FUTURE HOME – อนาคตของที่อยู่อาศัย

FUTURE HOME ภายใต้คลื่นของเทคโนโลยีที่กำลังถาโถม แนวคิดบ้านอัจฉริยะหรือสมาร์ทโฮม ได้ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งในบรรดานวัตกรรมที่ประยุกต์แนวคิด“Internet of things” มาใช้ น่าสนใจว่าในอนาคตเราจะเลือกใช้เทคโนโลยีแบบใดมาเป็นผู้ช่วยประจำบ้าน หรือแม้แต่เทคโนโลยีแบบใดกัน ที่เราจำเป็นต้องอยู่ร่วมด้วย แม้จะโดยไม่ตั้งใจก็ตาม!

8c7e90_ad6f7a353f2344cb8b68eab7774caeb8

บ้านอัจฉริยะ

แนวคิดระบบอัตโนมัติในบ้านหรือ “Home Automation” ไม่ใช่เรื่องใหม่ทั้งในไทย และต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ผ่านเซ็นเซอร์เสียง ระบบตรวจจับการ เคลื่อนไหว เสียงปรบมือ หรือจากรีโมต คอนโทรล ทว่านวัตกรรมที่ได้รับการ พัฒนามาพร้อมกับความอัจฉริยะของ สมาร์ทโฟนนั้น ยังคงหนีไม่พ้นเรื่องของ “Internet of things” ที่กำลังก้าวเข้ามา เปลี่ยนวิถีชีวิต จนสามารถเปลี่ยนเมือง ทั้งเมืองได้อย่างเป็นภาพรวม

02
“Samsung Smart Home” โดยอนันดาฯ ในคิว เทอร์ตี้ วัน (Q31) ออกแบบให้ควบคุมระบบต่าง ๆ ในบ้าน ทั้งระบบปรับอากาศ ระบบรักษาความปลอดภัยหรือแม้แต่หุ่นยนต์ทำความสะอาด (ภาพ : whatav.whatgroupmag.com)

อย่างในปี 2559 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการนำ แนวคิด “Internet of things” มาทำงาน ร่วมกับบ้านอย่างเป็นรูปธรรม เห็นได้ จากเดเวลล็อปเปอร์เจ้าใหญ่อย่างอนันดา – ดีเวลลอปเม้นท์ ที่จับมือกับผู้พัฒนา เทคโนโลยีรายใหญ่ของโลกอย่างซัมซุง เปิดตัวสมาร์ทโฮมที่ใช้เทคโนโลยี “Internet of things” เต็มรูปแบบ ในชื่อ “SamsungSmart Home” ซึ่งนำมาใช้กับโครงการ “คิว เทอร์ตี้ วัน (Q31)” คอนโดมิเนียม เฟสใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ระบบ สมาร์ทโฮมที่ว่าทำงานโดยการเชื่อมต่อ ผ่านอินเทอร์เน็ตไร้สาย อุปกรณ์อัจฉริยะ ต่าง ๆ ในห้องจะได้รับการออกแบบมาให้ ดูแลเจ้าของบ้านตั้งแต่การเปิด – ปิด ประตูหน้าต่าง การแจ้งเตือนภัยเมื่อ เกิดเหตุกับคนในบ้าน ดูแลผู้สูงอายุและ เด็กเล็ก ควบคุมระบบไฟฟ้า ไปจนถึง เชื่อมต่อกับสมาร์ทดีไวซ์ผ่านแอพพลิเคชั่นของซัมซุง ทั้งโทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์อื่น ๆ

06
อุปกรณ์บ้านอัจฉริยะในปัจจุบันมีสมาร์ทโฟนเป็นพระเอกสำคัญ (ภาพ : mashable.com)
04
ตัวรับสัญญาณ “SmartThings Hub” จะส่งสัญญาณต่อไปยัง Smart Device ต่าง ๆ อาทิ หลอดไฟกล้องวงจรปิด ลำโพง (ภาพ : smartthings.com)
03
ภาพการทำงานของสมาร์ทโฮมโดย Samsung Smart Things ผู้ใช้จะสั่งการผ่านสมาร์ทโฟนโดยมีเครื่องรับและส่งสัญญาณเป็นสื่อกลางไปยัง Smart Device ต่าง ๆ ในบ้าน (ภาพ : smartthings.com)

มากไปกว่าแนวคิดเรื่องบ้านอัจฉริยะ ยังต่อยอดมาสู่การใช้งานในระบบสาธารณสุข อย่างเมื่อกลางปีที่ผ่านมาเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ก็ประกาศจะนำเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตขั้นสูงดังกล่าวมาใช้ โดย การร่วมมือกับ “Dell” สร้างระบบ “SmartHealthcare” โดยใช้ Wearable หรือ สายรัดข้อมืออัจฉริยะเพื่อดูแลสุขภาพ ของผู้สูงอายุ รวมถึงการกระจายการ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ หวังให้ เป็นเทศบาลแห่งแรกของไทยที่มีการใช้ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อดูแลสุขภาพ ของผู้คน สิ่งแวดล้อม และยังรวมถึง การพัฒนาการท่องเที่ยวในอนาคตด้วย

052
ระบบ “Smart Healthcare” ที่เทศบาลเมืองแสนสุข เริ่มนำเข้ามาใช้ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ (ภาพ : news.pdamobiz.com/dell-intel-iot-smart-city/)

 

แบบไหนที่เรียกว่า “บ้านอัจฉริยะ” ?

