ศิลปะกับศาสนสถาน ความงดงามที่ผสานกับศรัทธา ในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018
ศิลปะ กับ ศาสนา ในงาน Bangkok Art Biennale 2018

ศิลปะกับศาสนสถาน ความงดงามที่ผสานศรัทธา ในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018

“วัด” สถานที่พำนักของนักบวชผู้ถือศีลและอุดมไปด้วยวัตรปฏิบัติแห่งสงฆ์ ตั้งแต่โบราณกาลนอกจากจะทำหน้าที่เป็นศาสนสถานแล้ว วัดเป็น ทั้งโรงเรียน โรงหมอ (สมัยก่อน) โรงครัว เป็นศูนย์กลางของชุมชนมาอย่างยาวนาน และหากสังเกตุให้ดีวัดยังได้ทำหน้าที่เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกๆที่จัดแสดงงานเพื่อสื่อถึงศรัทธา และ แนวทางปฏิบัติตนเพื่อให้สังคมสงบสุข ผ่านงานศิลปะต่างๆที่งดงาม

เทศกาลศิลปะ ร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 (Bangkok Art Biennale 2018) ที่ได้เปลี่ยนกรุงเทพให้กลายพื้นที่แสดงงานศิลปะมากกว่า 200 ชิ้น ตามสถานที่สำคัญต่าง 20 แห่งในกรุงเทพ แน่นอนว่า วัดสำคัญ 3 แห่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร และ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ที่เหล่าบรรดาศิลปินมาร่วมสะท้อนความศรัทธาในแบบฉบับของตัวเอง ผ่านสิ่งที่เรียกว่างานศิลปะ ซึ่งจะมีผลงานอะไรบ้าง ไปชมกัน

 

#Faithway (Paths of Faith) (ภาพบน)

สถานที่: พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วิหารพระนอน วัดโพธิ์)

ศิลปิน: จิตต์สิงห์ สมบุญ

เป็นผลงานศิลปะออกแบบแฟชั่นจาก อดีต Head of Design ของแบรนด์เสื้อผ้าสัญชาติ ไทยอย่าง Playhound จิตต์สิงห์ ได้เล่าถึงเบื้องหลังของผลงานศิลปะชุุดนี้ให้ baanlaesuan.com ฟังว่า “ผมสงสัยนะ เวลาเห็นหลายคนถอดรองเท้าแล้วถือเข้าไปในวิหาร แล้วเวลาจะยกมือไหว้พระประธานต่างๆ รองเท้ามันก็ติดมือยกขึ้นมาด้วย มันกลายเป็นว่า คนที่กำลังแสดงความเคารพความศรัทธากลับต้องยกรองเท้าขึ้นมา มันดูขัดแย้งกัน จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้ทำผลงานชิ้นนี้” ชุดคลุมที่ทำจากผ้า Micro Polyester สีขาวยาวถึงหัวเข่า มีช่องให้ใส่รองเท้า 2 ข้างด้านหน้า ซึ่งทำให้ผู้สวมใส่ไม่ต้องกังวลเรื่องรองเท้า เรามีภาพขณะที่ศิลปินเจ้าพ่อแห่งวงการแฟชั่นท่านนี้ กำลังสาธิตการใส่รองเท้าในชุดของเขามาฝากกัน

ผลงาน Faithway โดย จิตต์สิงห์ สมบุญ
จิตต์สิงห์ สมบุญ ขณะกำลังสาธิตใส่รองเท้าเข้าไปในเสื้อ Faithway | เครดิตภาพ สิงหนาท นาคพงศ์พันธุ์

นอกจากนี้ด้านหลังยังพิมพ์คำว่า “ศรัทธา” ในภาษาไทย อังกฤษ และจีนไว้ตรงกลาง ให้เหล่านักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชม วิหารพระนอน วัดโพธิ์ได้สวมใส่ขณะเดินเข้าไปใน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนั้น การเดินเวียนไปรอบพระพุทธ รูปพระนอนขนาดใหญ่ผู้สถิตอยู่บนสรวงสวรรค์ คลอ ด้วยเสียงเหรียญที่ตกกระทบลงบนก้นบาตร “Paths of Faith” จะกลายมาเป็นงานศิลปะสื่อแสดงสดที่ เกิดขึ้นทุกๆ วันตลอด 4 เดือนของ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ครั้งนี้

ผลงานศิลปะ Giant Twins ในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018
ผลงานศิลปะ Giant Twins โดย คมกฤษ เทพเทียน | เครดิตภาพ ฤทธิรงค์ จันทองสุข

 

ผลงาน สองเกลอ ของ คมกฤษ เทพเทียน ในงาน Bangkok Art Biennale 2018
ผลงาน สองเกลอ ของ คมกฤษ เทพเทียน ในงาน Bangkok Art Biennale 2018 | เครดิตภาพ Media Hub

Giant Twins
สถานที่: ด้านหน้าเขามอ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
ศิลปิน: คมกฤษ เทพเทียน

