room
Terra Cotta Workshop อาคารเรขาคณิต บอกเล่ากระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา
กำแพงอิฐสีส้มทรงเรขาคณิตยืดสูง เชื่อมต่อและล้อมรอบอาคารเวิร์กชอปเครื่องปั้นดินเผาไว้ภายใน โดยได้รับการตั้งชื่อตามวัสดุ และฟังก์ชันการใช้งานว่า “Terra Cotta Workshop” อาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัด Quang Nam เมืองชายฝั่งตอนกลางซึ่งอยู่ทางใต้ของเวียดนาม เป็นผลงานการออกแบบของ Tropical Space สตูดิโอออกแบบที่โดดเด่นด้านการใช้วัสดุแสนเรียบง่ายอย่างอิฐมาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรม ที่ส่งเสริมให้ผู้คนเกิดความตระหนักต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ภายใต้สถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ตัวอาคารมีพื้นที่ใช้สอย 682 ตารางเมตร เป็นส่วนขยายของอาคารเก่าอันเป็นพื้นที่ทำงานของศิลปินเจ้าของโครงการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ข้างเคียงกัน สำหรับอาคารเวิร์กชอปแห่งนี้มีการแบ่งสเปซหลักของอาคารเป็น 3 ส่วน ได้แก่ โซนสังเกตการณ์และเวิร์กชอปของผู้เข้าชม โดยจัดให้อยู่พื้นที่รอบนอกตามกำแพงอิฐ สามารถเข้าถึงจากอาคารเก่าได้ด้วยทางเดินเอ๊าต์ดอร์ โดยจะเห็นโซนทำงานของช่างฝีมือซึ่งใกล้กับริมฝั่งแม่น้ำ พื้นที่ทั้งสองส่วนนี้ได้โอบล้อมเตาเผาเก่าตรงกลางซึ่งมีอายุร่วมสองทศวรรษ อันเป็นหัวใจของอาคารโอเวิร์กชอปเครื่องปั้นดินเผาแห่งนี้ จุดเด่นของอาคาร คือพื้นที่ช่องกำแพงสำหรับผู้เข้าชมโดยรอบให้สามารถมองเห็นกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาอย่างใกล้ชิด เริ่มจากพื้นทางเดินที่ปกคลุมด้วยเศษภาชนะดินเผา สื่อถึงประสบการณ์ก้าวแรกของการมาสู่อาคารเวิร์กชอป ก่อนเปลี่ยนผ่านไปยังกระบวนการขึ้นรูปจนสำเร็จออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ โดยออกแบบช่องกำแพงนี้ให้อยู่ในระดับสายตาช่วยให้มองเห็นขั้นตอนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้ชัดเจน จวบจนสำเร็จออกมาเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์แบบ พร้อมนำไปจัดวางบนชั้นโชว์ดูสวยงาม ผนังอิฐดินเผารูปทรงสี่เหลี่ยมและทรงกลม ได้ออกแบบให้ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อและกำหนดสัดส่วนสเปซของอาคารเวิร์กชอป โดยช่องว่างนี้นอกจากจะฉายภาพกิจกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาให้เห็นแล้ว ยังทำหน้าที่นำแสงให้ตกกระทบลงบนอิฐเปลือยผิว ทั้งยังเปิดรับอากาศให้เข้ามาภายใน ที่สำคัญคือล้อมรอบเตาเผาเก่าที่อยู่ใจกลางอาคารเพื่อเปิดทุกขั้นตอนของกระบวนการเผาให้ผู้เข้าชมได้สัมผัส ทั้งนี้สเปซทั้งหมดได้รับการออกแบบและจัดวางองค์ประกอบเพื่อลำดับกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ตั้งแต่ต้นจนจบออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ โดยไม่หลงลืมที่จะผสานให้อาคารเวิร์กชอปเป็นส่วนหนึ่งกับสิ่งแวดล้อมภายนอก จากช่องเปิดและวัสดุจากธรรมชาติที่เป็นองค์ประกอบในการก่อสร้างอย่าง “ดิน” ซึ่งสัมพันธ์กับความตั้งใจในการสร้างงานสถาปัตยกรรมของ Tropical Space อย่างถ่องแท้ จากการผลิตเครื่องปั้นดินเผาอันเป็นภูมิปัญญาเก่าแก่ได้รับการสื่อสารและเล่าใหม่โดยนักออกแบบผู้หลงใหลในวัสดุจากธรรมชาติอย่าง […]
พลิกข้อจำกัดเมืองอย่างสร้างสรรค์ สู่การออกแบบชุมชน พัฒนาเมือง ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน
พาสำรวจแนวคิดการออกแบบที่ตอบสนองข้อจำกัดเมือง และการอยู่อาศัยของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากเวที room x Living ASEAN Design Talk 2024 – (Re)Thinking Inside the Box: Vol. 2 Better Design, Better Community from an ASEAN Perspective ขมวดประเด็นเรื่องเมืองจาก 3 กลุ่มวิทยากรนักออกแบบ ที่นำเสนอแนวทางการออกแบบและ พัฒนาเมือง อย่างสร้างสรรค์ จากการสำรวจข้อจำกัดต่างๆ ในเมืองใหญ่แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สู่แรงบันดาลใจการสร้างงานออกแบบซึ่งสานปฏิสัมพันธ์ของผู้คนและชุมชนเมือง และเติมเต็มช่องว่างของการ พัฒนาเมือง ให้สมบูรณ์ขึ้น เวที room x Living ASEAN Design Talk 2024 หัวข้อเสวนาเรื่อง (Re)Thinking Inside the Box: Vol. 2 Better Design, Better […]
พบ 5 พื้นที่หลัก ชวนมุ่งสู่วิถีแห่งความยั่งยืนในงาน Sustainability Expo 2024
ปักหมุด 5 โซนเด็ด ๆ ชวนชอป ชวนคิด ชวนกิน และชวนเปลี่ยนโลกให้ยั่งยืน ในงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน – 6 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ (QSNCC) 5 โซนนิทรรศการชั้น G เป็นโซนหัวใจของงาน SX2024 ก็ว่าได้ โดยแบ่งนิทรรศการออกเป็น 5 โซนด้วยกัน ได้แก่ โซน SEP Inspiration นิทรรศการถ่ายทอดประสบการณ์ Immersive Experience จากองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนในไทย พาท่องโลกสะท้อนปัญหาที่เกิดจากพัฒนาแบบก้าวกระโดดจากมนุษย์ ประกอบด้วย 3 โซนนิทรรศการ แก่ REFLECTION OF IMPACT – ภาพสะท้อนที่สร้างความรู้สึกว่าคุณกำลังเดินทางเข้าสู่ของโลกที่ไร้สมดุลและกำลังจะแตกสลาย POINT OF NO RETURN – […]
‘เวอร์เทียร์’ ร่วมกับ ‘ทาราส ยูม’ เนรมิตคอลเลกชัน ‘Yoomoota’ จักรวาลแห่งศิลปะที่สะท้อนถึงโลกแห่งจินตนาการ
