บ้านโฟม โฟมผนัง โฟมพื้น ทำง่าย ประหยัดเวลา? - บ้านและสวน

บ้านโฟม โฟมผนัง โฟมพื้น ทำง่าย ประหยัดเวลา?

โฟม วัสดุที่เห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน นำไปใช้งานได้หลากหลาย เเต่ โฟมผนัง โฟมพื้น ที่ใช้สำหรับการก่อสร้างต้องเป็นโฟมชนิดความหนาแน่นสูง หรือที่เรียกว่าว่า โฟม EPS ใช้สำหรับงานก่อสร้างทำบ้าน โฟมผนัง โฟมพื้น

โฟม EPS คืออะไร

Expanded Polystyrene Foam (EPS) การนำเนื้อพลาสติกมาทำปฏิกิริยากับสารที่ทำให้เกิดการขยายตัวและเมื่อได้รับความร้อนจากไอน้ำก็จะทำให้เกิดโฟมเม็ดเล็กๆ จากนั้นจึงน้ำไปขึ้นรูปให้เป็นโฟมก้อน

คุณสมบัติที่เป็นข้อดี

โฟมผนัง โฟมพื้น
โฟมผนัง โฟมพื้น

1.เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ติดตั้งเป็นแผ่นใหญ่ๆได้ ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดค่าแรง

2.น้ำหนักเบา หากใช้โฟม หนา3นิ้ว รวมฉาบ 1 เซนติเมตร 2ด้าน มีน้ำหนักประมาณ 45 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

3.เหมาะกับงานต่อเติม เพราะบ้านบางหลังไม่ได้ออกแบบมาเผื่อการต่อเติม

4.กันความร้อนได้ดี เพราะเนื้อโฟมมีอากาศ 98%ของปริมาตรจึงเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี

5.ไม่ลามไฟ

6.กันเสียงได้ดี

การติดตั้งทั่วไป

  • การตัดแผ่นโฟม สามารถใช้เลื่อย หรือ เครื่องเจียร งานช่างทั่วไปหรือมีดคัตเตอร์ตัดโฟม EPS ได้อย่างง่ายดาย
  • การต่อโฟม EPS เป็นขั้นตอนพิเศษ กรณีที่ต้องมีการต่อแผ่นโฟม EPS เข้าด้วยกันให้ใช้กาวสำหรับต่อโฟม EPS โดยเฉพาะเท่านั้น เพราะกาวชนิดอื่นจะทำปฎิกิริยากับโฟม EPS ทำให้ละลายได้ ต้องใช้กาวต่อโฟม ชนิดพิเศษ
  • การฉาบ สามารถกรุลวดกรงไก่หรือตาข่ายเสริมแรงติดกับแผ่นโฟม EPS พร้อมกับทาน้ำยาประสานซีเมนต์พิเศษสำหรับประสานโฟม EPS และปูนฉาบให้ยึดติดกัน สุดท้ายทำการฉาบปูนฉาบลงบนผิวหน้าแผ่นโฟม EPS ได้เลย
โฟมผนัง โฟมพื้น

การติดตั้งทั่วไป ผนังโฟม โฟมแผ่นต้องใช้อะไรบ้าง

  • ผนังโฟม โครงคร่าวเหล็ก ให้ใช้เหล็ก รางยู 2 นิ้ว หรือ 3 นิ้ว  เป็นโครงคร่าวโดยติดตั้งโคร่งคร่าวติดกับใต้ท้องคานและพื้นด้วยสกรูให้แน่นหนา หลังจากนั้นสอดแผ่นโฟม EPS เข้าไปในเหล็กรางยู 2 นิ้ว หรือ 3 นิ้ว และ ยึดติดโฟม EPS กับเหล็กด้วยกาวพิเศษ กรณีใช้ปูนฉาบทับรองด้วยตะแกรงลวดและใช้น้ำยาประสานซีเมนต์ช่วยให้ตัวเนื้อปูนซีเมนต์ยึกเกาะกับตัวผนังได้ดีขึ้น

หลักการใช้โฟม EPS ในงานผนัง

การเตรียมผนัง

  • ทำความสะอาดพื้นผิวผนังให้เรียบและไม่มีสิ่งกีดขวาง
  • ตรวจสอบว่าผนังไม่มีรอยร้าวหรือความเสียหายที่จะต้องซ่อมแซมก่อนการติดตั้ง

การติดตั้งแผ่นโฟม EPS

  • เลือกความหนาของแผ่นโฟม EPS ตามความต้องการของฉนวนกันความร้อนและเสียง โดยทั่วไปจะใช้ความหนาตั้งแต่ 25 มม. ถึง 100 มม.
  • วางแผ่นโฟม EPS บนผนังโดยใช้กาวสำหรับโฟม EPS หรือตัวยึดเชิงกล (Mechanical Fasteners) เพื่อยึดแผ่นโฟมกับผนัง

