- Home
- room
room
YUECHENG COURTYARD KINDERGARTEN โรงเรียนอนุบาลกับลานวิ่งเล่นลอยฟ้า
โรงเรียนอนุบาล ที่ผสมผสานระหว่างโรงเรียนอนุบาลและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สะท้อนให้เห็นว่าลูกค้าได้ให้ความสำคัญในประเด็นของ "การบูรณาการระหว่างวัย"
POR SANTITHAM รีโนเวตโรงแรมเก่าให้สดชื่นด้วยสระว่ายน้ำและไม้เขตร้อน
POR SANTITHAM คือการพลิกโฉมโรงแรมเก่าย่านสันติธรรมกลางเมืองเชียงใหม่ที่ถูกทิ้งร้างมานาน ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหลังจากได้รับการรีโนเวตให้อยู่ในลุคโมเดิร์นสุดเรียบง่าย ภายใต้แบรนด์ POR แบรนด์ธุรกิจโรงแรมรูปแบบไลฟ์สไตล์โฮเทล ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากความตั้งใจที่อยากจะดึงศักยภาพของอาคารเก่า โดยผ่านการออกแบบที่ชาญฉลาด เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของแขกผู้เข้าพักให้มากที่สุด POR SANTITHAM จึงเป็นโรงแรมสาขาแรกและคาดว่าจะครบอีก 4 สาขา ในอนาคตอันใกล้นี้ เดิมทีสภาพอาคารของโรงแรมเก่าทรุดโทรมมาก และมีการต่อเติมที่ไม่เป็นระเบียบ แต่เมื่อสำรวจแล้วพบว่า โครงสร้างเดิมบางส่วนยังแข็งแรงอยู่ค่อนข้างมาก จึงยังเก็บรายละเอียดเหล่านั้นไว้ เพื่อช่วยสร้างเสน่ห์ภายใต้ความไม่สมบูรณ์แบบได้อย่างน่าสนใจ การออกแบบได้ให้ความสำคัญกับพิจารณาว่าจะ “เก็บ” หรือ “ทิ้ง” ของเก่าส่วนไหน แล้วค่อยผสมผสานกับของใหม่ เป็นการปรับแต่งให้พื้นที่กลับมาใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพอีกครั้ง เห็นได้จากการทุบพื้นอาคารให้เกิดดับเบิ้ลสเปซที่โปร่งโล่ง และการเสริมโครงสร้างเบาบนชั้น 4 ของอาคาร เพื่อเพิ่มจำนวนห้องพัก ไฮไลท์ที่ไม่อาจมองข้ามไปได้เลยนั่นคือ สระว่ายน้ำ ซึ่งที่อยู่ด้านหน้าของโรงแรม เด่นด้วยบันไดโครงสร้างเหล็กที่สร้างใหม่ตั้งตระหง่านเป็นฉากหลัง ต่อเนื่องกับพื้นที่ส่วนกลางโปร่งโล่ง บรรยากาศบริเวณสระน้ำดูสดชื่นเป็นพิเศษด้วยเหล่าพันธุ์ไม้เขตร้อนสีเขียวชอุ่มที่ขึ้นอยู่เต็มฟาซาดของอาคาร สะท้อนแนวคิด Evergreen เปรียบเทียบลักษณะเขียวชอุ่มไม่ผลัดใบตลอดปีของพรรณไม้เขตร้อน กับการบริหารโรงแรมให้น่าเข้าพักได้ทุกฤดูกาล ถือเป็นการสร้างตัวตนที่ไม่ต้องอิงกับกระแสขาขึ้นหรือลงของตลาดโรงแรม ส่วนห้องพักเป็นการปรับปรุงจากโครงสร้างโรงแรมเก่าจึงมีพื้นที่จำกัดค่อนข้างจำกัด ผู้ออกแบบแก้ปัญหานี้ด้วยการเลือกใช้สีขาว ซึ่งเป็นสีที่สื่อถึงความสะอาดเรียบง่ายไม่ซับซ้อน เมื่อตัดกับเส้นสายสีดำของเฟอร์นิเจอร์ช่วยให้ดูเรียบเท่โมเดิร์นขึ้น ตรงกับคาแร็กเตอร์ของแบรนด์ได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีการใช้กระจกเงามาช่วยลวงสายตาสร้างมิติให้ห้องดูกว้างและลึกขึ้น และเพื่อสร้างความแตกต่าง แนวคิดการบริหารจัดการโรงแรมของที่นี่ จึงเน้นระบบการทำงานที่พนักงานทุกคนต่างทำงานเป็นทีม ไม่มียูนิฟอร์ม […]
