เรียนรู้จาก Covid19 กับแนวทางวางผังพื้นที่อาหารของเมือง โดย UDDC

Covid19 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของคนทั้งโลกไปในเวลาเพียงแค่ไม่กี่เดือน และไม่เว้นแม้แต่กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งในช่วงแรกนั้นต้องบอกเลยว่าทุกๆคนต่างก็รับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก อ่าน :  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับงานสถาปัตยกรรมและผังเมือง แต่เมื่อเหตุการณ์เริ่มดีขึ้น  เราก็ได้เห็นว่ามีหน่วยงานหนึ่งได้นำเสนอ “มาตรการการออกแบบวางผังพื้นที่อาหารของเมือง” ให้ร้านอาหารและแหล่งอาหารได้นำไปใช้ ด้วยรูปแบบและวิธีคิดที่น่าสนใจ วันนี้เราจึงได้ขอพูดคุยถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ Covid19 โดย คุณปูน ปรีชญา นวราช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่าย urban design and development ของ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design and Development Center) หรือที่เรามักจะได้ยินในชื่อ UDDC นั่นเอง room : จากตัวอย่างแนวทางมาตรการการออกแบบวางผังพื้นที่อาหารของเมือง 4 รูปแบบนั้น อยากทราบถึงแนวคิดเบื้องหลัง หลักคิด ก่อนที่จะกลายมาเป็นแนวทางทั้ง 4 ของ UDDC UDDC : ต้องเกริ่นก่อนว่า UDDC นั้นมีความสนใจในการออกแบบเมืองอยู่แล้ว  มันคือการออกแบบเพื่อคนที่อยู่อาศัยในนั้นจริงๆ […]

บุกสวนธรรมชาติของคุณสุหฤท สยามวาลาในบ้านขนาดพื้นที่ 125 ตารางวา

ต้นไม้สูงเท่ากับตึกสี่ชั้นบดบังตัวบ้านด้านในให้ดูร่มรื่นตาตั้งแต่ยังไม่เข้าไป พื้นที่ 125 ตารางวาของบ้านหลังนี้แต่เดิมก็เหมือนเช่นบ้านจัดสรรทั่วไปซึ่งมีสวนอยู่รอบตัวบ้าน มีสนามหญ้า มีต้นไม้ใหญ่ แต่ก็ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง กระทั่งเมื่อราวหนึ่งปีก่อนมีการปรับปรุงสวนใหม่ จัดการพื้นที่ใช้งานโดยเปิดสเปซให้โล่งขึ้นและมีน้ําตกขนาดย่อมอยู่มุมหนึ่ง สร้างบรรยากาศอันแสนผ่อนคลาย เหมาะกับการพักผ่อนของคุณโต้-สุหฤท สยามวาลา ผู้เป็นเจ้าของสวน เจ้าของ : คุณสุหฤท – คุณบงกช สยามวาลาจัดสวน : บริษัทสวนสวยแลนด์สเคป จํากัด โทรศัพท์ 0-8328-8612 บ้านที่แวดล้อมด้วยสวนเขียวชอุ่มแห่งนี้คือของคุณโต้-สุหฤท สยามวาลา หลายคนรู้จักเขาดี ด้วยบุคลิกอันโดดเด่น มีแนวคิดและมุมมองแบบก้าวหน้า อีกทั้งบทบาทการเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทดีเอชเอ สยามวาลา จํากัด ดีเจ และครั้งหนึ่งเขายังเคยเป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับการจับตามองมากอีกท่านหนึ่ง ในวันที่ฝนพรํานิดๆ เราก็ได้มานั่งพูดคุยกับเขาด้วยเรื่องเบาๆ ภายในสวนซึ่งเขาบอกว่าเป็นมุมโปรดที่ออกมานั่งทุกวัน “สวนเดิมมากับโครงการไม่มีอะไร มีแค่ต้นไม้ใหญ่ หญ้าตายๆ ปัญหาคือ ด้านหน้ากลายเป็นพื้นที่ตาย หมายถึงไม่เคยใช้อะไรเลย ขนาดเดินยังไม่เคยออกมาเลย ไม่รู้จะออกมาทําอะไร ก็เลยคุยกับนักจัดสวนว่า ผมอยากให้ตรงนี้มีชีวิตขึ้น ให้สวนด้านหน้าได้ใช้งาน ไม่อย่างนั้นมันก็หายไป ออกด้านหลังก็ไม่เคยมาอยู่กับสวน ผมไม่ดูรายละเอียดอะไรมาก ดูแบบโอเค…ชอบ จบลุยเลย แฮ็ปปี้มาก” […]

