เช็กผังเมือง น้ำท่วม แนวเวนคืน ก่อนเลือกทำเลบ้าน
การเลือกทำเลบ้านที่ดี ไม่อยู่ในโซนที่มีความเสี่ยง ควรเช็กผังเมือง แนวเวนคืนที่ดิน และ เช็กประวัติน้ำท่วมทำเลบ้าน ก่อนเสมอ
เช็กประวัติน้ำท่วม
สามารถเข้าไป เช็กประวัติน้ำท่วมทำเลบ้าน ด้วยตัวเองได้ที่ http://flood.gistda.or.th/ โดยเลือกให้แสดง “ขอบเขตการปกครอง” และ “ความถี่น้ำท่วมขังในรอบ 11 ปี” จะแสดงผลงตามตัวอย่างนี้
สัญลักษณ์สีของความถี่น้ำท่วมขังในรอบ 11 ปี
- สีน้ำเงิน คือ 1 ครั้ง
- สีเหลือง คือ 2-4 ครั้ง
- สีม่วง คือ 5-7 ครั้ง
- สีแดง คือ 8-10 ครั้ง
เช็กการผังเมือง
ไม่ใช่เรื่องดีแน่ถ้าต้องการบ้านที่สงบสุขแต่ตั้งอยู่ในโซนอุตสาหกรรม จึงควรมาทำความรู้จักการผังเมืองเบื้องต้นกัน การผังเมือง คือ การวางแผนกฎหมาย สถาปัตยกรรม สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม การคมนาคม ฯลฯ เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย และระเบียบ การจัดวางแผนผังการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ โดยระยะเวลาในการกำหนดใช้กฎหมายข้อบังคับต่างๆ ของผังเมืองมีระยะเวลา 5 ปี เมื่อครบกำหนด ก็จะนำแผนทั้งหมดมาพิจารณาอีกครั้งเพื่อปรับแก้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจในช่วงนั้น รวมไปถึงในอนาคต เราสามารถเช็กตำแหน่งที่ดินกับโซนสีของผังเมือง และดูแนวโน้มได้ว่าต่อไปพื้นที่ตรงนั้นและรอบๆและพัฒนาไปทางใด โดยสามารถดาวน์โหลดผังเมืองรวมได้ที่
เช็กแนวเวนคืนที่ดิน
การเวนคืนที่ดินจะมีการประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาเวนคืน และประกาศทางสื่อต่างๆ ซึ่งสามารถค้นหาได้ในอินเตอร์เนต ก็จะบอกรายละเอียดการเวนคืนในปีนั้นๆ ซึ่งจะประกาศปีต่อปี โดยสังเกตได้ว่าแผนพัฒนาประเทศที่ต้องเวนคืนที่ดินจะเน้นที่การสร้างเส้นทางการคมนาคม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสองหน่วยงานหลักคือ
โดยสอบถามหรือเข้าไปตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับเส้นทางคมนาคมและแผนการพัฒนาในอนาคต แต่มักเป็นแนวเส้นทางคร่าวๆที่ยังไม่ระบุรายละเอียดชัดเจน ซึ่งการอยู่ใกล้แนวเส้นทางนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือ อาจได้รับผลกระทบจากการเวนคืนและก่อสร้างนานหลายปี แต่ก็อาจจะทำให้การคมนาคมโซนนั้นสะดวกและราคาที่ดินสูงขึ้น
เรื่อง ศรายุทธ
รู้ไว้รับมือน้ำท่วม ระดับความสูงจากน้ำทะเลในกรุงเทพ