ชี้จุดเกิด " อุบัติเหตุในบ้าน " .....

ชี้ 8 จุดอันตรายในบ้าน

ไม่ใช่เรื่องความเชื่อ หรือมีหมอดูมาทักว่าบ้านหลังนี้อยู่แล้วจะโชคร้าย แต่”อุบัติเหตุในบ้าน”เกิดได้ทั้งจากความไม่ระมัดระวังของผู้อยู่อาศัยและความผิดพลาดของการออกแบบ รวมถึงช่างรับเหมาที่ก่อสร้างอย่างเผอเรอ

ซึ่งอาจกลายเป็นต้นเหตุทำให้เจ็บตัวเล็กๆน้อยๆไปจนถึงมีโอกาสเสียชีวิตได้เหมือนกัน คอลัมน์ “ดีไซน์ไอเดีย” ฉบับนี้ จะช่วยชี้ให้เห็นจุดเกิดเหตุอันตรายยอดฮิตทั้ง 8 จุดในบ้าน ซึ่งคุณสามารถเตรียมการป้องกันไว้ก่อนได้ด้วยการออกแบบ เพื่อลดการเกิด”อุบัติเหตุในบ้าน”ค่ะ จุดอันตรายในบ้าน

8 จุดอันตรายภายในบ้าน บันได

1. เหตุเกิดที่บันได
เป็นจุดเกิด”อุบัติเหตุในบ้าน”บ่อยที่สุด เพราะแคบและเป็นพื้นที่ต่างระดับ แม้กฎหมายจะระบุขนาดของลูกนอนและลูกตั้งไว้แล้ว แต่ในการใช้งานจริงขนาดดังกล่าวอาจเล็กเกินไป ดังนั้นควรอออกแบบให้เหมาะกับแต่ละบ้านจะดีกว่า โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กหรือผู้สูงอายุ นอกจากนี้ก็อย่าลืมคำนึงถึงเรื่องวัสดุที่ใช้ด้วย

ลูกนอน
ความกว้างที่พอดีไม่ควรต่ำกว่า 25 เซนติเมตร เพราะสามารถเหยียบได้เต็มเท้า ผิววัสดุก็ต้องเรียบแต่ไม่ลื่น เช่น พื้นไม้ พื้นปูนซีเมนต์ขัดมัน และพื้นกระเบื้อง

จมูกบันได
นอกจากช่วยเพิ่มความกว้างของลูกนอนแล้ว ยังช่วยป้องกันการลื่นไถลขณะก้าวเดิน รูปแบบของจมูกบันไดมีได้ทั้งการเซาะร่องเพื่อกันลื่น และใช้วัสดุชนิดเดียวกับลูกนอน แต่ทำผิวหยาบ โดยควรตกแต่งส่วนปลายให้โค้งมน ลดมุมแหลม

ลูกตั้ง
ความสูงของลูกตั้งต้องสัมพันธ์กับขนาดของลูกนอน เพราะอุบัติเหตุมักเกิดจากการสะดุดความสูงเฉลี่ยที่ต่างกันในแต่ละขั้น ในช่วงขั้นแรกๆ และขั้นสุดท้าย

สวิตซ์ไฟ
ลดการเดินขึ้น-ลงบันไดเพื่อปิดไฟด้วยการติดสวิตซ์สองทางไว้ทั้งด้านบนและด้านล่าง

ไฟพื้น
เพิ่มไฟตามขั้นบันไดในกรณีที่ทางเดินมืดทึบ แต่ควรออกแบบไว้แต่แรก เพราะจะสามารถเก็บซ่อนไฟให้เสมอกับขอบบันไดได้โดยไม่ยื่นเกะกะ

ราวบันได
หากมีเด็กเล็กในบ้าน การใช้ราวบันไดแบบปิดทึบปลอดภัยที่สุด เพื่อป้องกันการลอดผ่านซี่ลูกกรง แต่หากเลือกใช้แบบลูกกรง ลักษณะแบบกลมมนจะช่วยลดการบาดเจ็บได้(ทางขึ้นลง) หาที่กั้นปิดทางไว้ตั้งแต่บริเวณขึ้น-ลง เป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็ก