สวนจัดเองสไตล์อังกฤษที่สร้างจากความฝันแล้วปล่อยไปตามธรรมชาติ

เราทุกคนล้วนมีความฝันในวัยเยาว์หลายคนจําต้องปล่อยให้ความชอบความต้องการยังคงเป็นความฝันต่อไป แต่ก็มีอีกหลายคน ที่โชคดีได้ทําความฝันนั้นให้เป็นจริง อย่างเช่น เภสัชกรหนุ่มหล่อ คุณหนุ่ม – เรวัต จันทร์เจริญผล ที่ฝันไว้ว่าอยากปลูกต้นไม้ อยากมีสวนจัดเองสวยๆ ในบ้าน โดยอาศัยความชอบหมั่นศึกษาหาความรู้และลงมือทําด้วยตัวเอง “เมื่อเจ็ดปีก่อนผมต้องย้ายมารับราชการที่ฉะเชิงเทรา ตอนนั้นคุณแม่ผ่าตัดเนื้องอกในสมองด้วย เลยถือโอกาสพาคุณพ่อคุณแม่ย้ายมาอยู่ที่นี่ด้วยกัน ผมชอบต้นไม้อยู่แล้ว เพราะครอบครัวก็เคยทําสวนอยู่ที่นครปฐมมาก่อนจริงๆ แล้วตอนเด็กๆ ผมอยากเรียนสถาปัตย์ แต่สุดท้ายเลือกเรียนสายแพทย์ตามใจที่บ้าน และคิดมาตลอดว่าอยากปลูกต้นไม้ แต่คุณแม่ไม่ชอบกลัวจะรก กลัวงู โชคดีที่บ้านหลังนี้ผมอยู่คนเดียว ส่วนคุณพ่อคุณแม่อยู่หลังข้างๆ ผมก็เลยปลูกต้นไม้ทําสวนอย่างที่อยากทําได้เต็มที่ พื้นที่ทั้งหมด 65 ตารางวา หลังปลูกบ้านก็เหลือพื้นที่ทําสวนได้อีกนิดหน่อย โชคดีที่มีโอกาสได้เดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ ชอบดูหนังสือเกี่ยวกับสวน และเราเองก็รู้ตัวว่าชอบอะไร แต่งไปแต่งมาก็เลยได้ออกมาแบบที่เห็นครับ เป็นสวนสไตล์อังกฤษนิดๆ วิธีจัดสวนของผมไม่ได้มีหลักการเหมือนนักจัดสวนมืออาชีพ ตอนเริ่มต้นก็ไม่ได้มีแบบแปลนในหัวคิดอะไรได้ก็ลงมือปลูกตามที่คิด พื้นที่ก็ไม่ได้ปรับแต่งอะไรเลย พวกดินปลูกก็ไม่ค่อยได้เปลี่ยน ต้นไม้อยู่รอดก็อยู่ต่อ อยู่ไม่รอดก็เปลี่ยนต้นใหม่ ผมหมั่นสังเกตและเรียนรู้ด้วยตัวเอง เวลาไปร้านต้นไม้ก็จะดูว่ามีต้นอะไรที่เข้ากับบ้านเข้ากับสวนเราได้บ้าง “ส่วนตัวเป็นคนชอบหญ้า เมื่อก่อนปลูกไว้หลังบ้านเยอะเลยครับ เพราะเป็นจุดที่โดนแดดมากที่สุด พวกหญ้าเม็กซิกัน หญ้าน้ําพุ เวลาออกดอกพร้อมๆ กัน โดนลมแล้วพลิ้วสวยดูมีความเคลื่อนไหว ผมว่าเป็นต้นไม้ที่ใช้จัดสวนได้สวยนะครับ แล้วผมก็ชอบไม้ดอก แต่พยายามเลือกที่ไม่เป็นไม้ล้มลุก […]

เจาะลึกช่องทางรายได้จากสมุนไพรไล่แมลง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมสูตรการทำ

ปัญหาแมลงศัตรูพืชบุกรบกวนต้นไม้ในสวนเป็นเรื่องน่ากังวลใจไม่น้อย จะใช้สารเคมีก็อาจเกิดการตกค้างและเป็นอันตรายได้ ครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่เราได้มาพูดคุยกับ ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์ อาจารย์ประจําสาขาวิชาวิทยาการสมุนไพร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ศึกษาและวิจัยพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณไล่แมลง ซึ่งถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยและได้ผลดี โดยเฉพาะกับแปลงผักสวนครัวรั้วกินได้ในสวนของเรา จากแปลงปลูกสู่มือประชาชน ภายในแปลงเพาะชําของคณะผลิตกรรมการเกษตรแห่งนี้เป็นที่ปลูกพืชซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการทําสมุนไพรไล่แมลง เช่น ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ไพล กระชายดํา โดยที่นี่เป็นทั้งที่เพาะขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ ไปจนถึงทดลองแปรรูปสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ํามันหอมระเหย พร้อมกับเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรหรือประชาชนที่สนใจมาศึกษาจนสามารถนําไปเพาะปลูกเองได้ต่อไป หลายคนอาจสงสัยว่าการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อสร้างพันธุ์ใหม่หรือเพื่อให้พืชกลายพันธุ์นั้นมีจุดประสงค์เพื่ออะไร อาจารย์เทิดศักดิ์ขยายความให้ฟังว่า เพื่อให้พืชมีสารที่เราต้องการใช้มากขึ้นกว่าเดิม โดยจะใช้รังสีแกมมาทําให้เกิดการตกค้างที่ทําให้เซลล์หรือสารพันธุกรรมพวกดีเอ็นเอหรือโครโมโซมของพืชเสื่อมสภาพและแตกหัก พอต้นไม้เครียดก็จะสร้างสารออกมาในปริมาณที่มากขึ้นจนกลายพันธุ์ไปเอง จากนั้นจึงต้องคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อนําไปแจกจ่ายให้เกษตรกรหรือหน่วยงานที่ต้องการใช้ต่อไป ตะไคร้หอม  ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle ตะไคร้หอมเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน พืชชนิดนี้กําลังเป็นที่สนใจเนื่องจากใบมีสารซิโทรเนลลา(Citronella) ซึ่งมีฤทธิ์ทําให้ยุงและแมลงศัตรูพืชเบื่ออาหารหรือตายภายใน 3–4 วัน อีกทั้งยังทนแล้งได้ดี และลงทุนไม่สูงนัก หลังจากปลูกเพียง 6 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตได้ โดยการตัดใบประมาณ 1/3 จากนั้นต้นจะแตกใบใหม่และพร้อมให้ตัดใหม่ทุก 3 เดือน โดยพื้นที่ปลูกขนาด 1×5 […]

Rapid Antigen Test Kit ตรวจโควิดใช้งานอย่างไร

เพื่อการตรวจหาเชื้อโควิด-19 อย่างเร่งด่วนในสถานการณ์ปัจจุบัน เราจึงต้องเรียนรู้ว่า Rapid Antigen Test Kit ใช้งานอย่างไร เมื่อไรที่จะพบเชื้อ ยี่ห้อไหนที่อย.รับรอง และอ่านผลอย่างไรให้ถูกต้อง   Rapid Antigen Test คือการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ โดยหาส่วนประกอบของเชื้อไวรัสที่มีอยู่ภายในโพรงจมูกหรือลำคอ ซึ่งการตรวจแบบนี้ใช้ได้กับทั้งผู้ที่ฉีดวัคซีนมาแล้วและผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน เป็นการตรวจที่ทราบผลอย่างรวดเร็วได้ด้วยตัวเอง มีความต่างจากการเจาะเลือดหา Antibody ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากภูมิของผู้ที่ได้รับวัคซีนมาแล้วได้ การตรวจโดยใช้ชุดตรวจโควิดแบบรวดเร็วนี้ จะตรวจพบเชื้อไวรัส หลังจากรับเชื้อมาประมาณ 3-5 วัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่แสดงอาการหรือไม่แสดงอาการ (ดีที่สุดในช่วง 5-14 วัน จากนับจากวันรับเชื้อ) หากพ้นระยะ 14 วันและหายป่วยแล้วก็จะไม่สามารถตรวจหาเชื้อเจอ   วิธีตรวจโควิด Rapid Antigen Test ด้วยตัวเอง ก่อนอื่นเตรียมพื้นที่ซึ่งไม่มีการปนเปื้อน ล้างมือให้สะอาด หากมีน้ำมูกควรเคลียร์จมูกก่อน ตรวจสอบวันหมดอายุของชุดตรวจ แกะบรรจุภัณฑ์ออก โดยปกติชุดตรวจจะประกอบด้วย ก้านสำลีสำหรับ Swab หลอดใส่น้ำยาตัวอย่าง ฝาหยด ตลับทดสอบ และเอกสารกำกับ ทำการอ่านเอกสารกำกับอย่างถี่ถ้วน แต่ละยี่ห้ออาจมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง […]