เป็นอีกผลงานที่แสดงถึงความผสมผสานทางความเชื่อ และ วัฒนธรรม ผลงาน Giant Twins หรือ ชื่อไทยว่า “สองเกลอ เพื่อนทางซ้ายเป็นลักษณะรูปปั้นตุ๊กตานักรบจีนที่มาจากสำเภาการค้าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนเพื่อนทางขวาคือยักษาทวารบาลแบบไทยที่ครองป้องกันสิ่งชั่วร้ายที่จะเห็นได้ตามทางเข้าศาสนสถานต่างๆ ถึงแม้ทั้งคู่จะมาจากต่างแดนกัน แต่ทว่าก็ทำหน้าคือคอยปกป้องดูแลประชาชนให้ปลอดภัยในงานครั้งนี้ คมกฤษ เลือกรวมทั้งสองเข้าเป็นหนึ่งให้มาช่วยต้อนรับส่งความสุขให้สะพรั่งไปด้วยพลังอาร์ต ผ่านใบหน้าอันยิ้มแย้มสดใส งาน ประติมากรรมไฟเบอร์กลาสชิ้นนี้มีความสูง 3.20 เมตร แสดงถึงความผสมผสานกันอย่างแน่นแฝ้นระหว่างวัฒนธรรม และ ความสัมพันธ์ของระหว่างประเทศไทย-จีนและยังหยิบของเล่น“ผลงานชิ้นนี้ผมต้องการย้อนเรื่องราวซึ่ง คมกฤษ ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานชิ้นนี้ให้ baanlaesuan.com ฟังดังนี้
“ผมอยากให้ผลงานชิ้นนี้สื่อถึง ความเป็นแฝดกัน ความเป็นมิตรกันของไทย และ จีนทั้งในเรื่องของ การค้า และ การถ่ายเททางวัฒนธรรมในยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนเรื่องรูปทรงของงานนั้นผมใช้เป็นลักษณะของแฝดสยาม อิน-จัน (2354 — 2417) ซึ่งก็เป็นคนไทย-เชื้อสายจีนที่เกิดในเมืองไทย ที่ไปโด่งดังในที่อเมริกาในนามว่า Siamese Twin ซึ่งเข้ากับแนวคิดของงานชิ้นนี้มากๆ”

ผลงาน ครุฑ ของ คมกฤษ เทพเทียน ในงาน Bangkok Art Biennale 2018
ผลงาน ครุฑ ของ คมกฤษ เทพเทียน ในงาน Bangkok Art Biennale 2018 | เครดิตภาพ Media Hub

นอกจากผลงาน Giant Twins แล้ว บริเวณเดียวกันท่านจะยังได้พบกับ “ครุฑ” ประติมากรรมสิ่งมี ชีวิตครึ่งคนครึ่งนกที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนเลโก้ที่ผลิตขึ้นในประเทศ จีน และที่พลาดไม่ได้สำหรับใครที่ชอบสะสมของเล่นงานนี้ คมกฤษ ได้สร้างชุดของเล่นขนาด จิ๋ว ให้ทุกท่านได้มาลองหยอดตู้หมุนไข่ (แบบตู้ Gashapon ของญี่ปุ่น) ซึ่งจะประกอบไปด้วยเหล่านักปราชญ์ขี่สัตว์ใน เทพนิยายที่ดูราวกับกลุ่มซุปเปอร์ฮีโร่ออกผจญภัย และ รางวัลสุด Rare ที่รอให้ทุกท่านได้มาเล่นกัน

นีโน่ สาระบุตร กับ ผลงาน WHAT WILL WE LEAVE BEHIND?
นีโน่ สาระบุตร กับ ผลงาน WHAT WILL WE LEAVE BEHIND? | เครดิตภาพ Media Hub

 

ผลงานศิลปะ WHAT WILL WE LEAVE BEHIND? ในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018
ผลงานศิลปะ WHAT WILL WE LEAVE BEHIND? โดย นีโน่ สาระบุตร | เครดิตภาพ เมธี สมานทอง

WHAT WILL WE LEAVE BEHIND?

สถานที่: ทางเดินรอบเจดีย์องค์ประทาน วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ศิลปิน นีโน่ สาระบุตร

การตั้งคำถามยังคงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของ นีโน่ สุวรรณี สาระบุตร โดยผลงานครั้งนี้คล้ายกับเป็นการทิ้งคำถามในชีวิตว่า “เราจะทิ้งอะไรไว้เบื้องหลัง” หรือสุดท้ายเราเหลือเพียงชิ้นส่วนเล็กของร่างกายที่กลายเป็นฝุ่นละอองในอากาศเพียงเท่านั้น คำถามที่เหมือนไม่รอคำตอบใดถูกบอกเล่าเป็นเชิงสัญลักษณ์ด้วยงานพอร์ซเลนปั้นรูปหัวกะโหลกจำนวน 125,000 ชิ้นวางเรียงตามทางเดินข้างวัดประยุรวงศาวาส นีโน่ได้แชร์ความรู้สึกที่มีต่อผลงานนี้ให้เราฟังว่า “มีภาษิตอีสานว่าไว้ “ความตายแขวนคออยู่ทุกอย่างก้าว” เราตื่นขึ้นมาเห็นหน้ากันจึงมั่นใจได้ว่าเรายังมีชีวิตอยู่ ที่ได้มาติดตั้งผลงานรอบๆพระมหาเจดีย์นี้ ข้างๆก็เป็นที่เก็บอัษฐิ ซึ่งส่วนตัวแล้ว ไม่เคยทำงานที่ใกล้ความตายขนาดนี้มาก่อน จึงอยากให้งานนี้สื่อสารออกไปว่า จงมีความสุขกับชีวิต ณ ตอนนี้กันเถอะ อยากทำอะไรก็รีบทำ เพราะเราไม่รู้หรอกว่าก้าวไหนจะเป็นก้าวสุดท้ายของชีวิต”