อยากให้ลองนึกภาพเช้าวันหนึ่ง เมื่อ เราลุกออกจากเตียง ไฟหัวเตียงจะ สามารถปิดลงอย่างอัตโนมัติ พร้อม ๆ กับลิสต์เพลงโปรดที่ค่อย ๆ  ดังขึ้นเบา ๆ ในห้องนอน ในชั้นล่างเครื่องต้มกาแฟ เริ่มทำงานพร้อม ๆ กับโทรทัศน์ที่เปิด รายการข่าวช่องโปรด เมื่อเราพาตัวเอง ไปอยู่หน้าเตาไฟฟ้า เมนูอาหารที่ สามารถทำได้ในแต่ละมื้อก็จะแจ้งเตือน เข้ามาอย่างอัตโนมัติผ่านสมาร์ทโฟน หลังจากที่คำนวณอาหารสดที่เหลือ ร่วมกับตู้เย็นของเราเรียบร้อยแล้ว…

งานออกแบบที่คิดค้นขึ้นเพื่อ ตอบสนองเครือข่ายของโลกอนาคตล้วน ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องควบคู่ ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ที่ไม่หยุดนิ่ง โดยอาจแบ่งประเภท ของงานออกแบบได้เป็น 3 หัวข้อหลัก ดังต่อไปนี้

1. ระบบอัตโนมัติในบ้านที่เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระบบรักษา ความปลอดภัย ระบบแสงสว่าง ระบบ เสียง ระบบอุณหภูมิ และระบบอื่น ๆ ตัวอย่างงานออกแบบที่เปิดตัวอย่างฮือฮา ในปี ค.ศ. 2010 และส่งแรงกระเพื่อม ต่อเนื่องอีกครั้งในปี ค.ศ. 2014 เมื่อ กูเกิลเข้าซื้อนวัตกรรมอัจฉริยะในบ้าน หรือที่เรียกว่า “Nest” ด้วยจำนวนเงิน 3.2 พันล้านเหรียญ ประกอบด้วยเครื่อง ควบคุมอุณหภูมิบ้าน (Thermostat) ที่ สามารถจดจำและเปิด – ปิดตัวเองได้ ตามเวลาที่ตั้งไว้ เรียนรู้การปรับลด – เพิ่มอุณหภูมิตามช่วงเวลาและวิถีชีวิต ของเจ้าของบ้าน ควบคุมพลังงาน ในบ้านไม่ให้สูญเปล่า เพื่อลดการใช้ พลังงานโดยรวมอย่างเห็นผล

blue_vase
“Nest Thermostat” เครื่องควบคุมอุณหภูมิในบ้านที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ สามารถจัดการพลังงานและเรียนรู้ความต้องการเจ้าของบ้านได้อย่างแท้จริง อีกทั้งยังโดดเด่นตรงที่ออกแบบมาได้อย่างเป็นมิตร ไม่ต่างจากของตกแต่งชิ้นหนึ่งในบ้าน (ภาพ : nest.com)

2. เฟอร์นิเจอร์ เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ แม้จะรักเทคโนโลยี เพียงใด แต่ก็คงไม่มีนักออกแบบคนใด ต้องการให้ผิวโซฟาหนังของเขาต้องเต็ม ไปด้วยปุ่มกดวงจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นแน่ ดังนั้นจึงเกิดการหาจุดร่วมที่ลงตัว ระหว่างเส้นสายของศิลปะกับเทคโนโลยี ที่สะดวกสบาย กระทั่งล่าสุด Carlo Ratti สถาปนิกเจ้าของสำนักงาน ออกแบบ Carlo Ratti Associati ได้ เปิดตัวโซฟา “Lift Bit” ที่ประกาศว่า เป็ นโซฟาตัวแรกของโลกที่ ทำงานภายใต้ แนวคิด “Internet of things” นำสิ่งที่เป็น นามธรรมในโลกดิจิทัลให้ปรากฏออกมา สู่โลกความจริงที่จับต้องได้

Lift-Bit-ph-Max-Tomasinelli-15
การใช้งานที่หลากหลายของ Lift Bit ช่วยให้อุปกรณ์ชิ้นนี้มีความน่าสนใจ ทั้งยังฉีกกรอบความคิดเรื่องสัดส่วนของเฟอร์นิเจอร์แบบเดิม ๆ ทิ้งไปจนหมดสิ้น(ภาพ : lift-bit.com)

