ดอกมะลิ ไม้ดอกหอมคู่สวนไทย ปลูกง่าย - บ้านและสวน

รวมดอกมะลิที่คุณไม่เคยรู้จัก หลากสายพันธุ์ที่ปลูกได้ในประเทศไทย

กิจวัตรของคนไทยตั้งแต่เล็กจนโตคุ้นเคยกับการตื่นเช้าเก็บ ดอกมะลิ ที่ปลูกไว้รอบๆบ้าน นำมาร้อยมาลัยถวายพระ เก็บมาลอยน้ำให้แขกที่เยี่ยมเยือนได้ดื่มให้ชื่นใจ หรือใส่ในน้ำเชื่อมให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน อย่างวันที่ 12 สิงหาของทุกปีซึ่งเป็นวันแม่แห่งชาติ ทุกคนต่างนำ ดอกมะลิ ซ้อนมากราบแม่ สัญลักษณ์ที่เป็นสื่อแทนความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูก เช่นเดียวกับสีขาวของดอกและกลิ่นหอมที่ส่งไปไกล จึงเปรียบเหมือนวามรักของแม่ที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย

ดอกมะลิ มีมากมายหลายพันธุ์แต่วันนี้ขอหยิบยกตัวอย่างมาให้ได้ชมกัน 8 ชนิด เชื่อว่าหลายคนต้องไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนแน่นอน เดี๋ยวเราไปชมพร้อมๆกันเลยครับ

1. มะลิภูหลวง

มะลิภูหลวง

ไม้เลื้อย เถาทอดเลื้อยได้ไกล 2 – 4 เมตร ใบรูปใบหอกถึงรูปรี ช่อดอกแบบช่อกระจุก มี 15 ดอกจนถึงจำนวนมาก ปลายกลีบมนกลม กลิ่นหอมแรง ผลทรงไข่ ออกดอกในช่วงเดือน กรกฎาคมถึงกันยายน ผลแก่เดือน กุมภาพันธ์ถึงมีนาคม

ข้อแตกต่างที่ชัดเจนจากชนิดอื่น ใบหนาและมีเส้นใบย่อย 1-2 คู่แรกเด่นชัด แฉกกลีบเลี้ยงและกลีบดอกสั้น กลีบดอกแบนกว้าง ปลายมน ดอกเล็ก แต่มีกลิ่นหอมแรง

2. มะลิไส้ไก่ใบหนา

มะลิไส้ไก่ใบหนา

ไม้เลื้อย ใบรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบถึงมนแผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน ช่อดอกแบบกระจุก ริ้วประดับรูปแถบหรือใบหอก ปลายกลีบเรียวแหลมและงองุ้ม กลิ่นหอมแรง ผลทรงกลม แต่ละภาคออกดอกในช่วงเวลาแตกต่างกัน ตั้งแต่พฤษภาคมถึงตุลาคม ผลแก่เดือนกุมภาพันธ์

ข้อแตกต่างที่ชัดเจนจากชนิดอื่น ยอดอ่อนเรียบ ใบค่อนข้างหนาเรียบเป็นมัน ก้านดออกยาวมาก ปลายกลีบแหลมและงองุ้ม

J

3. มะลิระบำ

มะลิระบำ

ไม้เลื้อย เถาเลื้อยได้ไกล 2-4 เมตร ใบรูปใบหอกแคบถึงรูปรี ผิวใบเรียบ เส้นใบย่อย 2 คู่แรกเด่นชัด ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่งข้าง มี 3-5 ดอก ดอกสีขาวถึงสีขาวอมชมพู เมื่อบานจะห้อยลู่ลง กลิ่นหอมแรง ยังไม่ปรากฎข้อมูลการติดผลที่แน่ชัด ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม

ข้อแตกต่างที่ชัดเจนจากชนิดอื่น ลักษณะที่วไปคล้ายกับมะลิลอ ใบรูปแถบเรียวแคบและบาวมาก แต่กว้างและสั้นกว่ามีติ่งปลายใบเรียวยาว ฉแกกลีบเลี้ยงสั้น หลอดกลีบดอกยาว ดอกใหญ่ กลีบดอกบานห้อยลู่ เป็นมะลิที่หายากและใกล้สูญพันธ์มากชนิดหนึ่งของไทย

มะลิระบำ

4. ปันหยี หรือ มะลิร.5

ปันหยี หรือ มะลิร.5

ไม้เลื้อย เถาเลื้อยได้ไกล 2-5 เมตร ใบรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือรูปไข่ถึงรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบหรือมน แผ่นใบหนา ดอกเดี่ยว ออกที่ปลายกิ่งข้าง ไม่มีกลิ่นหอม ผลทรงรี

