- Home
- room
room
STONE STORY เปลี่ยนเศษอิฐมวลเบาเป็นกระถางดีไซน์ชิค
“เพราะเราเชื่อว่าคุณค่านั้นมีอยู่ในทุกสิ่งรอบตัว คุณค่าที่เป็นแรงบันดาลใจและนำมาประยุกต์ให้กลายเป็นชิ้นงานที่ก่อเกิดประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์” ความเชื่อของคุณรังสรรค์ เสือแสง เจ้าของแบรนด์ STONE STORY กระถางต้นไม้สไตล์มินิมัลรักษ์โลก จากแนวคิดดังกล่าว จึงเป็นที่มาที่เราต้องดั้นด้นมาทำความรู้จักและพูดคุยกับเขาให้มากยิ่งขึ้น STONE STORY แบรนด์ที่เปลี่ยนเศษอิฐมวลเบาเหลือ ๆ มาแปลงโฉมเป็นกระถางต้นไม้สุดเท่ ที่ทุกชิ้นทำด้วยมือและใจ พลิกขยะเป็นของมีคุณค่าอย่างที่ทุกคนอาจจะคิดไม่ถึง ECO ในความเข้าใจ “คือเท่าที่หาข้อมูลพื้นฐานมาก 4R คือ reduce reuse recycle แล้วก็ repair ตัว repair จะเป็นตัวที่ผมถนัดที่สุดเลย ผมก็เลยคิดว่าตัวนี้เป็นผลโดยตรงกับผมเลย ในสิ่งที่เราชอบพวกนี้อยู่แล้ว แล้วยิ่งทุกวันนี้ใช้แล้วทิ้งกันเยอะ ผมก็เลยคิดว่าตัวนี้น่าจะเป็นจุดสำคัญในการที่จะเป็นตัวอย่างสำหรับคนอื่น” หัวใจของผลิตภัณฑ์คือ ความปลอดภัยต่อคนและสิ่งแวดล้อม “จริง ๆ แล้วก็คืองานของเรากำลังต่อเนื่องไปเหมือนกับรีไซเคิลแล้ว ต้องรออีกนิดหนึ่งให้มันเข้าที่เข้าทางก่อน ผมถึงจะเปิดตัวใหม่ เพราะแต่ละตัวผมต้องมีการทดสอบก่อนประมาณ 8 เดือน อย่างมีรุ่นที่ทำสี ผมก็ยังไม่วางจำหน่ายเพราะว่ามันยังอยู่ในการเทสต์ ถ้า 8 เดือนสีไม่ตก สีไม่ซีด ก็ไปต่อ แต่ถ้าสีตกสีซีด ผมก็ต้องมาคิดใหม่ซึ่งสีที่ใข้ทุกตัวจะต้องเป็น non-toxic คือเราไม่พยายามใช้สารเคมี […]
CASA DE LASESTRELLAS โรงเรียนทางเลือกในคอสตาริกา ที่ออกแบบให้เด็กได้สัมผัสธรรมชาติแบบเต็มร้อย
ความท้าทายของที่นี่คือการนำแนวคิดการศึกษาของ โรงเรียน แปลงออกมาในรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีทั้งความโดดเด่น เปิดโล่ง ผนังโค้งดูลื่นไหล สี และวัสดุทำมาจากธรรมชาติ จุดเริ่มต้นเกิดจากความต้องการให้ โรงเรียน แห่งนี้เป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่ ดูกลมกลืนไปกับพื้นที่ป่ารอบ ๆ ให้มากที่สุด สถาปนิกจึงเลือกออกแบบอาคารเรียนเป็นแนวยาว ขนานไปกับชายหาด และรูปแบบภูมิสัณฐานของที่ตั้ง ตัวอาคารแยกออกเป็นก้อน ๆ เพื่อแบ่งการใช้งานตามระดับของชั้นเรียน ซึ่งมีความต้องการพื้นที่ใช้งานที่ต่างกัน อาคารหลักใช้เป็นห้องเรียนหลัก ห้องน้ำ ห้องครัว และพื้นที่รับประทานอาหาร ขนาบไว้ด้วยห้องแสดงศิลปะ ที่จอดรถ และห้องของเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ซึ่งเเบ่งให้อยู่ด้านละฝั่ง ส่วนของชั้นเตรียมอนุบาลนั้น ตามหลักสูตรมุ่งเน้นให้เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้ ดังนั้นรูปแบบของสถาปัตยกรรมจึงเน้นใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจผ่านความรู้สึก