วิธีสร้างสภาวะสบาย น่าอยู่ให้กับบ้าน
วิธีจัดบ้านให้น่าอยู่ สร้างสภาวะอยู่สบาย
สภาวะสบาย ของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป บางคนเลือกพื้นที่ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา บ้างขอเพียงแค่มุมระเบียงเล็กๆที่มองเห็นท้องฟ้ากว้างเท่านั้นบ้างใช้การ จัดบ้านให้น่าอยู่ เพราะฉะนั้นภาวะน่าสบายจึงมีความหมายเท่ากับความสุข ซึ่งเราสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ที่บ้านของตัวเอง เราจึงมีวิธีการสร้างสภาวะสบายให้กับบ้าน เพื่อทำให้จิตใจเบิกบานแจ่มใสไปทุกวัน วิธีจัดบ้านให้น่าอยู่
1. ฝุ่นละออง ดองไว้ไม่ดี
ฝุ่นก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้และสุขภาพที่เสื่อมถอย แต่เราก็หลีกเลี่ยงได้ยากเต็มที เพราะรอบตัวเราเองก็มีทั้งฝุ่นที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ผิวหนังชั้นนอกที่ผลัดเซลล์ผิว เส้นผม หรือขนสัตว์เลี้ยง และฝุ่นในอากาศที่เกิดจากมลพิษและโรงงานอุตสาหกรรม ขอแนะนำให้หมั่นทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ หากกำลังคิดสร้างบ้านควรเริ่มจัดวางแปลนบ้านโดยลดพื้นที่ซอกหลืบที่ทำความสะอาดยาก หรือเกิดพื้นที่เข้าไม่ถึงให้น้อยที่สุด ทำบานปิดให้ตู้หรือชั้นวางแบบเปิดโล่งที่ใช้จัดเก็บหนังสือหรือของโชว์ รวมถึงเรื่องเล็กๆที่อาจไม่เล็กอย่างระยะของโรงจอดรถกับประตูบ้าน หากมีพื้นที่เพียงพอ อาจเว้นระยะห่างออกมาสักหน่อย เพื่อจะได้ไม่ต้องจอดรถตรงกับหน้าประตูพอดี เพราะอาจนำพาฝุ่นและควันเข้าบ้านได้ หรืออาจปลูกต้นไม้เพื่อช่วยกรองฝุ่นละอองตรงหน้าบ้าน ก็ทำให้บ้านสดชื่นและช่วยลดฝุ่นละอองไปด้วยในตัว
2. แสงส่อง
แสงสว่างที่เพียงพอช่วยฆ่าเชื้อโรคและทำให้บ้านไม่อับชื้น ทิศทางการเปิดรับแสงภายในบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ควรวางแผนตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ เช่น มุมหลักที่ใช้งานพร้อมหน้าทั้งครอบครัวอย่างห้องนั่งเล่น หากใช้เวลาในช่วงเช้ามากกว่าช่วงเวลาอื่น การหันหน้าไปทางทิศตะวันออกก็ทำให้ได้รับแสงยามเช้าที่ดี นอกจากนี้วัสดุที่เลือกใช้ในบ้านก็ไม่ควรมองข้าม ในมุมที่ต้องการให้มีแสงส่องผ่าน เช่น ครัว หรือห้องน้ำ เลือกกรุกระเบื้องหลังคาไฟเบอร์กลาสแบบใส หรือทำผนังกระจก ก็ช่วยให้แสงผ่านได้ดี
3. วอนลมพัดพา
ลม ช่วยระบายอากาศและสร้างภาวะน่าอยู่ให้บ้านได้เป็นอย่างดี การออกแบบช่องลมในบ้านจึงมีความสำคัญมาก ทิศทางลมที่ไหลเวียนเข้ามาในตัวบ้านต้องมีทางให้เข้า – ออก ดังนั้นช่องลมควรอยู่ตรงกันหรือเยื้องกัน นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงทิศทางลมประจำฤดูด้วย เช่น ฤดูร้อนลมพัดมาจากทางทิศใต้ ฤดูหนาวลมพัดมาจากทางทิศเหนือลงใต้ และฤดูฝนลมพัดเข้ามาทุกทิศทาง มีหลายวิธีที่ช่วยให้ลมเข้าบ้าน เช่น เลือกติดหน้าต่างบานเกล็ด หรือใช้อิฐบล็อกช่องลมที่ช่วยกั้นสายตา และให้ความเป็นส่วนตัวได้ในระดับหนึ่ง
4. แบ่งกั้นแต่ไม่ทึบตัน
สร้างความเป็นส่วนตัวให้แต่ละพื้นที่ในบ้านด้วยกำแพง แต่ออกแบบให้มีความโปร่ง เพื่อไม่รบกวนการไหลเวียนของอากาศภายในบ้าน ลมธรรมชาติจะได้พัดเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง