3. จัดเก็บเต็มพื้นที่
พื้ที่ครัว ที่ดีควรมีตู้สูงสักใบ สมัยก่อนก็คือตู้กับข้าวที่มีการระบายอากาศดี แต่หากปรับเป็นครัวสมัยใหม่ การออกแบบให้มีทั้งตู้หน้าบานทึบและตู้หน้าบานโปร่งบ้างก็ช่วยให้มีการระบายอากาศที่ดี ที่สำคัญควรแยกหมวดหมู่ประเภทการจัดเก็บภายใน เพื่อความสะดวกในการหยิบออกมาใช้งาน หน้าบานตู้สูงควรกว้าง 50-60 เซนติเมตร ลึก 60-65 เซนติเมตร อย่าลืมให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ภายใน เช่น รางลิ้นชักแบบแบ่งช่องสำหรับแยกประเภทของ ก็ทำให้การจัดเก็บเป็นระเบียบ หากกลัวลืมเขียนเป็นโน้ตเล็กๆแปะไว้หน้าตู้ก็หยิบใช้ได้ง่ายดี
4. ระบายอากาศ
ครัวไทยยังจำเป็นสำหรับบ้านคนไทย อาหารที่แตกต่าง กรรมวิธีก็ต่าง การใช้งานที่เหมาะสมจึงต้องแตกต่างไปด้วย ควรออกแบบพื้นที่ไว้ตั้งแต่เริ่มต้น มีหน้าต่างหรือช่องระบายอากาศที่ดี แสงที่พอเหมาะ ดังนั้นควรคำนึงถึงตำแหน่งครัวตั้งแต่เริ่มวางผังบ้าน หากอยู่ทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกก็มีแสงแดดส่องพอเพียงทั้งวัน วัสดุกรุเคาน์เตอร์ครัวก็ต้องทนทาน ทนแรงกระแทกที่อาจเกิดจากการใช้งานครัวหนักได้ดี ที่สำคัญเครื่องดูดควันต้องเลือกที่มีกำลังดูดสูงหรือ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ก็ช่วยดูดกลิ่นได้อีกทาง
5. เล็กก็ไม่เป็นปัญหา
อย่าไปกลัวหากมีพื้นที่มีจำกัด พื้นที่ครัว เล็กๆก็มีการใช้งานครัวที่ครบครันได้ เพียงแค่คิดถึงการใช้งานแบบสามเหลี่ยมไว้เสมอ ได้แก่ ส่วนปรุง ส่วนล้าง และส่วนเก็บ จะหมุนแบบไหนก็ได้ แต่ต้องมีการใช้งานทั้งสามอย่างนี้ครบ ที่สำคัญพื้นที่ระหว่างแต่ละส่วนควรมีไม่ต่ำกว่า 45 เซนติเมตร เพื่อความปลอดภัยและใช้งานสะดวก นอกจากนี้ไม่จำเป็นว่าครัวจะต้องตายตัวเสมอไป ลองออกแบบครัวให้สามารถปรับเปลี่ยนหรือย้ายได้ เช่น เคาน์เตอร์ติดล้อ ก็สามารถปรับการใช้งานได้หลากหลาย เช่น เปลี่ยนเป็นเคาน์เตอร์เคลื่อนที่ยามมีปาร์ตี้ ส่วนใครที่ไม่อยากให้เห็นความวุ่นวายของแพนทรี่ ลองออกแบบป็นประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่สำหรับเปิด-ปิดส่วนครัว เมื่อไม่มีการใช้งานก็กลายเป็นผนังธรรมดา และเปิดใช้งานได้อย่างดียามมีแขกมาเยือน
อ่านต่อ : วิธีจัดการกับกลิ่นไม่พึงประสงค์ใน “ห้องครัว”
อ่านต่อ : เนรมิต ห้องครัว ให้สวยด้วยสีสัน
เรื่อง : “อัจฉรา จีนคร้าม”
ภาพ: คลังภาพบ้านและสวน และนิตยสาร room