- Home
- room
room
THE MELLOW PILLOW HOTEL ปรับบ้านเก่าอายุ 30 ปีเป็นโฮสเทลสไตล์ Mid Century
ถนนคนเดินวัวลาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่กล่าวได้ว่าพลุกพล่านที่สุดแห่งหนึ่งในตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “The Mellow Pillow Hotel” ที่พักวัวลาย โฮสเทลขนาดย่อมบนที่ดินใกล้ประตูเมืองเก่า ด้วยทำเลอันเหมาะสมจึงยึดเป็นจุดขายหลัก พร้อมกับการรีโนเวตบ้านเก่าในย่านนี้ให้กลายเป็นโฮสเทลสไตล์ Mid Century เช่นเดียวกับรูปแบบของบ้านอายุกว่า 30 ปี ที่พักวัวลาย แห่งนี้ตัวอาคารภายนอกยังคงรูปแบบบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ไว้เช่นเดิม โดยโครงสร้างทั้งหมดยังคงความแข็งแรง และมีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่หาได้ยากแล้วในปัจจุบัน เจ้าของและสถาปนิกจึงคิดตรงกันว่าต้องการเก็บรักษารูปแบบของบ้านเดิมไว้ แล้วเน้นปรับปรุงตกแต่งพื้นที่ภายในเพื่อให้มีฟังก์ชันเหมาะสมกับการเปิดเป็นที่พัก เช่นในพื้นที่บางส่วนอย่างโรงจอดรถได้ทำการต่อเติมขยายห้องพักเพิ่มได้อีกหนึ่งห้อง โดยภาพรวมยังคงสภาพเดิมของบ้านไว้ให้มากที่สุด ในส่วนของห้องพักผู้ออกแบบเน้นให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นเหมือนได้พักผ่อนอยู่ในบ้านจริง ๆ เพื่อลดบรรยากาศที่ดูเป็นทางการเหมือนอย่างโรงแรมทั่วไปลง จากแนวคิดนี้ห้องพักทั้งหมดจึงเป็นห้องพักแบบส่วนตัว ไม่มีห้องนอนรวม เพื่อความสบายและเป็นส่วนตัว โทนสีหลักที่ใช้เน้นโทนสีที่ดูสงบ เรียบง่าย เหมาะกับการพักผ่อน อย่างสีขาว และสีน้ำเงิน ก่อนจะแทรกด้วยสีเหลืองในองค์ประกอบเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเพิ่มความสดใส กลายเป็นกิมมิกสนุก ๆ ที่มีเอกลักษณ์ พร้อมกลิ่นอายของบรรยากาศแบบวันวาน ที่ตั้ง : 5/2 ถนนสุริยวงศ์ ตำบลหายยา อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ ติดต่อ […]
LOOPER & CO. สเปซหมุนเวียนด้วยฟังก์ชันคาเฟ่กับบาร์ในโกดังเก่าเมืองเชียงใหม่
บาร์ในจังหวัดเชียงใหม่ที่เสิร์ฟค็อกเทล โดดเด่นด้วยเมนูซิกเนเจอร์หลากหลายในยามค่ำ กับร้านกาแฟมากเอกลักษณ์ในตอนกลางวัน ในโกดังราชวงศ์ ริมถนนราชวงศ์ สถานที่รวมตัวแห่งใหม่ของชาวเชียงใหม่ กับชื่อร้าน “ Looper & Co. ” ที่ต้องการสื่อถึงการหมุนเวียนไปของกิจกรรมภายในร้านตั้งแต่กลางวันจนถึงค่ำนั่นเอง ตัวร้านใช้ประโยชน์จากสภาพเดิมของโกดังเก่าอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการเปิดเปลือยสภาพผนังเดิม ที่ผ่านการเป็นโกดังเก็บสินค้าวัสดุก่อสร้าง ขนาดกว้างราว 4 เมตรลึกราว 16 เมตร ซึ่งได้ทิ้งร่องรอยถลอก คราบสี และการลอกล่อนตามกาลเวลา ที่เจ้าของและผู้ออกแบบเห็นว่าเป็นเสน่ห์ที่จะกลายเป็นเอกลักษณ์ของร้าน และเล่าเรื่องที่มาที่ไปของย่านเก่าของเมืองแห่งนี้ได้ ภายในบรรจุบาร์ค็อกเทลตัวยาวพร้อมที่นั่งประกบเป็นศูนย์กลางของร้าน โดยตั้งใจให้บาร์มีความกว้างพิเศษเพื่อซ่อนการขั้นตอนการชงเครื่องดื่มของบาร์เทนเดอร์เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง พื้นที่ที่เหลือ จัดวางเฟอร์นิเจอร์แต่ละมุมในสไตล์วินเทจช่วยสร้างบรรยากาศ ความน่าสนใจอีกอย่างคือการเป็นโกดังติดถนน 2 ฟาก