4. Hyundai Card – Cooking Library
ออกแบบ : Blacksheep + One O One Architects
สถานที่ตั้ง : กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
ภาพ : Kyungsub Shin
หอสมุดเฉพาะทางณกรุงโซลแห่งนี้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ “อาหาร” โดยรวบรวมหนังสือที่จะนำพานักอ่านสู่จักรวาลแห่งการทำอาหารและวัตถุดิบนอกจากนี้ในอาคารเดียวกันยังมีห้องทดลองทางอาหารและภัตตาคารรวมอยู่ด้วยกันอีกด้วยเรียกว่าทำทั้งทีก็ต้องไปให้สุดทางเลยทีเดียว
5. Underground Forest in OneparkGubei
ออกแบบ : Wutopia Lab
สถานที่ตั้ง : นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
ภาพ : CreatAR – AI Qing & SHI Kaicheng
หนึ่งในสาธารณูปโภคต่างๆของโครงการOneparkGubei Community Club ด้วยหวังว่าที่แห่งนี้จะเป็นที่ซึ่งสามารถหย่อนใจและเป็นพื้นที่ให้เพื่อนบ้านได้มาพบหน้ากัน Underground Forestจึงเกิดขึ้นด้วยการออกแบบที่สร้างพื้นที่อันเงียบสงบให้ผู้คนกลับมาสู่ห้วงเวลาง่ายๆระหว่างคนกับหนังสือการออกแบบจึงใช้ไม้และหินอ่อนเป็นหลักก่อนจะเจาะช่องให้แสงธรรมชาติสาดไล้ลงมาระหว่างพื้นที่เล็กๆของโครงสร้างแบบWaffle
6. Albion Library
ออกแบบ : Perkins+Will Canada
สถานที่ตั้ง : เมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา
ภาพ : Doublespace Photography, Michael Muraz
หอสมุดแห่งนี้คือหนึ่งในหอสมุดเมืองที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดของเมืองโทรอนโต เมื่อต้องรีโนเวตใหม่การสร้างพื้นที่รองรับผู้คนและข้อมูลจำนวนมากรวมถึงพฤติกรรมการอ่านที่เปลี่ยนไปจึงเป็นเรื่องสำคัญ
นอกจากพื้นที่หอสมุดแบบดั้งเดิมจะยังคงมีอยู่อย่างครบถ้วนแล้วหอสมุดแห่งนี้ยังมีพื้นที่ที่หลากหลายคล้ายๆ Co – working Space สำหรับกิจกรรมกลุ่มในหลากหลายรูปแบบที่ยังคงผูกติดกับการค้นคว้าและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันการยกฟาซาดขึ้นในมุมทั้งสี่ของอาคารนอกจากจะสร้างให้เกิดความเชื่อมโยงของธรรมชาติและพื้นที่ภายในแล้วนั้นยังทำให้ผู้คนในชุมชนเข้าถึงอาคารได้ง่าย และแสดงถึงการต้อนรับอีกด้วย
7. หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Library)
สถานที่ตั้ง : กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ภาพ : คลังภาพบ้านและสวน
หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครแห่งนี้เกิดขึ้นจากหนึ่งในพันธกิจของกรุงเทพมหานครที่มีนโยบายสำคัญในการสร้างเมืองให้เป็น “มหานครแห่งการเรียนรู้”อีกทั้งได้รับคัดเลือกจากองค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองหนังสือโลกประจำปี 2556 จึงทำให้เกิดโครงการที่จะพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ขึ้น
ห้องสมุดนี้ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน โดยเช่าอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเก่าของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อาคาร 3 ชั้นบนพื้นที่ใช้สอยกว่า 4,900 ตารางเมตรได้รับการเนรมิตเป็น หอสมุดที่มีกลิ่นอายตะวันตกผสมกับการตกแต่งแบบศิลปะไทย เน้นความโปร่งโล่งสบาย ภายใต้แนวคิด “แสงแห่งปัญญา” (Light of Wisdom) รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบแนวนีโอคลาสสิก ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาคารสาธารณะบริเวณนี้ในสมัยก่อนที่มีลักษณะเฉพาะตัว เช่น มีกันสาดบางคลุมส่วนหน้าต่าง มีขอบปูนปั้นลูกกรงอาคารเป็นเส้นแนวนอน
เรื่อง : “วุฒิกร สุทธิอาภา”