ข้อแตกต่างที่ชัดเจนจากชนิดอื่น ก้านดอกยาวมาก ดอกตูมสีม่วงแดง เมื่อบานมีกลีบดอกซ้อยเกยกัน เป็นมะลิที่มีดอกขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ไม่มีกลิ่นหอม

ปันหยี หรือ มะลิร.5

5. มะลิสยาม

ดอกมะลิ
มะลิสยาม

ไม้พุ้มเตี้ย สูงเพียง 25 ซม. ใบรูปใบหอก ปลายใบมนเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ช่อดอกแบบช่อกระจุก กลิ่นหอมแรง ผลกลม เมื่อแก่มีสีแดงเข้ม ออกดอกเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม  ผลแก่เดือนมีนาคมถึงมิถุนายน

ข้อแตกต่างที่ชัดเจนจากชนิดอื่น ไม้พุ่มเตี้ย มีกลีบเลี้ยงเป็นแผ่นบางขนาดใหญ่ ดอกใหญ่ ผลแก่กลมและมีสีแดงเข้ม

ดอกมะลิ
มะลิสยาม

6. มะลิเขย่ง

ดอกมะลิ
มะลิเขย่ง

ไม้รอเลื้อย เจริญเป็นพุ่มสูง 2-4 เมตร บางต้นก็เลื้อยได้ไกล ใบสุดท้ายใหญ่ที่สุด หนาและแข็ง บางครั้งมีใบเดี่ยว ปลายใบแหลม โคนใบสอบ กิ่งยอดและใบเหนี่ยวแข็งและมีขนสั้นปกคลุม ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ปลายกลีบลู่ลงหรือบิดพริ้ว กลิ่นหอมแรง ผลเดเี่ยวหรือแฝดทรงกลม อออกดอกเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ผลแก่เดือนมีนาคมถึงเมษายน

ข้อแตกต่างที่ชัดเจนจากชนิดอื่น มีใบประกอบ 3 ใบหรือใบเดี่ยว กิ่งยอดและใบเหนี่ยวแข็งและมีขนสั้นปกคลุม ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง มีดอกย่อย 15-50 ดอก

ดอกมะลิ
มะลิเขย่ง

7. มะลิพุทธชาดหลวง

ดอกมะลิ
มะลิพุทธชาดหลวง

ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน เสื้อยได้ไกล 2-5 เมตร ยอดอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบประกอบ 3 ใบ ใบย่อยรูปใบหอก โคนใบมน ช่อดอกแบบกระจุก กลิ่นหอมละมุน ทยอยออกดอกเกือบตลอดปี ต้นที่ปลูกในไทยติดผลน้อย ออกดอกตลอดปี แต่ดอกดกในฤดูฝน

ข้อแตกต่างที่ชัดเจนจากชนิดอื่น ยอดอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบประกอบ 3 ใบก้านช่ดอกยาวมาก

ดอกมะลิ
มะลิพุทธชาดหลวง

8. มะลิชัยชนะ

ดอกมะลิ
มะลิชัยชนะ

ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งยอดเป็นสันสี่เหลี่ยมและเรียบ มีใบประกอบ 3 ใบ ใบย่อยรูปรี ใบสุดท้ายมีขนาดใหญ่และยาว ปลายใบมน โคนใบรูปลิ่ม ช่อดอกแบบช่อกระจุก ดอกบานสีเหลืองเข้ม หอมแรงตลอดวัน ผลทรงกลมรี อออกดอกเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ต้นที่ปลูกในไทยมักไม่มีผล

ข้อแตกต่างที่ชัดเจนจากชนิดอื่น ใบประกอบ 3 ใบ บางครั้งเป็นใบเดี่ยว ปลายใบมน ก้านดอกยาว ดอกสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม กลีบดอกมนกลม มี 5 กลีบ

ดอกมะลิ
มะลิชัยชนะ

ข้อมูลจากหนังสือ : มะลิในเมืองไทย

เขียน : ดร.ปิยะ  เฉลิมกลิ่น

แปล : ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา

เรียบเรียง : อิสรา สอนสาศตร์ และ ภาสกร เจยาคม

ภาพ : สำนักพิมพ์บ้านและสว


เลือกปลูกไม้มงคลประจำวันเกิด

20 ไม้ดอกหอมที่ควรมีในสวน 

สูตรไล่หนอนผีเสื้อแบบไม่ใช้สารเคมี


เป็นเพื่อนกันเราได้ใน Facebook  บ้านและสวน