ทำให้สามารถเปิดประตูเข้าออกได้ทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งก็ได้รื้อและออกแบบใหม่ให้ทางเข้าร้านทั้ง 2 เป็นผนังกระจก ซึ่งช่วยให้ร้านที่มีความลึกดูโปร่ง และได้บรรยากาศจากภายในเข้ามาด้วยในเวลาเดียวกัน IDEA TO STEAL ควบคู่ไปกับเคาน์เตอร์บาร์ตัวยาว ร้านได้ออกแบบโคมและซ่อนไฟเป็นเส้นยาวตามลักษณะของเคาน์เตอร์บาร์ไปด้วย ซึ่งช่วยให้ตัวเคาน์เตอร์บาร์โดดเด่นขึ้นได้อย่างง่ายๆ และชัดเจน เปิด: ร้านกาแฟ ทุกวัน 10.00 น. – 17.00 […]
G HOUSE แค่ต่อเติมระเบียงบ้าน…บรรยากาศก็เปลี่ยนไป
รีโนเวตบ้านไม้ ใหม่สำหรับสมาชิกทั้งหมด 4 ครอบครัว ซึ่งเดิมทีพื้นที่ชั้น 1 หันหน้าไปทางทิศใต้จึงมักถูกเงาจากบ้านเรือนข้างเคียงบดบัง ทำให้แสงธรรมชาติไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่ในทิศเดียวกันนี้บนชั้น 2 กลับเปิดมุมมองให้เห็นท้องฟ้าอันแจ่มใสและแสงแดดที่สาดส่องเข้ามา จากศักยภาพดังกล่าวสถาปนิกจึงเลือกเปลี่ยนตำแหน่งนี้ให้กลายมาเป็นห้องนั่งเล่นแทน ชั้น 2 ของบ้านประกอบไปด้วยห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ครัว และระเบียงไม้สนที่ยื่นออกไป กลายเป็นพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ภายในบ้าน กลายเป็นลานกิจกรรมผืนใหญ่จุดศูนย์รวมของสมาชิกในครอบครัว พื้นที่ชั้นล่างที่เคยปิดทึบไม่สามารถระบายอากาศได้ ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นห้องนอนขนาดใหญ่โล่ง 1 ห้อง ซึ่งในอนาคตเมื่อลูก ๆ โตขึ้น สามารถแบ่งห้องออกเป็นห้องย่อย ๆ ได้ถึง 3 ห้อง ส่วนทรงและขนาดของหลังคาที่ดูไม่สมมาตรอย่างที่เห็นนั้น เกิดจากการต่อเติมพื้นที่ระเบียง โดยใช้เพิ่มตำแหน่งและขนาดของโครงสร้างตามวิธีการก่อสร้างสมัยใหม่ ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีท้องถิ่น ซึ่งมีเป้าหมายคือเวลาและงบประมาณที่มีจำกัด การต่อเติมที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปอย่างเรียบง่ายทั้งรูปร่างและสัดส่วนที่สอดคล้องกับฟังก์ชันการใช้งาน อย่าง ระเบียงที่ขยายออกไปบนชั้น 2 ที่สามารถช่วยบังแดดจากทางทิศใต้ ไม่ให้ความร้อนส่องกระทบลงมาถึงห้องนอนชั้นล่างได้นั่นเอง ออกแบบ: masaru takahashi architectural design office ออกแบบโครงสร้าง: Kensuke Noto ก่อสร้าง: บริษัท ฟุกุอิ […]
HOMM BOUTIQUE HOTEL โรงแรมสไตล์โมเดิร์นกลิ่นอายล้านนา ที่หยิบของสะสม ผ้า และงานหัตถกรรมมารวมไว้
HOMM BOUTIQUE HOTEL โรงแรมเชียงใหม่ สไตล์โมเดิร์นกลิ่นอายล้านนา ตอบรับไลฟ์สไตล์การพักผ่อนของคนรุ่นใหม่ “ฮอม” แปลว่า “รวบรวม” ในภาษาเหนือ ที่นี่จึงน่าค้นหาด้วยคอลเล็กชั่นของสะสม ผ้าทอ และงานหัตถกรรมหลากหลายประเภท ที่ได้รับการรวบรวมมาจากหลายจังหวัดในภูมิภาค ตกแต่งสอดแทรกอยู่ในแทบทุกมุมของโรงแรม HOMM BOUTIQUE HOTEL มีลักษณะเป็นอาคารสูง 4 ชั้น โดดเด่นด้วยรูปทรงโค้งมนดูเป็นมิตร วัสดุไม้บนฟาซาดช่วยเพิ่มความอบอุ่นและเป็นกันเองตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น โซนล็อบบี้ชั้นล่างสดใสด้วยผนังสีเขียวน้ำทะเลเข้ม ทั้งยังมีสวนสีเขียวในคอร์ตด้านหลังที่โปร่งโล่งทะลุถึงชั้นบนสุดภายใต้สกายไลท์สว่างไสว ช่วยสร้างความรู้สึกเปิดโล่ง และเป็นการเชื่อมต่อของสเปซในแนวดิ่งได้อย่างดี