© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
เพราะสถานการณ์โควิด-19 จึงตัดสินใจ รีโนเวทบ้านเป็นร้าน ขายเครื่องนอน โดยทำการแยกทางเข้าถึงของสองฟังก์ชันออกจากกันได้ความปลอดภัยและเป็นสัดส่วน
grey matters ออฟฟิศสถาปนิกในคอนเซ็ปต์แกลเลอรี่ โดยนำความชื่นชอบในงานศิลปะของคุณ Alan Barr ผู้ก่อตั้ง มาจัดแสดงเพื่อสร้างบรรยากาศสุดครีเอต
ผลงานศิลปะสะท้อนความเชื่อในยุคโควิด-19 จะเป็นอย่างไรหากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพและยึดเหนี่ยวจิตใจอย่าง “พระพิฆเนศ” จะเปลี่ยนไป ด้วยชุด PPE แบบเต็มยศ แถมยังถือวัคซีนไว้ในมือ สะท้อนให้เห็นว่าในสถานการณ์โรคระบาดที่ย่ำแย่ ความหวังของผู้คนอาจไม่ได้พึ่งเพียงการกราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือไหว้พระให้พ้นภัยเพียงอย่างเดียว เพราะคงไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นองค์ พระพิฆเนศ ทรงเครื่องชุด PPE เต็มยศเช่นนี้ แถมยังถือวัคซีนเอาไว้ในมือ ประหนึ่งทรงเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้นำความหวังมาสู้มวลมนุษย์ อย่างไม่รอช้า room จึงยกหูหาดีไซเนอร์ผู้ออกแบบในทันที “เราต้องการแสดงความเคารพและยกย่องแก่พระสงฆ์ บุคลากรการแพทย์ จิตอาสา ผู้สวมชุดPPE ทุกท่านเพื่อยอมอุทิศชีวิตเพื่อผู้อื่น ซึ่งเวลาที่เราได้เห็นข่าวเหล่านั้นมันทำให้เรามองว่าเขาเป็นเหมือนเทพที่มาช่วยคนที่กำลังลำบากเลยนะ” คุณซัน – รตนพรรณ์ เสน่ห์งามเจริญ ศิลปินผู้ออกแบบได้เล่าให้เราฟัง “เราเองก็บูชาพระพิฆเนศอยู่แล้ว เพราะท่านเป็นเทพแห่งปราชญ์ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศมีความรอบรู้ในศิลปวิทยาทุกแขนง และในหลากหลายตำราก็กล่าวถึงท่านในแง่ของความมีคุณธรรม คอยช่วยเหลือปกป้องสิ่งชั่วร้าย และเป็นยอดกตัญญู เราจึงแทบให้ท่านเป็นเหมือนตัวแทนของฮีโร่ทุกคนในสถานการณ์การระบาดนี้นั่นเอง” “ในอีกทางหนึ่งเราก็หวังว่าประติมากรรมชิ้นนี้จะเป็นเหมือนสิ่งเตือนใจให้ทุกคนลุกขึ้นมาช่วยกัน ช่วยในส่วนของตัวเองก็ได้ เพราะสถานการณ์ตอนนี้มันก็ต้องร่วมมือร่วมแรงกันไม่มากก็น้อย ส่วนหนึ่งประติมากรรมนี้ก็เหมือนเป็นสิ่งเตือนใจ อีกส่วนหนึ่งก็จะนำรายได้ไปช่วยสมทบให้กับหน่วยกู้ภัยที่ทำงานช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบเช่นกัน” องค์พระพิฆเนศปางประทานพรนี้ สูง 16 กว้าง 15 ลึก 10 เซนติเมตร(หน้าตัก 5 นิ้ว) วัสดุเนื้อหินอ่อนเทียม […]
นี่คือบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้เราประหยัดวัสดุไปได้ถึงกว่าเท่าตัว ดูดี มีความรักษ์โลก เพราะใช้วัสดุธรรมชาติผสมวัสดุรีไซเคิล ทำไมเราต้องซ้อนพลาสติกกันกระแทกหนาหลาย ๆ ชั้น เวลาจะส่งของบรรจุในกล่องพัสดุ หลายคนคงเคยสงสัย และกลุ้มใจกับจำนวนพลาสติกกันกระแทกมากมายเหล่านั้น เพื่อลดปริมาณพลาสติกที่มากับกล่องพัสดุ นี่คือบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้วัสดุกันกระแทกและทำหน้าที่เป็นกล่องไปในตัว Re-Krafts x Re-Hyacinths หนึ่งในงานออกแบบที่ชนะรางวัล DEmark, Thailand ในปีนี้ คือบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบด้วยการสร้างความงามจากวัสดุกันกระแทกภายในออกสู่ความงามภายนอก ซึ่งเกิดจากการผสมเศษเยื่อกล่องกระดาษลังที่เหลือใช้ หรือหมดสภาพการใช้งาน มาผสมกับเยื่อปอสา ซ้อนกลางด้วยผักตบชวาอบแห้งสำหรับกันกระแทก และเพื่อลดการใช้ผักตบชวาในปริมาณมาก จึงผลิตด้วยกระบวนการซ้อนเยื่อกระดาษลงบนแม่พิมพ์เซรามิกในโครงการพัฒนาดอยตุง โดยนำเสนอเป็นรูปแบบบรรจุภัณฑ์ชุดของขวัญชุดกาแฟ Espresso เผาด้วยเปลือกแมคคาดาเมีย ตกแต่งภายนอกด้วยเศษผ้าทอจากดอยตุง และสีครามธรรมชาติ นับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมในการสร้างนิยามความงามใหม่จากเป้าประสงค์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนให้บรรจุภัณฑ์นั้นถูกรังสรรค์จากฟังก์ชันการใช้งานอย่างแท้จริง ออกแบบโดย จักรายุธ์ คงอุไร [email protected] ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ fb.com/DEmarkthailand fb.com/MaeFahLuangFoundation ภาพ: ทีมออกแบบมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเรียบเรียง: Wuthikorn Sut
