-8-
บ้านหลังใหม่ และเป็นบ้านพักตากอากาศสำหรับครอบครัวและเพื่อนฝูง รวมถึงเป็นโรงแรมที่พักพร้อมต้อนรับแขกที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติเมืองเหนืออย่างใกล้ชิด ตัวอาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตที่เรียบง่าย เผยให้เห็นโครงสร้างเหล็ก หน้าต่างบานกรอบเหล็กสีดำ พื้นผิววัสดุที่ไร้การปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นผนังอิฐ หน้าต่างบานกรอบเหล็ก สีดำ หรือพื้นปูนเปลือยสะดุดสายตา นอกเหนือไปจากฟังก์ชัน หากจะบอกว่าการออกแบบ ที่นี่ส่วนหนึ่งตั้งต้นมาจากของตกแต่งก็คงไม่ผิดนัก เนื่องจากเจ้าของบ้านมีคอลเล็คชั่นของเก่าที่สะสมมาตลอดหลายสิบปี ทั้งหมดล้วนต้องการสเปซที่เหมาะสมเพื่อให้มาสเตอร์พีซ แต่ละชิ้นโดดเด่นสง่างาม และเพื่อสร้างบรรยากาศที่เปี่ยมด้วยการ ผสมผสานจากหลากหลายวัฒนธรรมทั่วโลก
เจ้าของ : คุณษุภภภา สนิทวงศ์
ออกแบบ : คุณสรศักดิ์ ฉัตรกุล ณ อยุธยา, คุณจำเนียร ทองมา
ออกแบบสวน : คุณศิริวิทย์ ริ้วบำรุง Little Tree Landscape
อ่านต่อ : THE IRONWOOD – บ้านหลังใหม่ ในอ้อมกอดขุนเขาที่อำเภอแม่ริม
-9-
บ้านอิฐ หลังนี้คือตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมที่เล่นกับเรื่องราวของอดีตและปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ ที่ตั้งของบ้านอยู่ในย่าน Petaling Jaya รัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย แม้จะเป็นย่านที่มีบ้านเดี่ยวอยู่เยอะ แต่ก็ไม่ได้มีพื้นที่เหลือเฟือขนาดจะสร้างบ้านที่กินบริเวณกว้างๆได้ จุดเด่นของบ้านหลังนี้คือผนังกระเบื้องดินเผาที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอก ซึ่งแท้จริงแล้วคือหลังคาของบ้านเดิมนั่นเอง การออกแบบบ้านหลังนี้เริ่มจากการจัดการพื้นที่ในลักษณะ “กล่อง” มีพื้นผิวภายนอกเป็นผนังกระเบื้องหลังคาดินเผาเดิม โดยติดตั้งบนโครงสร้างเหล็กที่ยึดกระเบื้องทุกแผ่นในแนวตั้ง สามารถเปิด-ปิดการรับแสงได้อย่างอิสระ ชุดโครงสร้างเหล็กนี้ต่อเนื่องจากโครงสร้างหลักของบ้าน ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมโยงพื้นที่“ภายใน” และ “ภายนอก” ที่สอดรับกันอย่างได้จังหวะลงตัว
เจ้าของ : Mr. Kenneth Koh
ออกแบบ : DRTAN LM ARCHITECT by Dr.Tan Loke Mun
อ่านต่อ : เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบัน ผ่านความงามของบ้านอิฐหลังนี้
-10-
“50% indoor : 50% outdoor” เป็นคอนเซ็ปต์หลักที่ออฟฟิศแห่งนี้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ บ้านหลังนี้ไม่เพียงแค่ทำเป็นโฮมออฟฟิศ แต่ยังเป็นบ้านที่มีการทดลองเทคนิคการก่อสร้างสนุก ๆ ลงไปด้วย เป็นบ้านจากฝีมือการทดลองของสองสามภรรยา โดดเด่นตั้งแต่แรกเห็นด้วยการเผยพื้นผิววัสดุที่ไม่เหมือนใคร ตั้งแต่กำแพงบ้านกับเทคนิคหล่อปูน โดยนำพื้นผิวของลำไม้ไผ่มาสร้างเท็กซ์เจอร์ ประตูไม้แนวตั้งที่ออกแบบให้ล้อไปกับลวดลายของกำแพงบ้านและหลังคาใบปาล์มแห้ง ในส่วนของออฟฟิศผนังอาคารเป็นอิฐมือสองจากบ้านเก่ายุค 1990 ก่อเว้นจังหวะสม่ำเสมอกันให้ลมธรรมชาติพัดผ่านเข้าสู่ห้องได้ทั่วถึง ส่วนผนังทึบเสริมด้วยฉนวนกันความร้อนอีกชั้น จึงสามารถนั่งทำงานได้สบาย ๆ โดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ
เจ้าของ – ออกแบบ : Michael Charruault และ My An Pham Thi จาก MM++ Architects
อ่านต่อ : TRY OUT LOUD บ้านทดลองของสองเรา
รวบรวมและเรียบเรียง : Parichat K.