พิเศษกับห้องพักชั้นล่างที่มีสวนส่วนตัวทุกห้อง ส่วนห้องพักชั้นบนออกแบบให้มีระเบียงขนาดใหญ่เพื่อเปิดมุมมองสู่วิวดอยสุเทพ ทางเดินจากห้องพักโอบล้อมด้วยพื้นที่สีเขียวดูสบายตา ประกอบกับบล็อกช่องลมโดยรอบยังช่วยให้เกิดการระบายอากาศที่ดี และเป็นการเชื่อมโยงพื้นที่ระหว่างภายในกับภายนอก ภายในห้องพักนอกจากของตกแต่งจากงานฝีมือ เฟอร์นิเจอร์ไม้ก็มีบทบาทหลักที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น และลดความแข็งกระด้างของตัวอาคารโมเดิร์นลง ส่วนบนชั้นดาดฟ้าจัดพื้นที่ให้เป็นห้องอาหารเช้าสำหรับแขกผู้เข้าพัก ระหว่างรับประทานอาหารจึงสามารถดื่มด่ำกับรสชาติอาหาร และวิวสวย ๆ ของดอยสุเพทยามเช้าได้พร้อมกัน ที่นี่จึงเป็นผลลัพธ์ของความท้าทายในการการออกแบบโรงแรมขนาดเล็กให้ถูกต้องตามกฎหมาย ภายใต้งบประมาณจำกัด พร้อม ๆ กับสร้างเอกลักษณ์ให้โรงแรมผ่านบริบททางวัฒนธรรม และธรรมชาติได้อย่างลงตัว IDEA TO STEAL การใช้อิฐบล็อกช่องลมกรุผนังช่วยให้เกิดความโปร่งโล่ง ขณะเดียวกันก็ช่วยพรางสายตา ทั้งยังเกิดเงาแดดที่เปรียบเหมือนลวดลายแห่งธรรมชาติ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนลวดลายไปตามแต่ละช่วงเวลาของวัน ที่ตั้ง : 55 ถนนคันคลองชลประทาน ตำบลสุเทพ […]
MILA HOTEL THAPAE รีโนเวตตึกแถวเก่าเป็นที่พักใกล้คูเมืองเชียงใหม่สไตล์ลักชัวรี่
นับเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างสีสันให้กับคูเมืองเชียงใหม่อย่างยากที่จะปฏิเสธได้ กับ Mila Hotel ที่พักใกล้คูเมือง ด้วยความเป็นโรงแรมขนาดเล็กแต่มีความลักชัวรี่ในทุกตารางนิ้ว ตัวโรงแรมเป็นโครงการรีโนเวตตึกแถวเก่า ทั้งงานสถาปัตยกรรมและงานตกแต่งภายในใหม่ทั้งหมด โดยยังคงเก็บโครงสร้างที่จำเป็นบางส่วนไว้ ที่พักใกล้คูเมือง นี้มีแนวคิดการออกแบบพื้นที่เบื้องต้นด้วยการร่นระยะริมถนนเข้ามาเพื่อให้หน้าโรงแรมมีพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ขนาดกะทัดรัด สำหรับให้แขกผู้มาเยือนสามารถออกมานั่งเล่นชิล ๆ ดื่มด่ำไปกับรสชาติอาหารเช้า เบเกอรี่ และเครื่องดื่มนานาชนิด พร้อม ๆ กับชมวิวคูเมืองไปด้วยกัน นอกจากนี้ยังออกแบบผนังอาคารที่มีเส้นโค้งมาช่วยกั้นพื้นที่นี้กับถนน เน้นให้เส้นโค้งมาช่วยสร้างมุมมองบริเวณประตูกระจกซึ่งเป็นทางเข้าหลักให้เด่นชัดขึ้น แล้วกั้นผนังด้านหน้าโรงแรมบริเวณชั้น 1 ทั้งหมดด้วยกระจกใสเพื่อลดความอึดอัด ทั้งยังให้คนภายนอกสามารถเห็นตัวโรงแรมภายในที่ได้รับการตกแต่งไว้อย่างสวยงาม บริเวณชั้น 1 จัดฟังก์ชันให้เป็นพื้นที่ต้อนรับและคาเฟ่ของโรงแรม โดดเด่นด้วยโคมไฟทรงกลมที่วางตำแหน่งแบบเล่นระดับให้โค้งไปตามเส้นโค้งของซุ้มผนังทางเข้าอาคารด้านหน้า ก่อนจะไล่สายตาลงมายังเคาน์เตอร์หินขัดสีชมพูที่วางขนานไปกับแนวผนังอาคารภายใน เสริมกับชุดที่นั่งและโซฟาหลากหลายดีไซน์ ช่วยเพิ่มสีสันให้บริเวณพื้นที่ต้อนรับ และคาเฟ่ ส่วนที่พักชั้น 2 ประกอบด้วยห้องพักจำนวน 10 ห้อง ภายใต้การตกแต่งสไตล์ลักชัวรี่ที่ให้ความรู้สึกหรูหราและเรียบง่ายไปพร้อมกัน โดยมีขนาดห้องพักที่ใหญ่กว่าห้องพักมาตรฐานทั่วไปภายในจัดวางเฟอร์นิเจอร์แบบโอเพ่นแปลน ไม่มีผนังกั้นห้องน้ำเพื่อลดความอึดอัด แล้วออกแบบอ่างล้างหน้าให้ทำหน้าที่เป็นตัวกั้นพื้นที่ไปในตัวแทน