ขั้นตอนเตรียมพื้นผิวผนังปูนเก่าก่อนทาสีใหม่ ช่วยลดปัญหาสีหลุดล่อน
สิ่งหนึ่งที่เจ้าของบ้านไม่อยากพบเจอคือ ผนังเก่า สีเริ่มซีดจาง ลอกล่อนเป็นฝุ่นผง เกิดคราบเชื้อราและตะไคร่น้ำ ยิ่งถ้าหากผนังในบริเวณนั้นสัมผัสกับความชื้น น้ำ และแสงแดด ก็จะยิ่งแสดงผลให้เห็นชัดและเร็วขึ้น อาการเหล่านี้เป็นการส่งสัญญาณว่าสีทาบ้านเริ่มเสื่อมสภาพ ถึงเวลาต้องทาสีใหม่แล้ว
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนเลยว่า อายุการใช้งานของสีแต่ละเกรดนั้นยาวนานไม่เท่ากันเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 5-15 ปี ยิ่งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรงด้วยแล้ว ยิ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้สีเสื่อมสภาพเร็วขึ้นได้
ดังนั้นสำหรับผนังภายนอก การเลือกสีทาบ้านที่มีความทนทานต่อสภาวะอากาศ ทั้งแดด ทั้งฝน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เจ้าของบ้านต้องพิจารณาร่วมด้วย ในขณะเดียวกัน ผนังภายในบ้านที่อาจจะไม่เห็นการเสื่อมสภาพด้วยตาเปล่า แต่เมื่อลองใช้มือถูหรือใช้ผ้าเช็ดจะมีฝุ่นผงหลุดล่อนติดมาด้วย นั่นก็เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าสมควรแก่การทาสีผนังใหม่แล้วเช่นกัน ซึ่งในกรณีทาสีบนผนังหนังเก่าเช่นนี้ ขั้นตอน “การเตรียมพื้นผิวก่อนการทาสี” มีความสำคัญมาก เพราะหากผนังไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทาสีใหม่อีกรอบ ปัญหาฟิล์มสีลอกล่อนก็จะตามมาเช่นเดิม ฉะนั้นมาดูกันว่าการเตรียมพื้นผิวผนังให้พร้อมสำหรับการทาสีใหม่อีกรอบต้องตรวจสอบตรงไหนอย่างไรบ้าง
1. ให้สำรวจผนังและซ่อมแซม
ในขั้นตอนของการฉาบปูนหากช่างไม่มีความชำนาญ บ่มปูนไม่ดี นอกจากจะเกิดปัญหารอยแตกลายงาตามมาแล้ว ยังอาจทำให้เกิดคราบเกลือบนผนัง ที่มีสาเหตุมาจากปูนสะสมความชื้นไว้แล้วค่อย ๆ คายออก หรือปัจจัยทางธรรมชาติอื่น ๆ เช่น เกิดคราบตะไคร่น้ำเนื่องจากบริเวณใกล้เคียงต้องสัมผัสกับความชื้น เกิดปัญหาสีหลุดร่อนเพราะความชื้นสะสมจากดิน หากผนังมีร่องรอยความเสียหายเหล่านี้ให้ทำการซ่อมแซมส่วนนี้ก่อนเป็นอันดับแรก
2. ตรวจสอบคุณภาพของผนังปูน
ก่อนทาสีต้องมั่นใจว่าทั้งค่าด่างและค่าความชื้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม ตามธรรมชาติของปูนเมื่อได้รับความชื้นจากสภาพอากาศจะเกิดความเป็นด่างทำให้ผนังเกิดคราบเกลือชัดเจน จึงควรเช็คสภาพค่าความป็นด่างของพื้นผิวโดยใช้กระดาษลิสมัต (Litmus Paper) ตรวจวัดค่า ph ระดับที่เหมาะสมคือ ph 8 จะแสดงผลบนกระดาษลิสมัตเป็นสีเขียว อีกขั้นตอนคือตรวจสอบค่าความชื้นของผนัง