Yves Béhar นักออกแบบ ผลิตภัณฑ์ชาวสวิสที่มีชื่อเสียงจากการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ล้ำสมัยและเล่นกับ นวัตกรรมอย่างสนุกสนาน เพิ่งจะออก โปรเจ็กต์ร่วมกับมหาวิทยาลัย MIT (Massachuse t ts Inst i t u te o f Technology) พัฒนาระบบเฟอร์นิเจอร์ อัจฉริยะสำหรับอพาร์ตเมนต์ขนาดเล็ก ในชื่อ “The Ori System” ชุดเฟอร์นิเจอร์ ของเขามาในรูปแบบของกล่องตู้ผนัง ขนาดใหญ่ บรรจุฟังก์ชันการใช้ งานไว้ 3 อย่าง คือ โซนที่นอน โซนนั่งเล่น และ ตู้เสื้อผ้า ควบคุมด้วยรีโมตตัวจิ๋วที่ ติดอยู่ข้าง ๆ เมื่อเลือกรูปแบบการใช้งาน ที่ต้องการ โปรแกรมในชุดเฟอร์นิเจอร์ จะสั่งให้ตู้หรือโต๊ะเลื่อนเข้า – ออกโดย อัตโนมัติตามการใช้งานที่ถูกออกแบบไว้

FUTURE HOME
ชุดเฟอร์นิเจอร์อัจฉริยะที่ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยในพื้นจำกัด เพียงกดปุ่ม ชุดเฟอร์นิเจอร์ทั้งชิ้นก็จะปรับเปลี่ยนตัวเอง ผนังจะถูกเลื่อนกลายเป็นเตียง ตู้เสื้อผ้ากลายเป็นโต๊ะทำงาน (ภาพ : orisystems.com)

3. แก็ดเจ็ตต่างๆ แก็ดเจ็ตติดบ้านที่กำลัง เป็นที่พูดถึงในขณะนี้ก็คือ “GoogleHome” จากกูเกิล ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ช่วย ติดบ้าน (Home Assistant) ทำงาน ด้วยระบบเสียงสั่งการ อุปกรณ์สามารถ พูดตอบโต้กับผู้ใช้อย่างชาญฉลาดและ ราบรื่นเหมือนกำลังพูดคุยกับ “คน” หรือ “ผู้ช่วย” จริง ๆ

home

Google Home สามารถตั้งไว้ในบ้านได้ไม่ต่างจากของตกแต่งชิ้นหนึ่ง อุปกรณ์จะรับคำสั่งเมื่อผู้ใช้พูดคำว่า “Ok Google”หรือ “Hey Google” ตอบสนองด้วยการบอกข้อมูลข่าวสารต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นสภาพการจราจร รายงานสภาพอากาศในวันรุ่งขึ้น แปลภาษาจดจำและบอกเวลานัดหมาย เล่นเพลงโปรดในเพลย์ลิสต์ ฯลฯ (ภาพ : cnet.com)

นวัตกรรมในบ้านที่ชาญฉลาด ขึ้นทุกวันเหล่านี้ต่างมีจุดร่วมกันคือ “อินเทอร์เน็ต” น่าสนใจว่ามีจำนวน ประชากรในโลกเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรชนิดนี้ได้ คำถามที่ตามมาคือ เทคโนโลยีเหล่านี้ ได้ช่วยพัฒนาคนในโลกได้อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ โดยเฉพาะผู้พิการและผู้สูงอายุ เทคโนโลยีจะสามารถปกปักษ์ ดูแลพวกเขาในบ้านของตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นได้แค่ไหน ในขณะเดียวกันเมื่อการเข้าถึงเทคโนโลยี ต้องแลกมาด้วยการยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจะกลายเป็น อันตรายแก่ผู้ใช้งานหรือไม่ รวมไปถึงคำถามสำคัญที่อาจดูคล้ายโลกมุมกลับในนิยายวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย หากเทคโนโลยีก้าวล้ำนำหน้าพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ เราจะดำรง ความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีอย่างมั่นคงไว้ได้นานเท่าไร


เรื่อง Korakada ภาพ เอกสารประชาสัมพันธ์
เรียบเรียง Parichat K.

Sources : nest.com/techtalkthai.com/beartai.com/thinkofliving.com/wareable.com/mashable.com
/greatachievements.org/x10.com/dezeen.com/sleepwithremee.com/kickstarter.com
/samsung.com/aripfan.com/pdamobiz.com/entrepreneur.com/matichonweekly.com
/ar.co.th/iotevolutionworld.com/ananda.co.th/en.wikipedia.org/orisystems.com/
lift-bit.com/fineantiqueprints.com/ducati-performanceparts.net