หน้าต่างบานเปิด ที่ดีตรงเปิดรับและกำหนดทิศทางลมและแสงได้
หน้าต่างบานเปิด

[ARCHIVOCAB] CASEMENT WINDOWS หน้าต่างบานเปิด ที่ดีตรงเปิดรับและกำหนดทิศทางลมและแสงได้

รู้ไหมอะไรคือข้อดีและข้อเสียของ หน้าต่างบานเปิด 

หน้าต่างบานเปิด (Casement Window) เป็นหน้าต่างที่สามารถเปิดรับแสงธรรมชาติและลมได้ดีกว่าหน้าต่างบานเลื่อน สามารถกำหนดทิศทางการระบายอากาศได้ แต่เมื่อเปิดหน้าต่างอาจกระทบพื้นที่ใช้สอยภายนอก กีดขวางทางเดินรอบตัวบ้าน ส่วนใหญ่จึงนิยมติดตั้งชั้นสองขึ้นไป โดยทั่วไปมีสองแบบหลักคือ

  1. บานเปิดแบบบานพับธรรมดา หากต้องการเปิดค้างต้องใช้ขอสับ สามารถเปิดกว้างได้ 180 องศา และออกแบบเป็นแบบบานเกิดเดี่ยวหรือบานเปิดคู่ก็ได้ โดยอาจติดตั้งลูกตั้งกลาง (Mullion) เพื่อรับบานเปิดทั้งสองข้าง
  2. บานเปิดแบบเปิดค้างโดยไม่ต้องใช้ตัวล็อค หรือที่นิยมเรียกกันว่าบานพับแบบวิทโก้ (Whitco) มักใช้ในหน้าต่างแบบบานเดี่ยว ซึ่งจะติดตั้งอุปกรณ์ภายในวงกบบนและล่างเพื่อเลื่อนเปิด-ปิดแทนบานพับ เนื่องจากอุปกรณ์มีความฝืดในตัว จึงสามารถปรับระดับการเปิดได้ และเปิดค้างได้โดยไม่ต้องใช้ขอสับ อย่างไรก็ตามตัวบานไม่สามารถเปิดกว้างได้ 180 องศา จึงสามารถระบายอากาศได้น้อยกว่าหน้าต่างบานพับแบบธรรมดา 

หน้าต่างบานเปิด

หน้าต่างระแนงโปร่งใช้แทนผนังอาคาร

ภาพจาก :  นิตยสาร room ฉบับที่ 172
เจ้าของ: คุณธนพันธ์-คุณธนพงศ์ วงชินศร
ออกแบบ: คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศร


หน้าต่างบานเปิด

ตกแต่งวงกบช่วยสร้างสไตล์ที่แตกต่าง

ภาพจาก :  นิตยสารบ้านและสวน
เจ้าของ-ออกแบบ: คุณอนุรักษ์ ฆ้องวงศ์


หน้าต่างบานเปิด

วงกบสีขาวดูโปร่งโล่ง บานพับวิทโก้เปิดค้างสะดวก

ภาพจาก :  นิตยสาร room ฉบับที่ 162
เจ้าของ: Lin Yi Tang
ออกแบบ: HAO Design


หน้าต่างบานเปิด

หน้าต่างบานคู่ ลูกฟักกระจกให้อารมณ์ร่วมสมัย

ภาพจาก :  นิตยสาร room ฉบับที่ 159
เจ้าของ-ออกแบบ: คุณศิริวิทย์ ริ้วบำรุง


หน้าต่างบานเปิด

แบ่งครึ่งบานเปิด เพิ่มฟังก์ชั่นใช้งาน

ภาพจาก :  นิตยสารบ้านและสวน ฉบับที่ 448
เจ้าของ: คุณปริยา จุลกะรัตน์
ออกแบบ: คุณสุรนาท เลิศคุณากรณ์ และคุณพรพรรณ อินโต


หน้าต่างบานกระทุ้งแบบคว่ำ
AWNING WINDOWS หน้าต่างบานกระทุ้งแบบคว่ำ ปิดงับ เปิดค้ำ อย่างยืดหยุ่น

อ่านต่อ : ความหมายของ ฟาซาด องค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม

รู้หรือไม่ ประตูแบบไหนที่เรียกว่า บานเฟี้ยม

คาน – ตง โครงสร้างที่ใช้รับน้ำหนักในงานสถาปัตยกรรม

ทำความรู้จัก CONTEXT บริบทในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม