บทความโดย room - Page 32 of 36

LAEKHONNONBAI ชวนแลวิถีชีวิตของชาวนคร ผ่านฟาซาดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากระแนงและแคร่ไม้

“แลคอนนอนบาย” ที่พักในนครศรีธรรมราช ที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตและเอกลักษณ์ความเป็นอยู่ของนครศรีธรรมราช ผ่านทางฟาซาดของงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น จนคว้ารางวัลด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมมาแล้ว เริ่มต้นงานออกแบบจากรูปทรงของระแนงและแคร่ไม้เฟอร์นิเจอร์พื้นบ้านแสนคุ้นเคยของชาวนคร ร่วมด้วยวัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายและช่างในท้องถิ่นทำได้ไม่ยุ่งยาก วัสดุหลักจึงได้แก่ เหล็กเส้นหน้าตัดกลม (Round bar) ไม้ อิฐ และอิฐแก้วหรือกลาสบล็อก งานหลักจึงเน้นที่การทดลองใช้งานวัสดุ เพื่อสร้างรูปทรงที่ช่วยลดความทึบตันของอาคาร ด้วยการใช้ Steel Curtain หรือม่านของเหล็กเส้นกลม ซึ่งเป็นการติดตั้งบนไซต์งานจริงด้วยรูปแบบและวิธีการใหม่ ๆ ให้เหมาะกับตัวอาคาร จากการทดลองเล่นกับวัสดุได้ขยายผลสู่การสร้างฟอร์มของฟาซาดที่ดูแปลกตาน่าสนใจ จนเป็นเหมือนพระเอกให้กับงานสถาปัตยกรรมของที่นี่ จากเดิมที่ติดตั้งเหล็กเส้นกลมเพียงชั้นเดียวแบบโมดูลาร์ ผู้ออกแบบได้ทดลองซ้อนเหล็กเส้นเป็นสองเลเยอร์ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นช่วยให้อาคารเกิดความลึกและสร้างมิติที่ชวนมอง อีกฝั่งของอาคารใช้วัสดุอื่น ๆ อย่างอิฐ และไม้ เพื่อสร้างภาษาของงานสถาปัตยกรรมที่ใกล้ชิดท้องถิ่น ด้วยการจัดเรียงอิฐสำหรับเป็นช่องลมแบบเว้นจังหวะสม่ำเสมอ อีกนัยหนึ่งยังมีประโยชน์ในแง่ของการระบายอากาศ ป้องกันลม และฝนที่ตกชุกเกือบทั้งปี และช่วยกรองแสงแดดที่ค่อนข้างแรงของภาคใต้ ข้อดีขออิฐแก้วที่นำมาใช้กั้นพื้นที่ตามจุดต่าง ๆ นั้น นอกจากช่วยพรางตา ยอมให้แสงภายนอกส่องผ่านเข้ามาสู่พื้นที่ในอาคารได้ ช่วยให้บรรยากาศดูไม่มืดทึบ หรืออึดอัดจนเกินไป ทั้งยังเหมาะนำมาใช้ปิดบังความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของช่องงานระบบ เพื่อให้โรงแรมอวดความงามได้ทุกมุมมอง ภายในห้องพักเลือกใช้วัสดุไม้บนระนาบผนัง และฝ้าเพดาน เพื่อเพิ่มบรรยากาศอบอุ่น ลดทอนความแข็งกระด้างของวัสดุเปลือยผิวของตัวอาคารได้อย่างดี   IDEA TO STEAL […]

