บทความโดย room - Page 33 of 36

PIE HOUSE บ้านเรียบเท่ของผู้หญิงที่มีความกรอบนอกนุ่มใน

โจทย์ความฝันและความชอบที่ชัดเจนของเจ้าของบ้านผสมกับการทำงานร่วมกันเป็นทีมกับสถาปนิกด้วยความคิดเปิดกว้างคือที่มาของ แบบบ้านโมเดิร์น สีขาวสองชั้นเรียบง่ายตรงไปตรงมาในเมืองเชียงใหม่หลังนี้

5 ที่พักสวยด้วย “บล็อกช่องลม”

บล็อกช่องลม  เป็นอีกหนึ่งวัสดุยอดนิยมที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายในงานออกแบบตกเเต่ง ซึ่งปัจจุบันได้รับการออกแบบลวดลายเเละรูปแบบอย่างหลากหลาย ตอบโจทย์ต่อการเลือกใช้ ไม่ว่าจะทำมาจากคอนกรีต ดินเผา หรือเซรามิก ฟังก์ชันหลักของ “บล็อกช่องลม” คือเรื่องการระบายอากาศซึ่งถูกดัดแปลงมาจากช่องลมของบ้านเรือนไทยสมัยก่อน ทั้งยังยอมให้แสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายในได้ หรือจะนำไปใช้ในแง่ของการสร้างความเป็นส่วนตัว การสร้างสเปซแบบกึ่งเอ๊าต์ดอร์ก็นับว่าเป็นวัสดุที่ค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  room จึงได้รวบรวม 5 ที่พัก ซึ่งเด่นด้วยการใช้วัสดุชนิดนี้มาฝาก เพื่อให้คุณนำไปประยุกต์ใช้เป็นไอเดียในการตกแต่งกันครับ 01 | A DAY INN RANONG เปลี่ยนตึกเก่าสไตล์ชิโนโปรตุกีสอายุกว่า 100 ปีเป็นที่พักกลางเมืองระนอง รีโนเวตอาคารพาณิชย์เดิมให้เป็นที่พักสไตล์โฮมมี่ โดยยังคงกลิ่นอายความเป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีสอายุกว่า 100 ปีไว้ ด้วยสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของจังหวัดระนอง จึงใช้ช่องลมเพื่อช่วยระบายอากาศ ทั้งยังกลายมาเป็นกิมมิกของโรงแรมที่น่าสนใจ เนื่องจากตัวอาคารเป็นตึกแถวเก่าซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องความทึบแสง ผู้ออกแบบจึงแก้ปัญหานี้ด้วยการเจาะช่องเปิดโล่งบริเวณกลางอาคาร แล้วติดแผ่นโปร่งแสงกลายเป็นสกายไลท์ตลอดแนวทางเดินใต้หลังคา เพื่อรับแสงและลมธรรมชาติให้พื้นที่ภายในสว่าง โปร่งโล่ง และอากาศถ่ายเทได้สะดวก ประกอบกับระนองเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกทำให้มีความชื้นในอากาศสูง ในขั้นตอนการรีโนเวตฝ้าเพดานจึงถูกยกให้สูงขึ้นเป็นพิเศษ แล้วติดช่องลมสำหรับช่วยระบายอากาศในส่วนของช่องแสงทั้งภายในและภายนอก กลายเป็นการตกแต่งผนังอาคารไปในตัว อ่านต่อฉบับเต็มคลิก ออกแบบ : คุณเกรียงไกร บัวจันทร์ 02 | POTTERY HOMESTAY หยิบความหลงใหลในถ้วยชาจีนมาเป็นพระเอกให้กับโฮมสเตย์สีเขียว สะดุดตาด้วยช่องลมทรงแปลกตาตั้งแต่ส่วนของฟาซาด […]

BORBABOOM PHUKET POSHTEL & HOSTEL นอนอาบแดดอยู่ริมชายหาดบนเตียงผ้าใบสีสดกลางเมืองภูเก็ต