แผนผังของอาคารประกอบด้วยส่วนที่มีรูปทรงแบบก้นหอย ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งในส่วนของทางเข้า แล้วค่อย ๆ ปิดทีละนิดตามเส้นทางที่คดเคี้ยว จนกระทั่งถึงห้องเรียนรวมที่เด็ก ๆ จะทำกิจกรรมร่วมกัน หลังคาของอาคารส่วนก้นหอยนี้ ทำขึ้นจากโครงสร้างไม้ไผ่ให้มีลักษณะคล้ายกระโจม แล้วมุงด้วยหญ้าแห้งเป็นชั้น ๆ แทนการมุงกระเบื้อง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านทางภาคใต้ของคอสตาริกา โดยส่วนของโครงสร้างหลังคาได้เว้นช่องตรงกลาง แต่มีหลังคาเล็ก ๆ แบบโปร่งแสงคลุมอีกชั้น เพื่อให้แสงอาทิตย์สามารถสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ ให้เด็ก […]
ADVENTUROUS GLOBAL SCHOOL อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ
นี่คือ อาคารเรียน ในหมู่บ้านที่พระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดย Orient Occident Atelier สำนักงานออกแบบจากฮ่องกงต้องการให้ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงอาคารเรียนแบบเน้นการบรรยายทั่วไป แต่ใช้สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้าง รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในระหว่างกระบวนการก่อสร้างนั้นเด็ก ๆ จะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับทีมสถาปนิกด้วย อาคารเรียน มีลักษณะสองชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่เเบบใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกัมพูชา โดยประยุกต์เป็นห้องเรียนแบบเปิดโล่งสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนและวิวท้องนารอบ ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้ เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชาวบ้านให้ได้รับรู้ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ทั้งยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ ได้ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกเคอะเขิน พื้นที่ชั้นสอง ออกแบบเป็นห้องสองฝั่งแบบโอเพ่นสเปซ สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น โดยมีผนังที่เรียกว่า “Griddy” ผนังโครงเหล็กสองชั้นกรุด้วยแผ่นไม้สลับกับแผ่นพอลิคาร์บอเนตทำหน้าที่เป็นทั้งผนังอาคาร ล็อกเกอร์ และชั้นวางของ โครงสร้างอาคารแบบยกสูง นอกจากจะเกิดเป็นพื้นที่ใช้งานแบบใต้ถุนแล้ว ยังช่วยป้องกันเรื่องน้ำท่วม และเป็นการเก็บรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการอยู่อาศัยไว้ ในส่วนของกระบวนการก่อสร้าง สถาปนิกได้เลือกใช้วิธีการและวัสดุแบบท้องถิ่น อย่างการใช้อิฐและไม้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าก่อสร้าง ทั้งยังแป็นวัสดุที่ช่างพื้นถิ่นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการออกแบบใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมแบบ Bottom-up ทำให้อาคารที่ออกมายังสะท้อนถึงบริบทของชุมชน เพราะทีมผู้ออกแบบเชื่อว่าอาคารเรียนที่ดีต้องเกิดจากความร่วมมือของครูผู้สอน เด็กนักเรียน และคนในชุมชนร่วมกับผู้ออกแบบ ถึงจะได้พื้นที่ใช้งานที่ทั้งถูกต้องและถูกใจ […]
