© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ไม้เป็นวัสดุจากธรรมชาติ ต้องอาศัยเวลาเพื่อให้เติบโต และสมบูรณ์จนใช้งานได้ จึงทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้งาน การคิดค้นและผลิตไม้ทดแทนในรูปแบบต่างๆ จึงเกิดขึ้นและนิยมใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ แผ่นวัสดุที่ใช้ไม้ชิ้นเล็กประสานกัน หรือนิยมเรียกว่า ลามิเนตบอร์ด (Laminated Board) ประกอบขึ้นจากแผ่นไม้บาง (Veneer) ที่ใช้เครื่องจักรปอกหรือฝานเป็นแผ่น นำมาซ้อนให้ได้ความหนาตามต้องการแล้วอัดด้วยกาว หรือใช้แผ่นไม้แปรรูปบางๆ ที่ต่อประสานกันเป็นแผ่นทำเป็นไส้ (Core) เพื่อให้หนาขึ้น เช่น ไม้อัด (Plywood) ใช้แผ่นไม้บางวางให้เสี้ยนไม้สลับทิศทางกันในแต่ละชั้น ทากาวแล้วอัดเข้าด้วยกัน มีทั้งไม้อัดสัก ไม้อัดยาง ไม้อัดมะปิน รวมถึงชนิดที่ใช้ไม้ต่างประเทศ เช่น ไม้อัดแอช ไม้อัดบีช ไม้อัดเมเปิ้ล มีขนาด 4×8 ฟุต หรือ 1.22x 2.44 เมตร หนาตั้งแต่ 4,6 (ใช้ทำโครงตู้ ชั้น และโต๊ะ) 10,15 และ 20 มม. (ใช้ทำโครงตู้โดยไม่ต้องเสริมโครง) มีทั้งแบบกันน้ำและไม่กันน้ำ ไม้อัดไส้ระแนง (Block Board) คือไม้อัดที่มีไส้ทำจากไม้แปรรูปชิ้นเล็กๆ […]
ไม้เป็นวัสดุที่มีเสน่ห์ ผิวสัมผัสและลวดลายมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ให้ความรู้สึกอบอุ่นและเป็นธรรมชาติ บ้านเรานิยมใช้ไม้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือนต่างๆ เช่น เป็นส่วนโครงสร้าง เสา ฝา คาน พื้น บันได ฯลฯ และตกแต่งภายใน เช่น ปูพื้น กรุผนัง ทำเฟอร์นิเจอร์ ประตู หน้าต่าง เป็นต้น ในประเทศไทยจำแนกประเภทของไม้ตามลักษณะความแข็งแรงดังนี้ ไม้เนื้ออ่อน เป็นไม้ที่มีวงปีกว้างมาก เนื่องจากเป็นไม้โตเร็ว ลำต้นใหญ่ เนื้อค่อนข้างเหนียว แต่ทำงานได้ง่าย เนื้อไม้มีสีจางหรือค่อนข้างซีด อาทิ ไม้กระบาก ไม้ยาง ไม้ฉำฉา ไม้เหียง ไม้โมก ไม้กระท้อน ไม้ยมหอม ไม้จำปาป่า ไม้สนต่างประเทศ เป็นต้น เหมาะกับงานในที่ร่มหรืองานชั่วคราว งานตกแต่ง และเครื่องมือเครื่องใช้ ไม้เนื้อแข็ง เป็นไม้ที่มีวงปีมากกว่าไม้เนื้ออ่อน เพราะเจริญเติบโตช้ากว่า คือต้องมีอายุหลายสิบปีจึงจะนำมาใช้งานได้ ลักษณะทั่วไปของไม้คือ มีเนื้อมัน ลายละเอียด เนื้อแน่น สีเข็ม (แดงถึงดำ) มีน้ำหนักมาก แข็งแรงทนทาน เช่น ไม้สัก ไม้ตะแบก ไม้ประดู่ ไม้มะเกลือ เป็นต้น เหมาะสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ งานก่อสร้างบ้าน และเครื่องมือ ไม้เนื้อแกร่ง เป็นไม้ที่เจริญเติบโตช้ามาก จึงทำให้วงปีถี่มากกว่าไม้สองชนิดแรก […]