ZIVI NIMMAN โฮสเทลเชียงใหม่ที่มีห้องพักเพียง 4 ห้อง 4 สไตล์
ZIVI เป็นสำนวนที่มาจากภาษาโครเอเชียมีความหมายว่า Live Life ด้วยแนวคิดการออกแบบที่ตั้งใจให้โฮสเทลแห่งนี้เป็นเสมือนบ้านที่มีดีไซน์ เต็มไปด้วยความสะดวกสบายและชวนผ่อนคลายขณะพักผ่อน DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio โดยเริ่มต้นจากการรีโนเวตตึกแถวเก่าที่เจ้าของเคยอยู่อาศัยมาตั้งแต่วัยเด็ก แล้วจัดวางฟังก์ชันใหม่เพื่อให้ตอบโจทย์กับการทำหน้าที่เป็นโฮสเทลมากที่สุด ZIVI NIMMAN ห้องพักของที่นี่มีเพียง 4 ห้องเท่านั้น โดยแต่ละห้องมีขนาด 32 ตารางเมตร และมีห้องน้ำในตัว ตกแต่งด้วยธีมที่แตกต่างกันตามความชอบและไลฟ์สไตล์ของแขกผู้เข้าพัก โดยเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งล้วนได้รับการคัดสรรจากเจ้าของเองทั้งหมด แบ่งเป็นห้อง Black เน้นเฟอร์นิเจอร์สีดำเป็นหลัก ห้อง White โดดเด่นด้วยการตกแต่งด้วยหินอ่อนสีขาว ห้อง Comfy Gold พิเศษด้วยฮาร์แวร์สีทองทั้งห้อง และห้อง Wood บรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเองด้วยการนำไม้สักของจังหวัดเชียงใหม่มาใช้เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้แต่ละชั้นของห้องพักยังมีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับไว้แชร์กิจกรรมร่วมกัน จัดวางชุดโซฟาขนาดใหญ่ พร้อมชุดครัวขนาดกะทัดรัดไว้สำหรับนั่งรับประทานอาหารพร้อมหน้ากัน ที่ตั้ง 12/14 ซ.15 ถ.นิมมานเหมินท์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ โทร : 0-5311-1809 FB : zivinimman เจ้าของ: ฉมาพันธ์ อัครอิทธิพงศ์ ออกแบบ : […]
we!park แพลทฟอร์มที่ชวนให้ทุกคนเป็นเจ้าของสวนในเมือง
we!park องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เชิญชวนทุกคนมามีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวด้วยการหยิบพื้นที่ว่าง หรือยกพื้นที่รกร้างในเมืองกรุงมาพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเชื่อว่าพื้นที่สีเขียวเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดว่า เมืองนั้นมีคุณภาพที่ดีหรือไม่? แล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าเราสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวขนาดเล็ก หรือ Pocket Garden ได้ในทุก ๆ 400 เมตร โดยแพลตฟอร์มนี้เกิดจาก คุณยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง ที่ตั้งข้อสงสัยว่า หากเรามีองค์ความรู้เรื่องการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม และความรู้สึกอยากช่วยเหลือหน่วยงานรัฐในการสร้างสวน หรือพื้นที่สาธารณะ จะต้องมีขั้นตอน และกระบวนการอย่างไร หรือหากองค์กรไหนมีเงินทุนที่สนใจจะสร้างสวนสาธารณะ เขาต้องเดินเข้าไปติดต่อหน่วยงานไหน นำมาสู่การสร้างสรรค์แพลตฟอร์มเพื่อทำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเชื่อม “หน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน” เข้าหากัน โดยปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหลัก wepark “เราทำหน้าที่เป็นกลไกกลางในการเชื่อม เช่น ใครมีที่ดินว่างเอามา เดี๋ยวเราเชื่อมกับหน่วยงานรัฐให้ หานักออกแบบมาให้ หรือใครมีเงินอยากบริจาคเพื่อทำสวน เราก็ดูว่าทางกทม.กำลังมีโครงการแบบนี้อยู่ไหม กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยในการช่วยดึงทรัพยากร โดยเราใช้วิธีการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานคือคุยกับชุมชน คุยกับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อนำความรู้กลางมาสร้างให้เกิดเป็นรูปธรรมจริง ๆ” เริ่มต้นจากสวนขนาดเล็ก “ตอนนี้เราเน้นขับเคลื่อนการสร้างพื้นที่สวนขนาดเล็ก หรือ Pocket Park […]
บ้านในใจ…บ้านหน้าจั่วที่กลั่นความในใจสู่บ้านสุดอบอุ่น
ไม่ว่าจะเข้ามาทำงานที่เมืองกรุงนานแค่ไหน ความคิดถึงคะนึงหาช่วงเวลาและความทรงจำในวันวานยังคงอบอวลอยู่ที่บ้านเกิดเสมอมา คุณแนน-เปรมจิตร ซาเนียร์ ฟอร์เซลล่า จึงตัดสินใจสร้างบ้านหลังที่สองสำหรับเป็นบ้านตากอากาศที่ภูมิลำเนาเดิมอย่างจังหวัดแพร่ จังหวัดเล็ก ๆ ในภาคเหนือที่ยังเปี่ยมไปด้วยวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอันเรียบง่าย DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: JAI Architect & Interior เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์และคงความรู้สึกของการไปมาหาสู่เหมือนการกลับไปเยี่ยมบ้านในครั้งก่อน ๆ ที่ผ่านมา บ้านหลังใหม่จึงเลือกตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับบ้านหลังเดิมที่คุณแนนอยู่อาศัยและเติบโตมาตั้งแต่เด็กกับครอบครัว ซึ่งตอนนี้คุณพ่อ คุณแม่ และพี่สาวยังอยู่อาศัยในบ้านหลังเดิม โดยวางใจให้สถาปนิกจาก JAI Architect & Interior มาเป็นผู้รังสรรค์ความต้องการให้กลายเป็นบ้านสุดอบอุ่น หลังจากเคยร่วมงานกันมาก่อนครั้งหนึ่งแล้ว เนื่องจากตำแหน่งของบ้านเดิมตั้งอยู่ค่อนข้างกลางที่ดิน ทำให้เมื่อทำการแบ่งที่ดินออกเป็นสองผืนตามกรรมสิทธิ์ของพี่น้อง ที่ดินที่ได้จึงมีลักษณะเป็นที่ดินแคบและยาว ผู้ออกแบบเลยเลือกวางตัวอาคารติดกับกำแพงในแนวขนานกับทิศตะวันออกและตะวันตก ซึ่งด้านที่ติดกับบ้านหลังเดิมนั้นกลับเป็นด้านทิศตะวันตก กลายเป็นความท้าทายที่ต้องจัดวางพื้นที่ใช้สอยหลักของบ้านให้มีปฏิสัมพันธ์กับบ้านเดิมไปพร้อม ๆ กับแก้ปัญหาเรื่องแสงแดดในช่วงบ่ายที่มักเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดในวัน “ความต้องการของเจ้าของบ้านและสถานที่ตั้ง คือจุดเริ่มต้นแรกของการออกแบบ บ้านที่จะเกิดขึ้นจึงต้องผสมกลมกลืนไปกับบริบทโดยรอบ ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านใหม่และบ้านเก่า รวมถึงปฎิสัมพันธ์ของคนในครอบครัวที่จะต้องยังคงอยู่ บ้านหลังนี้จึงถูกนิยามตามแนวความคิดในการออกแบบที่เรียกว่า “บ้านพื้นที่” อันหมายถึง บ้านในต่างจังหวัดที่ไม่ใช่บ้านพื้นถิ่น หากแต่ถูกออกแบบโดยคำนึงถึงคุณภาพของพื้นที่เป็นหลัก มีการผสานกันของพื้นที่ภายในและภายนอก การใช้งานที่หลากหลาย จนเหมือนทลายเส้นแบ่งของนอกบ้านและในบ้านออกไป เหลือเพียงแค่พื้นที่ใช้งานที่ได้ดังใจตามความต้องการในแต่ละช่วงเวลา” หลังจากทำการสำรวจบริบทประกอบกับความต้องการ ผลลัพธ์ที่ได้จึงออกมาเป็น “บ้านหน้าจั่ว” ที่ให้ความรู้สึกโฮมมี่ […]
SHERLOFT HOUSE AND HOSTEL ที่พักเชียงใหม่ในบ้านเก่าอายุ 50 ปีพร้อมพื้นที่สีเขียวกลางคู
อบอุ่นด้วยความเป็นบ้านและได้รับการดูแลอย่างดีเสมือนคนในครอบครัว นี่คือคอนเซ็ปต์และความตั้งใจของ Sherloft Home and Hostel โฮสเทลที่กล้าให้พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่กับแขกที่มาพัก เพื่อคงความร่มรื่นเหมือนบรรยากาศสบาย ๆ ของบ้านอายุ 50 ปีอย่างที่เคยเป็นมา แม้บ้าน Sherloft Home and Hostel สไตล์โมเดิร์นยุคแรกของเชียงใหม่หลังนี้จะได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นโฮสเทลแล้ว แต่เจ้าของยังคงอยากเก็บรักษาความคลาสสิกและเสน่ห์ของตัวบ้านไว้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบและวัสดุดั้งเดิมอย่างอิฐและไม้ เพิ่มเติมเพียงฟังก์ชันของห้องพัก ห้องน้ำ และส่วนต้อนรับเพื่อให้เหมาะกับการทำหน้าที่เป็นโฮสเทล ด้านการตกแต่งได้มีการนำวัสดุจากการรีโนเวตมาปรับใช้ตามส่วนต่าง ๆ เช่น การนำผนังมาทำบานประตู นอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ร่องรอยการใช้งานที่ปรากฏบนผิววัสดุ ยังมีคุณค่าช่วยส่งต่อเรื่องราวความทรงจำแห่งวันวาน พื้นที่ภายในมีบรรยากาศดูโปร่งโล่งสบายตาจากแสงธรรมชาติที่ส่องเข้ามาอย่างทั่วถึง ลดความอึดอัด และเปิดมุมมองสำหรับชมวิวสีเขียวของสวนและต้นไม้บริเวณด้านหน้าโฮสเทลได้เต็มที่ ให้ความรู้สึกอบอุ่นเป็นกันเองเสมือนที่นี่เป็นบ้านอีกหลัง ที่ตั้ง: 7 ถนนราชมรรคา ซอย 7 พระสิงห์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ ติดต่อ : โทร.08-2448-4777 Facebook: sherloft.homeandhostel เจ้าของ-ออกแบบ: ดร.ดวงนภา สุขะหุต ภาพ : ศุภกร SHER LOFT […]
TREE SPACE คาเฟ่สุราษฎร์ฯ ที่ซ่อนตัวอยู่ในร้านขายต้นไม้