เปลี่ยนตึกแถวใจกลางเมืองภูเก็ต บนถนนสายเก่าแก่ของเมืองอย่างถนนรัษฎานุสรณ์ ให้กลายเป็น โฮสเทลภูเก็ต สีพาสเทลสดใส คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เตรียมมาเสพวิถีชีวิตแบบชาวภูเก็ต โดยรูปแบบของห้องพักได้มาจากประสบการณ์การไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่เด็ก ๆ ของ คุณเชาวน์ สุวัณณาคาร ผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งเริ่มต้นการพักอาศัยอยู่ในห้องพักรวมแบบเตียงสองชั้น ก่อนจะขยับมาเป็นแบบแคปซูลที่ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัวมากขึ้น และเปลี่ยนมาเป็นห้องพักเดี่ยวในช่วงไฮสคูลตามลำดับ จนนำมาสู่แนวคิดการออกแบบห้องพัก 3 แบบ 3 สไตล์ของ โฮสเทลภูเก็ต แห่งนี้ ภายในห้องพักเลือกคุมโทนสีเข้มดูสงบเอื้อต่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง ตัดกับพื้นที่ภายนอกและพื้นที่ส่วนกลางที่เลือกใช้สีขาวและสีพาสเทลสดใสเหมาะกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยพื้นที่ส่วนกลางใช้ประโยชน์จากรูปแบบของตึกแถวเก่าในเมืองภูเก็ตที่มักเว้นพื้นที่คอร์ตช่วงกลางตึกไว้ หรือที่เรียกว่า “ฉิ่มแจ้” ซึ่งมีฟังก์ชันช่วยระบายอากาศและเป็นช่องเปิดให้ลมสามารถพัดผ่านเข้ามาได้ตลอดทั้งวัน กลายเป็นพื้นที่นั่งเล่น ปาร์ตี้สังสรรค์ และส่วนเซอร์วิสของแขกผู้เข้าพัก อีกหนึ่งความพิเศษของที่นี่คือสระว่ายน้ำบนชั้นดาดฟ้าที่ทำเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ เพื่อเพิ่มความสดชื่นแม้จะอยู่ใจกลางเมืองที่ไม่ติดทะเล แต่กลับให้ความรู้สึกเหมือนได้นอนอาบแดดอยู่ริมชายหาดบนเตียงผ้าใบสีสดตัดกับผืนน้ำสีฟ้า เพราะเชื่อว่าฤดูร้อนเป็นฤดูที่เราได้เจอตลอดทั้งปี หรือ “summer all year long” นั่นเอง ที่ตั้ง : 73 ถนนรัษฎานุสรณ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดภูเก็ต ติดต่อ : โทร.09-6634-5025 FB : borbaboomphuket   เจ้าของ   […]