สิ่ง นีโน่ บอกกับเรานั้น ทำให้อดคิดไม่ได้จริงๆว่า ความตายนั้นใกล้ตัวเราขนาดไหน เป็นสัจธรรมที่มนุษย์ทุกคนต้องพบเจอ…ดังนั้นจึงเป็นคำถามที่น่าสนใจว่าหากเราจากโลกนี้ไปแล้ว “เราจะทิ้งอะไรไว้เบื้องหลัง”

นอกจากนี้ บริเวณเขามอของทั้ง 3 วัดที่เป็นโบราณสถานเก่าแก่ ยังมีงานศิลปะจัดวางแบบเฉพาะพื้นที่ (Site Specific Installation) โดยศิลปินไทยมากกความสามารถ 3 ท่าน ที่มาแสดงให้เห็นภาพว่า วัดเก่าซึ่งเป็นโบราณสถาน กับ ศิลปะร่วมสมัยนั้นสามารถอยู่ร่วมกัน และ ส่งเสริมคุณค่าซึ่งกันและกันได้อย่างลงตัวงดงามเช่นไร

ผลงานศิลปะ Sediments of Migration ในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018
ผลงานศิลปะ Sediments of Migration โดย ปานพรรณ ยอดมณี | เครดิตภาพ ฤทธิรงค์ จันทองสุข
ผลงานศิลปะ Sediments of Migrationในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018
ผลงานศิลปะ Sediments of Migration โดย ปานพรรณ ยอดมณี | เครดิตภาพ ฤทธิรงค์ จันทองสุข

Sediments of Migration

สถานที่: เขามอ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (เขามอ วัดโพธิ์)

ศิลปิน: ปานพรรณ ยอดมณี


ผลงานศิลปะ From the World Inside / Across the Universeในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018
ผลงานศิลปะ From the World Inside / Across the Universe โดย สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ | เครดิตภาพ ฤทธิรงค์ จันทองสุข
ผลงานศิลปะ From the World Inside / Across the Universeในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018
ผลงานศิลปะ From the World Inside / Across the Universe โดย สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ | เครดิตภาพ ฤทธิรงค์ จันทองสุข
ผลงานศิลปะ From the World Inside / Across the Universeในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018
ผลงานศิลปะ From the World Inside / Across the Universe โดย สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ | เครดิตภาพ ฤทธิรงค์ จันทองสุข

From the World Inside / Across the Universe

สถานที่: เขามอ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

ศิลปิน: สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์


ผลงานศิลปะ Turtle Religion ในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018
ผลงานศิลปะ Turtle Religion โดย กฤช งามสม | เครดิตภาพ ฤทธิรงค์ จันทองสุข

 

ผลงานศิลปะ Turtle Religion โดย กฤช งามสม
ผลงานศิลปะ Turtle Religion โดย กฤช งามสม | เครดิตภาพ Media Hub

“Turtle Religion”

สถานที่: เขามอ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ศิลปิน: กฤช งามสม


 ยังมีผลงานระดับครูที่สื่อถึงศรัทธา และ ศาสนา อีกมากมาย ที่รอให้ทุกท่านได้ไปค้นหาดังนี้

วัดโพธิ์ : หวงหย่งผิง, จิตต์สิงห์ สมบุญ, ปานพรรณ ยอดมณี, สาครินทร์ เครืออ่อน , ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์, ภาพตะวัน สุวรรณกูฏ

วัดอรุณฯ : สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์, คมกฤษ เทพเทียน, สาครินทร์ เครืออ่อน

วัดประยุรวงศาวาส : อานนท์ นงเยาว์, กมล เผ่าสวัสดิ์, ต่อลาภ ลาภเจริญสุข,กฤช งามสม,มณเฑียร บุญมา, สุวรรณี สาระบุตร, เปาโล คาเนวารี

 

เรื่อง: ยุภาวดี บุญภา

 


จัดเต็ม Checklist! 30 งานศิลป์ห้ามพลาด ในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 ชอบแนวไหน ไปชมเลย (พร้อมแผนที่)

พบกับเรื่องราวของ อาคาร อีสต์ เอเชียติก หนึ่งในสถานที่จัดแสดงผลงานศิลปะ ใน เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018

หวง หย่ง ผิง ปรมาจารย์ แห่ง ความขบถ ย้อนแย้ง และ การพลัดถิ่น ใน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018


เป็นเพื่อนกันเราได้ใน Line@ : https://line.me/R/ti/p/%40slo7204x