เนื่องด้วยปัญหาความชื้นจะทำให้เกิดปัญหาสีบวม ลอกล่อน โดยใช้เครื่องมือวัดความชื้น (Moisture Meter) หากเป็นเครื่อง Kett รุ่น HI-520 ชนิดทาบจะแสดงผลไม่เกิน 6% ส่วนเครื่อง Protimeter Mini ชนิดเข็มจะแสดงผลไม่เกิน 14% เมื่อตรวจสอบสภาพผนังแล้วอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานให้ลงมือขั้นตอนทาสีรองพื้นต่อไป
3. การทาสีรองพื้น
ให้พิจารณาจากสภาพพื้นผิวผนังเดิมคือ หากเป็นผนังใหม่ที่เพิ่งทาสีไปไม่นาน และผนังยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ แต่เพียงต้องการเปลี่ยนสีใหม่ให้ทาสีทับหน้าได้เลยไม่ต้องทาสีรองพื้น
แต่หากเป็นผนังเก่าที่มีการเสื่อมสภาพ ให้ซ่อมแซมให้เสร็จสิ้นแล้วทาสีรองพื้นก่อน 1 เที่ยวโดยเลือกใช้สีรองพื้นปูนเก่า สูตรน้ำมัน Nippon Paint Excel Primer ซึ่งเหมาะกับพื้นผิวปูนที่เสื่อมสภาพมาก มีคุณสมบัติช่วยปรับสภาพพื้นผิวเดิมที่มีปัญหาอยู่แล้ว เช่น สีลอกล่อน สีโป่งพอง สีเป็นฝุ่นชอล์ก สีซีดจาง เป็นต้น และช่วยเสริมสร้างการยึดเกาะพื้นผิวที่เสื่อมสภาพกับสีทับหน้า ให้ยึดติดเรียบเนียนเป็นหนึ่งเดียวกัน
4. เลือกสีทาทับหน้าให้เหมาะสม
เลือกสีน้ำอะคริลิก เกรดอัลตราพรีเมี่ยมจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีคุณสมบัติเด่น สามารถทนทานต่อสภาวะอากาศที่รุนแรงได้ Nippon Paint Weatherbond Flex & Weatherbond Advance สำหรับภายนอกและภายใน มีทั้งฟิล์มสีกึ่งเงาและเหลือบเงา ฟิล์มสีเรียบเนียน กลบได้ดีเยี่ยม ทนทานทุกสภาวะอากาศ ไม่ว่าจะแดดหรือฝน ทนทานต่อการเกิดคราบด่างและคราบเกลือได้ดีเยี่ยม ป้องกันการเกิดเชื้อราและตะไคร่น้ำ ดังนั้นจึงสามารถช่วยป้องกันฟิล์มสีซีดจางและไม่เสื่อมเป็นฝุ่นผง ไม่ลอกล่อน สีสดสวยงาม ทนทานยาวนาน 15 ปี กลิ่นอ่อน ปลอดภัย โดยทาสีทับหน้าจำนวน 2 เที่ยว
จะเห็นได้ว่าการเตรียมพื้นผิวมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพของสีบนผนังบ้าน นอกเหนือจากคุณสมบัติของสีที่มีอายุการใช้งานตามเกรดและราคา ไม่ว่าจะทาสีเป็นผนังใหม่หรือผนังเก่าให้ตรวจสอบสภาพผนังปูนก่อนเสมอ และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สีที่มีคุณสมบัติตรงกับปัญหาที่เจอก็จะยืดอายุให้ผนังบ้านมีสีสันสวยนานมากขึ้น
ระบบสีทาภายนอก นิปปอนเพนต์
สีรองพื้นปูนเก่า สูตรน้ำมัน นิปปอนเพนต์ เอ็กซ์เซล ไพรเมอร์ (Nippon Paint Excel Primer )
สีทับหน้า นิปปอนเพนต์ เวเธอร์บอนด์ เฟล็กซ์ (Nippon Paint Weatherbond Flex) กึ่งเงา
สีทับหน้า นิปปอนเพนต์ เวเธอร์บอนด์ แอดวานซ์ (Nippon Paint Weatherbond Advance) เหลือบเงา