การติดตั้งแผ่นเสริมแรง

  • ติดตั้งแผ่นเสริมแรง เช่น ตาข่ายไฟเบอร์กลาส (Fiberglass Mesh) บนแผ่นโฟม EPS เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันการแตกร้าว
  • ใช้ปูนฉาบบาง (Thin-set Mortar) หรือกาวสำหรับโฟม EPS ในการยึดตาข่ายกับแผ่นโฟม

การติดตั้งชั้นป้องกันความชื้น

  • วางชั้นป้องกันความชื้น (Vapor Barrier) บนแผ่นโฟม EPS เพื่อป้องกันการซึมของความชื้นจากภายนอกเข้าสู่ผนังภายใน

การฉาบปูนหรือการติดตั้งวัสดุตกแต่ง

  • ฉาบปูนหรือใช้วัสดุตกแต่งผนังตามที่ต้องการบนแผ่นโฟม EPS
  • ทำการตกแต่งผนังตามที่ต้องการ เช่น การทาสี การปูกระเบื้อง หรือการติดวอลล์เปเปอร์

ข้อควรระวัง

  • การยึดติด: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแผ่นโฟม EPS ถูกยึดติดอย่างแน่นหนากับผนังและไม่มีช่องว่างระหว่างแผ่นโฟม
  • การป้องกันความชื้น: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชั้นป้องกันความชื้นถูกติดตั้งอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราและความเสียหายจากความชื้น
  • การเลือกวัสดุ: ใช้กาวและวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งโฟม EPS เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ข้อดีของการใช้โฟม EPS ในงานผนัง

  • ประหยัดพลังงาน: โฟม EPS เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ช่วยลดการสูญเสียพลังงานในการทำความร้อนหรือทำความเย็นภายในอาคาร
  • ลดเสียงรบกวน: ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกและเสียงภายในอาคาร
  • น้ำหนักเบา: ทำให้ง่ายต่อการขนย้ายและติดตั้ง
  • ความทนทาน: มีความทนทานต่อแรงกดและไม่ดูดซับน้ำ

หลักการใช้โฟม EPS ในงานพื้น

เตรียมพื้นผิว

  • ทำความสะอาดและปรับระดับพื้นผิวที่ต้องการติดตั้งโฟม EPS เพื่อให้เรียบและไม่มีสิ่งกีดขวาง

เลือกความหนาของโฟม EPS

  • เลือกความหนาของแผ่นโฟม EPS ตามความต้องการของฉนวนกันความร้อนและความแข็งแรงที่ต้องการ โดยปกติจะใช้ความหนาตั้งแต่ 25 มม. ถึง 100 มม. หรือมากกว่านั้นตามความจำเป็น

วางแผ่นโฟม EPS

  • วางแผ่นโฟม EPS บนพื้นผิวที่เตรียมไว้โดยเรียงให้แนบสนิทกันเพื่อลดช่องว่างระหว่างแผ่น

ติดตั้งแผ่นป้องกันความชื้น

  • วางแผ่นป้องกันความชื้น (Vapor Barrier) บนโฟม EPS เพื่อป้องกันการซึมของความชื้นจากพื้นด้านล่างขึ้นมาทำลายโฟม

ติดตั้งแผ่นเสริมแรง

  • วางแผ่นเสริมแรง (Reinforcement Mesh) เช่น ตาข่ายเหล็กหรือแผ่นเหล็กบาง บนแผ่นโฟม EPS เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและการรองรับน้ำหนัก

เทคอนกรีตหรือปูน

  • เทคอนกรีตหรือปูนลงบนแผ่นโฟม EPS และแผ่นเสริมแรง โดยทำให้หนาพอที่จะรองรับน้ำหนักและการใช้งานที่ต้องการ
  • ปรับระดับพื้นคอนกรีตหรือปูนให้เรียบและปล่อยให้แห้งสนิท

ข้อควรระวัง:

  • ความแข็งแรงของโฟม: เลือกโฟม EPS ที่มีความหนาแน่นและความแข็งแรงเพียงพอของพื้นที่จะใช้งาน
  • การป้องกันความชื้น: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ติดตั้งแผ่นป้องกันความชื้นอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราและการเสื่อมสภาพของโฟม
  • การติดตั้งที่ถูกต้อง: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแผ่นโฟม EPS ถูกติดตั้งอย่างเรียบและแนบสนิทกันเพื่อลดช่องว่างและป้องกันการเสียหายของพื้น

ข้อดีของการใช้โฟม EPS ในงานพื้น:

  • ประหยัดพลังงาน: โฟม EPS เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ช่วยลดการสูญเสียพลังงานในการทำความร้อนหรือทำความเย็นภายในอาคาร
  • ลดเสียงรบกวน: ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกและเสียงภายในอาคาร
  • น้ำหนักเบา: ทำให้ง่ายต่อการขนย้ายและติดตั้ง
  • ความทนทาน: มีความทนทานต่อแรงกดและไม่ดูดซับน้ำ

การติดตั้งทั่วไป พื้นโฟม โฟมแผ่นรองพื้น โฟมปรับระดับ ต้องใช้อะไรบ้าง

  • พื้น ใช้โฟม EPS ร่วมกับแผ่นพื้นสำเร็จได้เพื่อลดน้ำหนักอาคาร โดยวางแผ่นโฟม EPS ลงบนแผ่นพื้นสำเร็จแล้วจึงใช้เหล็กไวล์เมชวางเสริมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง หลังจากนั้นจึงเทคอนกรีต topping หนาประมาณ 5ซม
  • โฟมสามารถใช้ในการปรับระดับพื้นบ้าน หรือแก้ปัญหาพื้นทรุด สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงเป็นอย่างมากก็คือการรับน้ำหนักของอาคาร วัสดุโฟมแผ่นเป็นที่ น่าสนใจในการถมพื้นที่ปรับระดับเพื่อ เทพื้น โฟม EPS นำปรับระดับก่อนเทปูนซึ่งนอกจากจะสะดวกรวดเร็วขึ้นแล้วยังมีน้ำหนักที่น้อยไม่ก่อให้เกิดภาระต่อโครงสร้างอีกด้วย
  • โฟมแผ่นที่มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่นต่ำ รับน้ำหนักได้มาก(ขึ้นอยู่กับความหนาแน่น) นิยมนำมาใช้แทนวัสดุธรรมชาติ เช่น ดิน ทราย คอนกรีต ในการถมพื้นที่ และใช้เป็นไส้ผนังแทนวัสดุก่อ 
  • รับน้ำหนักรถยนตร์ได้หรือไม่? ดยทั่วไป แผ่นโฟม EPS จะสามารถรับน้ำหนักเฉลี่ยได้ถึง 6.4 – 12.23 ตันต่อตรม. จึงสามารถรับน้ำหนักรถยนตร์ใช้ปรับระดับพื้นทางสัญจรหรือโรงจอดรถได้อย่างสบาย 

ขั้นตอนการปรับพื้นโฟม

  • วางโฟมตามระดับความสูงและจนราดที่ต้องการปรับระดับพื้นหน้างาน ขนาดโฟมที่นิยมมาปรับระดับพื้น มีความหนาตั้งแต่ 5/7.5/10 เซนติเมตร  ตัวอย่าง ถ้าต้องการเทพื้น 15 เซนติเมตร สามารถใช้โฟม 100 เซนติเมตร วาง และเทปู วางตะแกรงเหล็ก อีก 5 เซนติเมตร ได้เช่นกัน 
  • กรณีพื้นที่กว้าง ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็นช่วงๆ อาจใช้อิฐมวลเบา หรือกั้นไม้แบบเพื่อตัดช่วงหรือ Cut Joint ปูนสำหรับป้องกันการแตกร้าวเป็นแนวยาว
  • กั้นขอบปูนโดยรอบพื้นที่ที่ต้องการเทปูนเพื่อปรับระดับ ก่อให้สูงกว่าแผ่นโฟมที่วางเอาไว้โดยเผื่อความสูงสำหรับฉาบพื้นภายหลังการเทพื้นปูนให้พอดีกันโดยอาจใช้การก่อช่วยในการกั้นขอบได้ 
  • วางเหล็กตะแกรงหรือไวเมท เพื่อช่วยรับน้ำหนักป้องกันการแตกร้าวในอนาคต และติดตั้งให้ยึดกับแผ่นโฟม แต่ยกขึ้นมาประมาณ1-2 นิ้วจากพื้นแผ่นโฟม 
  • หากเป็นงานห้องน้ำ ห้องครัว หรือซักล้าง อาจกรีดแผ่นโฟมเพื่อวางระบบท่อได้
  • เทพื้นตามปกติ เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ

แนวโน้มและอนาคต

  • แนวโน้มการใช้โฟม EPS ในการก่อสร้างบ้านในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการและผู้บริโภคเริ่มเห็นถึงข้อดีและประโยชน์ของการใช้วัสดุนี้ในการก่อสร้าง ทั้งในเรื่องของความประหยัดพลังงาน ความสะดวกในการก่อสร้าง และความคุ้มค่าในการลงทุน ในอนาคต คาดว่าจะมีการพัฒนาและนวัตกรรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้โฟม EPS ในการก่อสร้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป

เรื่อง PAKAHO

ขอขอบคุณข้อมูล  APrime Plus Co., Ltd.

ภาพวาดประกอบ PAKAHO

ภาพปก  APrime Plus Co., Ltd.


รวมฉนวนกันความร้อน 4 ชนิดยอดนิยม พร้อมราคาขาย

ระบบผนังกันความร้อน เลือกแบบไหน? ใช่กับบ้านคุณ!

ติดตามบ้านและสวน www.facebook.com/baanlaesuanmag