RENO HOTEL ชุบตัวโรงแรมเก่าแก่ย่านปทุมวันให้ดูโมเดิร์นด้วยฟาซาดคอนกรีต

ในยุคสมัยหนึ่ง โรงแรมย่านปทุมวัน “รีโน” สถานพบปะสังสรรค์ยอดนิยมในหมู่ทหารหาญประจำย่านปทุมวัน หากเพราะการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นนิรันดร์ เมื่อย่างเข้าสู่ขวบปีที่ 57 นับตั้งแต่เปิดบริการในปี ค.ศ. 1962 เป็นต้นมา ที่นี่ก็ถึงเวลาชุบตัวครั้งใหญ่เพื่อสร้างภาพจำแห่งปี ค.ศ. 2019 ขึ้นใหม่นับต่อจากนี้ไป DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: PHTAA Living Design ด้านหน้าโรงแรมโดดเด่นด้วยฟาซาดที่ครึ่งหนึ่งเป็นผ้าใบโปร่งแสง ครึ่งหนึ่งเป็นบล็อกช่องลมที่ผู้ออกแบบตั้งใจสร้างสรรค์และผลิตขึ้นมา เพื่อเป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ของบล็อกช่องลมรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งเคยได้รับความนิยมอย่างมากในยุค 60’s ทั้งยังทำหน้าที่อำพรางบริบทที่ไม่น่ามอง และมอบความเป็นส่วนตัวให้ผู้เข้าพักในคราวเดียวกัน ถัดเข้ามายังล็อบบี้ที่ชั้น 1 มีการปรับปรุงพื้นที่ใหม่ โดยคงพื้นหินอ่อนเดิมไว้ทั้งหมด ตกแต่งภายในเป็นแกลเลอรี่ขนาดย่อมเพื่อรองรับการจัดแสดงงานศิลปะในโอกาสต่อไป ลึกเข้าไปด้านในคือโซนคาเฟ่และร้านอาหารที่ขยับขยายพื้นที่เพิ่มเติมจากเดิม ในส่วนของห้องพักที่อยู่บนชั้น 2 – 3 ทุกห้องได้รับการรีโนเวตใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้งานให้มากขึ้น  เช่น ห้องพัก Reno Deluxe ซึ่งอยู่ติดกับสระว่ายน้ำ ถูกรื้อฝ้าเพื่อเปิดเพดานให้สูงโปร่ง และวางรูปแบบห้องพักใหม่ด้วยการแบ่งพื้นที่ริมระเบียงภายนอกที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน ด้วยการติดตั้งบานเลื่อนกระจกในองศาที่เฉียงกว่าปกติ เพื่อให้ผู้เข้าพักสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ริมระเบียงได้แม้นั่งอยู่ภายในห้อง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงไว้ซึ่งผนังบล็อกช่องลมเก่าริมระเบียง เพื่อแสดงให้เห็นถึงร่องรอยแห่งยุคสมัยที่แม้จะล่วงเลยผ่านมานานเท่าไร แต่ไม่ได้ถูกหลงลืมไปตามกาลเวลา IDEAS TO STEAL […]

HOSTEL OUR NOMAD โฮสเทลภูเก็ตภายใต้ลุคคนจีนที่เกิดในอเมริกายุค Mid Century

ภายในพื้นที่ที่ยังอบอวลไปด้วยมรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของย่านเมืองเก่าในตัวเมืองภูเก็ต ตึกแถว 4 ชั้น 2 คูหาแห่งนี้ได้รับการรีโนเวตด้วยการผสมผสานคาแร็กเตอร์จากมรดกพื้นถิ่นและเอกลักษณ์จากแบรนด์ Our Nomad ให้กลายเป็น โฮสเทลภูเก็ต ผสมคาเฟ่และบาร์สไตล์คอนเทมโพรารีร่วมสมัย เปรียบที่พักแห่งนี้เป็นเสมือนคนจีนที่เกิดในอเมริกา DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: SSAA Studio จากคอนเซ็ปต์ข้างต้นนำไปสู่การจัดการกับพื้นที่ภายใน เริ่มต้นตั้งแต่พื้นที่คาเฟ่และบาร์บริเวณชั้น 1 ซึ่งตกแต่งด้วยสไตล์ชิโนโปรตุกีสเพื่อคงกลิ่นอายความเป็นภูเก็ตไว้ เสริมด้วยไฟสีแดงช่วงกลางคืนได้บรรยากาศโรงเตี๊ยมของจีน ถัดขึ้นไปเป็นส่วนของห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่ สำหรับเป็นพื้นที่พบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเหล่านักเดินทาง โดยในส่วนนี้ความเป็นจีนจะค่อย ๆ ลดทอนลง แล้วแทรกซึมความเป็น  American Mid Century เพิ่มมากขึ้นในส่วนของห้องพัก ซึ่งมีให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น  Dormitory ห้องดีลักซ์ รวมไปถึงห้องพักส่วนตัว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม ทั้งแบ็กแพ็กเกอร์ คู่รัก  กลุ่มเพื่อน และครอบครัว ท่ามกลางสีสันของบริบทตึกแถวโดยรอบอาคารแห่งนี้ปกคลุมด้วยสีขาวโพลนดูสงบนิ่ง ตัดกับความพลุกพล่านของพื้นที่ เด่นด้วยฟาซาดตะแกรงเหล็กฉีกสีขาว ช่วยกรองแสงและสร้างความเป็นส่วนตัวเมื่ออยู่ภายในห้องพัก เหมาะแก่การเป็นสถานที่พักผ่อนของนักเดินทางที่มีโอกาสผ่านมาเยี่ยมเยืยนโฮสเทลลูกครึ่งแห่งนี้อย่างแท้จริง ที่ตั้ง  : 183/73-183/74 ถนนพังงา ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดภูเก็ต ติดต่อ […]

