© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
COFFEE I NEED U คาเฟ่อบอุ่นของครอบครัวอารีย์ ที่ซ่อนตัวอยู่ภายในอาคารสหกรณ์พาณิชย์พระนคร กับการตกแต่งในแบบเรียบง่ายแต่ดิบเท่ ให้ได้สนุกกับการถ่ายภาพ
นอนเต็นท์ กิจกรรมยอมนิยมในพ.ศ.นี้ และถ้าจะอยู่แทนบ้านก็คงเหมือนพูดเป็นเล่น แต่เป็นไปได้จริงๆแล้วด้วย “Jupe travel pods” บ้านขนาดเล็กในแบบ Tiny House ที่ออกแบบมาเพื่อไลฟ์สไตล์แบบ Off Grid หรือการออกไปอยู่แบบไม่พึ่งพาระบบสาธารณูปโภค จะอยู่ถาวรก็ไม่ขัด หรือจะขนไปประกอบที่ไหนก็ได้ตามสบายเลย บรรยากาศ นอนเต็นท์ อ่าน : ไอเดียจัดมุมปิกนิกนั่งเล่นกลางแจ้งในสวนหลังบ้าน “Jupe travel pods” ออกแบบโดยทีมงานที่เคยทำงานกับ Airbnb Tesla และ Space X จึงแน่นอนว่าเจ้าเชลเตอร์สีขาวเรืองแสงทรงล้ำนี้ต้องไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน เพราะในแง่ของการออกแบบนั้น “Jupe travel pods” ได้ถูกวางเอาไว้เพื่อยกระดับและเป็นตัวเลือกของการท่องเที่ยวแบบ Glamping ที่ผสานการผจญภัย ความหรูหรา และบรรยากาศล้ำยุคเข้าไว้ด้วยกัน “เราก็แค่เปลี่ยนให้การนอนเต็นท์กลายเป็นไอเดียที่น่าตื่นใจและสร้างแรงบันดาลใจยิ่งขึ้น” Jeff Wilson หนึ่งในผู้ก่อตั้งของ Jupe กล่าว “ยังจำเจ้าแท่งปริศนาใน 2001: A Space Odyssey กันได้หรือไม่? มันได้ส่งสัญญาณไปยังดาวพฤหัสบดีจากดวงจันทร์ และเจ้าเชลเตอร์ของเราก็เหมือนถูกสร้างจากแบบร่างที่ส่งกลับมาจากดาวพฤหัสบดีนั่นเอง และนั่นคือวิธีที่เราสรรค์สร้าง […]
บ้านตากอากาศในเวียดนาม หลังบ้านติดภูเขา วิวหน้าบ้านหันสู่ทิศตะวันออก รับแสงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ นี่คือ Tam Dao Villa วิลล่าตากอากาศที่ตั้งอยู่ในเมือง Tam Dao ประเทศเวียดนาม โดย Tropical Space ด้วยรูปทรงที่เหลี่ยมง่าย เป็นกล่องด้านเท่าขนาด 22m x 22m เปิดพื้นที่กึ่งกลางขนาด 6.5m x 6.5 เมตร ซ้อนกันสามชั้น จึงทำให้บ้านหลังนี้ไม่เพียงเปิดมุมมองสู่ภายนอก แต่ยังเชื่อมโยงพื้นที่ภายในเข้าหากันได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะการเปิดรับแสงธรรมชาติเข้าสู่แต่ละส่วนของตัวบ้านอย่างพอดิบพอดี ผ่านการวางตัวแบบ Interlocking ของห้องต่างๆภายในบ้านที่หลบเยื้องให้ทุกห้องต่างได้รับ “บรรยากาศที่ดี” ถ้วนทั่วกัน เริ่มจากหน้าบ้าน สระว่ายน้ำที่ทอดยาว ไม่เพียงใช้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ แต่ยังช่วยสร้างอากาศเย็นให้พัดผ่านเข้าไปในตัวบ้านผ่านคอร์ตกลางที่เปิดโล่ง ทางเข้านั้นหลบตัวอยู่ด้านข้างของบ้านที่ต้องเดินผ่านแปลงผักรูปขั้นบันไดซึ่งทำหน้าที่เป็นบันไดขึ้นบ้าน ก่อนจะเปิดเข้าสู่พื้นที่ภายในที่คอร์ตกลาง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ไม่บดบังบริบทของเชิงเขาด้านหลังนั่นเอง พื้นที่ภายในนั้นมีชานและ Common Area ให้เลือกพักผ่อนได้หลากหลายเพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในการมาพักผ่อนตามสภาพอากาศแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม อาจจะนั่งริมชานในวันอากาศดี หรือจิบชาอุ่นๆในโถงด้านในสำหรับวันฝนพรำ ทั้งหมดล้วนแต่ถูกคิดเผื่อมาแล้วให้สมกับที่เป็นวิลล่าตากอากาศ สุดท้ายคือพื้นที่ดาดฟ้าที่ตั้งใจออกแบบให้เป็นพื้นที่สังสรรค์ในแบบ Wooden Deck Camp Ground สำหรับจัดปาร์ตี้สไตล์แคมปิ้ง หรือจะนั่งเล่นพักผ่อนในบรรยากาศเงียบสงบ ยามเช้าและยามเย็นก็เหมาะสม […]