อีกทั้งยังรื้อฝ้าเพดานเดิมออกช่วยให้ทุกห้องมีเพดานที่สูงขึ้น คุมโทนด้วยการใช้สีโมโนโทนสร้างความรู้สึกผ่อนคลายเอื้อต่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง Idea to steal สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวให้กับสเปซด้วยการสร้างเส้นต่อเนื่องกันจากฝ้าเพดานต่อเนื่องมาถึงผนัง และตัดด้วยวงกบเส้นโค้งในตำแหน่งที่เปลี่ยนฟังก์ชันเพื่อให้ห้องรู้สึกละมุนขึ้น ที่ตั้ง : 28 ถนนชัยภูมิ ชัยภูมิ ตำบลศรีภูมิ […]
SANGAM ELEMENTARY SCHOOL โรงเรียนอนุบาลที่ออกแบบให้เด็กได้วิ่ง เล่น เลอะ สไลด์ และเรียนรู้
ตั้งแต่อดีตกาลที่เรานั่งเรียนหนังสือกันใต้ต้นไม้ ซึ่งส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะที่หลากหลาย ทั้งการวิ่ง กระโดด สไลด์ เเละเลอะเทอะท่ามกลางพื้นที่ธรรมชาติ ทำให้เด็ก ๆ ได้ค้นหาตัวตนในหนทางที่ต่างออกไป นี่คือแรงบันดาลใจมาสู่การออกแบบ โรงเรียนอนุบาล แห่งนี้ โรงเรียนอนุบาล นี้ตั้งอยู่ที่รัฐราชาสถาน ประเทศอินเดีย สถาปนิกได้ให้ความสำคัญด้านการออกแบบ โดยเน้นลงไปที่บรรดาเด็กนักเรียนให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาคารและสภาพเเวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในคีย์เวิร์ดของการเรียนรู้ รูปฟอร์มของอาคารได้แรงบันดาลใจมาจากก้อนชีสที่มีรูขนาดเล็กรอบด้านเหมือนภาพที่เห็นในการ์ตูน ผิวของอาคารเต็มไปด้วยช่องเปิดที่วางตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ เพื่อเชื่อมมุมมองไปยังธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ขนาดของหน้าต่างออกแบบให้มีขนาดเล็กเพื่อความปลอดภัยเวลาเปิด-ปิด และวางในระดับความสูง เด็ก ๆ จึงสามารถมองเห็นวิวภายนอกได้ในขณะที่นั่งเรียนอยู่ที่โต๊ะของแต่ละชั้นภายในอาคาร ซึ่งแทรกไปด้วยกระถางต้นไม้ขนาดเล็กตามมุมของตึกที่ออกแบบรูปทรงเเบบเป็นธรรมชาติ ฝั่งหนึ่งของตึกออกแบบเป็นพื้นที่สโลปขนาดใหญ่ เหมือนเป็นอัฒจันทร์สำหรับทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมสวดมนต์ตอนเช้า เเละเล่นละคร ส่วนที่ไม่ได้เป็นพื้นที่ราบได้ออกแบบเป็นลู่จักรยาน โดยพื้นที่สโลปแต่ละชั้นสามารถเชื่อมต่อเข้าไปภายในตึกได้ทุกชั้น พื้นที่สโลปช่วงแรกประกอบไปด้วยสไลเดอร์ขนาดใหญ่สองอัน ช่วงที่สองเป็นช่วงสโลปที่ยาวที่สุดทำเป็นเครื่องกีดขวางฝึกทักษะ และช่วงที่สามเป็นส่วนที่มีแสงแดดเพียงพอ จึงได้ออกแบบเป็นที่ปลูกผักสวนครัว ที่แต่ละห้องเรียนสามารถมาปลูกผักและดอกไม้เป็นของตัวเอง กลายเป็นการสร้างความใกล้ชิดระหว่างเด็กกับธรรมชาติอย่างแยบยล และชั้นบนสุดเป็นสนามเด็กเล่นที่มองเห็นวิวเมืองได้แบบสุดลูกหูลูกตา อาคารแห่งนี้ มีขนาด 3 ชั้น ภายในแทรกไว้ด้วยคอร์ต 2 คอร์ต ที่เป็นช่องให้แสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่คอริดอร์ภายในอาคาร ซึ่งคอร์ตนี้ทำหน้าที่ช่วยลดความร้อนไม่ให้เข้ามาสู่พื้นที่ภายในอาคารและช่วยระบายอากาศ ทั้งยังกรองแสงแดดจากด้านบนทำให้อุณหภูมิภายในเย็นสบายขึ้น ห้องเรียนไม่ใช่ห้องเรียนสี่เหลี่ยมอย่างทั่ว ๆ ไป เพราะถูกออกแบบพิเศษเป็นรูปทรงออร์แกนิกและดับเบิ้ลสเปซที่มีชั้นลอยให้เด็ก ๆ […]
RICCO BURGER ร้านเบอเกอร์บล็อกแก้ว ที่เชื่อมเมืองกับสวนสาธารณะเข้าไว้ด้วยกัน
