Siamese Fighting Fish ปลากัด : นักสู้แห่งแดนสยาม

ปลากัด หรือ เบ็ตต้า (Betta) หรือรู้จักกันในชื่อ Siamese Fighting Fish  เป็นปลาสีสันสวยงามที่เรามักเห็นว่ายอย่างโดดเดี่ยวในขวดซึ่งครั้งหนึ่งเคยใส่เหล้าหรือแจกันที่ตั้งไว้ในบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ปลากัดเป็น สัตว์น้ำประจำชาติไทย  ความเป็นมา: ปลากัดพบครั้งแรกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาศัยอยู่ตามท้องไร่ท้องนา หรือแอ่งน้ำในเขตที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ปลากัดจึงคุ้นเคยกับสภาวะน้ำท่วมและความแห้งแล้งที่รุนแรงได้ จากวงจรความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเช่นนี้ทำให้ปลากัดปรับตัวและกลายเป็น labyrinth fish คือมีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้ ใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป สิ่งนี้จึงทำให้ปลากัดและปลาอีกหลายชนิดมีชีวิตอยู่ได้ในเวลามีน้ำน้อย นี่เป็นการอธิบายว่า ทำไมปลากัดจึงอยู่นิ่งๆ ในเวลาที่ขาดน้ำ ทั้งยังทนอยู่ในพื้นที่เล็กๆ และบริเวณที่มีน้ำไม่สะอาดได้ดี การเลี้ยงปลากัดจึงใช้น้ำน้อยมากเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น และชอบอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 28-30  องศาเซลเซียส ชื่อ: ปลากัดหรือเบ็ตต้าได้ชื่อมาจากนักรบเอเชียโบราณ “เบ็ตตาช” (Bettah) ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะการต่อสู้อันดุเดือดของมัน ปลากัดเป็นที่นิยมมาก จากข้อมูลในช่วงศตวรรษที่ 18  พบว่าการกัดปลาเป็นกีฬาที่มีชื่อเสียงของไทย ในอดีตพระมหากษัตริย์สยามจัดตั้งบ่อนกัดปลา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเก็บภาษี นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่บันทึกถึงการนำปลากัดไทยไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2414  เพาะพันธุ์สำเร็จที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 และนำไปในเยอรมันนีครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2439 และเข้าสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2453 สายพันธุ์ปลากัด 1 […]

โยโกะ ไซโตะ ควิลเตอร์ในดวงใจ

สำหรับคนที่รักงานแพตช์เวิร์คควิลต์ ฉันว่าหลายคนคงมีไอดอลชื่อ “โยโกะ ไซโตะ” และหลายคนก็คงเคยพบปะและร่วมเวิร์คชอปของเธอมาแล้วทั้งในเมืองไทยและญี่ปุ่น ฉันรู้จักชื่อของโยโกะ ไซโตะจากหนังสือที่เธอเขียนหลายเล่มที่บ้านพี่ท่านหนึ่ง แม้งานของเธอจะมีสีสันที่ดูเคร่งขรึม แต่ก็มีสิ่งที่น่าดึงดูดใจไม่น้อย อย่าง ชิ้นงานกระเป๋าก็จะมีรูปทรงเก๋ น่าใช้ ลวดลายน่ารัก ถ้าเป็นพวกผ้าโชว์ชิ้นใหญ่ๆ ก็ดูตระการตา เห็นแล้วต้องร้อง “ว้าว” ทุกทีไป เทคนิคการทำงานที่เธอนำเสนอก็หลากหลายและทำง่าย แต่ควรตั้งใจทำนิดนึง (ฮา) และนี่ก็น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่เลือกหนังสือของเธอมาจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยค่ะ โยโกะ ไซโตะ เป็นหนึ่งในห้าควิลเตอร์คนสำคัญของญี่ปุ่น ซึ่งทั้งห้าคนล้วนเป็นศิษย์เอกของ Chuck Nohara ควิลเตอร์ในตำนานที่โด่งดังมากในราวๆ ยุค 1970 เพราะเธอเป็นคนแรกที่นำงานควิลต์มาสอนในญี่ปุ่น และปลุกปั้นจนญี่ปุ่นเป็นศูนย์กลางงานควิลต์ของโลกในปัจจุบัน  ขอเม้าท์นิดนึง ฉันเคยพบ Chuck Nohara ที่ญี่ปุ่นเมื่อสองปีที่แล้ว ขณะอายุ 70 ปีกว่าๆ ยังแข็งแรงกระฉับกระเฉง พูดคุยสนุกสนาน เธอเล่าว่า เคยเดินทางมาเมืองไทย พักที่โอเรียนเต็ล ชอบและอยากมาเที่ยวอีก เธอยังเล่าต่อว่า สะสมชิ้นงานควิลต์มากมาย แทบจะเรียกได้ว่า มากที่สุดในญี่ปุ่น…และอยากนำผลงานเหล่านั้นออกมาเผยแพร่ให้คนที่สนใจได้ชื่นชม  เธอเลยถามฉันว่า สนใจจะช่วยพิมพ์ให้ไหม (ฮา) นอกเรื่องมาเยอะ ทีนี้มาดูประวัติของคุณโยโกะเท่าที่รวบรวมมาได้นะคะ […]