บาร์ CHERNYI ตั้งอยู่ยังจุดศูนย์กลางของเมืองคาร์คิฟ ประเทศยูเครน โดยวางตัวอยู่ในชั้นล่างของอาคารที่พักอาศัย โดยก่อนตัดสินใจรีโนเวตพื้นที่นี้ เจ้าของได้ทำการรื้อพาร์ทิชั่นเดิมออกทั้งหมด แล้วขยายช่องแสงด้วยการทลายหน้าต่างให้มีความสูงเพิ่มขึ้นจากพื้นจรดฝ้าเพดาน ก่อนจะแทนที่ด้วยกระจกสี รวมถึงทำประตูทางเข้าให้สามารถเข้าถึงได้จากถนนหลัก สำหรับความท้าทายในการรีโนเวตร้าน CHERNYI ครั้งนี้ นั่นก็คือโครงสร้างเสา 2 ต้น ที่ยังคงอยู่กลางพื้นที่ สถาปนิกจึงแบ่งการใช้งานทั้งหมดออกเป็นโซนเล็ก ๆ โดยแต่ละโซนจะมีฟังก์ชันที่ต่างกันออกไป โดยมีแนวคิดที่มาจากการสังเกตพฤติกรรมของแมงเม่าที่มักหลงเพริดไปกับแสงสี มาใช้ในการออกแบบพื้นที่ที่มีทั้งมืดและสว่างในการดึงดูดผู้คน “Chernyi” ถูกออกแบบสเปซให้มีแสงและเงาซึ่งเป็นที่มาของสีดำ สะดุดตาด้วยการเพิ่มพื้นผิวสะท้อนแสงเรียบลื่นในส่วนของเคาน์เตอร์เพื่อเสริมลุคให้ดูหรูหราและสร้างมิติที่หลากหลายลุ่มลึก โดยเท็กซ์เจอร์ที่เห็นเกิดจากความร่วมมือกับ TSEKH ในการสร้างผนังใหม่กับผิวสัมผัสทรายควอตซ์สีดำ ซึ่งเกิดจากการทดลองสัดส่วนระหว่างผนังทรายกับผนังแบบทาสี จนเกิดเป็นภาพในอุดมคติในที่สุด และเพื่อลดทอนความแข็งกระด้างของพื้นผิวทราย จึงได้เพิ่มสเตนเลสขัดเงาลงไป ซึ่งต้องใช้มืออาชีพและความชำนาญในการทำเป็นพิเศษ ทีมผู้ออกแบบจึงตัดสินใจสะท้อนความเป็นมืออาชีพในการชงกาแฟและค็อกเทลผ่านผิวสัมผัสนี้ เราจึงเห็นผิวสัมผัสดังกล่าวปรากฏอยู่บนทั้งพื้นผิวของเฟอร์นิเจอร์ ผนัง และฝ้าเพดาน เพื่อสร้างการสะท้อนที่น่าสนใจและมีเอกลักษณ์ โดยการทำฝ้าเพดานซ้อนอีกชั้นในระดับที่ต่ำลงมานั้น ก็ยังช่วยให้เกิดช่องว่างสำหรับใช้ซ่อนท่อระบายอากาศและหลอดไฟ ก่อให้เกิดเอ็ฟเฟ็กต์ดึงดูดใจให้หลงใหลเข้าไปกับแสงสีแบบไม่รู้ตัว ออกแบบ: Ponomarenko bureau ภาพ: Ivan Avdeenko photography เรียบเรียง: BRL ESCAPE BANGKOK เติมอารมณ์ให้สายปาร์ตี้ไปกับบีชบาร์สไตล์บาหลี CACTUS BANGKOK […]
บ้านทรงกล่อง ที่ยืนหยัดท่ามกลางความแตกต่างนี้ ทั้งในแง่ของสเกล ระยะทาง ความเร็ว เสียง และความสว่างไสว โดยมีบันไดวนทำหน้าที่ร้อยพื้นที่ภายในและภายนอก
แบบบ้านอิฐ ที่จำลองรูปแบบการใช้ชีวิตแบบอาคารพาณิชย์ที่ครอบครัวคุ้นเคย มาสู่บ้านเดี่ยวที่ยังคงความเคยชินเหล่านั้นไว้ แต่เพิ่มคุณภาพการใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
บ้านโมเดิร์น ที่ออกแบบและก่อสร้างให้เข้ากับบริบทมากกที่สุด โดยทำการฝังด้วยอยู่กับเนินดิน และใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่มาใช้ทั้งโครงสร้างเสาหินและไม้ยูคา