RICCO BURGER ร้านเบอเกอร์ ที่ใช้เวลาในการทำเพียง 4 เดือน ด้วยงบประมาณและเวลาก่อสร้างอันจำกัด สถาปนิกถึงพยายามใช้โครงสร้างและสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มากที่สุด ผู้ออกแบบให้ความสำคัญกับความเชื่อมต่อของพื้นที่หน้ ร้านเบอเกอร์ RICCO BURGER ซึ่งเป็นถนนและสวนสาธารณะด้านหลัง ตัวอาคารของร้านจึงทำหน้าที่เป็นตัวประสานพื้นที่ทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยให้ร้านเปรียบเสมือน “ตัวกรอง” มลภาวะเเละความวุ่นวายทางสายตาต่าง ๆ ออกไป บรรยากาศของพื้นที่ฝั่งสวนสาธารณะใช้โครงเหล็กและบันไดที่จะนำไปสู่พื้นที่ร้านอาหารชั้น 1 และเมื่อเข้ามาในร้าน ลูกค้าจะได้รับความรู้สึกเหมือนกำลังนั่งกินเบอเกอร์อยู่ในห้องน้ำ ด้วยผนังกรุกระเบื้องแผ่นเล็กของห้องน้ำเดิมยังคงอยู่โดยถูกดัดแปลงให้กลายเป็นส่วนของห้องครัว ผนังที่เหลือถูกกระเทาะออกทั้งหมด เหลือไว้เพียงพื้นไม้เดิมที่ยังคงเก็บรักษาไว้ อีกหนึ่งรูปแบบที่เชื่อมพื้นที่ทั้งหมดเข้าด้วยกันคือขนาดของวัสดุ 20×20 เซนติเมตร ทั้งในส่วนของกระเบื้องสีขาว แผ่นปูพื้น และบล็อกแก้ว ส่วนพื้นที่ที่ทำขึ้นมาใหม่ของร้านนี้ ก็คือส่วนของเคาน์เตอร์เตรียมอาหาร และที่นั่งแบบหล่อในที่ ฝ้าเพดานถูกรื้อออกหมด เพื่อโชว์โครงสร้างเผยผิววัสดุตามเเบบที่เรียกว่าสัจวัสดุ ซึ่งตรงกับคอนเซ็ปต์ของร้านที่ว่าใช้วัตถุดิบเรียบง่ายเป็นธรรมชาติ และเน้นไปที่กระบวนการเตรียมอาหาร พื้นที่ในร้านชั้น 1 และทางเท้าเลือกใช้วัสดุปูพื้นชนิดเดียวกัน เพื่อเชื่อมพื้นที่ให้ดูลื่นไหล ต่อเนื่อง ผนังด้านหน้าและหลังร้านกั้นด้วยบล็อกแก้วที่ใช้โครงสร้างเหล็ก ด้วยคุณสมบัติของบล็อกแก้วที่ยอมให้แสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ในร้าน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ภายใน อีกทั้งช่วยสร้างเอฟเฟ็กต์ของแสงสียามค่ำคืน สร้างความน่าสนใจสำหรับใครที่ผ่านไปมา ออกแบบ : BLOCO Arquitetos ภาพ : […]
DESIGN IN MOTION OFFICE ออฟฟิศสถาปนิกที่โชว์ผิววัสดุ โครงสร้าง และสเปซคุณภาพ
ออฟฟิศสถาปนิก ที่โดดเด่นด้วยความโปร่งโล่งทั่วถึงกันตลอดทั้งอาคาร ด้วยการออกแบบ “บันได” เป็นองค์ประกอบหลัก จากการใช้โครงสร้างคอนกรีตโชว์ผิวที่โชว์ความงามของระบบโครงสร้างอย่างตรงไปตรงมา เมื่อถึงโอกาสของการขยับขยายและย้ายที่ทำงานสู่สถานที่ใหม่ บริษัท Design In Motion จึงได้เปลี่ยนที่ดินว่างเปล่าผืนหนึ่งในซอกซอยซับซ้อนของถนนสุขุมวิท 71 ให้กลายเป็นอาคารสำนักงานมากเอกลักษณ์ ที่รวมทุกคุณสมบัติของสำนักงานคุณภาพ ทั้งเรื่องแสงสว่าง พื้นที่ส่วนกลาง และดีไซน์พิเศษมากฟังก์ชัน ซึ่งผ่านการคิดมาแล้วอย่างเป็นองค์รวม สมกับความเป็น ออฟฟิศสถาปนิก มากประสบการณ์ “เรามีความต้องการที่จำเป็นอยู่ไม่กี่ข้อ” คุณธฤต ทศไนยธาดา หนึ่งในพาร์ทเนอร์ของบริษัท เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของสำนักงานแห่งใหม่ “แสงสว่างส่องถึง ให้ออฟฟิสสว่างๆ โล่งๆ ไม่ทึบ แล้วก็อยากมองเห็นกันในระหว่างทำงาน รวมถึงเรื่องงบประมาณค่าก่อสร้างด้วย” คุณธฤตเล่าว่า สำนักงานของ Design In Motion ก่อนหน้านี้ เป็นเพียงห้องของตึกแถว 1 ห้องในย่านเอกมัย และพนักงานกว่า 10 คนทั้งทีมพาร์ทเนอร์และพนักงาน