สูตรการหาขนาดลูกตั้งและลูกนอนที่เหมาะสมคือ 2 X ความสูงของลูกตั้ง + ความกว้างของลูกนอน จะต้องเท่ากับ 59-63 (หน่วยเป็นเซนติเมตร) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของระยะการก้าวขาของคนทั่วไปนั่นเอง

8 จุดอันตรายภายในบ้าน ทางเข้าบ้าน

2. เหตุเกิดที่ทางเข้าบ้าน
ส่วนเดินผ่านเข้า-ออกระหว่างในบ้านกับนอกบ้านมักเป็นพื้นต่างระดับ และพื้นนอกบ้านอาจมีน้ำขังเฉอะแฉะได้ ทั้งจากน้ำฝนและน้ำกับโคลนที่ติดมากับรองเท้า จึงควรระมัดระวังเส้นทางสัญจรหลักเข้าสู่ตัวบ้านนี้ให้ดี

พื้นภายนอก
ควรเลือกใช้วัสดุปูพื้นที่มีรูพรุนมากๆ เพื่อให้ระบายน้ำได้ดี และมีพื้นผิวหยาบๆ ช่วยกันลื่น

พรมเช็ดเท้า
พรมกาบมะพร้าวที่หลายบ้านนิยมใช้มักมีระดับสูงจนอาจเดินสะดุดล้มได้ แนะนำให้เซาะร่องพื้นเพื่อวางแบบฝังในพื้นจะดีกว่า ระดับความสูงจะได้ไม่ต่างกันเกินไป หรือทางที่ดีที่สุดอาจเลือกใช้พรมยางแบนๆ ที่มีขอบลาดก็ได้

บานประตู
ประตูหน้าควรกว้างและใหญ่กว่าประตูปกติ ควรเลือกใช้ประตูบานสวิงที่เปิดออกภายนอก และทำพื้นด้านหน้าเตี้ยกว่า จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องสะดุดธรณีประตู แถมยังกันสัตว์ตัวเล็กๆแอบเล็ดลอดเข้าบ้านได้ด้วย

ธรณีประตู
สำหรับคนที่ชอบเดินเตะธรณีประตูเป็นประจำ ลองหาพรมนุ่มๆเท้าที่มีสีต่างจากพื้น และด้านหลังเป็นแผ่นยาง ก็จะยึดเกาะพื้นได้ดีขึ้น

มือจับประตู
มือจับประตูควรมีขนาดใหญ่และจับถนัดมือ เช่น แบบก้านโยกหรือแบบกด ไม่ควรใช้แบบลูกบิดหมุน เพราะลื่นมือ และเวลาหิ้วข้าวของพะรุงพะรังก็เปิดยากด้วย

สวิตซ์ไฟ
สวิตซ์ไฟควรอยู่ใกล้ประตูในระดับความสูงที่สามารถเอื้อมเปิดในความมืดได้ง่ายที่สุด ควรเลี่ยงทำช่องเสียบปลั๊กไฟในบริเวณใกล้เคียงกันโดยเด็ดขาด เพราะอาจคลำพลาด นิ้วมือเข้าไปโดนชอร์ตได้

ชายคาหรือหลังคากันสาด
อาจต่อเติมชายคาหรือหลังคากันสาดจากโรงรถ จะช่วยกันฝนสาดและน้ำฝนไม่ไหลย้อนเข้าบ้าน พร้อมกำหนดความชันหลังคาให้น้ำฝนไหลพ้นไปจากทางสัญจร

รางน้ำฝน
ถ้าไม่สามารถต่อทางลงของปลายท่อไปที่ทางระบายน้ำได้โดยตรง ควรต่อโซ่หรือเส้นเชือกจากปลายท่อให้ลงมาสู่ภาชนะรองน้ำด้านล่าง เช่น โอ่ง หรือพื้นโรยหินกรวด เพื่อให้น้ำไม่กระเด็นเลอะทางเดิน

