เปลี่ยนพื้นที่ข้างบ้านเป็นสวนจัดเองของคนรักไม้ใบ และ ไม้ด่าง
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้มีเหตุผลเสมอ แน่นอนว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงในหลายด้าน แต่ก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางการดําเนินชีวิตของใครหลายคน หนึ่งในนั้นคือ คุณตั้ว – ยุทธวีร์ รอดแสงสินธ์ุและคุณโบว์-อิศราภา ซื่อตรง สองสามีภรรยาที่เคยเป็นมนุษย์เงินเดือน แต่ปัจจุบันผันตัวเองมาเป็นคนขยายพันธุ์ไม้ใบและไม้ด่างเพื่อการจําหน่าย รวมถึงจัดสวนแห่งนี้ขึ้น
เจ้าของ- จัดสวน : คุณยุทธวีร์ รอดแสงสินธุ์ และคุณอิศราภา ซื่อตรง
ทั้งคู่ตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านจัดสรรย่านชานเมืองเมื่อประมาณหนึ่งปีที่ผ่านมา ในช่วงที่ทุกคนต้องล็อกดาวน์อยู่กับบ้าน สองสามีภรรยาได้
เปลี่ยนพื้นที่รอบบ้านให้ด้านหนึ่งเป็นโรงเรือนเก็บสะสมไม้ใบ งานอดิเรกใหม่ที่เริ่มขึ้นด้วยใจรักและต่อยอดเป็นสิ่งที่สร้างรายได้ ส่วนอีกฝั่งของบ้านจัดเป็นสวนขนาดเล็กที่นํา ไม้ใบและไม้สะสมที่ไม่ต้องดูแลมากมาปลูกรวมไว้ หรือบางชนิดก็เป็นต้นไม้ราคาสูง
“เสน่ห์ของไม้ด่างคือเราจะสนุกตอนลุ้นต้นที่กําลังจะแตกใบใหม่ว่าจะได้ใบด่างไหม และได้ใบด่างที่มีสีสันหรือลวดลายแบบไหน ไม้ใบบางต้น
มีการกลายร่างเป็นร่างหนึ่ง ร่างสอง ร่างสาม เราก็อยากชมวิวัฒนาการของต้นไปเรื่อย เหมือนได้เรียนรู้และเติบโตไปกับต้นไม้ ซึ่งถ้าเราไม่ได้
ปลูกมานานพอหรือรู้จักกับร้านที่ปลูกมานาน บางต้นจะไม่รู้เลยว่าตอนโตหน้าตาจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นทุกวันที่เราลงมาที่สวนมันคือการ
ค้นพบใหม่ๆ ที่คาดเดาไม่ได้เสมอ” คุณโบว์เล่า
จากสนามหญ้าเดิมที่โครงการหมู่บ้านให้มาทั้งคู่ค่อยๆ นํา ไม้ใบซึ่งเป็นไม้ยืนต้นมาลงปลูกก่อนอย่างไทรใบสัก ยางอินเดีย และกะตังใบ
จากนั้นก็ใช้เวลาหนึ่งปีเพื่อสังเกตทิศทางแดดให้แน่ใจ โดยระหว่างนั้นก็ปลูกผักสวนครัวไปพลางในช่วงที่ต้องล็อกดาวน์รอบแรก ก่อนตัดสินใจ
ทํา โรงเรือนสํา หรับปลูกไม้ใบและไม้สะสมทางด้านทิศตะวันตกของบ้าน ส่วนอีกฝั่งที่ได้รับแสงแดดในช่วงเช้าและสายก็จัดเป็นสวนสวยงามที่เน้นความรู้สึกโปร่งสบาย สามารถออกมาใช้พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ โดยไม่ต้องปลูกต้นไม้อยู่ใต้หลังคาเหมือนฝั่งโรงเรือน
คุณตั้วและคุณโบว์ลงมือจัดสวนเองในช่วงที่ต้องทํา งานที่บ้านเมื่อปีที่แล้ว โดยหลังจากกํา หนดผังเรียบร้อยว่าตั้งใจให้อะไรอยู่บริเวณไหนบ้าง
ก็เริ่มถมทรายหยาบรอบบ้าน ปรับระดับให้เรียบเสมอกันและทิ้งไว้จนแน่น จากนั้นจึงโรยหินทํา ทางเดิน และปลูกไม้ใบโดยใช้เครื่องปลูกเป็น
กาบมะพร้าวสับและเครื่องปลูกเดิมที่มากับกระถางต้นไม้ ซึ่งไม่มีเชื้อราหรือโรคที่ติดมากับเครื่องปลูก นอกจากนี้ยังเพิ่มบ่อปลา ซึ่งเป็นส่วนที่คุณตั้วทําและวางระบบกรองบําบัดนํ้าเองทั้งหมด
“เทคนิคการดูแลไม้ใบที่เรามักบอกคนอื่นเสมอคือ นิสัยต้นไม้ขึ้นอยู่กับนิสัยของเจ้าของด้วย อย่างพวกเราอยู่บ้านตลอด ชอบรดนํ้าต้นไม้เป็น
ประจํา ทุกวัน ดังนั้นเครื่องปลูกต้องโปร่ง ไม่อุ้มนํ้ามาก ส่วนผสมก็มีเม็ดดินเผา เปลือกสน เวอร์มิคูไลท์ กาบมะพร้าวสับ และหินภูเขาไฟ ผสมในอัตราส่วนเท่าๆ กัน และเพอร์ไลท์ที่จะผสมมากกว่าตัวอื่นๆ โดยใช้ปุ๋ยละลายช้าเป็นตัวเพิ่มสารอาหารเป็นหลัก และพยายามใช้เคมีกํา จัดศัตรูพืชเท่าที่จํา เป็นเท่านั้น จะไม่ฉีดทั้งหมดเพราะไม้ใบบางต้นไม่ชอบสารเคมีเลย นอกจากนี้เรายังแบ่งต้นไม้ให้มีฝั่งที่ปล่อยให้แมลงอยู่ได้และฝั่งที่เราใช้สารเคมีไล่แมลงในช่วงแรก แมลงก็เหมือนจะรู้ว่าตัวเองอยู่ได้แค่ไหน ก็จะไม่มารบกวนต้นไม้ที่เราต้องดูแลพิเศษในโรงเรือนฝั่งนี้”คุณโบว์เล่า
ผมอยู่พูดคุยกับคุณตั้วและคุณโบว์สักพักใหญ่ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องไม้ใบและชมไม้สะสมของทั้งคู่ไปเรื่อยๆ นํา ไปสู่การตั้งคํา ถามว่าทํา ไมผู้คนมากมายถึงหลงเสน่ห์ของต้นไม้อย่างถอนตัวไม่ขึ้น แล้วสิ่งหนึ่งที่ผมสัมผัสได้คือ ต้นไม้อาจสะท้อนตัวตนของเราก็ได้ ตัวตนที่ค่อยๆเติบโต เรียนรู้ และทํา ความเข้าใจสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตรอดเพราะการมีชีวิตอยู่นั้นสวยงามเสมอ
เรื่อง : ปัญชัช
ภาพ : ฤทธิรงค์ จันทองสุข