AplusCon Architects Co.,Ltd.
- ที่อยู่ : 212 เมืองทอง 2/3 พัฒนาการ 53 (ซอย5), ถนนพัฒนาการ สวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
- โทรศัพท์ : 08-2340-9776
- Facebook : apluscon.architects
- Website : apluscon.co.th
ความหอมกรุ่นและสีชมพูแสนอ่อนหวานของ “กุหลาบจุฬาลงกรณ์” กุหลาบไร้หนามพันธุ์พิเศษจากดอยแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่เย้ายวนใจให้มีผู้คนปลูกมาเป็นระยะเวลานานสืบต่อจนประวัติศาสตร์ของที่มาเริ่มจางหายไปตามกาลเวลาคงไว้แต่เพียงพระนามาภิไธยแห่งกุหลาบสายพันธุ์นี้ ซื่งเมื่อเราเริ่มกลับเข้าไปสืบค้นถึงที่มากลับยิ่งพบกับความสวยงามของเรื่องราวที่อ่อนหวานเสียยิ่งกว่าความงามของกุหลาบนี้ เพราะนี่คือสัญลักษณ์แห่งตํานานรักของ “เจ้าดารารัศมี” เจ้าหญิงล้านนา และ “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5” “กุหลาบจุฬาลงกรณ์ เป็นดอกไม้ที่มีความหมายแห่งความระลึกถึงไม่ว่าจะเป็นของพระราชชายา เจ้าดารารัศมีที่ทรงมีต่อล้นเกล้าฯ ในหลวงรัชกาลที่ 5 หรือของเราเองที่จะพึงมีต่อสองพระองค์ท่านเมื่อใดก็ตามที่เราได้เห็นกุหลาบจุฬาลงกรณ์ เราจะไม่ลืมระลึกถึงความรักที่พระราชชายาทรงเคยให้กับกุหลาบต้นนี้เมื่อ 80 ปีที่แล้ว” ข้อความส่วนหนึ่งจากหนังสือ “ดารารัศมี – สายใยรักสองแผ่นดิน” กล่าวถึงเรื่องราวได้ชัดเจน เจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากนครเชียงใหม่ ประสูติเมื่อวันอังคาร ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 เวลา 00.30 น.เศษ ณ คุ้มหลวงกลางเวียง นครเชียงใหม่ ทรงมีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยการถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนา หลังพระราชสวามีเสด็จสวรรคตเจ้าดารารัศมีจึงเสด็จนิวัตเชียงใหม่ แม้ไม่มีใครทราบประวัติที่มาของกุหลาบต้นแรกนี้แน่ชัด แต่คาดว่าด้วยเหตุที่พระองค์ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชสมาคมกุหลาบแห่งอังกฤษ จึงได้รับการถวายพันธุ์กุหลาบต่าง ๆ ทุกปี ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นกุหลาบขนาดใหญ่ สีชมพูระเรื่อ ไร้หนาม และส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา ซึ่งสันนิษฐานว่ากุหลาบต้นนั้นต่อมาจึงพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์”เพื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระสวามีผู้เป็นที่รักยิ่ง […]
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ขอเชิญร่วมงานเปิดตัวหนังสือ “SACIT Craft Power Book 2025” ในวันที่ 25 สิงหาคม 2567 ณ SACIT Craft Power Gallery ภายในงาน Crafts Bangkok 2024 เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับศิลปหัตถกรรมไทยสู่เวทีสากล โดย เนื้อหาภายในหนังสือได้รวบรวมความรู้ความเชี่ยวชาญจาก 9 กูรูด้านศิลปหัตถกรรม เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาสินค้าศิลปหัตถกรรมให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก และสร้างความโดดเด่นในตลาดสากล การจัดทำหนังสือดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ที่มุ่งเน้นการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขันและต่อยอดธุรกิจศิลปหัตถกรรมในตลาดโลก ถือเป็นโอกาสดีที่ผู้สนใจจะได้สัมผัสกับเนื้อหาเชิงลึกและแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการพัฒนาศิลปหัตถกรรมไทยให้ก้าวไกล มาร่วมกันสร้างความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาไทย และขับเคลื่อน soft power ของไทยสู่มาตรฐานสากลในเวทีโลก No related posts.
ย่านร่วมฤดี เป็นที่รู้จักกันดีมายาวนานว่า เป็นซอยที่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดีมากย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : baanlaesuanweb@amarin.co.th
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th