ซาชิโกะ (刺し子) เป็นรูปแบบการเย็บด้วยมือของชาวญี่ปุ่นโบราณ ซึ่งใช้วิธีเย็บแบบง่ายๆ คือการด้นตะลุย (Running Stitch) เป็นลวดลายซ้ำๆ หรือสานกันเป็นลวดลายต่างๆ คล้ายงานปักด้นของชาวไทยภูเขาในบ้านเรา สันนิษฐานกันว่ามีที่มาจากการเย็บผ้าหลายๆ ชั้นให้ติดกัน (ควิลต์) เพื่อให้ใช้งานได้ทนทาน ป้องกันความหนาวเย็น ฯลฯ เนื่องจากเนื้อผ้าที่ทอผ้าใช้ในครัวเรือนแบบดั้งเดิมไม่แข็งแรง ทนทานเช่นปัจจุบัน ต่อมาจึงพัฒนาลวดลายออกไปมากมาย จนกลายเป็นงานเย็บปักที่แพร่หลายทั่วไป โดยเฉพาะในหมู่สตรีที่อยู่ตามท้องไร่ ท้องนาและผู้ใช้แรงงาน ได้นำเอางานปักซาชิโกะมาใช้ซ่อมแซมเสื้อผ้าและของใช้ เช่น ฟูก หมอน ผ้ากันเปื้อน เสื้อคลุม ที่เรียกว่า Boro (แปลว่า ผ้าขี้ริ้ว) ซึ่งใช้การปะผ้าที่รอยขาดบนเสื้อผ้า ซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้ง เราจึงคุ้นกับงานปักซาชิโกะที่ปักด้วยด้ายสีขาวบนผ้าพื้นสีน้ำเงินเข้ม ซึ่งชาวไร่ ชาวนาและคนใช้แรงงานสวมใส่กัน (ในสมัยเอโดะห้ามคนใช้แรงงานสวมเสื้อผ้าสีสด ส่วนคนในชนบทนิยมย้อมผ้าเป็นสีน้ำเงินเข้มก็เพราะทนทาน บ้างก็ว่าไล่แมลงต่างๆ) ลายปักซาชิโกะส่วนใหญ่มักมีรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งใช้วิธีด้นตะลุยได้ง่าย ลายมีทั้งที่ดัดแปลงจากลายปักของจีน และได้แรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติรอบตัว เช่น ลายคลื่น ลายภูเขา ลายต้นสน ลายเมล็ดข้าว ฯลฯ การปักใช้เข็มและด้ายที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะ ด้ายส่วนใหญ่ทำจากฝ้ายควั่นเป็นเส้นกลม ปัจจุบันประยุกต์ไปใช้ผ้าและด้ายปักสีต่างๆ แบบที่ใช้ปักผ้าทั่วไป เช่น […]
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังมองหากิจกรรมสนุก ๆ ช่วงปิดเทอมให้กับเด็กๆ หนังสือ Nature Learn ห้องเรียนธรรมชาติ เล่มนี้ไม่เพียงแต่แนะนำสถานที่ให้พาเด็ก ๆ มาเรียนรู้ท่ามกลางธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังให้แนวคิดการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่นำมาปรับใช้ในบ้าน หรือจะรวมกลุ่มพ่อแม่ที่มีความสนใจในแนวทางเดียวกันทำกิจกรรมขึ้นมากันเองก็ได้ เพราะการที่เด็ก ๆ ได้ออกมาอยู่กับธรรมชาติไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาทางด้านร่างกายของเขาเท่านั้นแต่ยัง เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ สติปัญญา และพัฒนาการ สถานที่แนะนำภายในเล่มนี้ยังเป็นทางเลือกให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่มีที่กว้าง ๆ มากพอให้เจ้าตัวน้อยได้วิ่งเล่นได้ลองพาเขาออกมาอยู่กับสายลม แสงแดด ต้นไม้ ลำคลอง ลองไปเช้าเย็นกลับแค่ 1 วันดูก่อนที่ ฟาร์มเดอเล็ก ไร่ปลูกรัก บ้านนาครูธานี Organic Way และดวงตวันบ้านสวน เรียนรู้การอยู่กับธรรมชาติ ลองเก็บผัก ทำขนม อาหาร เลี้ยงไก่ ฯลฯ หรือค่ายที่เปิดเฉพาะช่วงปิดเทอม อย่างค่ายจังหวะแห่งชีวิตของ Little Tree ,House of Learning เรียนรู้ธรรมชาติและการละเล่นสนุกแบบเด็กบ้านสวน ระยะเวลา 5 วัน ไปเช้าเย็นกลับ ค่ายครอบครัวที่ หนูโจอาร์ทแอนด์ฟาร์ม […]
ปิดเทอมนี้หากยังไม่มีโปรแกรมไปไหน ลองชวนหนูๆเดินเล่นสำรวจสวนรอบๆบ้าน เก็บดอกไม้ใบไม้มาทำกิจกรรมสนุกๆ อย่าง ทุบสีดอกและใบลงบนกระดาษหรือผืนผ้า นอกจากเด็กๆ จะได้รู้จักต้นไม้เพิ่มขึ้นแล้วยังได้เรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ และรูปร่างของใบไม้ที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังสนุกกับเสียงกรุบกรับๆที่แข่งกันดังจากการทุบใบไม้ อาจเลือกต้นที่หาได้ข้างทาง อย่าง ใบต้อยติ่ง ตำลึง เบญจรงค์ ฯลฯ หรือ ดอกไม้อย่างอัญชัน กรรณิการ์ ดาวเรือง หรือดอกอื่นๆที่นิยมนำมาคั้นสี แต่หากไม่มีจะใช้ใบของต้นอะไรก็ได้ค่ะ เพียงเลือกใบที่ไม่ใหญ่และฉ่ำน้ำเกินไป จากนั้นจับวางลงบนกระดาษหรือผืนผ้าให้สวยงาม หากเป็นเด็กเล็ก คงไม่ค่อยสนใจในเรื่องความงามเท่าใดนัก พ่อแม่อาจช่วยจับวาง แล้วให้เด็กๆเดินสำรวจหาก้อนกรวดในสวน แล้วจัดแจงทุบใบไม้ดอกไม้เหล่านั้น นอกจากเด็กๆจะสนุกกับการทุบดอกไม้แล้ว สีสันที่ปรากฎบนกระดาษยังดูน่าตื่นเต้นและสนุกไม่แพ้กันเลยทีเดียว ติดตามอ่านเรื่องราวสนุกๆเหล่านี้ได้ใน หนังสือ “เล่นกับดอกไม้ใบหญ้า” Play with Flowers &Leaves
(Simple handstitch) การซ่อมแซมเสื้อผ้าหรือเครื่องใช้มีวิธีทำได้หลายอย่าง เช่น จ้างช่างเย็บผ้าที่เราเห็นตามริมทางหรือในตลาด จ้างบริษัทที่ให้บริการซักแห้ง หรือลงมือทำด้วยตัวเอง ซึ่งวิธีหลังเหมาะกับการซ่อมแซมเล็กน้อยๆ ที่ไม่ซับซ้อน เช่น กระดุมหลุด ตะเข็บปริ แต่ถ้ามีทักษะการเย็บดีอยู่แล้ว การลงมือทำเองก็ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้ ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะฝีเข็มที่ใช้กันบ่อยๆ ในงานซ่อมแซมเสื้อผ้า ด้นตะลุย หรือ Running Stitch คือการเย็บขึ้นลงไปบนเนื้อผ้า ใช้เย็บผ้าสองชิ้นหรือมากกว่าให้ติดกัน การเย็บฝีเข็มถี่ๆ จะช่วยให้ตะเข็บที่เย็บแข็งแรงมากขึ้น ที่นิยมกันคือ 3 ฝีเข็มต่อความยาว 1 เซนติเมตร เนา หรือ Tacking Stitch เย็บแบบเดียวกับด้นตะลุย แต่ฝีเข็มยาวกว่า พวกช่างตัดเสื้อจะใช้เวลาที่ต้องการให้ผ้าติดกันชั่วคราว