วิธี การเลือกใช้อุปกรณ์ เพื่อให้เหมาะกับงาน
อ่านเพิ่มเติม : HAPPY BATHROOM : การเลือกซื้อกระเบื้องปูห้องน้ำ
อ่านเพิ่มเติม : เลือกวัสดุ ปูพื้น ให้สวยตามรสนิยมและเหมาะสมกับการใช้งาน
อ่านเพิ่มเติม : การเลือก “วัสดุลอกสีและอุดโป๊วเกี่ยวกับงานไม้”
อ่านเพิ่มเติม : HAPPY BATHROOM : การเลือกซื้อกระเบื้องปูห้องน้ำ
อ่านเพิ่มเติม : เลือกวัสดุ ปูพื้น ให้สวยตามรสนิยมและเหมาะสมกับการใช้งาน
อ่านเพิ่มเติม : การเลือก “วัสดุลอกสีและอุดโป๊วเกี่ยวกับงานไม้”
<< ติดตามข้อมูลดีๆได้ที่นี่ >>
No related posts.
ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่ากระแส รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle (EV)) กำลังเป็นที่สนใจของสังคมในวงกว้างอย่างมากและมีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ
เจาะน้ำบาดาล ในพื้นที่ซึ่งหาแหล่งน้ำได้ยาก และไม่มีระบบน้ำประปาเข้าถึง มีขั้นตอนอย่างไร? การเจาะน้ำบาดาลคือตัวเลือกที่สำคัญในการใช้งานอุปโภคบริโภคและทำเกษตรกรรม แต่การจะเจาะน้ำบาดาลโดยพลการนั้นอาจสุ่มเสี่ยงให้แหล่งน้ำบาดาลนั้นเสียหายได้ และมากกว่านั้นยังมีความผิดตามกฏหมายหากเพิกเฉยต่อการขออนุญาตอีกด้วย บ้านและสวนจึงขอแนะนำขั้นตอนการขอเจาะน้ำบาดาล และ 10 คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับเรื่องน้ำบาดาลมาบอกกล่าวกัน เจาะน้ำบาดาล ขออนุญาตอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร ขั้นตอนที่ 1 เตรียมเอกสาร เจาะน้ำบาดาล ผู้ต้องการขออนุญาตติดต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ในเขตน้ำบาดาดลโดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ 1) หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน 2) หนังสือมอบอำนาจและสำเนาประจำตัวบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตฯ ไม่มายื่นด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท) 3) หนังสือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (กรณีโรงงานอุตสาหกรรม) 4) หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตฯ เป็นนิติบุคคล) โดยเจ้าพนักงานจะออกใบรับคำร้อง และดำเนินการตรวจสอบเอกสาร ภายใน 1 วัน หากถูกต้องครบถ้วน จึงเสนอผู้มีอำนาจดำเนินการพิจารณาออกใบอนุญาตแล้วก็ให้ชำระค่าธรรมเนียมเป็นอันเสร็จขั้นตอนแรก ขั้นตอนที่ 2 เจ้าพนักงานจะพิจารณาลักษณะของบ่อตามขนาดและพื้นที่ โดยบ่อขนาด 2-3 นิ้ว ปริมาณน้ำไม่เกิน 100 ลบ.ม. อาจใช้เวลาเพียง 1-2 วัน แต่หากเป็นบ่อที่มีขนาดใหญ่เช่น […]
ระบบกันซึม เป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการก่อสร้างบ้าน โดยเฉพาะส่วนห้องน้ำและพื้นดาดฟ้า แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร เราควรเลือกใช้แบบไหน ไปดูกัน ระบบกันซึม แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ น้ำยากันซึมแบบผสมในคอนกรีต น้ำยากันซึมแบบเหลวใช้ทา และ ระบบกันซึมแบบแผ่น ไปดูกันว่าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร น้ำยากันซึม แบบผสมในคอนกรีต ใช้เทเป็นโครงสร้างหรือเอามาฉาบผิวเพื่อกันซึม แต่สำหรับที่มักพูดกันหรือเขียนในแบบก่อสร้างว่า “คอนกรีตผสม น้ำยากันซึม ” ตัวนั้นเป็นแค่เคมีที่ช่วยลดน้ำในคอนกรีตเพื่อหวังผลให้น้ำในคอนกรีตน้อยลงจนทำให้คอนกรีตหนาแน่นมากขึ้น แล้วจะกันน้ำได้มากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงใช้งานไม่ได้เพราะป้องกันน้ำซึมไม่ได้เลย จึงไม่แนะนำให้ใช้ระบบนี้ ส่วนที่ใช้งานได้ดีคือการใช้สารประเภท Crystalline ที่เมื่อผสมในคอนกรีตแล้วจะทำให้คอนกรีตทำปฏิกิริยากับน้ำจนก่อเป็นผลึกขนาดจิ๋ว อุดตามช่องว่างภายในคอนกรีตจนสนิท ทำให้คอนกรีตทึบน้ำจนกันน้ำกันซึมได้ดี ระบบนี้ใช้ได้ทั้งแบบใช้ผสมในคอนกรีตก่อนเทหรือพ่นที่ผิวคอนกรีตก็ได้ ข้อดี ทำงานง่าย ราคาถูก ข้อจำกัด ควบคุมคุณภาพยาก เพราะสารเคมีนี้ใสมากและไม่มีสี ทำให้ยากที่จะตรวจสอบว่าพ่นหรือผสมในคอนกรีตแล้วหรือไม่ และผสมในปริมาณที่ถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ยังใช้ได้กับคอนกรีตเท่านั้น ใช้กับวัสดุอื่น เช่น โลหะ กระเบื้อง ปูนฉาบ ไม่ได้เลย น้ำยากันซึม แบบเหลวใช้ทา (Liquid Applied) มีลักษณะเป็นของเหลวใช้ทาหรือพ่นที่ผิวที่ต้องการใช้กันซึม จะป้องกันคอนกรีตไม่ให้โดนความชื้นหรือสารเคมีจากด้านนอก สมัยก่อนนิยมใช้เป็นสารพวกยางมะตอย […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : baanlaesuanweb@amarin.co.th
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th