TREE SPACE คือร้านรับออกแบบจัดสวน ขายต้นไม้ ขายกระถาง รวมถึงมี คาเฟ่สุราษฎร์ฯ ไว้บริการขนมและเครื่องดื่มในบรรยากาศเขียวชอุ่ม ให้คุณได้เพลิดเพลินตลอดทั้งวันกับทุกกิจกรรม ไม่ว่าคุณจะมาเดินเลือกซื้อต้นไม้ ช้อปกระถาง หรือหาที่นั่งขิบกาแฟชิล ๆ ก็รวมไว้แล้วในที่เดียว ตัว คาเฟ่สุราษฎร์ฯ จึงทำหน้าที่เป็นหน้าร้านในการนำเสนอไอเดียการออกแบบ-จัดสวนไปในตัว ผ่านการออกแบบร้านด้วยโครงสร้างง่าย ๆ อย่างการใช้เหล็กข้ออ้อยมาสานเป็นโครงสร้างทรงกล่อง ผสานกับเหล็กแผ่น ซึ่งนอกจากทำหน้าที่เป็นขอบเขตของร้านแล้ว ยังเป็นชั้นวางของไปในตัว พื้นที่ภายในร้านให้บรรยากาศแบบกึ่งเอ๊าต์ดอร์ โดยใช้ผ้าดิบพาดเป็นระนาบเหนือศีรษะใต้หลังคาใสที่มุงด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตอีกที เพื่อช่วยกรองแสงแดดในช่วงบ่าย เสริมด้วยไม้ยืนต้น ไม้กระถาง ไม้แขวน ที่เพิ่มความสดชื่นได้อีกเท่าตัว โดยไม้กระถางจัดวางแบบแรนดอมบนชั้นเสมือนเป็นแบ็กกราวนด์ของร้านในฝั่งหนึ่ง และกระถางต้นไม้หลากหลายรูปทรงในบริเวณหลังเคาน์เตอร์ทำกาแฟอีกฝั่งหนึ่ง แบ่งการใช้งานด้วยวัสดุ โดยใช้อิฐบล็อกสีดำปูส่วนของคาเฟ่ด้านในร้าน ส่วนด้านหน้าร้านใช้แผ่นปูพื้นสำเร็จรูปตัดด้วยการโรยหินกรวดสีดำขนาดเล็ก เข้ากันดีกับชุดเฟอร์นิเจอร์เอ๊าต์ดอร์สีดำ ได้ลุคดิบเท่ ชวนหยิบยกโทรศัพท์มาเก็บภาพไปอวดโซเชียล ในส่วนของเมนูเครื่องดื่มถูกออกแบบตามประเภทการจัดสวนทั้ง 4 แบบ คือ 1.สวนครัว (Backyard Garden) กับเมนูเครื่องดื่มน้ำผักและผลไม้สกัดเย็น เน้นความหวานจากธรรมชาติ 2.สวนอังกฤษ (English Garden) กับเมนูเครื่องดื่มชาดอกไม้หอม ๆ สุดสดชื่นเช่น ชาดอกกุหลาบ […]
HOUSE VISION บ้านทดลองที่ให้ “หน้าต่าง” ทำหน้าที่แทน “ประตู”
HOUSE VISION TOKYO คือนิทรรศการงานออกแบบของญี่ปุ่นเพื่อนำเสนอไอเดียและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในวงการสถาปัตยกรรม สำหรับครั้งนี้มาภายใต้โจทย์ “ Co-Dividual: Split and Connect / Separate and Come Together” โดยมีความมุ่งหวังที่จะเห็นรูปแบบของที่อยู่อาศัยสำหรับชาวญี่ปุ่นที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคโนโลยี วัฒนธรรม และจุบรรจบของอุตสาหกรรม ท้ายที่สุดผลงานออกแบบ HOUSE VISION ที่ถูกสร้างจริงคือผลงานการออกแบบนาม “Between Inside and Outside / Between Furniture and a Room” โดย TOTO · YKK AP × Atsushi Igarashi Taiji Fujimori กับรูปแบบบ้านแปลกตาที่แตกแขนงพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากจุดศูนย์กลาง เวลานึกถึง “หน้าต่าง” เราจะพยายามหาดีไซน์และองค์ประกอบใหม่ ๆ ให้กับความเป็นหน้าต่างอย่างไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับ “ภาพตัดขวาง” ของหน้าต่าง […]
FAN WORKING BEIJING ร้านขายและพื้นที่เวิร์คชอป “พัด”