NOURSABAH PATTAYA โรงแรมที่ผสมผสานโคโลเนียล ไทย ยุโรปและอารบิคไว้ด้วยกัน
แปลกใหม่ตั้งแต่ที่มาของชื่อโรงแรมไปจนถึงการตกแต่งกับดีไซน์ของ ที่พักพัทยา ที่ผสมผสานการออกแบบทั้งโคโลเนียล ไทย ยุโรปและอารบิคเข้าด้วยกัน โดย ‘ณุศบา’ มีที่มาจากภาษาอารบิคประกอบจาก คำว่า Nour (นูร) แปลว่า แสง และ sabah (ซอบาฮฺ) แปลว่า สายลมยามเช้าทำให้การออกแบบของที่นี่จึงเน้นในเรื่องของการใช้แสงและสายลมธรรมชาติมาเป็นส่วนประกอบของตัวอาคารนั่นเอง ที่พักพัทยา สไตล์ไทยโคโลเนียลมี 3 ชั้นภายนอกเป็นสีขาวสะอาดตา ส่วนภายในตกแต่งตามธีมและชื่อแต่ละชั้นไม่ซ้ำกัน โดยห้องพักแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ ห้องแกรนด์ดีลักซ์ ห้องดีลักซ์ทวินและห้องดีลักซ์ ตัวอาคารของโรงแรมถูกวางตำแหน่งให้หันระเบียงเข้าหากันเพื่อเห็นวิวสระว่ายน้ำที่กรุด้วยหินอ่อนรูปกุญแจบริเวณคอร์ตตรงกลางที่ถูกออกแบบเพื่อแทนถึงทะเลของพัทยา ส่วนภายในห้องพักออกแบบให้มีความสูงจากพื้นถึงฝ้า 3.5 ม. เพื่อให้ลมธรรมชาติเข้ามาได้อย่างเต็มที่ เลือกใช้ธีมสีเพื่อความสบายตาลสร้างบรรยากาศในการพักผ่อนด้วย สีฟ้า เทา ชมพู เขียว เหลืองและครีม พร้อมการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่สั่งทำใหม่ทั้งหมดจากเชียงใหม่ โดยเน้นเป็นไม้เนื้อแข็งเพื่อความอบอุ่น รวมไปถึงการสร้างกิมมิคในรายละเอียดอย่าง การออกแบบประตูบานเฟี๊ยมจากไม้จำปีซึ่งเป็นขนาดสั่งทำเป็นพิเศษ หรือจะเป็นกระเบื้องและการฉลุลายไม้ที่มีกลิ่นอายของโมรอคโคและของมุสลิมซึ่งนำมาใส่เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของโรงแรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น NOURSABAH PATTAYA มีบริการที่จอดรถและเสิร์ฟอาหารเช้าให้แขกที่เข้าพัก นอกจากนั้นยังบริการอาหารว่างในแบบฮาลาลและทั่วไปบริเวณพื้นที่ล๊อบบี้ ซึ่งบริเวณนี้เองที่คุณจะเลือกนั่งชิลภายในห้องแอร์หรืออกมานั่งริมสระว่ายน้ำแบบเอาท์ดอร์ได้ตลอดทั้งวัน Ideas to steal สร้างมุมพักผ่อนเล็กๆ ที่มุมอาคารในแต่ละชั้นเพื่อสร้างบรรยากาศสดชื่นให้กับโรงแรมโดยไม่ต้องเสียพื้นที่ใช้สอย […]
ชามแกง สร้างประสบการณ์ในการกิน “แกง” ผ่านการตกแต่งร้านแบบสตรีทฟู้ด
ตลาดน้อย ย่านเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องและอาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและร้านค้าที่ยังคงเก็บกลิ่นอายวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้อย่างเข้มข้น เเละหนึ่งในนั้นคือ “ชามแกง” ร้านอาหารเจริญกรุง ที่ซ่อนตัวอย่างเงียบ ๆ อยู่ภายในซอยนครเกษม 5 ประหนึ่งเป็นฮิดเด้นเพลสกลางกรุง ถ้าหากคุณอยากลิ้มลองต้องตั้งใจเดินตามหากันหน่อย เพราะร้านนี้ไม่ได้มีป้ายหน้าร้านอย่างที่อื่น ๆ เป็นหนึ่งในความตั้งใจของผู้ออกแบบนั่นเอง เมื่อก้าวผ่านบานประตูสีแดงของ ร้านอาหารเจริญกรุง แห่งนี้ คุณจะได้สัมผัสกับกลิ่นเครื่องแกงหอมเย้ายวน พร้อมเสียงของการเตรียมวัตถุดิบจากเชฟทั้ง 3 ได้เเก่ คุณจีราวิชช์ มีแสงนิลวีรกุล คุณอรุษ เลอเลิศกุล และคุณอัจฉราภรณ์ เกียรติธนวัฒน์ ผู้หยิบวัตถุดิบง่าย ๆ ที่มีอยู่แล้วมาพลิกแพลงใหม่ ผสมผสานกับเทคนิคการปรุงอาหารชั้นเลิศ จนเกิดเป็นเมนู “แกง” แบบไทย ที่สร้างประสบการณ์การลิ้มรสที่พิเศษยิ่งขึ้นกว่าเดิม ภายในร้านขนาดหนึ่งคูหานี้ มีเพียงโต๊ะสังกะสีวางเรียงต่อกัน พร้อมสตูลบาร์จำนวน 16 ที่นั่ง ด้านในสุดปลายสายตาคือครัวโชว์ขนาดย่อมที่ออกแบบมาสำหรับเชฟ 3 คนแบบพอดี ๆ ภายใต้บรรยากาศแบบร้านอาหารกึ่งบาร์ ที่ให้ความรู้สึกถึงการผสมผสานระหว่างสตรีทฟู้ดกับเชฟเทเบิ้ล “เราพยายามตีความหมายของแกง ซึ่งแกงที่เชฟเลือกทำเป็นแกงที่มีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน วัตถุดิบก็สามารถหาได้ทั่วไป มีความเป็นโลคอล งานอินทีเรียร์เลยอยากทำเพื่อสะท้อนถึงอาหารที่มีความติดดิน” – คุณศิรดา เกื้อวิบูลย์วณิชย์ […]
304 HOUSE ทำบ้านให้แหว่งเพื่อเปิดช่องโหว่ให้ “ต้นไม้”
เนื่องจากการขยายตัวของเมืองทำให้ที่อยู่อาศัยในประเทศเวียดนามเริ่มมีความหนาแน่นและมีมูลค่าที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ครอบครัวของคนรุ่นใหม่จึงนิยมอยู่อาศัยในบ้านเเบบ ทาวน์เฮ้าส์ กันมากขึ้น ดังเช่น ทาวน์เฮ้าส์ หลังนี้ ที่มีขนาดเพียง 3.5 x 12 เมตร กับพื้นที่ใช้สอย 180 ตารางเมตร ซึ่งกลายเป็นความท้าทายของสถาปนิกผู้ออกแบบที่ต้องสร้างสภาวะน่าสบาย ด้วยการดึงแสงธรรมชาติและลมให้เข้ามาในบ้านมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภายใต้ข้อจำกัดที่มีช่องเปิดเพียงด้านเดียวคือด้านหน้าอาคาร สถาปนิกจึงตัดสินใจทำช่องเปิดในแนวตั้งบริเวณกลางบ้าน ให้เชื่อมต่อถึงกันหมดทั้งหลัง เพื่อดึงแสงให้เข้ามาเเถมยังช่วยให้บ้านดูกว้างไม่ทึบตัน อีกทั้งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน ช่วยสร้างความสดชื่นให้แก่ผู้อยู่อาศัย ช่องเปิดที่เกิดขึ้นนี้ยังสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ภายในกับภายนอกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเกิดมุมมองใหม่ ๆ ทั้งจากข้างในมองออกไปข้างนอก และคนภายนอกมองเข้ามาข้างใน ทว่ายังคงความเป็นส่วนตัวไว้อยู่ ในแง่ของวัสดุเลือกใช้วัสดุสามัญอย่าง ผนังสีขาวเรียบ และไม้สีอ่อน ขับเน้นให้บ้านดูสว่าง สะอาดตา เรียบง่าย เพื่อให้ธรรมชาติและเเสงเงาได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการอยู่อาศัยและพระเอกของบ้านแทน ออกแบบ : KIENTRUC O เรียบเรียง : Woofverine ภาพ : Oki Hiroyuki GLASS BLOCK HOUSE เปลี่ยนบ้านโทรมเป็นบ้านเรืองแสงด้วย “บล็อกแก้ว” TWIN HOUSE […]
