© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
TK STUDIO คือโปรเจ็กต์เปลี่ยนบ้านเก่ายุค 50s ย่านสุขุมวิทให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง กับฟังก์ชันใหม่ในรูปแบบของออฟฟิศออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม
บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น สำหรับครอบครัวพ่อแม่ลูกหลังนี้จึงมีความพิเศษในเส้นสายที่บางเบา และมีบรรยากาศคล้ายพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ แม้จะอยู่ภายในบ้านก็ตาม ตอบรับกับแสงแดดและสายลมธรรมชาติอย่างพอดิบพอดี โดยบริษัทสถาปนิกที่รับหน้าที่รังสรรค์โจทย์นี้ได้อย่างลงตัวและน่าสนใจก็คือ Junsekino Architect and Design นั่นเอง ด้วยความที่คุณเติร์ท-ศักรภพน์ และคุณโจ-บุญสิตา จารยะพันธุ์ เจ้าของบ้านทำอาชีพเกี่ยวกับการบิน จึงทำให้โจทย์ของบ้านหลังนี้เริ่มต้นที่ความเบาสบายและกลมกลืนไปกับธรรมชาติตามสไตล์ที่อยากสร้างให้เป็นพื้นที่ซึ่งสื่อแทนความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง ทั้งยังต้องดูแลรักษาได้ง่ายและสามารถมองเห็นกันและกันได้จากทุกจุดภายในบ้าน การจัดวางพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้จึงใช้พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นดับเบิ้ลวอลลุ่มสร้างเป็นพื้นที่หลัก จากหน้าบ้านนั้น เมื่อเดินผ่านพื้นที่จอดรถและประตูหน้าบ้านเข้ามา จะพบกับโถงบันไดที่มองเห็นต้นซิลเวอร์โอ๊คโดดเด่นอยู่กลางบ้าน ก่อนจะหันกลับไปพบกับพื้นที่หลักของบ้านที่เป็นทั้งพื้นที่นั่งเล่น ทานข้าว และห้องครัว ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นพื้นที่เดียวแบบดับเบิ้ลสเปซ โดยมีทางเชื่อมไปยังบ้านเดิมที่ฝั่งซ้าย และสระว่ายน้ำที่อยู่ติดกับต้นซิลเวอร์โอ๊คที่ฝั่งขวา จนเมื่อขึ้นไปยังชั้น 2 บ้าน จะเป็นห้องนอน 3 ห้อง และทางเชื่อมออกไปยังระเบียงขนาดใหญ่ที่หน้าบ้าน ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดนี้ถูกห่อหุ้มอยู่ในฟาซาดเหล็กฉีก ซึ่งทั้งเป็นส่วนกรองแสงแดดและสร้างความปลอดภัยให้กับพื้นที่ในบ้านไปในตัว ความโดดเด่นของพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้คือการออกแบบที่ใส่ใจกับแสงธรรมชาติและการเปิดรับลมให้ไหลผ่านบ้านอย่างพอดี การวางองค์ประกอบต่าง ๆ ในบ้านจึงต้องออกแบบให้เป็นเส้นสายที่บางเบาของบ้านออกแบบเพื่อสร้างให้อาคารนั้นไม่ปิดกั้นผู้อยู่อาศัยกับธรรมชาติโดยรอบ ซึ่งนอกจากมุมมองแล้ว ยังมีการเปิดรับแสงธรรมชาติผ่านสกายไลท์ในหลายส่วน รวมทั้งการใช้เหล็กปรุเป็น ฟาซาด โดยรอบบ้านที่ช่วยกรองแสงแดดให้เบาบางลง แต่ไม่ปิดกั้นลมที่ไหลเวียน สร้างให้เกิดบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาให้กับบ้านในแบบ ทรอปิคัลโมเดิร์นอย่างพอดี พื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมโยงกับบ้านเดิม ทางด้านซ้ายของบ้านหลังนี้คือบ้านเดิมที่พ่อและแม่ของคุณเติร์ท ยังอาศัยอยู่ การออกแบบระเบียงรอบบ้านจึงไม่ใช่เพียงพื้นที่ที่ร่นเข้ามาเพื่อสร้างระยะชายคาที่พอดีกับร่มเงา เปรียบเสมือนหน้าบ้านอีกฝั่งหนึ่งที่เชื่อมโยงยุคสมัยของครอบครัวเข้าหากัน โดยที่หน้าบ้านฝั่งนี้จะตั้งอยู่ในแกนเดียวกับโต๊ะทานข้าว และสระว่ายน้ำ […]
เปลี่ยนโกดังแบตเตอรี่เป็นสตูดิโอออกแบบ DOT LINE PLANE ที่สามารถนั่งทำงานได้ทั้งวัน ด้วยบรรยากาศท่ามกลางแสงธรรมชาติและสภาวะน่าสบายในการทำงาน
คลังข้อมูลวัสดุ หรือที่หลายคนที่เคยไปจะคุ้นชื่อกับ Material ConneXion Bangkok จนกระทั่งเมื่อ TCDC ได้ย้ายมาอยู่ที่เจริญกรุงจึงได้มีการปรับเปลี่ยนขยายพื้นที่ เป็นศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ Material & Design Innovation Center – TCDC โดยมี Material ConneXion Bangkok อยู่ภายในนั้นอีกที โดยหลังจากที่ย้ายมาได้มีแนวทางการทำงาน รวมทั้งขอบเขตการทำงานที่เข้มข้นมากขึ้น ซึ่งมีความน่าสนใจทั้งต่อผู้ประกอบการและนักออกแบบเป็นอย่างมาก โดยครั้งนี้ room magazine ได้รับเกียรติจาก ดร.ดารารัตน์ เมฆเกรียงไกร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยวัสดุจาก TCDC และเป็นผู้ดูแลศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ Material & Design Innovation Center รวมทั้ง Material ConneXion Bangkok มาบอกเล่าถึงสิ่งที่น่าสนใจ และสิ่งที่ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ จะสามารถช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการและนักออกแบบได้อย่างไรบ้าง จาก Material ConneXion Bangkok สู่ Material & Design Innovation Center […]