ZAIWAN VILLAGE หมู่บ้านเก่าแก่ที่ถูกปรับปรุงให้มีชีวิตชีวาด้วยงานออกแบบที่กระตุ้นให้คนในชุมชนออกมาใช้พื้นที่ และมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและผู้คน
บ้านชั้นเดียว ที่ออกแบบมาโดยมีเพียงเสาเข็ม ไม่มีฐานรากเพื่อพร้อมต่อการรื้อถอนเปลี่ยนแปลง ทั้งยังออกแบบให้ทนทานต่อฤดูหนาวที่รุนแรงของพื้นที่
บ้านตากอากาศ ที่ออกแบบโดยคำนึงถึงการรักษาพื้นที่เดิมและระบบนิเวศไว้ให้มากที่สุด ตัวอาคารเหมือนถูกบิดดูพลิ้วไหวดูกลมกลืนไปกับทิวเขา
Hannah Segerkrantz นักศึกษาจาก Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เลือกทำวิทยานิพนธ์ซึ่งต่อยอดวัสดุ Hempcrete หรือก้อนอิฐจากใยกัญชงอัด ให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ในหลากหลายการใช้งาน โดยมาพร้อมคุณสมบัติที่ทนทาน ปลอดภัย ใช้งานง่าย เข้ากับทุกการตกแต่ง ทั้งยังกันน้ำได้อีกด้วย ด้วยวิธีที่การเหมือนจะง่าย(แต่จริง ๆ แล้วไม่ง่ายเท่าไหร่) Hannah เลือกที่จะออกแบบเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้จากรูปทรงพื้นฐานคล้ายรูปถ้วย 6 ขนาด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะจำกัดขนาดของแม่พิมพ์ให้ไม่มากจนเกินไป รูปถ้วยเหล่านี้นอกจากจะเป็นรูปทรงที่มั่นคงแล้ว ยังสะดวกต่อการเข้าพิมพ์และแกะออกจากพิมพ์อีกด้วย พิมพ์ที่ใช้นั่นเป็นแม่พิมพ์ผ้าซึ่งใช้วิธีรัดเข้าให้พอดี จากนั้นจึงกรอกใยกัญชงที่ผสมน้ำแล้วลงไป และนำแม่พิมพ์สองชิ้นที่เลือกมาประกบกัน ด้วยวิธีการนี้เมื่อใยกัญชงจากทั้งสองพิมพ์เชื่อมติดกัน เราจะได้ผลลัพธ์คือเฟอร์นิเจอร์สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันถึง 15 แบบ ตั้งแต่เก้าอี้ทรงเตี้ย ไปจนถึงโต๊ะข้างทรงเตี้ย หรือแท่นวางของ Hannah ตั้งใจให้ HEMP-IT-YOURSELF เป็นวิธีการที่เปิดกว้างที่จะช่วยผลักดันให้ใครก็ตามที่ได้ทดลองได้ตระหนักถึงความเป็นไปได้จากวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งคุณค่าของรูปทรงเรียบง่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ร่วมออกแบบบรรยากาศโดยรอบของเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้เอง สำหรับใครที่สนใจและอยากลองทำเฟอร์นิเจอร์จากใยกัญชงแบบ Hannah ดูบ้าง ลองเข้าไปศึกษาได้ที่ https://hannahsegerkrantz.com/hemp-it-yourself-process ข้อมูลเพิ่มเติม https://hannahsegerkrantz.com ภาพ: Luca Tichelman, Hannah Segerkrantzเรื่อง: Wuthikorn Sut […]
BOOKING.COM ทราเวลเอเจนซี่ที่ออกแบบเพื่อสะท้อนถึงองค์กรที่มีความทันสมัยและรวดเร็ว ไปจนถึงอัตลักษณ์อย่างบรรยากาศการท่องเที่ยวพักผ่อน
Naplab WANLANG ที่หยิบเอาอาคารเก่าขนาดสองชั้นย่านวังหลังมาทำเป็น Co-Working Space ในบรรยากาศของโรงแรมเก่าเมื่อสมัย 50 ปีก่อน
SOI SQUAD OFFICE สำนักพิมพ์ที่หยิบยก "ชั้นวางของเหล็ก" มาทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดฟังก์ชันและแบ่งสเปซของออฟฟิศได้อย่างลงตัว ตอบโจทย์การใช้งาน
บ้านชั้นเดียว ที่เลือกทำเลที่มีพื้นที่สีเขียวหลังบ้านให้นึกถึงบ้านต่างจังหวัดในวัยเด็ก พร้อมกับออกแบบตัวบ้านให้สามารถมองเห็นต้นไม้ได้ทุกมุม