LYN’S HOME HOSTEL บอกเล่าความทรงจำของเด็กหญิงผ่านโฮสเทลสไตล์โมเดิร์นไชนีส

ย่านเมืองเก่าของสงขลา หรือที่รู้จักกันในนามย่านนครใน ตั้งแต่ครั้งอดีตพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนคนจีนดั้งเดิม อาคารสองข้างถนนจึงคลาคล่ำไปด้วยรูปแบบของสถาปัตยกรรมกลิ่นอายสไตล์จีน สังเกตได้จากรูปแบบของตึกแถวเก่าที่มีลักษณะเป็นตึกแถวหน้าแคบแต่ลึก เว้นคอร์ตกลางตึกไว้เพื่อใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ และเป็นช่องแสงให้พื้นที่ภายในไปในตัว ซึ่งปัจจุบันหลาย ๆ คูหาถูกปรับปรุงเป็น ที่พักสงขลา เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เช่นเดียวกับตึกแถวเก่า 2 คูหาแห่งนี้ ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.1951 ซึ่งปัจจุบันได้รับการรีโนเวตเปลี่ยนมาเป็น ที่พักสงขลา สไตล์โมเดิร์นไชนีส แฝงกลิ่นอายหวาน ๆ แบบเฟมินีน ในนาม LYN’S HOME HOSTEL โดยชื่อของโฮสเทลได้แรงบันดาลใจมาจากชื่อของหลานสาว “หลิน” นำมาใช้เป็นตัวบอกเล่าความทรงจำของเด็กหญิงผ่านบ้านไม้กึ่งปูนหลังเก่าที่เต็มไปด้วยพื้นที่เก็บความทรงจำ ไม่ว่าจะเป็นวาดภาพบนฝาผนังบริเวณข้างเตียงของแต่ละเตียงที่วาดขึ้นโดยเด็ก ๆ ในครอบครัวแบบไม่ซ้ำกัน การเลือกใช้ไม้เก่าซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักก็เพื่อเชื่อมโยงกาลเวลาแห่งความอบอุ่น และให้ความรู้สึกเหมือนได้อยู่บ้านจริง ๆ นอกจากห้องพักที่มีให้เลือกทั้งแบบห้องส่วนตัว และห้องนอนรวมแล้ว พื้นที่ชั้น 2 ยังมี Common area ไว้สำหรับคนที่ต้องการพื้นที่ทำงาน หรือทำกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ รวมไปถึงพื้นที่คอร์ตกลางที่ปรับให้เป็นที่นั่งเล่นของแขกผู้เข้าพักไว้รับแสงแดดอ่อน ๆ ซึมซับบรรยากาศของตึกเก่า เข้ากันดีกับต้นหลิวกิ่งก้านพลิ้วไหวที่ลู่ไปตามแรงลมเอื่อย ๆ และถ้าหากโชคดีท่านอาจได้พบกับเจ้าแมวเคดี้ พระเอกของที่นี่ที่มักออกมาคอยต้อนรับแบบไม่มีวันหยุด ที่ตั้ง : 160 […]

A DAY INN RANONG เปลี่ยนตึกเก่าสไตล์ชิโนโปรตุกีสอายุกว่า 100 ปีเป็นที่พักกลางเมืองระนอง

โรงแรมระนอง A DAY INN RANONG ในบรรยากาศสบาย ๆ ใจกลางเมืองเก่าในจังหวัดระนองที่ยังคงกลิ่นอายความเป็นตึกเก่าสไตล์ชิโนโปรตุกีสอายุกว่า 100 ปี ที่มีเอกลักษณ์และความทรงจำในวันวานไว้เป็นอย่างดี เนื่องจากตัวอาคารเป็นตึกแถวเก่าซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องความทึบแสง ผู้ออกแบบจึงแก้ปัญหานี้ด้วยการเจาะช่องเปิดโล่งบริเวณกลางอาคาร แล้วติดแผ่นโปร่งแสงกลายเป็นสกายไลท์ตลอดแนวทางเดินใต้หลังคา เพื่อรับแสงและลมธรรมชาติให้พื้นที่ภายในสว่าง โปร่งโล่ง และอากาศถ่ายเทได้สะดวก ประกอบกับระนองเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกทำให้มีความชื้นในอากาศสูง ในขั้นตอนการรีโนเวต ฝ้าเพดานจึงถูกยกให้สูงขึ้นเป็นพิเศษ แล้วติดช่องลมสำหรับช่วยระบายอากาศในส่วนของช่องแสงทั้งภายในและภายนอก กลายเป็นการตกแต่งผนังอาคารไปในตัว รวมถึงยังใช้ช่องลมเป็นโลโก้ช่วยสร้างกิมมิกที่น่าจดจำให้แก่ โรงแรมระนอง แห่งนี้ได้อย่างดี พื้นที่ภายในได้รับการออกแบบอย่างเป็นสัดส่วน ไล่ลำดับตั้งแต่ทางเข้าด้านหน้าซึ่งใช้เป็นส่วนต้อนรับแขก ตามมาด้วยส่วนของห้องพัก และส่วนครัวที่เชื่อมต่อกับบริเวณช่องเปิดกลางอาคาร ซึ่งตั้งใจทำเป็นสวนขนาดเล็ก และบ่อน้ำผุดเพื่อเชื่อมพื้นที่ในแนวดิ่ง ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นวิวของห้องพักบริเวณชั้น 2 โดยลมและแสงธรรมชาติที่พาดผ่านลงมาด้านล่างนั้น เมื่อตกกระทบลงบนผิวผนังอิฐมอญโบราณที่ตั้งใจอนุรักษ์ไว้จะทำให้เกิดมิติของแสงเงาที่ดูอบอุ่น เหมาะเป็นมุมนั่งเล่น หรือรับประทานอาหารเช้า ท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่น เย็นสบาย และเป็นกันเอง ที่ตั้ง  : 204 ถนนเรืองราษฎร์ ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดระนอง ติดต่อ : โทร.06-3789-8711 FB : adayinnranong.fanpage เจ้าของ : คุณธนัญญา พนากิจสุวรรณ ออกแบบ […]