ส่งต่อเมล็ดพันธุ์ดอกไม้

ในวันที่ท้องฟ้าโปร่งมีลมหนาวโชยมากระทบผิวกายเบาๆ ทีมงานมีนัดถ่ายภาพเพื่อใช้ประกอบลงในหนังสือ ‘เล่นกับดอกไม้ใบหญ้า ‘ที่เขียนโดยครูปิ๋ม (คุณศิริลักษณ์ ริ้วบำรุง) แห่งบ้านลิตเติ้ลทรี ในชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษ คุณครูโอลิเวียคนสวย ได้พาเด็กๆ ไปเก็บเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ ทั้ง ดาวกระจาย บานชื่น ที่กำลังอวดช่อสวยท้าทายแสงแดดกล้า คุณครูบอกเด็กๆ ให้เลือกเก็บดอกที่เริ่มโรยมาใส่ไว้ในตระกร้า เมื่อได้จำนวนที่มากพอแล้ว ก็นำไปผึ่งแดดให้แห้ง จากนั้นชวนเด็กๆ มาทำซองใส่เมล็ดพันธุ์สำหรับแลกเปลี่ยนกันในชุมชนเล็กๆ ของพวกเขา การแลกเปลี่ยน นอกจากช่วยให้เมล็ดพันธุ์เหล่านี้คงอยู่แล้ว เด็กๆ ยังได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ บนหน้าซองที่พวกเขาเขียนขึ้นเอง พร้อมรู้จักดอกใม้แต่ละชนิดอีกด้วย “เราแบ่งเมล็ดพันธุ์ให้เพื่อน เพื่อนแบ่งเมล็ดพันธุ์ให้เรา เราจึงมีเมล็ดพันธุ์มากมาย” แล้วไม้ดอกน้อยๆ เหล่านี้ก็จะไม่สูญหายไปไหน ทั้งยังคงเบ่งบานที่บ้านฉัน บ้านเธอ อวดโฉมให้เห็นข้างทาง ตรงโน้น ตรงนี้อยู่เนืองๆ…ติดตามเรื่องราวดีๆเหล่านี้ได้ในหนังสือ’เล่นกับดอกไม้ใบหญ้า’ ของสำนักพิมพ์บ้านและสวน ไม่นานเกินรอค่ะ                                                                                     “ทิพาพรรณ”

ข้อคิดดีๆ ในการทำห้องครัว

† Kitchen กับ pantry นั้นต่างกัน เลือกให้เหมาะกับการใช้งานและขนาดพื้นที่ สไตล์การตกแต่งเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่การใช้งานต้องครบตามต้องการ เตา-ซิงค์-ตู้เย็น สามสิ่งสำคัญในห้องครัว จัดวางให้เชื่อมโยงกัน เพื่อให้งานครัวลื่นไหล พื้นในครัว ใช้วัสดุได้หลากหลายตามสไตล์การตกแต่ง เวลาเลือกให้คิดเสมอว่าต้องทำความสะอาดง่าย ผนังก็เช่นเดียวกัน ใช้วัสดุอะไรก็ได้ แต่บริเวณเตาควรใช้วัสดุที่ทนความร้อนได้ดี ครัวที่ใช้งานหนักหรือครัวไทย ควรแยกจากตัวบ้านหรือทำห้องให้มิดชิด มีช่องลมเพื่อช่วยระบายกลิ่นและไอน้ำมัน ตู้เก็บของก็สำคัญ ควรจัดไว้ให้เพียงพอ อาจเป็นตู้บิลท์อินตั้งพื้นหรือแขวนผนัง ขึ้นอยู่กับพื้นที่และการออกแบบ อ่างล้างจานมีหลายแบบ เลือกให้เหมาะกับพื้นที่และการใช้งาน ถ้าทำตู้ใต้ซิงค์ บานตู้ควรมีช่องระบายความชื้น  ตู้เก็บของตั้งพื้นส่วนใหญ่ค่อนข้างลึก หากเป็นไปได้ควรทำชั้นวางที่ดึงเข้าออกได้ เพื่อให้หยิบของได้ง่าย †ถังขยะควรมีที่ปิดมิดชิดและแยกประเภทขยะ เพื่อสุขอนามัยและป้องกันหนูหรือแมลงรบกวน เครื่องใช้ในครัวเป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกให้เหมาะกับการใช้สอย ถ้าไม่ชอบทำอาหารและเบเกอรีหรืออยู่ในคอนโดฯ มีแค่เตาไมโครเวฟก็พอแล้ว †ตู้เย็นเป็นของสำคัญ ใช้เก็บของสดหรือของเสียง่าย เลือกขนาดให้เหมาะสม ถ้าชอบกินไอศกรีมแนะนำตู้เย็นแบบที่มีช่องฟรีซแยกต่างหาก เตาหุงต้มก็เป็นสิ่งจำเป็น จะใช้แก๊สหรือไฟฟ้าก็ได้ ถ้าใช้งานเล็กน้อยๆ หรืออยู่คอนโดแนะนำว่า เตาไฟฟ้า ดีที่สุด งานระบบในครัว ประกอบด้วย ระบบน้ำดี-น้ำเสีย ระบบไฟฟ้าทั้งที่ใช้กับเครื่องใช้ต่างๆ และแสงสว่าง ระบบระบายอากาศ เพื่อกำจัดกลิ่นควันและไอน้ำมัน […]