คั่ว

KUA ร้านอาหารจีนสไตล์โมเดิร์นย่านเจริญกรุงที่ถนัดปรุงเมนู “คั่ว”

การรวมตัวของเพื่อน 3 คนคือคุณหม่ง–ธีรพัฒน์นิยมเจริญเพียร,คุณฟ่ง-วรุน พัฒนาปัญญาสัตย์ และคุณเอก–เอกวิทย์ อินทิราวรนนท์ ในการเปิด ร้านอาหารย่านเจริญกรุง นามว่า “คั่ว” โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากคุณหม่ง ผู้ทำหน้าที่เป็นพ่อครัวประจำกลุ่ม ซึ่งมีความชื่นชอบในการทำอาหารเมนู “คั่วไก่” ให้เพื่อน ๆ ได้กินอยู่เสมอ จนทุกคนเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่าอร่อย ก่อนตัดสินใจมาเปิดร้านอาหารเป็นของตัวเองภายใต้ชื่อร้านแบบตรงไปตรงมาและเข้าใจได้ง่าย เมื่อได้โลเคชั่นเป็นอาคารพาณิชย์เก่าขนาดสองชั้นครึ่งที่อยู่บริเวณหัวมุมถนนเจริญกรุง ซึ่งมีกลิ่นอายของชุมชนชาวจีนเป็นทุนเดิมมารีโนเวตใหม่ จึงเลือกตกแต่งร้านในบรรยากาศของจีนร่วมสมัยดูโมเดิร์นเเละมีความเป็นกันเอง โดยเลือกเก็บโครงสร้างเเละวัสดุเดิมอย่างไม้เก่าไว้ให้มากที่สุด แล้วทำการเสริมวัสดุอย่าง หินขัด ซึ่งเป็นวัสดุยุคเก่า แต่ยังดูร่วมสมัยในส่วนเคาน์เตอร์ บริเวณชั้นล่างทำการกรีดผนังออกบางส่วน แล้วแทนที่ด้วยการกรุหน้าต่างเพื่อดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายใน รับกับผนังปูนเปลือยสีอ่อน ช่วยขับให้ร้านดูสว่าง และลดความอึดอัดของร้านตึกเเถว อีกทั้งเอื้อให้คนที่สัญจรผ่านไปมามองเห็นความเคลื่อนไหวภายในเป็นสีสันที่ดูคึกคัก ส่วนของบันไดมีการปรับทิศทางใหม่ เนื่องจากของเดิมใช้พื้นที่เปลืองและมีความชันมาก จึงทำการทอนความสูงพร้อมกับเพิ่มชานพักให้ได้มาตรฐานมากขึ้น ก่อนขึ้นมาที่ชั้น2 โดยยังคงเก็บบานหน้าต่างเดิมฝั่งด้านข้างตึกไว้ แล้วทุบผนังด้านหน้าเปลี่ยนเป็นกระจกแทน เพิ่มความโปร่งด้วยการรื้อฝ้าออก เเล้วเปลี่ยนเป็นตีตามแนวจั่วของหลังคาแทน ภายในจัดวางโต๊ะเป็นสองฝั่งแบบเรียบง่าย ด้วยชุดเฟอร์นิเจอร์ไม้สั่งทำใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เข้ากับวัสดุไม้เดิม อีกหนึ่งกิมมิกของร้านคือ การแทรกรูปหกเหลี่ยม ซึ่งได้มาจากช่องในเตาถ่าน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของทางร้านมาใช้ในส่วนของป้ายร้าน และพื้นกระเบื้อง เพื่อตอกย้ำเสน่ห์ของกลิ่นถ่านที่มักมาพร้อมกลิ่นอาหารในทุก ๆ จานที่เสิร์ฟ  “เราอยากเพิ่มความหลากหลายให้คำว่า คั่ว นอกจากเมนูคั่วไก่ เราพยายามเพิ่มเมนูคั่วอบ […]