DOUBLE S SPECIALTY COFFEE

DOUBLE S SPECIALTY COFFEE ทอนองค์ประกอบโรงคั่วกาแฟโบราณให้ทันสมัยด้วยสัจวัสดุ

พื้นที่ชั้นล่างของอาคารมิกซ์ยูสแห่งหนึ่งย่านปุณณวิถีที่ถูกแบ่งให้ผู้สนใจเข้ามาเช่าพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือคาเฟ่นามว่า “Double S Specialty Coffee” คาเฟ่ปุณณวิถี ในกล่องใสคลีนสะอาดตา ดึงดูดความสนใจตั้งแต่แรกเห็น โดยทั้งหมดเป็นฝีมือการออกแบบของสถาปนิกจาก TOUCH ARCHITECT “เมื่อดูจากบริบทของพื้นที่ตั้ง ซึ่งเป็นห้องเเบ่งเช่าที่อยู่ในอาคาร พร้อมกับขนาดพื้นที่ที่เล็กเพียง 35 ตารางเมตร ทำให้ยากต่อการออกแบบสเปซ ดังนั้นจึงเลือกที่จะออกแบบให้ คาเฟ่ปุณณวิถี แห่งนี้ มีความโปร่งโล่งที่สุด ทั้งยังต้องการให้คนสามารถมองเห็นบรรยากาศภายในร้านเเละชักชวนให้ลูกค้าอยากเข้ามา จึงตกแต่งพื้นที่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางความรู้สึก โดยการเลือกใช้วัสดุที่ช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับพื้นที่ในเเต่ละฟังก์ชันแทน” จากข้อจำกัดของพื้นที่สถาปนิกเลือกที่จะไม่แตะโครงสร้างของอาคาร แล้วสร้างเลเยอร์ซ้อนอีกชั้นด้านในด้วยแผงฟาซาดแบบบานเกล็ดใส ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากโรงคั่วกาแฟแบบโบราณที่ผนังมักใช้ไม้ตีซ้อนเกล็ด คงกลิ่นอายแบบรัสติก พร้อมการโชว์สัจวัสดุ แต่มีข้อจำกัดเรื่องของมุมมองและความทึบตัน ผู้ออกแบบจึงนำแพตเทิร์นนี้มาใช้โดยดัดแปลงเป็นบานเกล็ดกระจกใสที่ติดตั้งแบบแรนดอม เกิดเป็นอารมณ์ที่แตกต่างออกไป ทั้งยังเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายราคาไม่เเพง ให้ความรู้สึกปลอดโปร่งด้านมุมมองที่ดีกว่า อีกทั้งยังสามารถมองเห็นบรรยากาศภายในร้าน จูงใจให้ลูกค้าอยากเข้ามาใช้บริการ อย่างที่ผู้ออกแบบตั้งใจไว้ด้วย ในส่วนของผนังที่กลายมาเป็นแบ็กกราวน์ของร้าน เด่นด้วยการเลือกใช้อิฐบล็อกที่คุ้นเคย โดยแพตเทิร์นในการก่อนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากการจัดเรียงวัสดุชนิดนี้ในร้านขายวัสดุก่อสร้างที่มีการวางเรียงสลับกันไปมา อย่างการนำด้านสันหรือด้านข้างหันออกบ้าง เพื่อสร้างความสมดุลและการถ่ายเทน้ำหนักมาสร้างความแปลกตาให้กับผนังร้านได้เป็นอย่างดี ด้วยความชื่นชอบสไตล์มินิมัลแบบคาเฟ่เกาหลีของเจ้าของร้าน ทำให้พื้นที่ภายในได้รับการตกแต่งแบบเรียบง่าย คุมมู้ดแอนด์โทนสีเทา-ดำ กับเคาน์เตอร์บาร์กรุสเตนเลสเรียบเกลี้ยงเป็นพระเอกของร้าน ซึ่งเคาน์เตอร์นี้ยังเป็นตัวแบ่งสเปซภายในให้เป็นสัดส่วน และแก้ปัญหาเรื่องเสาที่อยู่ตำแหน่งกลางร้านได้เป็นอย่างดี ในส่วนของเฟอร์นิเจอร์เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความยืดหยุ่น อีกทั้งง่ายต่อการบำรุงรักษา โดยมีที่นั่งให้เลือกทั้งแบบบาร์และแบบโต๊ะเดี่ยว พร้อมรองรับลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะมาคนเดียว มาเป็นคู่ […]