ทำความรู้จักกุหลาบอังกฤษกัน

กุหลาบอังกฤษเป็นกุหลาบที่ผสมพันธุ์ขึ้นใหม่โดยเดวิด ออสติน เมื่อปีค.ศ.1961 มีจุดเด่นตรงที่รวมลักษณะของกุหลาบสมัยเก่าซึ่งหอมรัญจวนใจกับการปลูกเลี้ยงง่ายแบบกุหลาบสมัยใหม่ไว้ด้วยกัน จึงเป็นผลให้กุหลาบชนิดนี้มัดใจคนชอบปลูกกุหลาบทั่วโลก กุหลาบอังกฤษมีหลายพันธุ์ มีขนาดทรงพุ่มหลายแบบ ตั้งแต่พุ่มใหญ่หรือกอสูง อย่าง เกรแฮม ทอมัส (Graham Thomas) ไปจนถึงต้นเล็กๆ บอบบาง อย่าง แอมบริดจ์โรส (Ambridge Rose) แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกอใหญ่ กิ่งก้านมาก จึงเหมาะปลูกลงดิน ในการปลูกก็จะต้องทำกรงหรือโครงรั้วรูปวงกลม สี่เหลี่ยมหรือหกเหลี่ยมล้อมไว้ เพื่อพยุงและผูกมัดกิ่งที่ทอดตัวคล้ายกุหลาบเลื้อยให้แตกยอดและออกดอกไปตามความยาวกิ่ง และควรปลูกห่างกันต้นละ 1 เมตร แต่ถ้ามีพื้นที่มากอาจปลูกรวมเป็นกลุ่มๆ ละ 3 หรือ 5 ต้น แต่ละต้นห่างกัน 50-60 เซนติเมตร เพื่อให้เป็นกอใหญ่ เวลาออกดอกจะได้ดูสะพรั่ง สำหรับคนรักกุหลาบที่มีพื้นที่น้อย ขอแนะนำก็ให้เลือกพันธุ์ที่มีพุ่มเล็กและไม่สูงเกินไป เช่น แอมบริดจ์โรส (Ambridge Rose), Country Living, Fair Bianca, Emily, Mistress Quickly, Molineux, Noble Antony, […]

