PAA
- ที่อยู่ : 29/2 ซอยสุขุมวิท 67 (ศรีจันทร์) แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
- โทรศัพท์ : 0-2381 – 1969
สไตล์มินิมัลยังคงเป็นสไตล์ที่ได้รับความนิยมอยู่เสมอ ด้วยความเรียบง่ายที่ตัดทอนให้เหลือแต่เพียงแค่เส้นสายของงานออกแบบที่สำคัญ
คอลเล็กชั่นประติมากรรมจาก 103PAPER โดยคุณวิทยา ชัยมงคล และคุณอัจฉรา ตันนี นำเสนอแนวทางใหม่ของผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่างดินกระดาษ ที่ทำมาจากเศษกระดาษใช้แล้ว ผสานกับความงามเชิงศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้อย่างน่าสนใจ และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หลังจากจบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณวิทยาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาตลอด เขาคือผู้กำกับศิลป์ที่อยู่เบื้องหลังหนังดังหลายเรื่องไปจนถึงภาพยนตร์โฆษณามากมาย และเมื่ออาร์ตไดเร็กเตอร์หันมาสร้างแบรนด์ของตกแต่งบ้านจากงานอดิเรกที่เขาหลงใหล 103PAPER จึงเป็นเหมือนคอลเล็กชั่นงานศิลปะ ที่ถ่ายทอดแนวคิด และตัวตนของคุณวิทยาได้อย่างชัดเจน ก่อนเกิด 103PAPER “สิบกว่าปีก่อน ตอนที่ทำงานฟรีแลนซ์เป็นอาร์ตไดเร็กเตอร์ พอมีเวลาว่าง ผมมักหาพื้นที่แสดงออกด้านศิลปะของตัวเอง ลองหางานอดิเรกที่เราสนใจ ซึ่งช่วงนั้นผมสนใจงานปั้นเป็นพิเศษ แต่อย่างเซรามิกเราก็พอเข้าใจกระบวนการอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีทักษะ ก็เลยลองหาวัสดุที่ทำงานง่ายกว่านั้น” เมื่อโจทย์เริ่มต้นคืองานอดิเรก คุณวิทยาจึงเลือกทำงานปั้นด้วยวัสดุที่หาง่ายใกล้ตัวอย่างกระดาษใช้แล้วหลากหลายชนิด โดยนำมาทดลองหาส่วนผสม เพื่อขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ หลังจากลองผิดลองถูก และสนุกกับงานอดิเรกนี้อยู่หลายปี จนเกิดผลงานจำนวนหนึ่ง พาให้เขาลองหาแนวทางใหม่ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก “ย้อนกลับไปตอนนั้นเราไม่ได้คิดหรอกว่าทำแล้วจะขายได้ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจสร้างสรรค์เพื่อการตลาด ไม่ได้โฟกัสเลยว่าคนซื้อจะชอบอะไร เราแค่ทำในแบบที่เราชอบไปเรื่อย ๆ พองานเริ่มเยอะเลยลองเอาไปวางขายดู ที่แรกเป็นตลาดกลางคืน […]
นี่คือ เครื่องพิมพ์ที่เปิดให้โหลดแบบ Open Source และพริ้นต์ใช้เองได้! เพื่อ เปลี่ยนขวดพลาสติก(PET)ให้กลายเป็นวัสดุพร้อมพริ้นต์ได้ทันทีด้วยเครื่องพิมพ์ที่เปิดให้โหลดแบบ Open Source และพริ้นต์ใช้เองได้! เพราะกว่า 90% ของขยะพลาสติกทั้งโลกนั้นมาจากขวดพลาสติก(PET) จะดีกว่าไหมถ้าเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถใช้งานขยะเหล่านี้เป็นวัตถุดิบได้โดยตรง นักออกแบบ Reiten Cheng ได้ออกแบบเครื่องพิมพ์นี้อย่างมุ่งมั่น เพื่อลดขั้นตอนการรีไซเคิลลงให้สั้นที่สุด เพราะจากขวดพลาสติกที่ถูกทิ้งกลายเป็นขยะ กว่าจะเข้าสู่ขั้นตอนรีไซเคิลนั้น ไม่ใช่เพียงแค่เวลาที่เสียไป แต่ยังรวมถึงทรัพยากรและพลังงานที่ต้องใช้ไประหว่างทางอีกด้วย การทำงานของเครื่อง Polyformer นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลักๆก็คือ การสร้างวัตถุดิบสำหรับพิมพ์ หรือที่เรียกว่าเส้นพลาสติก Filament และส่วนที่นำเข้าสู่การพิมพ์นั่นเอง Filament นั้นส่วนใหญ่มีความอ่อนไหวต่อความชื้นซึ่งจะเป็นผลให้การพิมพ์นั้นขาดช่วงไม่ราบรื่นได้ การสร้างวัตถุดิบพร้อมใช้โดยตรง ในทางทฤษฏีจึงเป็นการลดขั้นตอนการเก็บที่เสี่ยงต่อความชื้น ทั้งยังสามารถผลิตเพียงเท่าที่ต้องการได้อีกด้วย ขั้นแรกนั้นเมื่อได้ขวดพลาสติกเก่าที่จะนำมาใช้ป้อนเข้าสู่เครื่อง เครื่องจะเป็นการตัดให้ขวดนั้นกลายเป็นริ้วเส้นก่อน เมื่อเครื่องจับปลายริ้วพลาสติกได้ก็จะเริ่มกรีดเข้าสู่ขั้นตอนผลิตโดยอัตโนมัติ เมื่อริ้วพลาสติกผ่านเข้าไปยังเครื่องทำความร้อนภายใน ริ้วเหล่านั้นจะถูกหลอมและเกลาให้ได้รูปเป็นเส้น Filament จัดเก็บเข้าสู่กระสวยต่อไป เมื่อขวดหนึ่งหมดก็ใส่ขวดต่อไปเครื่องจะเชื่อม Filament เหล่านั้นให้กลายเป็นเส้นต่อเนื่องกันจนเต็มกระสวย หรือเท่าที่ต้องการในการใช้งานนั่นเอง จากนั้นก็นำกระสวยไปติดตั้งลงในเครื่องพิมพ์เพื่อใช้งานเป็นอันจบขั้นตอน Reiten Cheng ตั้งใจออกแบบเครื่องนี้แบบ Open Source หรือก็คือแพลตฟอร์มเปิดที่ใครก็สามารถโหลดไปพริ้นต์ใช้งาน และร่วมกันพัฒนาได้ เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้ยังคงต้องการการพัฒนาอีกมาก […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : [email protected]
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
[email protected]