BIRD BOM HOUSE สองบ้านใหม่ในบริบทเก่า เข้าพลิกโฉมชุมชน

ท่ามกลางความพลุกพล่านของชุมชนพิบูลอุปถัมภ์ ย่านสุทธิสาร ตรงบริเวณทางสามแพร่งที่จอแจไปด้วยการจราจรบนถนนสองเลนที่แสนคับแคบ ร้านขายของชำ ร้านอาหาร วินมอเตอร์ไซค์ กระทั่งความยุ่งเหยิงของสายไฟฟ้า หลายคนอาจมองว่าเป็นตำแหน่งที่ไม่ปลอดภัย และมีทัศนวิสัยไม่ดี แต่ไม่ใช่กับ แบบบ้านโมเดิร์น หลังนี้

5 ที่พักฟาซาดเด็ด ตอนที่ 1

นอกเหนือไปจากสเปซและฟังก์ชันการใช้งานที่ดี ซึ่งเอื้อให้ที่พัก โฮสเทล และโรงแรมแต่ละที่น่านอนแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าแต่ละที่ที่เราจะเลือกเข้าพักนั้น เราดูรูปลักษณ์ภายนอกเป็นอันดับแรก และสิ่งที่เราสามารถพบเห็นก่อนสิ่งใดนั่นก็คือ ” ฟาซาด ” หรือ ” เปลือกอาคาร” นั่นเอง หลาย ๆ ที่จึงให้ความสำคัญกับ ฟาซาด เพราะช่วยสร้างความน่าสนใจ อีกทั้งยังสร้างความเป็นส่วนตัว ช่วยพรางงานระบบต่าง ๆ ที่ต้องการปิดไปในตัว room จึงรวบรวมที่พักที่มีการคำนึงถึงการออกแบบเปลือกอาคารเหล่านี้มาใช้ชมกันครับ 01 | MUAN HOSTEL Green Living Zone นอนพักในโฮสเทลรักษ์โลกสุดม่วน ฝั่งประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคต่อของ Muan Hostel ที่ขยับขยายพื้นที่เพิ่มโซนใหม่ ด้วยการรีโนเวตเกสต์เฮ้าส์ยุค 70’s บนตึกแถวติดกับที่เดิม ให้กลายเป็น Green Living Zone ในบรรยากาศสีเขียวพาสเทลสุดอบอุ่น ฉีกสไตล์จากความสนุกจัดจ้านในโซนออริจินัล ผู้ออกแบบจึงนำสไตล์การตกแต่ง และโทนสีในยุค 70- 80’s มาใช้เป็นธีมหลัก โดยเลือกใช้รูปทรงเรขาคณิตเรียบง่ายโทนสีเขียวอ่อน และไม้เนื้อแข็งสีธรรมชาติ […]