เช่น การขึ้นตัวอย่าง ในกรณีที่เราไม่มีเข็มหมุด วิธีนี้ช่วยได้ วิธีทำ สนเข็ม ทำปมด้าย แล้วเริ่มเย็บ โดยแทงเข็มจากด้านหลังผ้าขึ้นมาด้านหน้า แล้วแทงเข็มขึ้น–ลงไปเรื่อย (ด้นตะลุยกับเนาใช้วิธีเดียวกัน ต่างกันที่ขนาดฝีเข็ม) ด้นถอยหลัง หรือ Back Stitch เป็นการเย็บเดินหน้าและถอยหลัง วิธีนี้ได้ตะเข็บที่แข็งแรงทนทาน ได้ฝีเข็มใกล้เคียงการใช้จักรเย็บ […]
เมื่อย้ายต้นไม้ลงปลูกในพื้นที่ที่ต้องการแล้ว สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ การค้ำยัน เพื่อพยุงต้นไม้ไม่ให้โยกคลอน รากพืชเติบโตได้เต็มที่ การค้ำยันที่นิยมใช้มี 4 แบบ คือ การค้ำยันแบบ 2 หลัก เหมาะกับไม้ต้นที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 2 – 3 นิ้ว โดยปักไม้ค้ำสูงจากพื้น 80 เซนติเมตร ห่างกัน 60 เซนติเมตร ใช้เวลาค้ำยัน 2 ปี การค้ำยันแบบคอก เหมาะกับไม้ต้นที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 4 – 8 นิ้ว โดยปักไม้ค้ำสูงจากพื้น 80 เซนติเมตร และห่างกัน 1 เมตร ควรใช้เชือกพันอีกครั้งเพื่อความแข็งแรง ใช้เวลาค้ำยัน 2 – 3 ปี การค้ำยันแบบกระโจม ต้องใช้ พื้นที่กว้างเหมาะกับไม้ต้นที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 8 – 12 นิ้ว ใช้ไม้ค้ำยาว […]
การจัดภูมิทัศน์รอบตัวบ้านให้เกิดความร่มรื่น น่าอยู่ นอกจากปลูกไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ไม้คลุมดินแล้ว ไม้ใหญ่ก็เป็นพรรณไม้ที่สำคัญเช่นกัน เพราะให้ร่มเงา สร้างความร่มรื่น และบดบังส่วนที่ไม่น่าดูของสิ่งปลูกสร้างได้ดี ไม้ใหญ่ที่นิยมปลูกประดับบริเวณบ้าน ในทางพฤกษศาสตร์ หมายถึง ไม้ต้น ซึ่งเป็นพืชที่มีเนื้อไม้ทั้งอ่อนหรือแข็ง อายุหลายปี มีลำต้นเดี่ยวๆ เติบโตตั้งตรง ไม่ต้องพาดพิงต้นไม้หรือวัสดุอื่น แตกกิ่งก้านสูงจากพื้นดินค่อนข้างมาก ทำให้เห็นลำต้น (Trunk) ชัดเจน โดยทั่วไปนิยมปลูกเพื่อโชว์ความสวยงามของลำต้น เปลือกต้น เรือนยอด ทรงพุ่ม ใบ รูปร่างและสีสันของช่อดอก ดอก ผล หรือหลายอย่างประกอบกัน การเลือกไม้ใหญ่ไปปลูก เรามักพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการใช้งานประกอบกับปัจจัยอื่นๆ อาทิ * สภาพพื้นที่ปลูกเลี้ยง * อัตราการเจริญเติบโต * การผลัดใบ * รูปทรงตามธรรมชาติ * ความสูงของต้นเมื่อโตเต็มที่ * ความกว้างของเรือนยอด เพื่อใช้กำหนดระยะปลูกและความหนาแน่นของจำนวนต้นที่ใช้ปลูก ปลูกไม้ใหญ่ให้ร่มเงา ช่วยบดบังแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ สร้างความชุ่มชื้นให้บริเวณบ้าน ควรเลือกพรรณไม้ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบในช่วงสั้น ๆ มีพุ่มใบทึบ มีเรือนยอดแผ่กว้าง เช่น […]