Artisan

ARTISAN HOUSE บันทึกความทรงจำผ่านบ้านหลากวัสดุหลายอารมณ์

บ้านนี้ประกอบขึ้นจากวัสดุหลากหลาย  ด้านนอกแม้จะดูแตกต่างไปจากบ้านในละแวกใกล้เคียงกัน ภายใต้ขนาดพื้นที่ใช้สอยราว 250 ตารางเมตร ได้รับการออกแบบแปลนเป็นรูปตัวยู (U) ล้อมคอร์ตสระว่ายน้ำขนาดย่อมไว้ตรงกลาง

แบบบ้านหลังคาหน้าจั่วโมเดิร์น

15 บ้านหลังคาหน้าจั่วที่คุ้นเคยในลุคโมเดิร์นสุดเท่

15 บ้านหลังคาหน้าจั่วโมเดิร์น ที่ยังสามารถใช้ประโยชน์เรื่องการระบายอากาศ การระบายน้ำฝนในสภาพอากาศแบบทรอปิคัล และการบังแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

CHANN BANGKOK NOI พื้นที่เชื่อมสัมพันธ์แบบไทย

“คลองบางกอกน้อย” ลำคลองสายดั้งเดิมของกรุงเทพฯ ที่มีความสำคัญทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวิถีชีวิต จากบริบทความสำคัญของที่ตั้ง บวกกับการออกแบบภายใต้แนวคิด “Simply at Ease” ทำให้ CHANN Bangkok Noi ออกแบบตนเองให้มีกลิ่นอายแบบไทย อย่างการเลือกใช้วัสดุอย่าง“ไม้” เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ให้ตั้งขนานกันไปกับริมฝั่งคลอง โดยพื้นที่ทั้งหมดของโรงแรมได้รับการเชื่อมต่อถึงกันด้วย “ชานไม้” อันเป็นเอกลักษณ์ที่กลายมาเป็นชื่อของโรงแรมเพื่อสื่อถึงบ้านไทยสมัยก่อน และวิถีชีวิตของผู้คนริมน้ำ พื้นที่ภายนอกทุกส่วนถูกออกแบบให้เชื่อมเข้ากันไว้ด้วยชานไม้ขนาดใหญ่ ทางโรงแรมจึงดัดแปลงเป็นพื้นที่ส่วนต้อนรับ และพักผ่อนส่วนกลาง โดดเด่นด้วยไม้พื้นที่วางเรียงแบบเว้นร่อง นอกจากจะช่วยระบายอากาศได้ดีแล้ว ยังช่วยสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นให้กับผู้เข้าพัก  พื้นที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเป็นพื้นที่ให้ผู้เข้าพักได้ออกมานั่งเล่นเอกเขนกชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นพร้อมกับเสพบรรยากาศท่ามกลางธรรมชาติ สำหรับพื้นที่ภายใน ส่วนแรกคือห้องพักที่มีให้เลือกพักทั้งแบบ Riverside,Riverfront และ Courtyard แต่ละห้องตกแต่งภายในด้วยสไตล์ไทยร่วมสมัย ใช้รายละเอียดของการออกแบบฝาบ้านไทยดั้งเดิม รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์พิเศษที่สั่งทำโดยเฉพาะ ทำให้บ้านพักแห่งนี้ยังคงเอกลักษณ์บ้านไทยสมับก่อน ในส่วนของอ่างอาบน้ำโซนเอ๊าต์ดอร์ถูกออกแบบโดยเน้นให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เน้นการใช้ไม้ในการออกแบบพื้นที่เป็นหลักนอกจากจะช่วยสร้างบรรยากาศที่สะท้อนแบบบ้านไทยสมัยก่อนแล้ว ยังตกแต่งพื้นที่ด้วยการจัดวางไม้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เกิดเป็นแสงเงาและมิติที่สวยงามอีกทั้งยังครบด้วยประโยชน์ในการทำเป็นม่านบังตาสายตาได้อีกด้วย เอื้อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายแบบส่วนตัวแต่ยังคงความใกล้ชิดธรรมชาติเรียกได้ว่าตอบโจทย์ครบทุกฟังก์ชันการใช้งานได้เป็นอย่างดี อีกพื้นที่ที่น่าสนใจ คือใต้ถุน หรือพื้นที่ชั้นล่าง แบบเรือนไม้ไทยยกพื้นสูงอย่างสมัยก่อน ด้วยพื้นที่โล่งกว้างมีลมพัดผ่านได้ดี จึงเหมาะกับเป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนกลาง ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่สั่งทำพิเศษเข้ากับไม้ที่ใช้เป็นโครงสร้างหลักในการออกแบบทำให้เข้ากับบรรยากาศบ้านแบบไทยๆ สะท้อนกลิ่นอายแบบสมัยก่อนได้อย่างลงตัว   IDEAS TO GRAB A.พื้นใช้ไม้พื้นตีเว้นร่อง ช่วยให้สามารถระบายอากาศและได้บรรยากาศอบอุ่นแบบบ้านไม้ไทย […]

FLEXIBLE HOUSE บ้านเตรียมโตที่ออกแบบไว้เผื่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

Flexible House คือประเด็นเรื่อง แบบบ้านชั้นเดียว ที่ได้รับการพูดถึงกันมากในยุคที่ที่ดินในเมืองมีขนาดจำกัด กับการใช้งานพื้นที่ของบ้านให้คุ้มค่า อันเป็นโจทย์ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ของสถาปนิกเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับบ้านหลังนี้ที่สถาปนิกได้ออกแบบพื้นที่ใช้สอยของบ้านไว้อย่างเเยบยล เพื่อเตรียมพร้อมสู่การใช้งานขยายในอนาคต DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Studiomake แต่ในขณะเดียวกัน ความหมายของบ้านที่ยืดหยุ่นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเรื่องของการใช้งานพื้นที่ภายในอย่างคุ้มค่าเท่านั้น แต่สถาปนิกอย่างทีม Studiomake ยังทดลองและค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบ แบบบ้านชั้นเดียว ไปสู่การออกแบบสร้างสรรค์เรื่องโครงสร้าง เพื่อให้บ้านสามารถพลิกแพลง หรือขยับขยายฟังก์ชันได้ในอนาคต หรือที่เรียกว่า “บ้านเตรียมโต” โดยทำการทดลองกับบ้านของ อาจารย์อำนวยวุฒิ และ รศ.พิศประไพ สาระศาลิน ซึ่งทั้งคู่ถือเป็นคุณตาคุณยายของครอบครัว Studiomake โดยมีทีมสถาปนิกและทีมช่างของออฟฟิศเป็นผู้รับหน้าที่ออกแบบก่อสร้างเองทั้งหมด เพราะเป็นบ้านพักอาศัยชั้นเดียวที่มีฟังก์ชันง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ซึ่งประกอบไปด้วยห้องพื้นฐานทั่วไปอย่าง ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ครัว และส่วนเซอร์วิส โดยการทดลองเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ชั้น 1 ซึ่งใช้เป็นส่วนออฟฟิศ กับการเลือกออกแบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนัก รวมถึงการใช้ผนังเบากั้นระหว่างห้อง เผื่อสำหรับการเปลี่ยนแปลงฟังก์ชันพื้นที่ใช้งานภายใน ทั้งยังเผื่อไปถึงการต่อเติมพื้นที่เป็นบ้านสองชั้นในอนาคต โดยได้คำนวณการรับน้ำหนักของโครงสร้างไว้อย่างแข็งแรงทั้งหมดแล้ว อีกส่วนที่บ้านหลังนี้ให้ความสำคัญคือการเชื่อมต่อกับพื้นที่สวนธรรมชาติด้านนอก ด้วยการเปิดด้านยาวของอาคารทั้งหมดออกสู่วิวสวน ผ่านผนังกระจกบานใหญ่ยาวตลอดแนวระเบียง  นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งจุดสำคัญของบ้านนั่นคือ […]

