ดอกบัวมีหลายแบบ มารู้จักบัวกัน
บ้านเรานับเป็นแหล่งรวมไม้ประดับที่แห่งหนึ่งที่สำคัญของโลกก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นไม้เมืองร้อน ไม้เมืองหนาว ปลูกง่ายหรือยากอย่างไร เมืองไทยมีแทบทุกชนิด และนำมาปลูกประดับกันอย่างสวยงาม เช่นเดียวกับ “บัว” ที่คนไทยนำมาใช้ประโยชน์กันมากมาย ดอกบัว
คำว่า “ บัว ” ภาษาอังกฤษมีอยู่ 2 คำ คือ คำว่า Waterlily กับ Lotus หลายคนรู้ว่า “Lotus” คือบัวหลวง พืชในสกุล Nelumbo ที่คนไทยนำดอกมาบูชาพระ ซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา ดอกบัว
ดังพุทธประวัติที่ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติและก้าวเดิน ก็มีดอกบัวหลวงผุดขึ้นจากน้ำรองรับพระบาทอยู่ นอกจากนี้คนไทยยังนำเกสรบัวหลวงมาใช้เป็นสมุนไพรบำรุงร่างกาย ฝักบัว รากบัวและไหลบัวหลวงยังนำมาประกอบอาหารได้ ส่วนใบบัวยังนำมาห่อข้าวนึ่ง เป็นข้าวห่อใบบัวอีกด้วย
ขณะที่อีกหลายคนคงสงสัยว่า “Waterlily” คือบัวชนิดไหน ประเภทใด
สำหรับคำว่า Waterlily หรือ “ อุบลชาติ ” เป็น บัว อีกกลุ่มหนึ่งที่คนไทยรู้จักกันดีเช่นกัน นั่นก็คือ บัวสาย หรือ บัวกินสาย พืชในสกุล Nymphaea ก้านของบัวสาย คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารที่ขึ้นชื่ออย่าง ต้มสายบัวกับปลาทู และขนมสายบัว ซึ่งเป็นขนมหวานไทยที่ปัจจุบันหากินได้ยากแล้ว
อุบลชาติ หรือ Waterlily ในสกุล Nymphaea นอกจากบัวสายที่ให้ดอกบานช่วงค่ำถึงรุ่งเช้าแล้ว ยังมีบัวประเภทอื่นที่อยู่ในสกุลนี้ก็คือ บัวผัน บัวเผื่อน และบัวฝรั่งที่ให้ดอกบานช่วงกลางวันใบลอยแตะผิวน้ำ ซึ่งปัจจุบันนิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก อาจมีคำถามต่อว่า แล้วบัวแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร เรามีจุดสังเกตง่ายๆ คือ