Design-Idea-34

3. เหตุเกิดที่ประตู
ควรเลือกใช้ประตูบานเปิด ประตูบานเลื่อน และประตูบานเฟี้ยมที่กั้นทางเข้า-ออกภายในบ้าน ให้เหมาะกับพื้นที่ ซึ่งแต่ละบานหนักเป็นสิบๆกิโลกรัม หากติดตั้งไม่ดีอาจใช้งานลำบากและเกิดอุบัติเหตุได้ ไม่ว่าจะเป็นโดนประตูหนีบ ประตูตีกลับ ชนประตู ขังตัวเอง หรือประตูตกร่อง

บานพับ
บานประตูโครงไม้อัดทั่วไปควรติดบานพับ 4 จุด (ค่อนไปทางด้านบนของประตู 2 จุด) เพื่อช่วยรับน้ำหนักและเปิดง่ายเบามือ(ภาพมือจับ) มือจับแบบฝังในบานประตูเหมาะจะใช้กับพื้นที่เล็กๆแคบๆ เพราะช่วยให้ไม่เกี่ยวหรือชนกับมือจับ

ลูกบิด
สำหรับห้องที่ไม่มีของสำคัญหรือมีเด็กอยู่ด้วย ควรใช้ระบบล็อกแบบที่สามารถใช้เหรียญไขล็อกได้ (มีให้เลือกทั้งแบบลูกบิดและก้านโยก) เผื่อกรณีฉุกเฉินหาแม่กุญแจไม่เจอ

ตัวหยุดประตู
หากเป็นบานประตูที่ต้องเปิดค้างเป็นประจำ เช่น ประตูหน้าบ้าน ประตูหลังบ้าน ควรมีตัวหยุดประตูติดกับผนังหรือพื้น ป้องกันประตูตีกลับ โดยหากส่วนของประตูมีพื้นที่พอ อาจใช้แบบแม่เหล็กติดผนัง แต่ถ้าในบริเวณนั้นมีลมแรง ควรใช้แบบตัวขอเกี่ยว ก็จะมั่นคงกว่า

โช้กอัพ
โช้กอัพเป็นอุปกรณ์ช่วยกันประตูหนีบมือและป้องกันการเกิดเสียงดังรบกวนได้ดี เหมาะกับส่วนที่ใช้งานประจำ

ซ่อนกระจก
สำหรับประตูตรงส่วนทางเดินที่มักใช้เข้า-ออกทั้งสองทาง ควรมีช่องโปร่งให้เห็นได้บ้าง กันการเปิดกระแทกพร้อมกันสองด้าน

8 จุดอันตรายภายในบ้าน หน้าต่าง

4. เหตุเกิดที่หน้าต่าง
นอกจากเป็นช่องให้แสงและลมเข้าสู่ภายในบ้านแล้ว หน้าต่างยังเป็นจุดอันตรายจุดหนึ่งในบ้านเลยทีเดียว โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็ก บางครั้งอาจเผลอซนจนตกลงไป หรือบางครั้งหากเกิดลมแรงๆก็อาจพัดให้หน้าต่างเปิด-ปิดเกิดอันตรายได้เช่นกัน

ตัวล็อก
หน้าต่างบานกระทุ้งหรือบานเปิดควรติดตัวล็อกไว้ทุกบาน ไม่อย่างนั้นหากเกิดลมแรงก็อาจมีโอกาสตีหน้าต่างให้กระแทกกับวงกบแรงๆจนเกิดความเสียหายได้

ราวกันตก
สำหรับหน้าต่างบานเลื่อน หรือบานเปิดเต็มถึงพื้นของบ้านชั้นสองขึ้นไป ควรกั้นราวกันตกให้สูงสักประมาณ 90-110 เซนติเมตร เพื่อความ

กันชนหน้าต่าง
กันชนยางหรือแม่เหล็กช่วยป้องกันบานเลื่อนกระแทกกับวงกบได้ โดยหากเลื่อนเปิด-ปิดแรงๆ ควรติดตั้งตัวหยุดไว้ในวงกบด้วย