CRAFTEL BANGKOK ผสานความเป็นคราฟต์แบบไทยเข้ากับงานวัสดุสมัยใหม่

โฮสเทลกรุงเทพ ที่ผสานความเป็นคราฟต์แบบไทยเข้ากับความชื่นชอบในงานวัสดุสมัยใหม่ จากอาคารพาณิชย์เดิมของครอบครัวจึงได้รับการรีโนเวตให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยยังคงเก็บรักษาพื้นที่เดิมทั้งในเรื่องรูปแบบและวัสดุเอาไว้ พื้นที่ล็อบบี้ต้อนรับทุกคนด้วยบรรยากาศเหมือนบ้าน เพราะต้องการใช้งานดีไซน์สื่อถึงบ้านหลังแรกของครอบครัว สเปซภายในคงคาแร็กเตอร์เดิมของอาคารพาณิชย์แบบไทย ด้วยการเปลือยท้องพื้นเดิมของห้องชั้นบน สลับกับการติดตั้งเหล็ก H-Beam เพื่อสร้างกลิ่นอายความเป็นสมัยใหม่ขึ้น อีกส่วนซึ่งถือเป็นไฮไลต์คือ ช่องแสงส่วนหน้าอาคาร ที่ยังคงรักษารูปแบบของเดิมไว้ บวกกับการกรุหน้าบานประตูหน้าต่างโบราณแบบสุ่มที่มองเห็นได้ทั้งจากกระจกด้านหน้า โฮสเทลกรุงเทพ รูปแบบการใช้วัสดุเก่าผสมใหม่ยังคงปรากฎให้เห็นทั่วทุกพื้นที่ภายใน เช่น ราวบันไดที่ต้องการทลายข้อจำกัดของพื้นที่ด้วยการใช้ราวเหล็กเส้นยึดกับโครงสร้างบันไดแบบโปร่ง และการใช้ประตูเหล็กยืดแบบดั้งเดิม คุมโทนด้วยสีน้ำตาลจากงานไม้ และสีดำจากงานเหล็กให้ความรู้สึกอบอุ่นปนเท่กลมกลืนกันทั่วทั้งอาคาร อีกส่วนที่โฮสเทลให้ความสำคัญคือ พื้นที่ชั้นดาดฟ้า เพราะต้องการสร้างสวนใจกลางเมืองให้ผู้เข้าพักสามารถมาใช้เวลาพักผ่อนได้แบบชิล ๆ หลังเหน็ดเหนื่อยจากการออกไปท่องเที่ยว กั้นระเบียงด้วยเหล็กฉีกทำสีดำเพื่อความปลอดภัย ซึ่งเข้ากับภาพรวมของงานออกแบบทั้งหมด ทั้งยังสื่อสารความเป็นไทยสมัยใหม่ได้ชัดเจน นอกจากนี้ระยะของการทอดสายตาสู่ตัวอาคารยังคงเห็นงานออกแบบที่ดึงส่วนประกอบความเป็นไทยอย่างหลังคาชิงเกิ้ลรูฟ ตอบความเป็นคราฟต์แบบไทยบนพื้นที่รูปทรงสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี IDEA TO STEAL ใช้ประตูเหล็กยืดของหน้าบ้านเดิมมาทำผนังกั้นแนวบันได นอกจากจะช่วยสร้างบรรยากาศน่าเซอร์ไพร้ส์ ยังเป็นลูกเล่นที่คงความโปร่งโล่งของพื้นที่แทนการใช้ผนังทึบ ที่ตั้ง : ซอยพญานาค (BTS ราชเทวี ทางออก 1) โทร.09-5456-1215 www.craftelbangkok.com   เจ้าของ-ออกแบบ: คุณณัฐพล, คุณสิริกาญจน์, คุณวรวิทย์​ มโนปิยอนันต์ ภาพ : […]

MUAN HOSTEL GREEN LIVING ZONE นอนพักในโฮสเทลรักษ์โลกสุดม่วน ฝั่งประตูท่าแพ

โฮสเทลเชียงใหม่ สุดม่วนย่านประตูท่าแพ วันนี้ได้ขยับขยายเพิ่มโซนใหม่ ด้วยการรีโนเวตเกสต์เฮ้าส์ยุค 70’s บนตึกแถวติดกับ Muan Hostel เดิม ให้กลายเป็น Green Living Zone ในบรรยากาศสีเขียวพาสเทลสุดอบอุ่น ฉีกสไตล์จากความสนุกจัดจ้านในโซนออริจินัล เนื่องจากอาคารที่รีโนเวต เดิมเป็นเกสต์เฮ้าส์ชื่อ “ดาเรส” ซึ่งมีลูกค้าเก่าแก่ดั้งเดิมจำนวนมาก เคยเข้ามาพักตั้งแต่เมื่อสามทศวรรษก่อน ผู้ออกแบบจึงนำสไตล์การตกแต่ง และโทนสีในยุค 70’s และ 80’s มาใช้เป็นธีมหลักของ โฮสเทลเชียงใหม่ แห่งนี้ โดยเลือกใช้รูปทรงเรขาคณิตเรียบง่ายโทนสีเขียวอ่อน และไม้เนื้อแข็งสีธรรมชาติ ประกอบกับแสงไฟที่ไม่ประดับประดาจนมากเกินไป มาสร้างบรรยากาศให้ดูอบอุ่น และชวนให้รำลึกถึงวันวาน จากล็อบบี้ด้านหน้าสามารถเดินทางเชื่อมสู่โซนใหม่ได้ โดยผ่านทางเชื่อมระหว่างตึกบนชั้น 2 เมื่อเข้ามาแล้ว จะพบกับพื้นที่ส่วนกลาง (Social Area) ที่ยกพื้นสูง ให้อารมณ์เหมือนบ้านไทยดั้งเดิม ซึ่งใช้เป็นทั้งที่นั่งเล่น และพื้นที่ทำกิจกรรมเวิร์คชอปต่าง ๆ พร้อมมุมแพนทรี่สำหรับทำอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนบนชั้น 3 มีพื้นที่ส่วนกลางอีกจุดหนึ่ง มีบรรยากาศเงียบสงบ และมีความเป็นส่วนตัวสูง พร้อมห้องพักรวม […]

BOXPACKERS HOSTEL PHRANAKORN ผสานสไตล์สแกนดิเนเวียนกับองค์ประกอบความเป็นไทยในโฮสเทลย่านเสาชิงช้า

ต่อยอดความสำเร็จมายังฝั่งพระนครกับ Boxpackers Hostel Phranakorn จากสาขาแรกที่ย่านประตูน้ำ ครั้งนี้เจ้าของต้องการสร้างความแปลกใหม่ทั้งบรรยากาศการตกแต่ง โฮสเทลกรุงเทพ และบริบทรอบ ๆ  โดยได้มองเห็นศักยภาพของตึกแถวเก่า ซึ่งเป็นมรดกของครอบครัวว่าสามารถพัฒนาเป็นโฮสเทลได้ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: A Millimetre ประกอบกับตั้งอยู่ในทำเลท่องเที่ยวที่ดี คือใกล้กับศาลเจ้าพ่อเสือ และถนนข้าวสาร ผู้ออกแบบจึงออกแบบโดยดึงสไตล์สแกนดิเนเวียน มาผสมกับองค์ประกอบความเป็นไทย อาทิในส่วนของงานสถาปัตยกรรมของงานฟาซาด หรือเปลือกอาคาร ที่เลือกใช้เหล็กฉีกทำสีขาวมาสร้างแพตเทิร์นสะดุดตา เช่นเดียวกับงานตกแต่งภายในที่สร้างความแตกต่าง ด้วยการใช้โทนสีสไตล์สแกนดิเนเวียนอันเป็นเอกลักษณ์ อย่างเฉดที่ฟ้าอ่อน และสีน้ำเงินเข้ม ไปจนถึงเฉดสีแดง มาช่วยสร้างบรรยากาศภายในให้ดูผ่อนคลายและสนุกสนานในเวลาเดียวกัน โดยไม่ลืมใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อยๆ อย่างบริเวณเคาน์เตอร์ และผนัง ที่มีลักษณะเป็นหยักสามเหลี่ยม ซึ่งเกิดจากการลดทอนรายละเอียดเส้นสายของฐานเจดีย์มาใช้ในงานออกแบบ หรือบริเวณประตูห้องที่เลือกใช้วงกบแบบโค้ง เพื่อสร้างความผ่อนคลาย และลดความแข็งกระด้างของเส้นหยักในส่วนอื่น ๆ ลง นอกจากที่นี่จะเป็นโฮสเทลสุดเก๋แล้ว บริเวณชั้น 1 ยังเปิดเป็นคาเฟ่ต้อนรับคอกาแฟ และแขกของโฮสเทลสำหรับรับประทานอาหารเช้า ท่ามกลางบรรยากาศปลอดโปร่งเป็นกันเอง ด้วยการทุบกำแพงเดิมออก แล้วเปลี่ยนเป็นหน้าต่างตลอดความยาวของตัวตึก ตัดกับการเลือกวงกบไม้สีอ่อน ช่วยเพิ่มความรู้สึกที่แสนอบอุ่น เปิดรับแสงธรรมชาติให้เข้ามาด้านในได้ตลอดทั้งวัน ที่ตั้ง: 300 […]

ISSARA by D HOSTEL ลดทอนสีหบัญชรของพระที่นั่งอนันตสมาคม มาสร้างความโดดเด่นให้กับโฮสเทล

ต่อเนื่องจาก D Hostel Bangkok ที่โดดเด่นในเรื่องงานดีไซน์ สู่ ISSARA by D Hostel โฮสเทลกรุงเทพ ที่หยิบยกคอนเซ็ปต์ดีไซน์ในเรื่องเส้นสายของฟาซาดมาใช้งานต่อ โดยนำภาพของสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม มาลดทอนรายละเอียด และสัดส่วนให้อยู่ในขนาดเดียวกับตัวอาคาร แล้วใช้การ invert หรือกลับจากเดิมที่ใช้เส้นเอ๊าต์ไลน์ กลายมาเป็นเส้นดรออิ้งของรูปด้าน ฉลุลงบนเพลตเหล็กด้วยวิธีการเลเซอร์คัต DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Klickken Studio ข้อดีของฟาซาดนี้คือ เนื่องจากตัวอาคารหันหน้าออกทางทิศตะวันตก จึงสามารถกรองแสงจ้ายามบ่ายได้ถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ โดยยังคงการระบายอากาศที่ดี ต่อเนื่องจากหน้าอาคารถึงช่องบันไดด้านหลังผ่านทางเดินส่วนกลาง รายละเอียดของฟาซาดเหล็กมีความพิเศษอยู่ที่พื้นผิวซึ่งต้องการโชว์เท็กซ์เจอร์ของสนิม เพื่อสร้างคาแร็กเตอร์เนื้อแท้ของวัสดุจริง พ้องไปกับแนวคิดที่ต้องการเบรกเส้นวิจิตรหรูหรา ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับทุกคน ไม่ว่าเป็นใครก็สามารถเข้ามาใช้งานโฮสเทลแห่งนี้ได้เช่นกัน ส่วนการตกแต่งภายในเลือกใช้สีโทนเข้มขรึม เพื่อสร้างบรรยากาศที่นิ่งสงบเหมาะกับการพักผ่อนนอนหลับอย่างเต็มที่ ก่อนจะออกไปท่องเที่ยวในย่านต่าง ๆ รอบเขตพระนคร ซึ่งมีเสน่ห์น่าหลงใหลทั้งกลางวันและกลางคืน พื้นที่ด้านล่างของโฮสเทลได้รับการจัดสรรเป็นพื้นที่ส่วนกลาง และ Alice คาเฟ่สำหรับนั่งสบายในช่วงกลางวัน โดยเน้นการออกแบบให้ดูคลีนขึ้น สำหรับลูกค้าของโฮสเทล และแขกผู้มาเยือนคาเฟ่ท่านอื่น ๆ โดยยังคงเส้นสายของงานออกแบบต่อเนื่องมาจากฟาซาดด้านหน้าให้เป็นเรื่องราวเดียวกันทั้งหมด ที่ตั้ง 125 […]

YINDEE TRAVELLERS LODGE โรงแรมริมแม่น้ำน่าน ดิบเท่สไตล์อินดัสเทรียล

ที่พักน่าน ขนาดกะทัดรัดสไตล์อินดัสเทรียลที่นำเสนอไลฟ์สไตล์แปลกใหม่ให้กับเมืองน่าน ด้านหน้าอาคารภายนอกโดดเด่นด้วยแผงตะแกรงเหล็กฉีกที่ไล่ระดับเป็นแพตเทิร์นลายกราฟิกช่วยพรางสายตา ขณะเดียวกันก็เปิดให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารชั้นล่างซึ่งเป็นพื้นที่นั่งพักผ่อน เมื่อเข้ามาภายใน ที่พักน่าน แห่งนี้จะพบเคาน์เตอร์บาร์ไม้ด้านหน้าที่สร้างบรรยากาศแบบคาเฟ่ ต่อเนื่องกับโต๊ะรับประทานอาหารตัวยาว และแพนทรี่ด้านหลัง แม้ว่าพื้นที่จะมีขนาดกว้างเท่าอาคารพาณิชย์หนึ่งคูหา แต่ที่นี่กลับสามารถจัดสรรพื้นที่ใช้งานได้อย่างลงตัว โดยออกแบบให้มีสเปซเชื่อมต่อถึงกันในแนวตั้ง ตั้งแต่ชั้นล่างสุด ไปจนถึงชั้น 4 ซึ่งเป็นชั้นดาดฟ้า ช่วยให้บรรยากาศภายในโปร่งสบายและสว่างไสวไม่มืดทึบ การออกแบบพื้นที่แนวตั้งนี้จึงเป็นเหมือนไฮไลท์ช่วยเพิ่มมิติให้พื้นที่ภายในดูพิเศษแตกต่างกว่าตึกแถวทั่วไป บนชั้น 2-3 ประกอบด้วย 4 ห้องพัก ทั้งห้องพักรวมแบบเตียงสองชั้น ห้องพักสำหรับครอบครัว และห้องพักส่วนตัวที่มีห้องน้ำในตัว ตลอดทางเดินขึ้นสู่ชั้นบนสร้างกลิ่นอายแบบแกลเลอรี่ย่อม ๆ ด้วยการประดับงานศิลปะที่มีเนื้อหาสื่อถึงการเดินทางตลอดแนวผนังในแต่ละชั้น ส่วนบนดาดฟ้าสกายไลท์หน้าจั่วให้ความรู้สึกเหมือนเรือนกระจก เปิดสู่ลานกว้างเอ๊าต์ดอร์สำหรับการสังสรรค์ ท่ามกลางวิวสวย ๆ ริมแม่น้ำน่านในหน้าหนาว หลากหลายวัสดุสไตล์อินดัสเทรียลที่มีความต่อเนื่องกันจากภายนอกสู่ภายใน ไม่ว่าจะเป็นพื้นกระเบื้องลายปูนเปลือย ผนังอิฐโชว์แนว หรือผนังอิฐไม่ฉาบเรียบทาสีขาว และโครงสร้างบันไดเหล็กที่กรุด้วยตะแกรงเหล็กฉีก ล้วนส่งเสริมให้โฮสเทลแห่งนี้มีอารมณ์เรียบเท่ได้อย่างลงตัว ไม่เพียงเน้นความโดดเด่นด้วยรูปลักษณ์สมัยใหม่ แต่ที่นี่ยังตั้งใจนำเสนอประสบการณ์ท้องถิ่นให้แก่แขกผู้เข้าพักได้สัมผัส ไม่ต่างจากโรงแรมแบบฉบับดั้งเดิม ที่ตั้ง 200/17 ถนนมะโน ตำบลในเวียง อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน โทร. : 08-1806-0347 Website : www.yindeetravellerslodge.com เจ้าของ : คุณพิชญะ […]

