8. พยายามหาที่ซ่อนอุปกรณ์เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าสมัยใหม่ เช่น ซ่อนสายไฟไว้ในผนัง ซ่อนเครื่องเสียงไว้ในตู้ ออกแบบแผงไม้ปิดเครื่องปรับอากาศและคอมเพรสเซอร์และทำซุ้มไม้เลื้อยหรือระแนงไม้ซ่อนแท็งก์น้ำ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ดูไม่เข้ากับบ้านเรือนไทย
9. ตกแต่งผนังด้วยวอลล์เปเปอร์ลายไทยที่ปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย หรือสั่งทำลวดลายในแบบที่ต้องการก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงสีสัน ตำแหน่ง ขนาดของพื้นที่ที่จะติดวอลล์เปเปอร์ด้วยว่าเหมาะสมและเข้ากับองค์ประกอบอื่นๆภายในห้องหรือไม่
10. หารูปภาพ ตุ๊กตาดินเผา หรือไม้แกะสลักลายไทยมาตกแต่งผนังหรือวางไว้ที่มุมห้อง โดยอาจลดทอนรายละเอียดของของตกแต่งเหล่านี้ลงบ้างเพื่อให้ห้องดูทันสมัยขึ้น
11. หาหีบเก่าๆ มาใช้เป็นที่เก็บของแทนชั้นโชว์หรือตู้ แล้วนำไปวางไว้ปลายเตียงหรือมุมห้อง ก็สามารถใช้เป็นของประดับห้องที่ดูเก๋ไก๋แบบไทยได้เป็นอย่างดี
12. เพื่อป้องกันความเสียหายของของตกแต่งโบราณที่มีราคาแพงและหายาก ควรจัดวางโชว์ไว้ในตู้กระจกที่สามารถส่งเสริมบรรยากาศแบบไทยให้บ้านได้ด้วย
13. เลือกโทนสีที่ให้บรรยากาศแบบตะวันออกซึ่งเป็นสีโทร้อน เช่น สีส้ม แดง และสีในกลุ่มเอิร์ธโทนหรือสีธรรมชาติที่ไม่มีการดัดแปลงมากนัก เช่น สีจากไม้ เพื่อให้บ้านดูอบอุ่น สบายตา และเข้ากับสภาพแวดล้อมของสวนโดยรอบด้วย
14. เติมความสดชื่นให้บ้านด้วยการจัดแจกันดอกไม้หอมแบบไทยๆ เช่น ดอกมะลิ จำปี จำปา โดยอาจนำมาใช้ร่วมกับการจัดวางดอกไม้และภาชนะสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้บ้านมีสีสันและบรรยากาศแบบไทย
ข้อมูลจากหนังสือ : แต่งแบบไทย 2
เขียน : สำนักพิมพ์บ้านและสวน
เรียบเรียง : Gott