แพตเทิร์นตัดเสื้อใช้ง่ายจริงๆ นะ

ฉันมีเพื่อนหลายคนที่อยากตัดเสื้อผ้าใส่เอง และก็มักจะได้ยินเสียงบ่นอยู่บ่อยๆ ว่า ขี้เกียจสร้างแพตเทิร์น สร้างแพตเทิร์นไม่เป็น พอแนะนำให้ลองซื้อแพตเทิร์นสำเร็จก็มีข้อแม้อีกว่า มันไม่ค่อยพอดีตัวเท่าไร การใช้แพตเทิร์นสำเร็จก็เหมือนการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จ ซึ่งมีขนาดมาตรฐานที่ผ่านการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างมาแล้วมากมายก่อนจะกำหนดสัดส่วนเป็นมาตรฐาน ฉะนั้นถ้าคุณวัดสัดส่วนของตัวเองได้ถูกต้อง และเลือกขนาดแพตเทิร์นที่เหมาะสม การใช้แพตเทิร์นสำเร็จรูปก็ไม่ใช่เรื่องยาก แพตเทิร์นสำเร็จรูปที่แนบมาพร้อมกับหนังสือตัดเย็บเสื้อผ้าส่วนใหญ่ จะเป็นแผ่นใหญ่ๆ มีเส้นสายซ้อนกันดูยุ่งเหยิง ทำให้หลายคนมีปัญหาเรื่องการลอกแพตเทิร์นออกมาใช้ ปัญหานี้แก้ไม่ยากค่ะ เพียงแค่ใช้ปากกาเน้นข้อความที่มีสีสันสดๆ ขีดไปบนเส้นแพตเทิร์นที่ต้องการใช้ก่อนทาบกระดาษลอกลายทับลงไป แล้วถ้าคุณอยากจะตัดให้เพื่อนๆ ที่ใช้แพตเทิร์นอีกขนาดหนึ่ง ก็ใช้ปากกาที่มีสีต่างจากเดิมขีดลงไปบนแพตเทิร์น เท่านี้คุณก็จะได้แพตเทิร์นที่พร้อมใช้งาน อย่าลืมเตรียมโต๊ะทำงานกว้างๆ ที่ทับกระดาษหลายๆ อัน กระดาษลอกลายให้เลือกแบบเนื้อบาง หาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์ตัดเย็บหรือในร้านเครื่องเขียน เพิ่มไม้บรรทัดยาวๆ อีกสักอัน เอาไว้ขีดเส้นแพตเทิร์น ที่สำคัญและลืมไม่ได้เลยก็คือ ทำระยะเผื่อเย็บหรือตะเข็บ ( 1 ซม.) ไว้บนแพตเทิร์นด้วยนะคะ ขอให้สนุกกับการตัดเย็บนะคะ sewingmania

อยากรู้จักเธอมั้ย ”โรสแมรี่”

มาทำความรู้จักกับพรรณไม้ชื่อเก๋ โรสแมรี่ ไม้พุ่มเตี้ยทรงสวย เหมาะนำมาใช้จัดสวน โดยเฉพาะสวนอังกฤษ อีกทั้งยังนำมาใช้ประกอบอาหารและสกัดน้ำมันหอมระเหยได้อีก

Let’s share – Japan #1

บันทึกเรื่องราวสร้างแรงผลักดันที่ทำให้ค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนการดำเนินชีวิตบางอย่างของตัวเองจากการไปเที่ยวญี่ปุ่น

ไปเที่ยว “บ้านมะกอก” กันมั้ย

อากาศช่วงนี้ น่าไปเที่ยวทะเล และบ้านริมทะเลแห่งแรกที่เรานึกถึงในเวลาอย่างนี้ ก็คือ บ้านมะกอก บ้านไม้แบบชาวประมงริมคลองยายกี๋ เกาะกูด จังหวัดตราด

ชงชาดื่มเอง

ใครมีหนังสือ บ้าน บ้าน ฉบับที่ ๔ อยู่ในมือและได้เปิดอ่านแล้ว คงจำผู้ชายคนนี้ได้ แต่สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่าน เขาคือคุณมิเนะ ชายชาวญี่ปุ่นที่หลงใหลวัฒนธรรมอินเดียและเนปาล เราพบเขา ณ หมู่บ้านจันทรา ที่ปาย ภาพที่เขากำลังเป่าลมเพื่อให้เตาถ่านคุกรุ่นระหว่างการต้ม Masala Chai (ชานมใส่เครื่องเทศแบบอินเดีย)นี้ คือหนึ่งในภาพสุดประทับใจของพวกเราทีมงาน แสงแดดยามเช้า อากาศหนาว ชาอุ่นๆ และชีวิตที่เรียบง่ายแสนสมถะ ภาพแบบนี้เราคงไม่ได้พบเห็นบ่อยๆ เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เขียนลองกลับมาทำ Masala Chai ดื่มเองบ้าง มีสูตรมาฝากกันด้วย ผงเครื่องเทศ ประกอบไปด้วย 1.ลูกกระวาน 5 ลูก 2.อบเชย 2 แท่ง 3.กานพลู 6 ชิ้น 4.เม็ดพริกไทยดำ 1 ช้อนชา วิธีทำ 1.นำเครื่องเทศทั้งหมดไปคั่วในกระทะ จนได้กลิ่นหอม แล้วนำไปตำให้ละเอียด หรือบดด้วยเครื่องบดกาแฟ 2.ต้มนมสดให้ร้อน ใส่ใบชา (Black Tea) จนเดือด 3.ใส่ขิงขูดสด ตามด้วยผงเครื่องเทศ […]