HOTEL GAHN ถ่ายทอดวัฒนธรรมบาบ๋า-ย่าหยาผ่านสเปซแห่งการพักผ่อน

โรงแรมพังงา ภายใต้อาคารขนาดความสูง 5 ชั้น ที่โดดเด่นตั้งแต่ภาพด้านหน้าแห่งนี้ คือ HOTEL GAHN หรือโรงแรมกาล ซึ่งถ่ายทอดวัฒนธรรมความภูมิใจในความเป็น “บาบ๋า-ย่าหยา” หรือลูกหลานชาวจีนเลือดผสมที่ถือกําเนิดมาจากการแต่งงานข้ามเชื้อชาติระหว่างชาวจีนอพยพและชาวเมืองท้องถิ่นในพื้นที่คาบสมุทรมลายู-อินโดนีเซีย ผ่านทุกอณูของพื้นที่ด้วยเอกลักษณ์อย่างการแต่งกายชุดเสื้อฉลุลายลูกไม้ ผ้าปาเต๊ะ รองเท้าถักลูกปัด เครื่องประดับทองอันอ่อนช้อย รวมถึงรสมือการปรุงอาหารท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: STUDIO LOCOMOTIVE โดยมีสตูดิโอออกแบบ Studio Locomotive ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ และความทรงจำดั้งเดิมเหล่านี้ ออกมาผ่านรูปแบบการออกแบบตกแต่งของโรงแรม ซึ่งมีฟังก์ชันครบครันทั้งที่พัก ร้านอาหาร และคาเฟ่รวมอยู่ด้วย จากการฟังเรื่องราวที่เจ้าของถ่ายทอดระหว่างการพูดคุยเกี่ยวกับเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่สมัยก่อนพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นเมืองท่าที่สำคัญ และมีแร่ดีบุกเป็นทรัพยากรที่หาได้ง่ายในพื้นที่ จึงกลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุก เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างผู้คน ในฐานะที่ที่นี่เป็นเส้นทางอพยพจากจีนมาคาบสมุทรมลายูและศูนย์กลางการค้ากับยุโรป ซึ่งเปรียบเจ้าของโครงการคือ ผู้ที่เดินทางมากับเรือสำเภาจีน รับหน้าที่เป็นพ่อครัวประจำเรือในยุคนั้น จนกระทั่งมาตั้งรกรากบนที่แห่งนี้ เเล้วเกิดความคิดอยากส่งต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมจีนลูกผสมที่ยังพบเห็นอยู่ในเมืองตะกั่วป่าออกมาในรูปแบบของที่พัก โดยมีความตั้งใจที่จะให้แขกได้รับรู้วิถีชีวิตผ่านประสบการณ์ระหว่างการพักผ่อนและมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวเจ้าของโครงการอย่างเป็นกันเอง การนำเสนอวิถีชีวิตผ่านการออกแบบโรงแรมกาล จึงไม่ได้มาจากการทำซ้ำตามแบบอาคารดั้งเดิม แต่เป็นการถ่ายทอดกลิ่นอายจากการจัดวางผังพื้นที่ใช้สอย การเลือกใช้วัสดุ การรักษาวัสดุ และรายละเอียดงานตกแต่งที่แสดงถึงภูมิปัญญาการก่อสร้าง ซึ่งจะเห็นได้จากประตูซุ้มโค้งเหล็กสูง 6 เมตร ที่มีลักษณะคล้ายทางเดินเชื่อมอาคารร้านค้า […]