อาคารเขียว ไม่ใช่ เทรนด์หรือแนวโน้มความนิยมด้านการออกแบบมากมาย ที่มาแล้วก็ผ่านไปแต่คือแนวคิด ‘เทคโนโลยีอาคาร’ ที่มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน รวมถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแรงผลักดันให้เราทุกคนต้องหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้อย่างจริงจัง room ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการผู้จัดการบริษัท แอฟริคัส จำกัด ( Africvs )มาร่วมพูดคุยให้ความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางอันเหมาะสมในการประยุกต์เรื่องอาคารเขียวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน “ความสุขในการทำงานของเราคือการอยู่แวดล้อมด้วยคนที่มีความเข้าใจในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ก่อนคิดว่าต้องทำอะไรยิ่งใหญ่แบบก้าวกระโดด แต่ถึงตอนนี้เรารู้ว่าต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถึงจะช่วยเปลี่ยนโลกได้ ถ้าเราใจร้อน ไม่มีความสุข เราทำงานตรงนี้ไม่ได้” จุดเริ่มต้นความสนใจใน ‘อาคารเขียว’ “จริง ๆ เรื่องของการประหยัดพลังงานมีมานานแล้ว สมัยผมจบปริญญาตรีแล้วมาทำงานสถาปัตย์ฯ ตอนนั้นเรารู้สึกว่าทำไมเราถึงไม่มีการเรียนการสอนเรื่องพวกนี้เลย แต่ว่าในระดับการศึกษาเดียวกันในต่างประเทศ เขามีการพูดถึงเรื่องการประหยัดพลังงานไปไกลแล้ว เลยตัดสินใจไปเรียนต่อที่อเมริกาทางด้านเทคโนโลยีอาคาร แล้วรู้สึกว่าเปิดมุมมองใหม่ให้เรามาก หลังจากเรียนจบทางด้านนั้นมา ผมก็เรียนต่อปริญญาเอกด้านอาคารสิ่งแวดล้อม ที่อเมริกาหรือในยุโรปเขาศึกษากันเรื่องของอาคารเขียว ซึ่งมาจากเรื่องของการประหยัดพลังงาน เรื่อยมาจนถึงเรื่องการประหยัดวัสดุ และการรักษาสภาพแวดล้อม ระหว่างนั้นก็ได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวกับอาคารเขียวตอนอยู่ที่อเมริกาเพราะเรียนปริญญาเอกอยู่ที่นั่น 5 ปี มีเรื่องของการเข้าไปตรวจวัดประสิทธิภาพ การประเมินอาคาร แล้วมีระบบเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวพ่วงเข้ามา พอเรียนจบผมก็กลับมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ประจวบเหมาะกับว่ามีการประกวดแบบอาคารของปตท. ซึ่งเขาเขียนไว้ว่าต้องเป็นอาคารเขียว ตอนนั้นสถาปนิกบ้านเรายังไม่ค่อยรู้ว่ามันคืออะไร […]
Wuyishan Bamboo Raft Factory อาคารคอนกรีต แห่งนี้ คือโรงงานผลิตและจัดเก็บแพไม้ไผ่สำหรับใช้ในการล่องแพของหมู่บ้าน Xingcun โดยมีแนวคิดในการใช้วัสดุเรียบง่าย
Pocket Park on Xinhua Road โปรเจ็กต์ที่เปลี่ยนถนนที่ขนาบไปด้วยบ้านจีนแบบโบราณ และต้นไม้ตลอดสองข้างทางที่เคยเสื่อมโทรมให้กลายเป็น สวนสาธารณะ ขนาดย่อมของเมือง
คาเฟ่ลาซาล ที่มีทั้งส่วนของคาเฟ่และร้านข้าวแกง สำหรับใครที่ต้องการหาข้าวกินรองท้องแบบรสชาติจัดจ้าน ก่อนจะไปต่อกันที่กาแฟหอม ๆ ที่ดริปแก้วต่อแก้ว
ร้านหนังสือพร้อม คาเฟ่กลางนา ที่เกิดจากการรีโนเวตบ้านจีนเก่าแบบดั้งเดิมให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง โดยยังคงโครงสร้างเดิมไว้พร้อมโครงสร้างใหม่ กลิ่นอายเดิม