THE RECTANGLE COFFEE X TOWER รื้อร่องรอยอาคารร้าง สู่คาเฟ่มากเรื่องราว
บริเวณหัวมุมถนนเลี่ยงเมืองสันป่าตอง – หางดง ซึ่งยังคงสภาพเป็นอาคารร้างมานานเกือบ 30 ปี จนเเทบไม่อยากเชื่อสายตาว่า วันหนึ่งซากคอนกรีตที่สูงนับสิบเมตรนี้จะกลายเป็นสถานที่ตั้งของ “The Rectangle Coffee X Tower” คาเฟ่เชียงใหม่ ติดอันดับความนิยมอย่างรวดเร็วในโลกโซเชียลมีเดีย จากกระเเสของผู้คนทั้งนอกเมืองและในเมืองที่เเวะเวียนมาถ่ายรูปจิบกาเเฟกันเเบบคึกคักตลอดทั้งวัน
STUDIOLOGY เปลี่ยนภาพลักษณ์สตูดิโอ ด้วยผนังอิฐที่เปลี่ยนผันตามธรรมชาติ
จากภาพลักษณ์ สตูดิโอ ให้เช่าที่มักมีหน้าตาเป็นโกดัง หรือโครงเหล็กสไตล์อินดัสเทรียล ซึ่งเป็นการออกแบบไม่มากวิธี จนได้รับความนิยมกันอย่างดาษดื่น จะเป็นอย่างไรหากสตูดิโออยากเปลี่ยนโฉมมาเป็นอาคารกรุผนังอิฐสีส้มดูบ้าง ซึ่งให้ทั้งความโดดเด่นเเละงดงามอย่างเป็นธรรมชาติในเวลาเดียวกัน DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : Atelier of Architects ในซอยลึกของถนนประเสริฐมนูกิจ 29 ย่านลาดพร้าว อาคารอิฐ ทรงกล่องขนาดใหญ่ตั้งอยู่อย่างเด่นหรา ดูแปลกแยกจากอาคารบ้านเรือนและสุมทุมพุ่มไม้โดยรอบ กล่องทรงคล้ายลูกบาศก์ที่ว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ “Studiology” สตูดิโอ ให้เช่าสำหรับงานถ่ายทำทุกประเภท สร้างขึ้นภายใต้แนวคิดการเปลี่ยนภาพจำของสตูดิโอถ่ายทำทั่วไปสามารถให้บริการได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือน ด้วยขนาดของสถานที่ Studiology นั้น นับเป็นสตูดิโอขนาดกลาง ที่มีข้อดีคือการตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองอันสะดวกกับหลายทีมงานกองถ่ายที่มักทำงานอยู่ในตัวเมืองเป็นหลัก ซึ่งนับว่าหาได้ยากสำหรับสตูดิโอในขนาดเดียวกัน นอกจากนั้นความที่ตั้งอยู่ในซอยลึกห่างจากความพลุกพล่านของถนนใหญ่ ยิ่งช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับศิลปินดาราทีมงานกองถ่ายทำ คุณทวีพล ธีระวิชิตชัยนันท์ หนึ่งในหุ้นส่วนผู้เป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งมีประสบการณ์อยู่ในอุตสาหกรรมโปรดักชั่นเฮ้าส์เป็นทุนเดิม เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของโครงการว่า “ไอเดียของเราคืออยากให้เป็นสตูดิโอที่มีความเป็นส่วนตัวสูงสำหรับลูกค้า เรามีแค่สตูดิโอเดียวเท่านั้น ดังนั้นเวลามาใช้งานทั้งพื้นที่ จะมีแต่ทีมของเรา เหมาะกับกองถ่ายที่มีดนดัง หรือศิลปินที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ตอนที่คุยกับสถาปนิก เราอยากให้มันเป็นแลนด์มาร์ก คือตัวสตูดิโอจริง ๆ จะเป็นแค่กล่องสี่เหลี่ยมที่ฟังก์ชันอยู่ข้างใน แต่ข้างนอกเราก็อยากให้มีความโดดเด่น คนจดจำได้ว่าที่นี่คือ Studology” […]
