นิยามของงานบูรณะ พระปรางค์วัดอรุณฯ

นอกจากประเด็นเรื่องข้อเท็จจริงเรื่องงานบูรณะ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร แล้ว เรายังมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับงานบูรณะและการอนุรักษ์โบราณสถาน เพื่อที่จะได้ถือโอกาสทำความเข้าใจในเรื่องนี้กันให้ดีขึ้นด้วย

พระปรางค์วัดอรุณฯ
ขอบคุณรูปภาพจาก Faststone และ https://www.facebook.com/Jayskung

คุณปฏิวัติ ทุ่ยอ้น สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ได้ยกประเด็นเรื่องของการอนุรักษ์ไว้อย่างน่าสนใจว่า “การอนุรักษ์ก็เหมือนกับการออกแบบ เหมือนงานศิลปะ งานแฟชั่นฯลฯ กล่าวถือ มันจะมีสมัยนิยม มีกระแส และมีความเปลี่ยนแปลง ตามแต่ยุคสมัย เทรนด์การอนุรักษ์ในแต่ละยุคก็แตกต่างกันไปตามกระแสของโลก”

“เป้าหมายของการอนุรักษ์คืออะไร คำว่า “เหมือนเดิม” ในความคิดส่วนตัวของผมแล้ว ไม่มี ไม่มีอะไรสามารถเหมือนเดิมอยู่ได้ ถ้าว่าตามหลักพระพุทธศาสนา เราต้องการรักษาวัตถุหรือรักษาองค์ความรู้ เราจะเก็บหรือเราจะเปิดเพื่อให้มีการสานต่อจากรุ่นสู่รุ่น เราจะสืบต่อทางกายภาพเพียงอย่างเดียวหรือจะสืบต่อจิตวิญญาณ” คุณปฏิวัติกล่าว

พระปรางค์วัดอรุณฯ
ขั้นตอนของการบูรณะ ขอบคุณรูปภาพจาก Faststone และ https://www.facebook.com/Jayskung
พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
ขั้นตอนของการบูรณะ ขอบคุณรูปภาพจาก Faststone และ https://www.facebook.com/Jayskung
พระปรางค์วัดอรุณฯ
ขั้นตอนของการบูรณะ ขอบคุณรูปภาพจาก Faststone และ https://www.facebook.com/Jayskung
พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
ขอบคุณรูปภาพจาก Faststone และ https://www.facebook.com/Jayskung

คุณปฏิวัติเล่าเพิ่มเติมว่า “ประเด็นการบูรณะบ้านเราไม่ใช่เป็นอย่างที่ว่าตามเมืองนอก ถ้าจะถามหาความเป็นของแท้ดั้งเดิมว่าคืออะไร ลองพิจารณาก่อนว่าเป็นจิตวิญญาณสถานที่หรือเปล่า แนวอนุรักษ์ทางพุทธศาสนาของบ้านเราแต่เดิมอะไรที่หักที่พังเขาก็จะสร้างใหม่ทับครอบไปเลย เพราะไม่อยากให้สิ่งที่คนเคารพสักการะต้องดูโทรม ดำ หรือชำรุด นั่นก็เป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนถ้าจะว่ากันด้วยเรื่องช่างฝีมือหรือความประณีตในงานช่างก็เป็นเรื่องหนึ่ง ต้องแยกแยะกันเป็นเรื่องๆ ไป”

แนวคิดนี้น่าจะพอทำให้เราเข้าใจดีขึ้นถึงเรื่องงานบูรณะพระปรางค์ ซึ่งมีจุดประสงค์ดั้งเดิมคือเป็นเจดีย์ที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าให้เป็นที่เคารพบูชา ไม่ใช่ตั้งใจทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว แต่การบูรณะด้วยเทคนิคในยุคปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงไปในเรื่องของส่วนผสมวัสดุสำหรับการซ่อมแซม ย่อมทำให้เกิดงานที่แตกต่าง ซึ่งเป็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ตั้งแต่เมื่อครั้งมีการบูรณะมาในสมัยรัชกาลที่ 5 และเรื่อยมาอีกหลายครั้งกว่าจะถึงปัจจุบัน

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯ ก็น่าจะเป็นเพราะขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีเพื่อชี้แจงให้ประชาชนให้ทราบกันก่อนว่าการบูรณะครั้งนี้จะเป็นไปในแนวทางแบบไหน บูรณะเพื่อย้อนไปสู่ความดั้งเดิม (ซึ่งก็ต้องเลือกอีกว่าจะดั้งเดิมตั้งแต่สมัยไหน) บูรณะเพื่อเน้นการซ่อมแซมส่วนเสียหาย บูรณะเพื่อเน้นให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับการเคารพบูชา บูรณะแบบผสมผสานระหว่างความดั้งเดิมและซ่อมแซมส่วนเสียหายด้วยวัสดุตกแต่งใหม่เพื่อให้คงความแข็งแรงไปอีกนาน หรือจะบูรณะเพื่อเน้นงานตกแต่งให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว แต่ทั้งหมดก็ควรจะต้องเป็นไปตามความถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการประกอบกัน

 

ภาพ : ธนกิตติ์ คำอ่อน

 

อ่านต่อ : ลุยสำนักช่างสิบหมู่ แอบดูเบื้องหลังงานพระเมรุมาศ

อ่านต่อ : สุดฝีมือเพื่อพ่อ : ชมเบื้องหลังการสรรค์สร้าง “พระเมรุมาศ” 

พระปรางค์วัดอรุณ