ข้อปฏิบัติสำหรับการแยกรักษาตัวที่บ้านแบบ Home Isolation

Home Isolation คือ การแยกรักษาตัวที่บ้าน เป็นอีกแนวทางในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลเพียงระยะสั้น ๆ แล้วไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานที่รัฐจัดให้ ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการน้อยส่วนใหญ่จะค่อยๆดีขึ้นจนหายสนิท มาดูเกณฑ์การพิจารณาและการปฏิบัติตัวเมื่อต้องแยกรักษาตัวที่บ้านกัน ระยะการแพร่เชื้อ Home isolation คือ การแยกรักษาตัวที่บ้าน ซึ่งผู้ป่วยโควิด-19 จะเริ่มแพร่เชื้อก่อนมีอาการประมาณ 2-3 วัน ไปจนถึงสิ้นสุดสัปดาห์แรกของการเจ็บป่วยนับจากวันที่เริ่มมีอาการ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการน้อยหรืออาการดีขึ้นแล้ว อาจจะยังมีเชื้อไวรัสที่ยังแพร่ไปสู่ผู้อื่นอยู่ในน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยเป็นระยะเวลาประมาณ 10 วัน หลังจากเริ่มป่วย ดังนั้น ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จึงจำเป็นต้องแยกตัวเองจากผู้อื่นขณะอยู่ที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มป่วย หากครบ 14 วัน แล้วยังมีอาการควรแยกตัวจนกว่าอาการจะหายไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง เพื่อลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น ทั้งนี้สามารถปรึกษาแพทย์ได้หากไม่มั่นใจระยะเวลาที่เหมาะสมในการหยุดแยกตัว หลังจากนั้น แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยและระมัดระวังสุขอนามัยส่วนบุคคลต่อไปตามมาตรฐานวิถีใหม่ (new normal) แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือมีอาการหนักในช่วงแรก อาจจะแพร่เชื้อได้นานถึง 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่ออาการดีขึ้นจนกลับบ้านได้แล้วมักจะพ้นระยะแพร่เชื้อแล้วจึงไม่ต้องแยกตัว ผู้ที่อยู่ในช่วงระยะที่แพร่เชื้อได้ […]

NIJO, ACROSS THE NIGHTINGALE FLOOR – ข้าม INTERACTIVE FLOOR แห่งอดีตกาล ไขความลับใต้พื้นกระดานไนติงเกล

Nightingale Floor เมื่อเสียง “พื้นลั่น” แต่ดันเป็นเสียงที่ไพเราะราวกับเสียงร้องของนกไนติงเกล ศาสตร์แห่งสถาปัตยกรรม “อุกุยสุบาริ” ที่ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับสาเหตุของพื้นที่มีเสียงนกไนติงเกล อันเกิดจากการยืดตัวของแผ่นไม้กระดานเมื่อรับน้ำหนัก

10 เหตุผลที่งานฝีมือเปี่ยมพลังใจ ยืนหยัดได้ในโลกทุนนิยมที่ DESIGN WEEK KYOTO

งาน Design Week Kyoto ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-24 กุมภาพันธ์ 2019 ช่างฝีมือหลายแขนงที่แฝงตัวอยู่ในอาคารเก่าแก่สไตล์ญี่ปุ่นทั่วเกียวโตจะเปิดบ้านต้อนรับผู้สนใจเป็นกรณีพิเศษ ไกจินผู้อยากรู้อยากเห็นอย่างฉัน ซึ่งชอบสงสัยว่ามีอะไรซ่อนอยู่หลังประตูของอาคารรูปทรงเก่าแก่ที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “เคียวมาจิยะ”* จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เข้าไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตสินค้าดั้งเดิมของญี่ปุ่นแบบ Factory Tours

สถาปัตยกรรมกระดาษของอาจารย์ SHIGERU BAN ความไม่จีรังที่ยั่งยืน

ในขณะที่โลกให้คุณค่าแก่สถาปัตยกรรมที่งดงาม ยิ่งใหญ่ และคงอยู่ได้เนิ่นนานข้ามกาลเวลา อาจารย์ Shigeru Ban สถาปนิกชาวญี่ปุ่น กลับมองเห็นถึงความงามอันเกิดจากความไม่จีรัง และพยายามออกแบบงานสถาปัตยกรรมอันอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ โดยมีวัสดุหลักในการสร้างเป็น “กระดาษ” ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่การย่อยสลายง่าย แม้เมื่อกลายเป็นเศษซาก ก็ยังสามารถนำกลับมาสร้างใหม่ ไม่ทำร้ายโลก

FUSUMA ประตูกั้นห้อง หัวใจและวัฒนธรรมนอก-ในของชาวญี่ปุ่น

บานเลื่อนฟุสุมะ ไม่ได้เป็นเพียงฝาผนังห้องที่เลื่อนปรับได้หรือมีไว้เพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่เป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในงานสถาปัตยกรรมที่กำหนดขอบเขต ‘ใน-นอก’ ตามวิถีของชาวญี่ปุ่นมาช้านาน

ในบทความนี้ ID19 นักเขียนรับเชิญของเราจากญี่ปุ่น ไม่เพียงบอกเล่าถึงวัฒนธรรมใน-นอก ที่ส่งผลกับวิถีปฏิบัติตนต่ออีกฝ่ายของชาวญี่ปุ่น เช่น ทำไม ‘ไกจิน’ (ชาวต่างชาติ) จึงถือว่าเป็นคนนอกอยู่วันยังค่ำสำหรับคนญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังพูดถึงงานออกแบบร่วมสมัยที่สถาปนิกคนแล้วคนเล่านำ ฟุสุมะ’ ไปตีความและปรับใช้ในหลายแง่มุม รวมถึงเปรียบเปรยฟุสุมะที่ไม่ต่างอะไรกับหัวใจของคนได้อย่างน่าสนใจ

DOUGONG (โตวกง) ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่แบกรับภาระอันยิ่งใหญ่ ในสถาปัตยกรรมแห่งเอเชียบูรพา

ด้วยเป็นแหล่งอารยธรรมอันเก่าแก่ของโลก จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าศิลปะวัฒนธรรมจีน นั้นมีอิทธิพลต่อประเทศในแถบทวีปเอเชียมาเนิ่นนาน ไม้เว้นแม้แต่ประเทศไทย จนบางทีเมื่อเรามองของบางสิ่ง หรือรูปทรงบางอย่าง ก็สามารถเชื่อมโยงเข้ากับความเป็น “จีน” ได้อย่างอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น โครงสร้างแบบหนึ่งที่พบเห็นได้ในงานสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็น บ้าน วัด เจดีย์ หรือพระราชวัง ที่ชาวเอเชียบูรพาเรียกขานว่า ‘ โตวกง ’

teamLab: Tadasu no Mori at Shimogamo Shrine ชมแสงแห่งป่ากลางฤดูร้อน ณ ชิโมกาโมะ

Tadasu no Mori at Shimogamo Lighting Festival เมื่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างศาลเจ้าโบราณกลางป่าในเกียวโต ถูกละเลงสีให้มีบรรยากาศแสนสนุกสนาน ราวกับทั้งผืนป่า คือแคนวาสผืนใหญ่ และที่สนุกยิ่งไปกว่านั้น คือคุณเองก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนสีสันของงานศิลปะชิ้นนี้ได้ เพียงใช้ปลายนิ้วสัมผัส

MAGICAL FURNITURE ร้านเฟอร์นิเจอร์ไม้เปี่ยมมนต์ขลังกลางเมืองโกเบ

Magical Furniture ร้าน เฟอร์นิเจอร์ไม้ เปี่ยมมนต์ขลังกลางเมืองโกเบ อีกหนึ่งจุดหมายปลายที่คนแต่งบ้านสายคราฟท์ห้ามพลาดเมื่อไปเยือนสำหรับทริปญี่ปุ่นคราวหน้า