ไม้ระแนง ทางเลือกที่ช่วยสร้างพื้นผิวไม้ขนาดใหญ่ในงบประมาณสมเหตุสมผล
สร้างความแตกต่างให้งานสถาปัตยกรรมด้วย “ไม้ระแนง” (SLATS) หรือไม้แผ่นเล็ก ๆ อีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยสร้างพื้นผิวไม้ขนาดใหญ่ได้ในงบประมาณสมเหตุสมผล และถึงแม้จะเป็นแผ่นไม้ขนาดเล็ก แต่นั่นกลับยิ่งช่วยให้งานออกแบบมีความยืดหยุ่นสูง ก่อสร้างได้สะดวกรวดเร็ว เมื่อเกิดความเสียหายก็สามารถบำรุงซ่อมแซมเฉพาะจุดได้ง่าย เหมาะนำไปใช้งานได้ทั้งพื้นที่ภายในและนอกอาคาร
ระนาบทึบ (SKIN)
สร้างพื้นผิวหรือระนาบไม้ขนาดใหญ่ โดยใช้ไม้แท่งเล็กมากรุเรียงชิดต่อกันจนเกิดเป็นระนาบในรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงระนาบโค้งด้วยการใช้ไม้ต่างชนิดและแพตเทิร์นที่หลากหลายทำให้เกิดผิวสัมผัสที่แตกต่างกันออกไป สามารถใช้ได้ทั้งพื้นที่ภายในและภายนอก เช่น ผนัง ฝ้าเพดาน หรือจะใช้เฉพาะส่วนเพื่อขับเน้นสเปซให้ดูมีมิติยิ่งขึ้นก็ได้
ระนาบโปร่ง (OPEN SLAT)
การใช้ไม้ระแนงเป็นโครงสร้างห่อหุ้มอาคาร นอกจากจะช่วยให้รูปด้านดูสวยงามน่าจดจำแล้ว ยังช่วยบังสายตาสร้างความเป็นส่วนตัว และทำหน้าที่เป็นเสมือนผนังชั้นที่ 2 ช่วยกรองแสงแดดไม่ให้เข้าสู่ตัวอาคารโดยตรง พร้อมกับสามารถระบายอากาศได้ดี ยามเมื่อแสงแดดส่องผ่านซี่ไม้ระแนงยังก่อให้เกิดแสงเงาที่มีมิติไปตามแต่ละช่วงเวลาของวัน หรือจะนำมาใช้กำหนดแนวขอบเขตพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ไม่ให้ดูทึบตันก็เหมาะอย่างยิ่งเช่นกัน
อ่านต่อ: JARUN 69 บ้านหลังเล็ก ดีเทลลึก
อ่านต่อ: VH6 HOUSE บ้านไม้โมเดิร์นที่เชื่อมโยงบ้านเก่าเข้ากับบ้านใหม่
อ่านต่อ: HOF: HOME & OFFICE เพราะชีวิตไม่ได้มีแค่ด้านเดียว
อ่านต่อ: BANG SARAY HOUSE ส่วนผสมของสวิสดีไซน์ ในบริบทของความเป็นทรอปิคัล
สร้างมิติให้กับสเปซ (DYNAMIC EFFECT)
วัสดุไม้แผ่นเล็กเรียบง่ายอาจสร้างความแตกต่างได้อย่างน่าทึ่ง และหากพูดถึงการดึงศักยภาพของไม้ขนาดเล็กเพื่อนำมาใช้เพื่อสร้างมิติที่น่าสนใจให้กับสเปซแล้วละก็ ผลงานของ Kengo Kuma กำลังอยู่ในกระแส ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไม้แผ่นเล็กมาประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างที่ดูคล้ายประติมากรรม หรือจะนำมากรุเพื่อสร้างผิวสัมผัสแปลกใหม่ ช่วยบดบังหรือแก้ไขข้อจำกัดต่าง ๆ ของอาคารได้อย่างชาญฉลาด
เรื่อง foryeah!
ภาพ แฟ้มภาพนิตยสาร room,เอกสารประชาสัมพันธ์