- ประดับลวดลายไทย
4. ลงรักปิดทองด้วยทองคำเปลว
5.เขียนหน้าโขน อัตลักษณ์ของโขนแต่ละหัวจะมีเฉดสีต่างกันไป ต้องศึกษาข้อมูลของตัวละครในวรรณคดีว่ามีรูปลักษณ์และสีผิวอย่างไร ป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
6.ติดแวว ซึ่งก็คือกระจกหรือเพชรพลอย เพื่อให้หัวโขนมีความสวยงามเล่นกับกับแสงไฟ
สมัยก่อนหัวโขนอาจเป็นของสูงที่แฝงไปด้วยความเชื่อของคนโบราณ แต่ยุคนี้หัวโขนกลายเป็นของที่ระลึกสำหรับตกแต่งบ้านซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ช่างทำหัวโขนมีงานมากขึ้นพระมหาตุ้ยกล่าวอีกว่าได้ฝึกสอนคนทำหัวโขนออกมาแล้วนับร้อยๆคน ถือเป็นก้าวหนึ่งของความตั้งใจตั้งแต่เริ่มผลิตหัวโขน ซึ่งหัวหนึ่งใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน ลูกศิษย์ที่มาเรียนสามารถเข้ามาใช้อุปกรณ์ของทางวัดได้ตลอดเวลา
การมาเรียนทำหัวโขนที่วัดแห่งนี้ นอกจากได้ฝึกฝีมือทำงานศิลป์ชั้นสูงแล้ว ยังได้ฝึกศีล สมาธิ และปัญญาไปพร้อมกันด้วยซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการทำหัวโขน รวมทั้งเป็นการฝึกความอดทน ไม่อย่างนั้นงานจะออกมาไม่ดี
ใครสนใจอยากเรียนการทำหัวโขน สามารถติดต่อได้โดยตรงที่พระมหาพรนารายณ์ สุวรรณรังษี โทรศัพท์ 08-5353 – 3639
เรื่อง : “ไตรรัตน์ ทรงเผ่า”
ภาพ : ณัฐวัฒน์ ส่องแสง
l l l l l l l l l l l l l l l l