WOODEN CAVE เปลี่ยนบรรยากาศไปนอนในถ้ำที่ประกอบขึ้นจากไม้ทั้งหมด 1,112 ชิ้น
รีโนเวตโรงแรม Hyades Mountain Resort ในประเทศกรีซ โดยยังคงโครงสร้างเดิมของห้องพักไว้ แล้วทำการตกแต่งภายในด้วยไม้แบบโค้งเสมือนเป็นถ้ำไม้อันแสนอบอุ่น ภายในห้องแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนของเตียงนอน 2 ตำแหน่งที่ใช้โครงสร้างไม้ต่อเนื่องลงมาจากผนังโค้ง และส่วนของที่นั่งพักผ่อนซึ่งสามารถชมวิวทิวทัศน์ได้เต็มตา ร่วมด้วยพื้นที่ครัวเปิดขนาดกะทัดรัด และเตาผิงที่กรุด้วยหินสีดำ เน้นการแบ่งโซนภายในห้องออกเป็นสองอารมณ์ที่แตกต่างอย่างชัดเจนเพื่อสื่อถึงบรรยากาศแบบ “ถ้ำ” ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและที่หลบภัยของมนุษย์มาแต่ครั้งอดีตกาล หินสีดำบริเวณภายนอกเปรียบเสมือนตัวถ้ำที่มีความแข็งแกร่งสามารถป้องกันภัยได้ แต่เมื่อเข้ามาภายในกลับรู้สึกถึงความอบอุ่นน่าพักผ่อนด้วยวัสดุอย่างไม้สนที่นำมาดัดเป็นเส้นโค้งดูพลิ้วไหว หิน และไม้สน ที่นำมาใช้เป็นวัสดุหลักนั้น ล้วนเเต่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยไม้สนที่ดัดโค้งเป็นผนังคือไม้ทั้งท่อนที่นำมาซ้อนต่อกัน และใช้ไม้สนอัดในส่วนอื่น ๆ ซึ่งโครงสร้างไม้ที่นำมาตกแต่งภายในจะถูกติดตั้งแบบเว้นระยะจากผนังคอนกรีตเดิม เพื่อให้เหลือช่องว่างระหว่างไม้กับผนังคอนกรีตสำหรับช่วยระบายอากาศ กันความชื้น และเป็นฉนวนความร้อนอีกชั้น ซึ่งเทคนิคนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะตัวโรงแรมตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะอากาศแปรปรวนตลอดทั้งปี นอกจากนี้รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังผนังโค้งที่ดูพลิ้วไหวนี้ ต้องประกอขึ้นด้วยไม้มากกว่า 1,112 ชิ้น ที่ไม่เหมือนกันเลย! โดยกว่าจะเเล้วเสร็จออกมาเป็นภาพจริงอย่างที่เห็นนี้ สถาปนิกได้ออกแบบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบอัลกอริทึม และเมื่อนำชิ้นส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน จึงค่อย ๆ แกะสลักทีละส่วนด้วยฝีมือของสถาปนิกในทีมเพียง 2 คน เนื่องจากเป็นงานที่มีความซับซ้อนเเละยากเกินกว่าช่างไม้ท้องถิ่นจะเข้าใจได้ นี่จึงเป็นการผสมผสานศาสตร์ของการออกแบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่เหนือจินตนาการ กับฝีมือแบบงานคราฟต์ที่ยากกว่าเครื่องจักรชนิดใดจะประมวลผลได้ […]
VARIVANA RESORT KOH PHANGAN สถาปัตยกรรมปูนเปลือยกลางป่ามะพร้าว
VARIVANA (วารี-วานา) แปลตรงตัวว่า สายน้ำและผืนป่า ซึ่งกลายเป็นชื่อของ โรงแรมเกาะพะงัน ระดับสี่ดาวกลางป่ามะพร้าวบนเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี หนึ่งในจุดหมายปลายทางสถานที่ท่องเที่ยวของเหล่าคนรักทะเล DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: POAR แต่ด้วยความที่ขึ้นชื่อเรื่องทะเล เหล่าผู้ประกอบการ โรงแรมเกาะพะงัน จึงต่างพากันจับจองที่ดินติดทะเล หรือใกล้ทะเลให้ได้มากที่สุดเพื่อดึงดูดเหล่านักท่องเที่ยว และนั่นทำให้ที่นี่แตกต่าง ไม่ใช่แค่เพราะเป็นโรงแรมที่อยู่ท่ามกลางป่ามะพร้าวเท่านั้น แต่งานดีไซน์ของที่นี่เขาตั้งใจมอบประสบการณ์ให้แขกผู้เข้าพักในรูปแบบใหม่ โดยมีสถาปัตยกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างน่าสนใจ จากข้อจำกัดด้านที่ตั้งที่ไม่ได้อยู่ติดทะเล ผู้ออกแบบจาก บริษัท Patchara + Ornnicha Architecture นำโดย คุณพัชระ วงศ์บุญสิน และ คุณอรณิชา ดุริยะประพันธ์ จึงตั้งใจสร้างจุดเด่นให้โรงแรมด้วยการนำความเรียบง่ายมาสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่แขกผู้เข้าพัก เริ่มตั้งแต่ค้นหาศักยภาพของที่ตั้งซึ่งเต็มไปด้วยป่ามะพร้าว และลักษณะความชันของพื้นที่ที่ดูคล้ายกับภูเขา หลังจากทำการสำรวจอย่างละเอียดแล้ว ทีมสถาปนิกพบว่าบนที่ดินของโครงการยังมีจุดที่สามารถมองเห็นวิวทะเลได้อย่างสวยงาม จากศักยภาพที่เหมาะสมตำแหน่งที่ดินนี้จึงเป็นที่ตั้งของโรงแรมทั้ง 4 อาคาร โดยวางไว้ด้านหลังของที่ดินที่อยู่บนเนินเขา สร้างประสบการณ์การเข้าถึงที่แปลกใหม่ราวกับที่นี่ถูกซ่อนตัวไว้ โดยแขกที่เข้าพักจะต้องเดินผ่านป่ามะพร้าว ก่อนจะเข้าถึงส่วนต้อนรับของโรงแรม อีกทั้งตำแหน่งที่สร้างอาคารยังเอื้อให้ห้องพักสามารถมองเห็นวิวทะเลที่สุดขอบฟ้าได้ ส่วนฟังก์ชันการใช้งานของโรงแรม ประกอบด้วยอาคารส่วนกลาง และอาคารห้องพัก 3 อาคาร มีห้องพักให้บริการทั้งหมด 40 […]
THE MUSTANG BLU ย้อนศตวรรษสู่เบื้องหลังความเจ็บปวดที่งดงาม
อาคารโคโลเนียลอายุมากกว่าศตวรรษบนถนนไมตรีจิตต์ ย่านเยาวราชได้รับการชุบชีวิตพร้อมประโยชน์ใช้สอยใหม่ในฐานะโรงแรม ที่จะพาทุกคนย้อนเวลาสู่บรรยากาศความงามเมื่อครั้งอดีตผ่านการเปิดเปลือยร่องรอยแห่งกาลเวลา The Mustang Blu คือสาขาใหม่ล่าสุดของ The Mustang Nero โรงแรมสุดเท่ย่านพระโขนงซึ่งได้รับการกล่าวขวัญถึงมาโดยตลอด “ตอนแรกตั้งใจให้ที่นี่ชื่อ The Mustang Blues สื่อถึงเพลงบลูส์ที่บอกเล่าความเศร้าและความเจ็บปวดที่งดงามของชาวผิวสี เชื่อมโยงกับ The Mustang Nero ด้วย แต่ด้วยความที่อาคารนี้มีอายุร้อยกว่าปี จึงถือเป็นโปรเจ็คต์ที่ยากมากจนบางทีเราก็ท้อ เลยเปลี่ยนมาตั้งชื่อว่า The Mustang Blu ซึ่งแปลว่าสีฟ้าในภาษาอิตาเลียน ให้ฟังดูสดใสขึ้น” ตลอดหลายปีที่ผ่านมา