ร้านขายพัดพร้อมพื้นที่เวิร์กชอปแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนเฉียนเหมิน ถนนที่ถูกขนานนามว่าถนนสายวัฒนธรรมในกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่นี่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมพัดจีนที่มีมาอย่างยาวนานให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญ จึงวางใจให้สถาปนิกจาก Golucci Interior Architects เข้ามา รีโนเวตตึกแถว ขนาด 2 ชั้นให้ดูเรียบง่าย สวยงาม และใช้งานได้จริงเหมือนกับ “พัด” ถนนเฉียนเหมินเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นย่านที่มีบ้านแบบหูตง หรือบ้านแบบดั้งเดิมของจีนที่เก่าแก่ที่สุดในปักกิ่ง ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้แวะเวียนมาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย โดยปัจจุบันพื้นที่ย่านนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกาลเวลาที่เปลี่ยนไป กลายเป็นพื้นที่ผสมผสานระหว่างความเก่ากับความใหม่ รวมไปถึงการ รีโนเวตตึกแถว เป็นร้านพัดแห่งนี้เช่นกัน พัดพกพานี้นับเป็นสิงประดิษฐ์เก่าแก่ที่มีถิ่นกำเนิดจากทั้งจีนและญี่ปุ่น อาจพูดได้ว่าต่างคนต่างเป็นแรงบันดาลซึ่งกันและกันก็คงไม่ผิดนัก ผู้ออกแบบจึงนำประวัติศาสตร์นี้มาประยุกต์ลงไปในการออกแบบสเปซ โดยแทรกกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นลงไปในอาคารเก่าแบบสถาปัตยกรรมจีน ผ่านการตกแต่งภายใน จากลักษณะของพื้นที่อาคารขนาดสองชั้นที่ไม่ได้มีพื้นที่เต็มตลอดทั้งตึก จึงแบ่งโปรแกรมออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ชั้นล่างที่มีขนาดเพียงหนึ่งคูหาเป็นส่วนของหน้าร้าน แล้วชั้นบนเป็นพื้นที่เวิร์กชอปให้บุคคลทั่วไปที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้การทำพัดแบบดั้งเดิมด้วยมือของคุณเอง สำหรับการตกแต่งภายในนอกจากความสวยงามแล้ว ยังออกแบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วย พื้นหินขัดเข้าคู่กับผนังสีขาวโพลน เสริมด้วยตู้เครื่องมือไม้สีอ่อนที่ใช้งานได้จริงพร้อมเป็นตัวแบ่งสเปซภายในไปในตัว ช่วยสะท้อนอัตลักษณ์ของพัดที่ว่าเรียบง่ายแต่ใช้งานได้จริง ออกแบบ: Golucci International Design 古魯奇建築諮詢公司 ภาพ: : Lulu Xi เรียบเรียง: Woofverine QISHER COURTYARD รีโนเวตบ้านจีนโบราณ […]
CASA COVA สวรรค์บนดินริมมหาสมุทรแปซิฟิก
ที่พักริมทะเล บรรยากาศสุดชิลแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ประเทศเม็กซิโก รัฐฮาวากาซึ่งเป็นเขตพื้นที่พัฒนาที่กำลังเป็นหมุดหมายของนักเดินทางทั่วโลก ผืนที่ดินนี้ติดกับทะลที่ขนาบด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและภูเขาฮาวากา โดยมีจุดเริ่มต้นของการออกแบบคือบ้านพักตากอากาศสำหรับสองครอบครัวที่มีพื้นที่ส่วนตัวเป็นของตัวเองและเชื่อมกันผ่านพื้นที่ทำกิจกรรมกลาง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Anonymous ที่พักริมทะเล หลังนี้จึงประกอบไปด้วยพื้นที่ 2 ส่วนหลัก ๆ คือพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่และบ้านพักสองหลังที่เเยกออกจากกันเป็นปีกซ้าย-ขวา ขนานกัน ด้วยพื้นที่ส่วนกลางที่ค่อนข้างใกญ่ทำให้บ้านทั้งสองมีทางเข้าหลักหลังละ 2 ทาง ซึ่งการแยกพื้นที่พับลิกและไพรเวตออกจากกันนั้น สถาปนิกเลือกออกแบบกำแพงคอนกรีตทึบที่ทำการเว้นช่วงสลับกัน เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเททะลุทั่วถึงทุกพื้นที่ ทั้งยังสร้างให้เกิดเอ็ฟเฟ็กต์ของแสงและเงาที่น่าสนใจตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดค่ำ พื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญในบรรยากาศแบบดับเบิ้ลสเปซที่เกิดจากระดับฝ้าเพดานที่สูงของหลังคาทรงจั่วปกคลุมด้วย “palapa” เทคนิคพื้นถิ่นที่ทำจากใบปาล์มแห้งซึ่งช่วยในการลดความร้อนของอากาศภายนอกที่สูงถึง 850F ให้เหลือเพียง 730F ได้ เหมาะแก่การเป็นพื้นที่พักผ่อน ส่วนนี้ประกอบไปด้วยห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหารและบาร์ รวมไปถึงส่วนบริการต่าง ๆ เช่น ห้องครัว ห้องซักรีด และห้องเครื่องที่ถูกวางซ่อนไว้ไม่ให้รบกวนและบังสายตาได้อย่างแนบเนียน เบื้องหลังผนังคอนกรีตที่ตั้งขนานไปกับพื้นที่ส่วนกลางเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับห้องนอนนั้น เป็นส่วนของบ้านพักทั้งสองฝั่งประกอบไปด้วย 3 ห้องนอน ได้แก่ ห้องนอนหลัก 1 ห้องในฝั่งด้านหน้าติดกับทะเล และห้องนอนลูก 2 ห้องโดยแต่ละห้องมีห้องน้ำในตัวทั้งหมด ซึ่งทั้งสามห้องเชื่อมต่อกันไว้ด้วยพื้นที่คอร์ตยาร์ดภายใน ทำให้แต่ละห้องมีพื้นที่ให้ลมทะเลได้พ้ดผ่าน ช่วยนำความเย็นมาพร้อม ๆ […]
CASA SANTORINI ต่อเติมบ้านบนเนินเขาเป็นบ้านพักตากอากาศวิวธรรมชาติเต็มตา
บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ชานเมืองระหว่างชายฝั่งทะเลและตัวเมือง ทำให้แวดล้อมไปด้วยทัศนียภาพที่สวยงามและมีความเป็นธรรมชาติสูง เหมาะแก่การสร้างบ้านพักตากอากาศสักหลัง ดังเช่นบ้าน CASA SANTORINI หลังนี้ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาทำให้ได้วิวธรรมชาติแบบสุดลูกหูลูกตา โดยทำการจากการรีโนเวตบ้านขนาดกะทัดรัดให้เอื้อต่อการพักผ่อนมากยิ่งขึ้น เริ่มจากการปรับปรุงห้องนอนและห้องน้ำใหม่ รื้อห้องครัวเดิมออก โดยวางฟังก์ชันในแนวขวางกับแกนบ้านเดิม แต่ยังคงกลิ่นอายของบ้านเก่าที่มีอายุกว่า 10 ปีไว้ ส่วนที่ต่อเติมเลือกใช้โครงสร้างเหล็กกรุด้วยแผ่นเมทัลชีทด้านนอกและกรุไม้ด้านใน ด้วยความที่ตั้งอยู่กลางทุ่ง ประกอบกับไม่มีเขตที่ดินหรือกำแพงล้อมตัวบ้านไว้ กลายมาเป็นความท้าทายของผู้ออกแบบในการสร้างควาสมดุลระหว่างตัวสถาปัตยกรรมและแนวป่าด้านหลังที่เป็นเหมือนเบ๊กกราวนด์ของบ้านที่มีความคอนทราสต์กันอยู่ นำไปสู่การวางตัวอาคารไว้บริเวณจุดสูงสุดของเนินหญ้า แต่ให้ระดับพื้นใหม่ต่อเนื่องไปกับระดับพื้นบ้านเดิมเพื่อให้ดูกลมกลืนไปกับเนินหญ้ามากที่สุด