ที่ดินตาบอด คืออะไร ทำอย่างไรจึงจะมีทางออก - ช่างประจำบ้าน โดย บ้านและสวน
ที่ดินตาบอด

ที่ดินตาบอด คืออะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง

กรณี ที่ดินตาบอด เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า “ช่วงหลังสงกรานต์พี่เลี้ยงที่บ้านดิฉันขออนุญาตลางานกลับบ้านต่างจังหวัด เพื่อไปเคลียร์ปัญหาที่ดินหลังจากมีการขายที่และแบ่งโฉนดแล้วเกิดปัญหาบ้านอยู่ใน ที่ดินตาบอด “

นางจึงพยายามเจรจาขอภาระจำยอม ใช้ทางของที่ดินข้างเคียงเพื่อจะออกจาก ที่ดินตาบอด ไปถนนสาธารณะ เเต่ไม่สำเร็จ นางจึงโทรศัพท์กลับมาปรึกษาว่าทำอย่างไรดี มีข้อกฎหมายอะไรช่วยได้หรือเปล่า

ได้ยินคำถามจากพี่เลี้ยงแล้ววิญญาณนักกฎหมายเก่าของดิฉันเข้าสิงร่างทันที 555 ก่อนอื่นต้องอธิบายความหมายของที่ดินตาบอดก่อนนะคะ ามประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์มาตรา 1349 ที่ดินตาบอด หมายถึงที่ดินเเปลงหนึ่งที่มีที่ดินเเปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงสาธารณะได้ หรือที่ดินเเปลงนั้นมีทางออกสู่สาธารณะได้ เเต่ต้องข้ามบึงหรือที่ชัน ซึ่งทำให้เจ้าของที่ดินนั้นเดือดร้อนเกินสมควร ด้วยเหตุนี้เองกฎหมายจึงให้สิทธิ์เเก่เจ้าของที่ดินเเปลงนั้น สามารถเดินผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ค่ะ

ซึ่งทางเดินผ่านนี้ในสายตาของกฎหมายเรียกว่า ทางจำเป็น ดังนั้นหากที่ดินของคุณถูกล้อมโดยที่ดินเเปลงอื่น ก็ถือว่าเป็นที่ดินตาบอด ซึ่งสามารถขอให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงเปิดทางจำเป็นนี้ได้ เเต่วิธีทำทางผ่านนั้นจะต้อง

  1. เลือกให้พอควรเเก่ความจำเป็นเเละต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
  2. การใช้ประโยช์นจากทางจำเป็นนี้ คุณต้องทดเเทนให้เเก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ด้วย โดยอาจจะกำหนดกันเป็นเงินรายปีก็ได้

เเละถ้าเจ้าของที่ดินข้างเคียงไม่อนุญาตให้ออก คุณก็สามารถร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งเปิดทางจำเป็นได้โดยเสียค่าทดเเทนเเก่เจ้าของที่ดินข้างเคียง เพื่อใช้ที่ดินของเขาเป็นทางจำเป็นออกสู่ถนนสาธารณะค่ะ

ส่วนเรื่องของพี่เลี้ยงดิฉันนั้นหลังจากรับคำปรึกษาไป นางยังคงงงงวยเจรจาไม่ถูก สุดท้ายต้องส่งโทรศัพท์ให้ดิฉันเจรจาแทนจึงตกลงกันได้เรียบร้อย ไม่ต้องไปร้องขอต่อศาลให้เสียเวลา และเสียมิตรภาพต่อกัน เชื่อดิฉันสิคะ บ้านใกล้เรือนเคียงหากถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกัน การดำเนินชีวิตของคุณจะมีความสุขแน่นอนค่ะ


รู้ไว้ก่อนทำผิดกฎหมายบ้าน

9 ปัญหายอดฮิตเกี่ยวกับกฎหมายการสร้างบ้าน

ความแตกต่างของเอกสารสิทธิ์ที่ดิน รู้ไว้อย่าให้ใครหลอกขาย!

ซื้อที่ดินติดสัญญา ภาระจำยอม ผู้ซื้อยกเลิกสัญญาได้หรือไม่

ติดตามบ้านและสวน facebook.com/baanlaesuanmag