ก็นั่งทำงานรวมกันอยู่ในห้องเดียว ซึ่งถึงแม้ว่าจะเพียงพอ และไม่ถึงขั้นแออัดยัดเยียด แต่การขาดพื้นที่ส่วนกลางและความเป็นส่วนตัวในพื้นที่ทำงานของแต่ละคน ก็เป็นหนึ่งในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมของที่ทำงาน ที่ทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องการแก้ไข เมื่อย้ายมาที่ทำงานใหม่ การออกแบบให้สถานที่ทำงานโปร่งโล่ง และแบ่งเป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยแรกๆ […]
เปลี่ยนศูนย์อนุรักษ์น้ำ ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนเมือง
แม่น้ำ Songyin ในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นแม่น้ำสายสำคัญของเมือง Songyang เมืองที่มีประวัติศาสตร์การอนุรักษ์น้ำ มาเป็นเวลานาน โดยที่นี่เป็นแหล่งกระจายน้ำที่สำคัญของภูมิภาคเพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งและปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เกษตรกรรม ทางทิศตะวันตกของเขื่อนและสถานีไฟฟ้าเป็นที่ตั้งของ ศูนย์อนุรักษ์น้ำ ซึ่งเดิมทีที่นี่ตั้งใจให้เป็นศูนย์การจัดการน้ำ ที่มีห้องควบคุม ออฟฟิศ และโรงอาหารรวมอยู่ด้วยกัน แต่ด้วยนโนบายการพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นจุดชมวิวแม่น้ำ ที่นี่จึงถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สาธารณะริมน้ำ เพื่อการพักผ่อนเเละนันทนาการเเทน โดยพื้นที่ภายในอาคารได้ถูกเปลี่ยนการใช้งานทั้งหมด เช่น ห้องเก็บเอกสารเปลี่ยนเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติการอนุรักษ์น้ำ ศูนย์ตรวจสอบเปลี่ยนเป็นพื้นที่ให้คนทั่วไปและนักเรียนได้เข้ามาใช้ทำกิจกรรม และส่วนของโรงอาหารยังคงการใช้งานไว้ โดยเพิ่มหน้าที่เป็นพื้นที่มัลติมีเดียสำหรับวัยรุ่นในพื้นที่ ทีมผู้ออกแบบพยายามเก็บสเปซเดิมของอาคารไว้ให้มากที่สุด โดยรูปทรงโค้งของอาคารถูกปรับให้เป็นอัฒจันทร์สำหรับทำกิจกรรมเอ๊าต์ดอร์ และทางเดินที่จะนำไปยังสวนดาดฟ้า อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากรูปแบบของพื้นที่เดิมมาสร้างความพิเศษให้กับพื้นที่ภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นลำดับการเข้าถึง เเละเปิดรับแสงธรรมชาติให้สาดเข้ามายังพื้นที่ภายใน การวางตัวอาคารในลักษณะของคลัสเตอร์ที่มีทางเชื่อมถึงกัน แล้วแทรกด้วยบ่อน้ำ ดูเสมือนคอร์ตน้ำกลางกลุ่มอาคาร อันสื่อถึงเอกลักษณ์ของสถานที่ตั้ง นอกจากนี้ทางเดินเชื่อมไปยังแต่ละอาคาร ยังออกแบบให้สอดคล้องไปกับลักษณะของภูมิประเทศ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายของการมาเที่ยวชมศูนย์อนุรักษ์แห่งนี้ ที่นี่จึงกลายเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านแถบชานเมืองกับภูเขาโดยรอบ เปิดโอกาสให้ผู้คนจากในเมืองได้มาเรียนรู้ ใกล้ชิด เเละสัมผัสธรรมชาติ ผ่านเรื่องราวการอนุรักษ์น้ำที่สอดเเทรกอยู่ทุกมุม รวมถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ตั้งได้เป็นอย่างดี ออกแบบ : DnA_ Design and Architecture ภาพ : Wang Ziling, Han Dan […]
BAANSOMTAM BANG NA ร้านส้มตำที่เติมความแซ่บและเป็นพื้นที่สีเขียวให้เมือง
