พื้นโรงรถทรุดตัว

ทำไมพื้นโรงจอดรถที่บ้านทรุดตัวเร็วจัง ทั้งที่สร้างมาพร้อมกับตัวบ้าน

พื้นโรงรถทรุดตัว
พื้นโรงรถทรุดตัว

99 เรื่องต้องรู้ก่อนมีบ้านหนังสือ “99 เรื่องต้องรู้ก่อนมีบ้าน”

เขียนโดย วิญญู วานิชศิริโรจน์ เล่มนี้จะให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษา โดยนำเสนอเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอาคารประเภทบ้าน คนทั่วไปที่สนใจเรื่องการออกแบบและก่อสร้างอาคารกำลังจะสร้างบ้านสร้างบ้านอยู่ หรือแม้แต่คนที่มีบ้านอยู่แล้ว ก็สามารถนำความรู้จากหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในการดูแลและปรับปรุงบ้าน

<< สั่งซื้อได้ที่นี่ >>

คนทั่วไปมักบ่นเมื่อ พื้นโรงจอดรถทรุดตัว จนมีระดับต่างจากตัวบ้านพอมีคำอธิบายว่า เพราะพื้นตรงนี้เป็นโครงสร้างที่วางบนดินไม่ได้วางบนเข็ม และฐานรากเหมือนตัวบ้าน จึงเกิดข้อสงสัยว่าทำไมที่จอดรถไม่ใช้
โครงสร้างแบบฐานราก และเสาเข็มเหมือนตัวบ้าน หัวข้อนี้จึงอยากให้มาทำความเข้าใจเรื่องนี้กัน

มาตรฐานการออกแบบโครงสร้างกำหนดให้พื้นบ้านสามารถรับน้ำหนักบรรทุกจร หรือน้ำหนักที่เราใช้งานได้ 150  กิโลกรัมต่อตารางเมตร สำหรับที่จอดรถยนต์นั้นถ้าคิดแบบคร่าวๆ คือรถยนต์มีน้ำหนักประมาณ 1 ตันหรือ 1,000 
กิโลกรัมจะถ่ายน้ำหนักลงบนล้อทั้ง 4 ล้อเท่ากับว่าจะมีน้ำหนักกดลงบนล้อ 250 กิโลกรัมต่อล้อ น้ำหนักนี้กดเป็นจุดในพื้นที่ไม่ถึง 1 ตารางเมตร เมื่อคำนวณแล้วย่อมมากกว่า 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตรแน่ๆ

พื้นโรงจอดรถทรุดตัว

ด้วยแรงกดจากน้ำหนักรถทำให้น้ำหนักจรของที่จอดรถมากกว่าน้ำหนักจรของพื้นบ้านมาก ถ้าออกแบบให้วางบนเสาเข็มจะทำให้โครงสร้างแบกภาระหนักนี่ จึงเป็นสาเหตุให้มีการออกแบบโครงสร้างพื้นที่จอดรถวางบนดินแทนเพื่อ
กระจายน้ำหนักบรรทุกลงบนดินโดยไม่ต้องใช้ฐานรากและเสาเข็ม

วิธีนี้ช่วยลดต้นทุนโครงสร้างของบ้านได้มาก แต่ส่งผลให้พื้นที่จอดรถทรุดตัวมากกว่าตัวบ้านสิ่งที่ควรระวังคือ ต้องมีรอยต่อที่แยกกันเด็ดขาดระหว่างตัวบ้านกับพื้นที่จอดรถ เพื่อให้การทรุดตัวเป็นไปอย่างอิสระไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างบ้านนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม : ควรติดมุ้งลวดที่ด้านนอกหรือด้านในของบ้านดี
อ่านเพิ่มเติม : ใช้สีน้ำมันทาผนังปูนได้หรือไม่
อ่านเพิ่มเติม : ประตูห้องน้ำเปิดเข้าหรือเปิดออก…อะไรดีกว่ากัน
อ่านเพิ่มเติม : น้ำประปาที่บ้านไหลน้อย เราจะต่อปั๊มน้ำตรงเข้ากับท่อประปาสาธารณะได้หรือไม่
อ่านเพิ่มเติม : เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาอย่างไรไม่ให้น้ำรั่ว
อ่านเพิ่มเติม : ทำไมเวลาก่อผนังต้องมีเสาเอ็นทับหลัง(ค.ส.ล.)
อ่านเพิ่มเติม : แก้ปัญหาเสียงก้องภายในบ้าน
อ่านเพิ่มเติม : สายดิน ต่างกับ ระบบตัดก่อนตาย (เครื่องป้องกันไฟดูด) อย่างไร