‘เวอร์เทียร์’ แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ชั้นนำของไทย ร่วมกับศิลปินรางวัลระดับชาติ ‘ทาราส ยูม’ เนรมิตคอลเลกชัน ‘Yoomoota’ จักรวาลแห่งศิลปะที่สะท้อนถึงโลกแห่งจินตนาการ และสิ่งมีชีวิตอันน่าอัศจรรย์ โดยผลงานนั้นถูกจัดแสดงที่งาน Maison&Objet ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 5 ถึง 9 กันยายนที่ผ่านมา อาณาจักรศิลปะ ‘Yoomoota’ เป็นโปรเจคระดับนานาชาติที่นำโดยศิลปิน ทาราส ยูม ซึ่งเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวร่างกายและจิตใจของเรา รวมถึงทุกสิ่งที่อยู่บนโลกแห่งนี้ ออกมาในรูปแบบของศิลปะแนวใหม่ ที่ผสมผสานเส้นสายของร่างกายมนุษย์ เข้ากับสไตล์แอนิเมชันและศิลปะเซอร์เรียลลิสม์ รวมถึงฝีไม้ลายมือของคนไทยจากเวอร์เทียร์ ที่ถูกสะท้อนผ่านการผลิตชิ้นงานที่พิเศษถึง 2 ชิ้นด้วยกัน เริ่มด้วยโต๊ะ ‘Don’t Play with Food’ ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาร่วมกับเวอร์เทียร์ ผู้เชี่ยวชาญในการผลิตและออกแบบเฟอร์นิเจอร์ให้ตรงกับไลฟสไตล์ของผู้ครอบครอง และด้วยความโดดเด่นในด้าน Custom-made การผลิตชิ้นงานตามดีไซน์ที่สะดุดตาของศิลปินอย่างทาราสนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เกินความสามารถของเวอร์เทียร์ ซึ่งโต๊ะตัวนี้ได้ถอดแบบมาจากของเล่นเด็กอย่างชุดบล็อกที่มีหลากหลายสีสัน เพื่อเป็นการให้ความสำคัญกับการค้นหาสิ่งต่างๆบนโลกไม่ว่าจะเกิดขึ้นในวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ก็ตาม พร้อมกับแนวคิดที่อยากให้ทุกคนเข้าใจและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเช่นกัน ตามมาด้วย ‘Dif Lamp’ ซึ่งเวอร์เทียร์เป็นผู้เสกส่วนสำคัญอย่าง ‘ฐาน’ ของโคมไฟด้วยวัสดุที่มีคุณภาพสูง เสริมสร้างความมั่นคง และใช้งานได้จริง นอกจากนี้ […]
นับถอยหลังสู่มหกรรมแห่งความยั่งยืน SX2024 พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก
นับถอยหลัง อีกเพียงไม่ถึง 10 วัน สู่มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ร่วมหาคำตอบ เพื่อพลิกวิกฤติโลกเดือด ไปด้วยกัน ในงาน SX2024 งาน SX2024 หรือ Sustainability Expo 2024 คือ งานนิทรรศการเกี่ยวกับความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) โดยในปีนี้เป็นการเดินทางเข้าสู่ปีที่ 5 ของการจัดงาน จากการผสานความร่วมมือจากทั้งองค์กรธุรกิจชั้นนำ ภาครัฐ และเอกชน สู่มหกรรมที่จัดแสดงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ที่จะสร้างแรงบันดาลใจ และชวนทุกคนมาร่วมกัน “ลงมือทำ” เพื่อพลิกวิกฤติโลกเดือด เพราะความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง และไม่ใช่การลงมือทำเพียงเพื่อวันนี้ แต่เพื่อส่งต่อโลกใบนี้ให้กับคนรุ่นต่อไป และช่วงบ่ายวันที่ 12 กันยายน 2567 ได้มีการจัดงานแถลงข่าวถึงการจัดงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) ภายใต้แนวคิดหลักของการจัดงาน “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability) โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมพูดคุยและตอบคำถามจากสื่อมวลชน ได้แก่ คุณต้องใจ […]
KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำแควกลืนกับบริบท เด่นด้วยกำแพงกันดินจากหินกรวด
KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำแคว สะท้อนแรงบันดาลใจบริบทท้องถิ่น จากกำแพงกันดินหินกรวดที่ผสานไปกับรสอาหารในอาคารที่ถ่อมตนต่อบริบทของจังหวัดกาญจนบุรี DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PHTAA Living Design ท่ามกลางบรรยากาศของป่าไม้ที่เรียงรายอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ซึ่งไหลผ่านตัวเมืองกาญจนบุรี จะสังเกตเห็น KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำโครงสร้างสีน้ำตาลที่ได้รับการออกแบบโดย PHTAA living design อันเกิดจากการประกอบขึ้นของเหล็กและไม้จากที่มีในพื้นที่ ชวนต้อนรับแต่ยังซ่อนตัวในบริบทด้วยกรวดสีน้ำตาลซ้อนกันเป็นกำแพงด้านฝั่งริมแม่น้ำ ก่อเกิดภาพลักษณ์อันโดดเด่นแต่ยังอ่อนน้อมต่อสายน้ำที่ไหลผ่านและแมกไม้สีเขียวที่โอบล้อม องค์ประกอบทั้งหมดนั้นเกิดจากการตีความอย่างละเอียดลออโดยสตูดิโอออกแบบที่คอยมองหาและพลิกแพลงวัสดุรอบตัว ให้กลายมาเป็นภาษาการออกแบบอันแปลกใหม่ เช่นเดียวกับร้านอาหารพื้นที่ใช้สอย 800 ตารางเมตร แห่งนี้ ซึ่งก่อร่างจากวัสดุท้องถิ่นและเอกลักษณ์ของบริบทของที่ตั้งโดยการผสานตัวอาคารให้เชื่อมต่อกับแม่น้ำแควใหญ่ที่เป็นเส้นทางผ่านด้านหน้า ทำให้อาคารแห่งนี้สร้างประสบการณ์ใหม่ในการเข้าถึงนอกเหนือจากการเข้าถึงที่ถนนจากอีกฝั่ง ที่ตั้งซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ มีลักษณะพื้นดินเป็นตลิ่งไล่ระดับความสูง 3 เมตร สถาปนิกจึงริเริ่มตั้งโจทย์จากตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งเป็นทั้งความท้าทาย ในอีกแง่ก็เป็นการใช้ประโยชน์จากทิวทัศน์ธรรมชาติเสริมให้อาคารมีความน่าสนใจ อาคารมีแนวคิดป้องกันการกัดเซาะจากแม่น้ำด้วยกำแพงกันดินที่สร้างด้วยวัสดุท้องถิ่นอย่างกรวดแม่น้ำที่หาได้โดยรอบ จากที่แต่เดิมมักเป็นเพียงกำแพงคอนกรีตหนาหนักไม่เป็นหนึ่งเดียวกับสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นทัศนอุจาดริมฝั่งที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง สถาปนิกพลิกแพลงกำแพงกันดินนี้ให้เป็นหนึ่งเดียวกับสถาปัตยกรรม โดยการใช้กรวดให้เกิดเป็นฟังก์ชันที่น่าสนใจจากคุณสมบัติ อันได้แก่ ความคงทน น้ำซึมได้ยาก และมีสีเฉพาะตัวแต่ยังเป็นเนื้อเดียวกันกับบริบท วางซ้อนสร้างความเป็นส่วนตัวและรองรับน้ำหนักของอาคารที่มีโครงสร้างหลักเป็นเหล็กและไม้ ในขณะเดียวกันกำแพงก็ถูกออกแบบให้ยังคงความโปร่งโล่งให้กับภายในร้านอาหารเพื่อความเย็นสบาย โอบกอดให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาจากวัสดุมุงหลังคาแบบโปร่งแสง ทว่ามีแผงระแนงไม้อยู่ใต้หลังคาช่วยกรองปริมาณแสงไม่ให้ภายในร้อนมากเกินไป นอกจากนั้น เพื่อให้อาคารกลืนไปกับผืนป่าโดยรอบจึงออกแบบความสูงของหลังคาให้อยู่ระดับที่พอดี ส่งผลให้มีพื้นที่ระเบียงยื่นออกมาจากแนวหลังคา […]