รีโนเวตคอนโด ใจกลางอารีย์ โดยใช้ ‘ความเงียบสงบ – Tranquility’ มาเป็นแนวความคิดหลักตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ จนได้ที่พักสุดอบอุ่นเหมือนอยู่โฮมสเตย์
แบบบ้านโมเดิร์น ข้างนอกดูมิดชิดที่ซ่อนคอร์ตไว้ภายใน เพื่อตอบโจทย์บ้านที่มีความโปร่งโล่ง มีความเป็นส่วนตัวสูง และเห็นวิวต้นไม้ได้จากทุกมุม
ฺBUN TURIN ร้านเบอเกอร์ ในบรรยากาศแบบสระว่ายน้ำที่ภายในร้านใช้สีถึง 3 โทน ในการแบ่งรูปแบบของโต๊ะ ให้ลูกค้าได้สนุกกับการเลือกที่นั่ง
RAMEN YUKO ยกระดับ ร้านราเม็ง ข้างทางที่เปลี่ยนผ่านสู่ยุคใหม่ด้วยดีไซน์สุดสุโค่ย! กับร้านขนาดเล็กริมแม่น้ำที่ย้ายมาอยู่ในอาคารแต่ได้อารมณ์
HEY! CHEESE STUDIO สตูดิโออิสระของช่างภาพและกราฟิกมืออาชีพ ที่ใช้กิมมิกสนุก ๆ ของสีสันมาสะท้อนบรรยากาศสนุก ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์
ละลายจนหมด ไม่เหลือเป็นขยะ กับสบู่ที่มีขวดทำมาจากสบู่อีกที แนวคิดแหวกแนวที่ใช้ได้จริง SOAPBOTTLE เริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึงบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้กับสิ่งของในชีวิตประจำวันที่มักลงเอยกลายเป็นขยะอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสระผม น้ำยาล้าง หรือที่เราเรียกรวม ๆ ว่าเป็น Daily Use Product เพราะใช้ทุกวันนั่นก็คือเรากำลังก่อขยะมากขึ้นในทุกวันนั่นเอง อีกทั้งบรรจุภัณฑ์สำหรับของเหลวเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะทำขึ้นจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พูดง่าย ๆ คือ Recycle ได้ยากนั่นแหละ Jonna Breitenhuber จึงได้เริ่มต้นโครงการนี้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ก่อนจะขยายผลโดยการร่วมทุนใน Kickstarter และด้วยผู้สนับสนุนที่มีแนวคิดรักษ์โลกเช่นเดียวกับเธอ SOAPBOTTLE จึงได้เริ่มต้นวางจำหน่ายจริงในที่สุด การออกแบบนั้นได้แนวคิดมาจากอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักจะเห็นการบรรจุอาหารลงในสิ่งที่สามารถรับประทานได้ เช่น เนื้อในขนมปังกลายเป็นแฮมเบอร์เกอร์ หรือไอศกรีมที่นำไปใส่ในเวเฟอร์เป็นไอศกรีมโคน ความจริงแล้วทั้งขนมปังและเวเฟอร์นั้นเป็นบรรจุภัณฑ์แบบหนึ่ง และอันตรธานหายไปเมื่อเรารับประทานจนหมด ถ้าอย่างนั้นสำหรับผลิตภัณฑ์ความสะอาดส่วนตัว เราจะใช้วิธีเดียวกันได้หรือไม่? หลักการของ SOAPBOTTLE นั้นง่ายมาก คือ บรรจุผลิตภัณฑ์เหลวไว้ในขวดที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์เดียวกันในเวอร์ชั่นที่คงรูปกว่า เมื่อต้องการใช้ก็เพียงตัดเปิดบรรจุภัณฑ์ที่มุมขวด จากนั้นก็สามารถจะเทของเหลวออกมาเมื่อต้องการใช้ SOAPBOTTLE มีคลิปสำหรับใช้ตัดและปิดฝาในตัวเองแยกจำหน่าย คลิปนี้สามารถนำกลับมาใช้อีกได้ตลอดไป จนเมื่อเราใช้ส่วนที่เป็นของเหลวจนหมด ก็สามารถนำเอาบรรจุภัณฑ์นั้นมาถูใช้เป็นเหมือนสบู่ก้อน(หรือยาสระผมแบบก้อน)ได้ต่อ สุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงไม่เหลือขยะใด ๆ เลยในที่สุด ปัจจุบัน […]
NEUEHOUSE BRADBURY พื้นที่ทำงานสุดคลาสซี่สำหรับคนมีสไตล์ทุกสาขาอาชีพ ออกแบบภายใต้แนวคิด Home of the New กับการเอาของเก่ามาเคล้าของใหม่
ร้านเสริมสวยขนาดเล็ก ที่จัดการพื้นที่ด้วยการใช้ "ม่าน" เป็นตัวแบ่งสเปซ ทำให้พื้นที่ขนาดกะทัดรัดนี้มีความยืดหยุ่นสามารถปรับได้ตามการใช้งาน ดูโปร่งโล่ง ที่สำคัญคือสามารถมองเห็นวิวสวนได้อย่างเต็มตา