“บ้านส้มตำ” ร้านส้มตำสุดเก๋าที่เปิดมายาวนานกว่า 15 ปี และมีสาขาอยู่ทั่วมุมเมือง ล่าสุดกับสาขาที่ 10 สาขานี้เปรียบเสมือนเป็นแฟล็กชิปสโตร์ของบ้านส้มตำ ที่แสดงออกถึงตัวตนและอัตลักษณ์ของเเบรนด์ได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความใส่ใจในรายละเอียด การคัดเลือกวัตถุดิบคุณภาพ และดีเทลในการบริการ ผ่านการวางพื้นที่ใช้สอยและการใช้วัสดุตกแต่งธรรมดาที่ไม่ธรรมดา หลังจากศึกษาและวิเคราะห์ที่ตั้งของร้าน ซึ่งอยู่ในย่านบางนาที่ยังขาดพื้นที่สวนระดับชุมชน หรือไม่มีสวนขนาดเล็กแทรกอยู่ในชุมชนเมืองเลย ประจวบเหมาะกับที่ดินผืนนี้มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ เมื่อหักลบจากพื้นที่ร้าน บ้านส้มตำ และคาเฟ่แล้ว ยังเหลือพื้นที่อีกมาก จึงเกิดเป็นไอเดียในการสร้างสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่ใช้ “พื้นที่สีเขียว” เป็นจุดดึงดูดความสนใจของโครงการ พื้นที่สีเขียวที่เกิดขึ้นอาจจะเรียกว่าสวนกึ่งสาธารณะ นอกจากช่วยดึงผู้คนให้มาใช้พื้นที่ของร้านบ้านส้มตำและคาเฟ่แล้ว ยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง โดยสิ่งนี้ได้กลายเป็นการพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งในเเง่ฟังก์ชันการใช้พื้นที่และโมเดลธุรกิจ และเมื่อพูดถึงอาหารอีสาน หลายคนมักนึกถึงความสนุกสนาน อันเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งที่เป็นเบสิก ท่ามกลางบรรยากาศการรับประทานอาหารที่เป็นการพูดคุยอย่างออกรสเเละเป็นกันเอง อันสื่อถึงความเป็นครอบครัวและความอบอุ่น นำไปสู่การออกแบบตัวอาคารให้มีความกลมกลืนระหว่างฟังก์ชันกับรูปฟอร์มได้อย่างลงตัว ตัวอาคารถูกแบ่งออกเป็นสองก้อนหลัก ๆ คือ ส่วนของร้านบ้านส้มตำ และส่วนของร้านหอมคาเฟ่ที่เชื่อมต่อกันอยู่ในรูปทรงของ Spiral Shape โดยส่วนของคาเฟ่เป็นส่วนของขดก้นหอยที่มีลักษณะเป็นวงกลม ตอบโจทย์การใช้งานของบาร์กาแฟ ขณะหางที่ต่อออกมาใช้เป็นส่วนของบ้านส้มตำ ที่มีลักษณะของอาคารทรงจั่วอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ เอื้อต่อการวางฟังก์ชันครัว ซึ่งทั้งสองมีการเชื่อมต่อทางมุมมองและการเข้าถึงสนับสนุนซึ่งกันและกัน ไฮไลต์ที่อดกล่าวถึงไม่ได้คือพื้นที่สวนโดยรอบอาคารที่ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง สวนด้านหน้าเป็นสวนของไม้ดอกที่มีกลิ่นหอม เช่น จำปี ปีบ […]
หอเก็บน้ำจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่พระตะบอง
เมื่อ “น้ำดื่มสะอาด” กลายเป็นของหายาก จึงเป็นที่มาของ หอเก็บน้ำ ที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาก่อสร้าง หอเก็บน้ำ ในหมู่บ้านที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา แห่งนี้ ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำดื่มสะอาดของหมู่บ้านที่ปลอดภัย ให้แก่พื้นที่ขาดแคลนและด้อยโอกาส ทั้งยังกลายมาเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของคนในชุมชน ทั้งการเฉลิมฉลองและเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เเต่กว่าหอเก็บน้ำนี้จะกลายเป็นฮับของชุมชน ในระหว่างกระบวนออกแบบทีมสถาปนิก Orient Occident Atelier ได้ลงพื้นที่และเข้ามาเก็บข้อมูล จนค้นพบเทคนิคและเอกสารเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระทั่งนำมาสู่แรงบันดาลใจการสร้างหอเก็บน้ำภายใต้รูปเเบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นอย่างที่เห็นขึ้น โดยหมู่บ้านที่เป็นสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของพระตะบอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยได้รับความเสียหายจากทุ่นระเบิดในยุคสงครามเขมรแดง วิถีชีวิตชาวบ้านต้องอาศัยน้ำจากทะเลสาบเป็นแหล่งอุปโภคบริโภคหลัก เเต่ก็ไม่ปลอดภัยนัก เพราะแหล่งน้ำที่ว่านี้ปนเปื้อนไปด้วยสารพิษจากโรงงานในพื้นที่ใกล้เคียง เเถมยังต้องเผชิญกับปัญหาภัยเเล้งเเละน้ำท่วมในบางปี เพื่อแก้ปัญาหาการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวบ้าน ทีมงานจึงช่วยกันระดมทุนเพื่อสร้างหอเก็บน้ำไว้สำหรับกักเก็บน้ำฝนและจากทะเลสาบใกล้เคียง ซึ่งมีระบบการกรองน้ำที่มีคุณภาพ จนได้น้ำที่ทั้งสะอาดเเละปลอดภัยสำหรับทุกคนในหมู่บ้าน จะว่าไปหอเก็บน้ำนี้เป็นเหมือนฮีโร่พาชาวบ้านทั้งหมู่บ้านผ่านพ้นวิกฤตปัญหาน้ำเเละภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไปได้ นี่จึงถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาเพื่อผู้คนอย่างเเท้จริง ออกแบบ : Orient Occident Atelier (http://ooa.design ภาพ : Magic Kwan, Kenrick Wong เรียบเรียง : BRL Adventurous Global School อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ
THE NẮNG SUITES ที่พักเมืองดานัง นอนสบายเหมือนอยู่บ้านท่ามกลางธรรมชาติ
The Nắng Suites ที่พักเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ที่สถาปนิกตั้งใจออกแบบบรรยากาศให้อยู่สบายเเหมือนอยู่บ้าน ไม่ว่าจะมาพักในระยะสั้น หรือระยะยาว โดยหัวใจสำคัญของที่นี่คือคอร์ตกลางอาคารที่เปิดโล่งจากชั้นแรกทะลุถึงท้องฟ้า เกิดเป็นพื้นที่เปิดโล่งและวิวของที่พัก ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องแสงธรรมชาติและความอึดอัดของตึกที่มีลักษณะเป็นอาคารสูงแคบได้อย่างดี ที่พักเมืองดานัง แห่งนี้พื้นที่ทั้ง 4 ชั้น ถูกแบ่งออกเป็น 2 โซนหลัก ๆ คือ พื้นที่พักผ่อนแบบไพรเวตในชั้นบนจำนวน 8 ห้อง และพื้นที่ส่วนกลางที่ประกอบด้วยพื้นที่นั่งเล่น ห้องครัว ส่วนรับประทานอาหาร เล้านจ์ ห้องสมุด ห้องดูหนัง ห้องซักรีด และที่จอดรถ ในส่วนของฟาซาด สร้างจังหวะให้กับอาคารด้วยแผงไม้ และหน้าต่างเต็มบานที่มีความสูงจากพื้นจรดฝ้าเพดาน สร้างความรู้สึกทั้งปิดทึบและปลอดโปร่งด้วยเเสงสว่าง โดยแผงไม้ทำเป็นรูปแบบของไม้สาน ช่วยในการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในเเละระบายอากาศ ทั้งยังช่วยกรองแสงแดดได้ในตัว และเมื่อคุณเดินเข้ามาจะเจอกับคอร์ตตรงกลางทำหน้าที่เสมือนสะพานเชื่อมระหว่างพื้นที่ภายในกับภายในเข้าด้วยกัน การตกแต่งภายในได้แรงบันดาลใจมาจากยุค 1960s และทำให้ดูร่วมสมัยสไตล์คอนเทมโพรารี โดยใช้คีย์สีหลักอย่าง แดง เขียว และน้ำเงิน เพิ่มความอบอุ่นด้วยไม้วอลนัทสีเข้มที่ทำเพียงเคลือบใสเพื่อเผยผิวธรรมชาติ เพิ่มผิวสัมผัสความเป็นธรรมชาติด้วยหินขัดในส่วนของห้องน้ำ และเพื่อเป็นการเชื่อมโยงกับบริบทโดยรอบที่เป็นภูเขา จึงยกไม้แบบทรอปิคัลมาไว้ในส่วนต่าง ๆ ของที่พัก ไม่ว่าจะเป็นระเบียงด้านหน้า หรือคอร์ตด้านใน นอกจากจะเพิ่มความสดชื่นแล้ว […]