และดูต่อเนื่องไปกับผืนดิน ส่วนที่ต่อเติมขึ้นใหม่วางตัวตั้งฉากกับบ้านเดิม จนได้บ้านรูปทรงตัวแอล (L) ที่เชื่อมตัวเก่ากับส่วนใหญ่เข้าหากัน โดยบริเวณบ้านเก่าใช้เป็นพื้นที่ส่วนครัว ส่วนต่อเติมให้เป็นพื้นที่นั่งเล่นและห้องนอนที่เชื่อมไปกับเทอเรซขนาดใหญ่ได้วิวความเขียวชอุ่มแบบเต็มตา โดยเลือกใช้โครงสร้างคอนกรีตร่วมกับเฟรมเหล็กเพื่อให้ได้ความลาดเอียงและรูปทรงที่ดูโฉบเฉี่ยว ดูทันสมัย ทั้งยังเหมาะกับพื้นทียกลอยจากพื้นเล็กน้อยเพื่อกันความชื้นจากพื้นดินโดยตรง ซึ่งวัสดุที่ตอบสนองต่อโครงสร้างมีได้แก่ เหล็ก กระจก และแผ่นฟีนอลิก รวมไปถึงเหมาะกับสถาพอากาศและการดูแลรักษาในอนาคตอีกด้วย ภาพสุดท้ายของบ้านหลังนี้ ภายนอกต้องการคุมด้วยสีดำเพื่อขับให้บริบทโดยรอบที่เป็นทิวทัศน์ของธรรมชาติดูเด่น คอนทราสต์ออกมาในแนวนอน ตัดกับต้นไม้ที่เรียงตัวกันเป็นเส้นตั้ง ออกแบบ: LOI Arquitectura ภาพ: Obra Linda เรียบเรียง: BRL บ้านชั้นเดียวบนเนิน ชมวิวเพลินทั้งวัน ร่มรื่นแบบสวนเมืองร้อนในกลิ่นอายของสวนชนบทฝรั่งเศส
Art in the PARQ พางานศิลป์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
ใครที่เคยไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศฝั่งยุโรปหรือบ้านใกล้เรือนเคียงเราอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวันเอง ก็มักเห็นบ้านเมืองเขาเต็มไปด้วยงานศิลปะจัดวางประดับตกแต่งอยู่ทั่วเมืองให้ได้เสพและเข้าถึงกันจนเป็นเรื่องปกติ จนบางทีก็นึกอิจฉา…แต่วันนี้กรุงเทพฯของเราได้มีโปรเจ็กต์ที่หอบเอา Installation Art เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันให้สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายกลางเมืองกรุงที่โครงการ The PARQ The PARQ คือโครงการไลต์สไตล์มิกซ์ยูส ที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความกลมกลืนระหว่างธรรมชาติและไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วย “งานศิลปะ” จึงชวนศิลปินชาวไทย 3 ท่าน ที่มีผลงานโดดเด่นมาสร้างงาน Installation Art ที่จะนำมาวางตามจุดต่าง ๆ ในโครงการ โดยทั้งหมดได้มีการเตรียมการและวางแผนไว้ตั้งแต่แรกพร้อม ๆ กับการก่อสร้าง ผลงานทั้งสามชิ้นจึงถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเจาะจงต่อสเปซนั้น ๆ โดยงานนี้ได้ศิลปินชั้นนำมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานภายใต้แนวคิด “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ” ประกอบไปด้วย 5 ผลงาน ได้แก่ศิลปินไทย 3 ผลงาน คือ “เกื้อกูล” โดยศิลปิน พงษธัช อ่วยกลาง, “The Cradle” โดยศิลปิน อ้อ สุทธิประภา, “The Cocoon” โดยศิลปิน สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ รวมไปถึงอีก 2 […]