BETTERISM – GOOD DESIGN FOR A BETTER WORLD ดีไซน์ที่ดีต่อโลกและดีต่อเรา

ชวนอ่านแนวโน้มงานออกแบบที่เกิดขึ้นรอบโลกซึ่งกลายเป็นที่มาและแนวคิดในการจัดนิทรรศการ “BETTERISM” โดยนิตยสาร room ที่รวบรวมผลงานออกแบบที่เกิดขึ้นบนความตั้งใจที่อยากให้โลกดีขึ้น เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจดี ๆ สู่สังคมในวงกว้าง ที่กำลังจะเกิดขึ้นในงานบ้านและสวนแฟร์ select 2020 ระหว่างวันที่ 19-23 กุมภาพันธ์ นี้

สัมผัสความอบอุ่นเป็นกันเองผ่าน 5 ที่พักไม้ในบรรยากาศสบาย ๆ

เชื่อว่า “ไม้” คงเป็นวัสดุในใจของใครหลาย ๆ คน ด้วยคุณสมบัติที่หาที่ไหนเหมือนไม่ได้ กับการสร้างบรรยากาศความอบอุ่นเป็นกันเองให้แก่พื้นที่ อีกทั้งยังให้ความรู้สึกสบายเสมือนได้ใกล้ชิดธรรมชาติ ชวนให้นึกถึงบรรยากาศในวันวานของครอบครัวขยายของไทยสมัยก่อน หลาย ๆ โรงแรมและที่พักจึงเลือกวัสดุ “ไม้” มาเป็นวัสดุหลักในการออกแบบตกแต่งเอื้อให้เจ้าของและแขกผู้เข้าพักรู้สึกเป็นกันเอง สบาย ๆ ทั้งยังดูกลมกลืนไปกับบริบทโดยรอบของพื้นที่  ซึ่ง room จึงได้รวบรวม 5 ที่พักไม้ ในบรรยากาศสบาย ๆ มาฝาก ให้คุณเลือกตามไปพักผ่อนท่ามกลางวัสดุอบอุ่นสุดพิเศษนี้กันครับ 01 | CHANN BANGKOK NOI พื้นที่เชื่อมสัมพันธ์แบบไทยริมคลองบางกอกน้อย โรงแรมที่มีกลิ่นอายความเป็นไทยอย่างเต็มเปี่ยม ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมคลองบางกอกน้อย กับการออกแบบภายใต้แนวคิด Simply at Ease อันพัฒนามาจากรากฐานของสิ่งรอบตัวซึ่งเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ แวดล้อมด้วยสถานที่สำคัญ อาทิ พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน (สถานีรถไฟธนบุรีเดิม) และชุมชนริมคลองบางกอกน้อย ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตริมน้ำและวัฒนธรรมไทยได้อย่างมีเอกลักษณ์ ที่นี่โดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุอย่าง “ไม้” เพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ของ “บ้านไทยสมัยก่อน” ตัวอาคารเป็นบ้านสองชั้น จำนวน 4 หลังที่เชื่อมต่อพื้นที่กันด้วย “ชาน” ซึ่งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของพื้นที่แต่ละส่วนเข้าไว้ด้วยกัน […]