบาลต่างๆ เป็นต้น
6.4 การอบรมด้านจริยธรรม จัดให้มีการอบรมหน้าที่พลเมือง ศีลธรรมและจรรยามารยาทแก่เด็ก
6.5 จัดให้เด็กได้มีกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ เช่น งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา งานวันสงกรานต์ วันวิสาขบูชา วันขึ้นปีใหม่ วันเด็ก งานกีฬาสี เป็นต้น
พื้นที่ที่เราดำเนินการอยู่
ครอบคลุมกรุงเทพมหานคร
กลุ่มเป้าหมาย/เป้าหมายขององค์กร
- เด็กและเยาวชน
ทรัพยากรการทำงานที่เราต้องการ
- เงิน
- ของเล่นเด็ก
- สื่อการเรียนรู้
- ข้าวสารอาหารแห้ง