ทำความรู้จักกับเรือนร่างอันสวยงาม แตกต่าง และหลากหลายของกล้วยไม้กัน ราก เป็นเนื้อเยื่อพิเศษ สีขาว ลักษณะคล้ายฟองน้ำเรียกว่า วีลาเมน (velamen) ที่ห่อหุ้มรากจริงเอาไว้ มีหน้าที่กักเก็บความชื้นป้องกันแสงแดดให้รากที่แท้จริงที่อยู่ภายใน ส่วนปลายรากมีสีเขียว สามารถสังเคราะห์แสงได้ ลำต้น มีหลายลักษณะ ทั้งแบบลำต้นตั้งขึ้น เป็นลำ อวบน้ำ เติบโตตามแนวดิ่ง ตั้งขึ้นหรือห้อยลง มีลำเป็นทรงกระบอกแคบยาวหรือรูปทรงกลมแป้น คล้ายผลกล้วย จึงเรียกว่า ลำลูกกล้วย (pseudobulb) บางสกุลมีลำต้นขนาดเล็กทอดเลื้อยไปกับผิวดินหรือลำต้นของไม้ใหญ่ แตกรากสั้นเป็นกระจุกตามข้อเรียกว่า เหง้า (rhizome) เช่น สกุลสิงโตกลอกตา (Bulbophyllum) นอกจากนี้กล้วยไม้บางชนิดมีลำต้นเป็นหัวทำหน้าที่เก็บน้ำและสะสมอาหารใต้ดิน สามารถแตกกอได้ หรือบางชนิดก็ไม่มีลำต้นเลย เช่น กล้วยไม้รองเท้านารี ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจะ ช่อแยกแขนง หรือช่อกระจุกแน่น ออกจากหัวหรือตามข้อตรงข้ามกับใบ หรือออกจากโคนลำลูกกล้วย เป็นดอกสมบูรณ์เพศมี 6 กลีบ แบ่งเป็น ชั้นนอก คือ กลีบเลี้ยง(sepal) หรือกลีบชั้นนอก อยู่ด้านบน 1 กลีบ ด้านล่าง […]
กล้วยไม้ เป็นดอกไม้ที่ใครเห็นใครก็รัก เพราะเป็นไม้ประดับที่มีรูปแบบหลากหลายและแตกต่างกันมากมาย ปัจจุบันพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลกมากกว่า 796 สกุล 19,000 ชนิด และในจำนวนนี้มีถิ่นกำเนิดในเมืองไทยถึง 168 สกุล มากกว่า 1,170 ชนิด มีทั้งที่เจริญเติบโตอยู่บนดิน (terrestrial) อาศัยอยู่บนพืชอื่น (epiphytic) หรือเจริญอยู่ตามซากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (saprophyte) ส่วนใหญ่พบในประเทศเขตร้อน โดยประเทศไทยจัดเป็นแหล่งที่มีกล้วยไม้ป่ามากแห่งหนึ่งในโลก ในทางพฤกษศาสตร์ จัดกล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และจำแนกออกเป็นสกุลต่างๆ มากมาย ซึ่งในที่นี้ขอกล่าวเพียงบางส่วน อาทิ * สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) พบกระจายพันธุ์อยู่ตามทิวเขาที่มีระดับความสูงไม่มากนัก และตามป่าผลัดใบ ส่วนใหญ่เติบโตอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหิน บางชนิดก็เกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ * สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ ค้นพบแล้วประมาณ 1,000 ชนิด จำแนกเป็นหมวดหมู่ย่อยมากกว่า 20 หมู่ เป็นสกุลที่นิยมพัฒนาพันธ์ุเพื่อการค้า * สกุลคัทลียาและสกุลใกล้เคียง (Cattleya & allied genera) ประกอบด้วยสกุลย่อย […]
เฟิน เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกประดับสวน โดยเฉพาะบริเวณที่ร่มรำไร ให้บรรยากาศของสวนสไตล์เมืองร้อนที่ดูชุ่มเย็น เฟินที่ใช้เป็นไม้ประดับมีหลายชนิด หลายพันธุ์ ส่วนใหญ่ปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย โตเร็ว ขอเพียงเข้าใจลักษณะนิสัยของเฟิน และดูแลอย่างถูกวิธี วัสดุปลูก อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า เฟินที่นิยมใช้เป็นไม้ประดับมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่เป็นเฟินดิน เฟินหิน เฟินอิงอาศัย เฟินน้ำ ฯลฯ ซึ่งแต่ละชนิดก็ใช้วัสดุปลูกที่แตกต่างกัน ตามลักษณะการอยู่อาศัยในธรรมชาติ เฟินดิน คือเฟินที่เจริญเติบโตอยู่บนพื้นป่าที่ชุ่มชื้น มีซากใบไม้ผุทับถมกัน เช่น เฟินก้านดำ เฟินนาคราช เฟินกีบแรด เป็นเฟินที่ใช้ “ดิน” เป็นวัสดุปลูก แต่จะผสมทรายหยาบ ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ ฯลฯ เพื่อให้เนื้อดินโปร่ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี ตามแบบที่เฟินแต่ละพันธุ์ต้องการ Tips สูตรดินปลูกเฟิน โดย รศ.มล.จารุพันธุ์ ทองแถม ดินตะกอนหรือดินร่วน 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ 4 ส่วน […]
เฟิน จัดเป็นพืชชั้นต่ำหรือพืชไร้ดอก ที่มีวิวัฒนาการมานานกว่า 400 ล้านปี เฟินช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นโลก ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พืชมีดอกและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในเวลาต่อมา จึงกล่าวได้ว่า เฟินเป็นต้นกำเนิดของไม้ประดับในปัจจุบัน ในป่าธรรมชาติทั่วโลก มีพืชพวกเฟินและใกล้เคียงเฟิน 12,000 ชนิด 230-250 สกุล โดยกลุ่มที่เป็นเฟินแท้มีมากที่สุดคือ 10,400 ชนิด สำหรับในบ้านเราพบเฟินแท้ในธรรมชาติ 671 ชนิด 139 สกุล 35 วงศ์ (จากการสำรวจของ รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด ที่รายงานไว้ในหนังสือ Pteridophytes in Thailand เมื่อปีค.ศ. 2000) ความโดดเด่นที่แตกต่าง เฟินเป็นไม้ประดับที่แตกต่างจากไม้ประดับอื่นๆ อันได้แก่ ราก เฟินมีรากฝอยที่เจริญอยู่ตามผิวดิน ซอกผาหินหรือต้นไม้ใหม่ ดูดซับธาตุอาหารได้ดี และยึดเกาะกับพื้นดินได้อย่างมั่นคง ลำต้น เฟินมีลักษณะลำต้นหลายแบบ ทั้งแบบลำต้นสูงใหญ่ เช่น ทรีเฟินหรือหัสดำ บางชนิดมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น เฟินกีบแรด บางชนิดลำต้นเป็นเหง้าทอดเลื้อยไปตามผิวดิน […]