คุณจอย-อนันดา ฉลาดเจริญ ตามหาทำเลใหม่สำหรับขยับขยายโรงแรมแห่งที่สอง จนมาพบอาคารแห่งนี้ ซึ่งเดิมใช้ประกอบการสถานบันเทิงชื่อดังของย่านนี้มาหลายทศวรรษ มาถึงวันนี้อาคารถูกเปลี่ยนมืออีกครั้ง และด้วยสายตาอันเฉียบคมที่มองทะลุสู่ความงามภายใต้คราบความทรุดโทรม กอปรกับปณิธานแรงกล้าที่จะอนุรักษ์อาคารเก่าจากการรื้อทำลาย คุณจอยจึงทำให้ The Mustang Blu เผยโฉมใหม่อย่างสง่างามเพื่อพลิกฟื้นมุมมืดของย่านนี้ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง “เป้าหมายในการทำอาคารนี้คือการเติมคำว่า “สุด” ในทุกเรื่อง ทั้งดีที่สุดต่ออาคาร สวยที่สุด ประหยัดที่สุดเพราะเราไม่มีการระดมทุนมากมาย คำนึงถึงใช้ทรัพยากรและแรงงานคนให้มีประสิทธิภาพที่สุด ปรับพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีประโยชน์ใช้สอยสูงสุด ลดการก่อสร้างใหม่ให้น้อยที่สุด และรักษาเวลาให้มากที่สุด ดังนั้น อาคารนี้จึงใช้เวลาในการปรับปรุงไม่ถึง […]
THE SHOPHOUSE 1527 เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของการอยู่อาศัยผ่านร่องรอยในความดิบ
ร่องรอยเก่าที่สุดที่พอจะระบุความเป็นมาของ อาร์ตสเปซ ในห้องแถวหมายเลข 1527 ภายใน “ชุมชนสามย่าน” ย่านชุมชนการค้าเก่าแก่กลางกรุงเทพฯ ได้ คือรอยโบกปูนรอยหนึ่งซึ่งอุดปิดทับช่องโหว่ขนาดใหญ่ที่กว้างมากพอจนสามารถมองทะลุเห็นผู้ใหญ่ได้แบบครึ่งตัวบนผนังชั้นล่าง เหนือรอยโบกปูนนั้นมีตัวเลขสลักไว้ตามลำดับคือ “31, 1, 2513” ซึ่งไม่ใช่เลขบอกใบ้ให้โชค หรือเลขเดาสุ่มไร้ที่มาประสาคนมือบอน แต่มันคือตัวเลขบอกวัน – เดือน – ปี ที่เจ้าของบ้านสร้างช่องโหว่บนผนังนี้ขึ้นอย่างไม่ตั้งใจเมื่อราว 50 ปีก่อน แล้วทำการซ่อมแซมอุดช่องโหว่นั้นเสีย จนกระทั่งปัจจุบันมันได้กลายเป็นหนึ่งในจุดไฮไลต์ให้แก่ “The Shophouse 1527” พื้นที่ทดลองชั่วคราวสำหรับการทำกิจกรรมสร้างสรรค์หรือ อาร์ตสเปซ แห่งใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวขึ้นได้ไม่นาน “ตอนที่เข้ามารีโนเวตเราพบร่องรอยความเก่าแก่ในแต่ละจุดของห้องแถวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ” คุณนัฐพงษ์ พัฒนโกศัย หนึ่งในผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ Cloud-Floor ผู้เป็นทั้งเจ้าของโครงการและผู้ออกแบบพัฒนาห้องแถวนี้ ร่วมกับอีกสำนักงานออกแบบ IF (Integrated Field) เล่าให้ฟังถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงอาคาร “พอเริ่มตั้งใจสังเกต เราจะพบเห็นร่องรอยต่าง ๆ ปรากฏอยู่บนผนังมากมาย ซึ่งทั้งหมดเป็นร่องรอยของการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นรอยเขม่า รอยสี และคราบเปื้อน รวมถึงรอยที่เกิดจากการวางเฟอร์นิเจอร์ หรือแขวนข้าวของ เรารู้สึกว่ารอยเหล่านี้ไม่ต่างอะไรจากประวัติศาสตร์ของการอยู่อาศัย […]