สร้างบรรยากาศในบ้านด้วย พื้นไม้ SPC วัสดุทดแทนที่ตอบโจทย์ได้ ทุกงานดีไซน์
เมื่อวัสดุอย่างผนัง บันได และพื้น คือผิวสัมผัสที่ผู้ใช้งานมีโอกาสเข้าถึงอยู่ตลอดเวลา พื้นไม้ SPC จึงเข้ามาเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
Horme Cafe Rangsit คาเฟ่ในสวน ล้อมคอร์ต เอ็นจอยกลางพื้นที่สีเขียว
คาเฟ่ที่ออกแบบสวนล้อมคอร์ต ให้ทุกคนได้มาใช้เวลาร่วมกัน ในพื้นที่สีเขียวDESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Supar Studio คาเฟ่ในสวน แห่งใหม่ในรังสิต ออกแบบโดย Supar Studio ดีไซน์อาคาร ให้เป็นเหมือนการปั้นภาชนะดิน ให้เกิดเป็นรูปทรงโค้ง โอบรับพื้นที่ที่ตัวอาคารตั้งอยู่ ให้เส้นสายอาคารโค้งต่อเนื่องกันทั้งภายนอก และภายใน ทำให้ได้ทรงอาคาร ที่กลมกลืนไปกับบริบทรอบข้าง ให้ผู้ที่อยู่อาศัยโดยรอบรู้สึกว่าอาคารหลังนี้เป็นส่วนหนึ่ง ไม่แปลกแยก และเป็นมิตรสำหรับการเข้ามาใช้งาน พื้นที่สวน ออกแบบเป็นเนินหญ้ายกสูง สลับกับพื้นเรียบ เป็นพื้นที่ที่สถาปนิกพัฒนาการออกแบบมาจากร้านในสาขาอื่น ๆ ที่เปิดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งทำเป็นสวนตกแต่ง แล้วมีลูกค้าเข้าไปเดินใช้งานจริง ๆ สำหรับสาขานี้จึงออกแบบให้สวนเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรม ให้ลูกค้าเข้ามาเดินเล่น หรือพาลูก ๆ มาวิ่งเล่นบนเนินหญ้าได้ เป็นสวนที่ใช้งานได้ เป็นเหมือนพื้นที่สีเขียวส่วนกลางสำหรับพื้นที่บริเวณโดยรอบ ซึ่งเป็นที่พักอาศัยแบบคอนโดมิเนียม และยังได้มาดื่มกาแฟ และยังมีร้านอาหารตั้งอยู่ที่อาคารด้านข้าง เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่พักผ่อนครบรูปแบบในพื้นที่เดียว จากภายในร้าน เปิดโปร่งด้วยกระจกใส เมื่อมองออกไป จะเห็นสวนที่อยู่ตรงกลาง สถาปนิกออกแบบสวนให้เป็นพื้นที่เชื่อมต่อ ระหว่างตัวร้าน กับสถานที่ตั้งด้านนอก มีช่องเปิด ที่มองออกไปเห็นอาคารที่พักอาศัย ที่อยู่ด้านนอก และจากอาคารภายนอกมองเข้ามาก็เห็นสวน และร้านคาเฟ่ ทำให้พื้นที่ทั้งหมดกลายเป็นเรื่องเดียวกัน […]
PAKK TAII DESIGN WEEK 2024 เทศกาลออกแบบปักษ์ใต้ ผสานไอเดียใหม่ใส่ย่านเมืองเก่าสงขลา
PAAK TAII DESIGN WEEK 2024 เทศกาลสร้างสรรค์ พื้นที่ปล่อยของสุดครีเอทของคนใต้ ที่ควรค่าแก่การมาชม! ตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงสุดสัปดาห์ (วันนี้ – 25 สิงหาคม 2567) room ขอแนะนำเทศกาลที่สร้างสรรค์ที่สุดในเวลานี้แห่งเมืองปักษ์ใต้ ที่จะมาปลุกเสน่ห์น่ห์ของเมืองเก่าสงขลาให้มีชีวิตชีวาด้วยความครีเอทีฟในงาน PAKK TAII DESIGN WEEK 2024 กับแนวคิด “The South’s Turn ถึงทีใต้ ได้แรงอก” จัดแสดงในหลายเมือง ทั้งย่านตัวเมืองเก่าสงขลา หาดสมิหลา อำเภอหาดใหญ่ อำเภอจะนะ และยังขยายไปยัง อำเภอเมืองฯ จังหวัดปัตตานี เกิดเป็นส่วนผสมอันลงตัวระหว่างของดั้งเดิมกับไอเดียใหม่ ๆ ของทั้งคนในพื้นที่ร่วมกับกลุ่มดีไซเนอร์จากที่ต่าง ๆ จนออกมาเป็นเทศกาลสุดเจ๋ง รวบรวมทั้งนิทรรศการงานออกแบบ ศิลปะจัดวาง กิจกรรมเวิร์กชอป และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะทำให้คุณรู้ว่าของดีแบบชาวใต้เป็นอย่างไร room จึงขอรวบรวมจุดไฮไลต์ สำคัญ ๆ ในพื้นที่จัดแสดงย่านเก่าของเมืองสงขลาที่น่าสนใจมาให้ชม นอกจากจะเป็นงานออกแบบที่สวยน่าชมแล้ว […]
ฉีกกฎ เครื่องทำน้ำอุ่น แบบเดิม สู่มิติใหม่ของการอาบน้ำแบบดิจิทัล กับ CRAVE Series จาก MEX ด้วยดีไซน์สวยงาม เปี่ยมฟังก์ชั่นสำหรับคนรุ่นใหม่ การันตีด้วยรางวัลจากเวทีระดับโลก iF Design Award 2024
MEX CRAVE Series จากแสงสะท้อนของแผ่นกระเบื้องสู่ เครื่องทำน้ำอุ่น ที่มีดีไซน์ ได้คว้ารางวัล iF Design Award 2024 สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ทั้งยังเป็นครั้งแรกของแบรนด์ เครื่องทำน้ำอุ่น จากไทยที่ได้รับรางวัลระดับโลกนี้ ซึ่งไม่เพียงไม่สร้างแรงกระเพื่อมแก่เวทีดีไซน์นานาชาติเท่านั้น เครื่องทำน้ำอุ่น รุ่นล่าสุดจาก MEX ยังได้รับรางวัล DEmark Design Award 2024 การันตีงานดีไซน์ที่ยกระดับให้ เครื่องทำน้ำอุ่นกลายเป็นหนึ่ง Gadget ภายในห้องน้ำได้อย่างลงตัว นี่จึงเป็นครั้งแรกที่เครื่องทำน้ำอุ่นจะกลายมาเป็นหนึ่งใน Gadget ตกแต่งห้องน้ำ ด้วยแนวคิดที่ต้องการนำเสนอให้เครื่องทำน้ำอุ่นมีมากกว่าฟังก์ชั่นการใช้งาน แต่เป็น Recollection Item เปี่ยมเรื่องราว ผู้ออกแบบจึงหยิบยืมภาษาของการตกแต่งกระเบื้องมาใช้และนำแสงสะท้อนของแผ่นกระเบื้องมาเป็นไอเดีย แล้วถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านั้นออกมาเป็นเครื่องทำน้ำอุ่นรุ่น MEX CRAVE Series ที่ไม่เพียงเปี่ยมด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานของ MEX ยังให้บริบทของงานออกแบบที่ส่งเสริมให้ MEX CRAVE Series กลายเป็นหนึ่งในเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเด่นประจำห้องน้ำ การทำงานร่วมกันในครั้งนี้ มาจากความตั้งใจของ MEX […]
Tanatap Wall Garden จิบกาแฟในสวน เป็นส่วนตัวภายใต้วงล้อมกำแพงสีขาว
คาเฟ่อินโดนีเซีย Tanatap Wall Garden ร้านอาหารกึ่งคาเฟ่และบาร์ในสวน พร้อมผนังสีขาวที่สร้างสุนทรียะและเอกลักษณ์ในงานออกแบบ สอดรับจินตภาพทางความงามของจังหวัด Central Java ในอินโดนีเซีย คลื่นของผนังสีขาวที่สร้างพื้นผิวอย่างมีสุนทรียะดังเช่นบทกวี คือเอกลักษณ์ของ คาเฟ่อินโดนีเซีย ในโปรเจ็กต์ Tanatap Wall Garden ซึ่งได้รับการจัดวางตำแหน่งให้เกิดความเคลื่อนไหวอ่อนช้อยและเป็นเอกลักษณ์ คดโค้งไปตามพุ่มไม้สีเขียวทำให้เกิดมิติของธรรมชาติ ทั้งยังทำหน้าที่ช่วยแบ่งพื้นที่โซนคาเฟ่ ร้านอาหาร และบาร์ให้เป็นสัดส่วนได้อย่างแยบยล บนพื้นที่ใช้สอยกว่า 2,500 ตารางเมตร ซึ่งมีต้นไม้สีเขียวปลูกเรียงราย ถูกเสริมด้านฟังก์ชันให้กลายเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่คลุกเคล้าประโยชน์ใช้สอยทั้งคาเฟ่ ร้านอาหาร และบาร์ในแง่ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ สะท้อนมาจากคอนเซ็ปต์ที่ขมวดโดย RAD+ar สถาปนิกผู้รับโจทย์ในโปรเจ็กต์ Tanatap Wall Garden ซึ่งเกิดจากการฟื้นฟูพื้นที่จอดรถเก่าใจกลางย่านพาณิชย์ ปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่หลากหลายประโยชน์ใช้สอยที่กลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติกับภูมิทัศน์ดั้งเดิม โดยการตั้งต้นจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างง่าย คือ ‘ผนัง’ ที่พัฒนามาจากเส้นตรง 3 เส้น นำมาจัดวางให้แยกออกจากกันอยู่กลางสเปซ ย่อขยายให้เกิดความสูง-ต่ำที่ต่างกัน หมุนอย่างมีลูกเล่นไปตามพุ่มไม้เดิมที่แทรกอยู่เป็นหย่อม ๆ จนมีผลต่อการสร้างฟังก์ชันในการปรับแต่งรูปร่างของสเปซและผสมผสานกันกลายเป็นสวนผนังที่เจาะช่องเปิดให้อากาศถ่ายเท นอกจากนั้น สวนผนังยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ให้ร่มเงาเพื่อลดการใช้พลังงานภายในตัวอาคารที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ร้อนชื้น ขับเน้นให้ร้านอาหารกึ่งบาร์และคาเฟ่แห่งนี้เกิดความสวยงามและฟังก์ชันที่ดำรงไว้ซึ่งความยั่งยืน บริเวณทางเข้ามีสวนสีเขียวต้อนรับและสามารถเดินไปพักผ่อนที่สวนบริเวณด้านหลัง เมื่อลัดเลาะจากสวนด้านหน้าจะมองเห็นเงาสะท้อนของแมกไม้จากบ่อน้ำขนาด 800 ตารางเมตร […]
หลังคา ช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์แบบให้ทุกงานดีไซน์
พื้นที่ร้อนชื้นและฝนชุกของเมืองไทย เป็นเงื่อนไขสำคัญที่นักออกแบบต้องคลี่คลาย พร้อม ๆ กับการทำความรู้จักกับวัสดุ เพื่อนำมาตอบโจทย์การใช้งาน
ต่อยอดอาคารปฏิบัติการหลังเก่า สู่พื้นที่เรียนรู้ใหม่ ในคณะสถาปัตยกรรมฯ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
Material Innovation Lab เป็นอาคารเรียนอเนกประสงค์ ของคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง รีโนเวตอาคารปฏิบัติการหลังเดิมอายุ 50 ปี ให้ไปต่อในยุคสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Teerachai Leesuraplanon (ธีรชัย ลี้สุรพลานนท์) และคณะผู้ออกแบบจากคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ผสานไอเดียเก่าและใหม่เพื่อมุ่งสู่อนาคต “แนวทางการออกแบบ เราผสานของเก่ากับของใหม่ ซึ่งอาคารเดิมของคณะ วางรากฐานที่ดีไว้อยู่แล้ว การรีโนเวตอาคารใหม่ ก็เอาไอเดียที่ดีจากของเดิม คือ การออกแบบอาคารให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ มาผสานกับการออกแบบใหม่ วัสดุใหม่ ออกมาให้ไปต่อได้” ข้อความจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรชัย ลี้สุรพลานนท์ หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน และสถาปนิกผู้นำในการออกแบบรีโนเวตอาคารหลังนี้ ข้อความนี้เป็นเหมือนการสรุปไอเดียภาพรวมการปรับปรุงอาคารหลังเดิม ที่ยังคงโครงสร้างเดิม สัดส่วนของอาคารเดิมเอาไว้ ในจุดที่ใช้งานได้ดีอยู่ รวมถึงไอเดียจากอาคารหลังอื่นภายในคณะ ที่ใช้งานได้ดี ที่สร้างขึ้นในยุคเมื่อราว 50 ปีก่อน ที่อาจจะไม่ได้คิดถึงการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ กล่าวคือ เป็นยุคสถาปนิกออกแบบอาคารมาเพื่อรองรับการเรียนการสอน ในสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศธรรมชาติแท้จริง โดยไม่ได้ใช้เครื่องปรับอากาศช่วย อย่างเช่น การเรียงอิฐผนังอาคารให้มีช่องระบายอาคาร […]
Sherutā 108 บ้านเปิดโปร่ง ออกแบบอย่างเรียบง่าย ดื่มด่ำ ธรรมชาติ ผ่านบ้านกระจกใส
บ้านเปิดโปร่ง ออกแบบอย่างเรียบง่าย ให้ผู้อยู่ได้เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติรอบตัว ผ่านผนังกระจกใส DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INLY STUDIO บ้านตากอากาศ ที่อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบโดย INLY STUDIO ที่เจ้าของต้องการสร้างเป็นบ้านหลังที่สองสำหรับพักผ่อน ที่อยู่ห่างออกมาจากตัวเมือง อีกทั้งยังออกแบบเพื่อรองรับการเปิดให้คนภายนอกได้เข้ามาพักในรูปแบบ Air Bnb เพื่อเปิดประสบการณ์สุดพิเศษ ณ สถาปัตยกรรม บ้านกระจกใส กลางพื้นที่โล่งรายล้อมด้วยภูเขา ซึ่งออกแบบมาให้สัมผัสธรรมชาติได้อย่างเต็มอิ่ม แนวคิดที่กำบัง ชื่อ Sherutā 108 มีที่มาจากคำว่า Shelter ในภาษาอังกฤษ หมายถึง หลุมกลบภัย หรือที่ซ่อนตัว สถาปนิกได้ตีความการออกแบบบ้านจากแนวคิดนี้ ต่อยอดเป็นอาคารที่ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นที่พักได้มาหลบซ่อนตัวจากตัวเมือง เพื่อผ่อนคลายท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติของภูเขาที่อำเภอแม่ออน รายล้อมด้วยภูเขาและแปลงเกษตร บริบทรอบข้างอาคาร เป็นภูเขา และแปลงเกษตรของชาวบ้าน มีบ่อน้ำเดิมที่ขุดไว้แล้วตั้งอยู่ด้านข้าง ที่ดินซึ่งมีลักษณะเป็นลานโล่งกว้าง เปิดรับวิวน้ำ และภูเขาที่อยู่ห่างออกไปทำให้เกิดความรู้สึกเปิดโล่ง ทรงอาคารแนวราบผสานกับบริบท สถาปนิกออกแบบทรงอาคารเป็นแนวราบ ให้สอดคล้องไปกับบริบทรอบข้าง ที่เป็นแปลงเกษตร ซึ่งทั้งหมดเป็นแนวราบ ไม่มีอาคารแนวตั้งอยู่ในพื้นที่เลย จึงออกแบบอาคารลักษณะราบขนาบไปกับพื้นดิน และยังให้ความรู้สึกของที่น่าพักผ่อน สงบ ผ่อนคลาย […]
กระเบื้องดินเผา แฮนด์เมด ด้วย “ดิน” และ “ช่าง” ท้องถิ่น จากเชียงใหม่
เพิ่มความสุนทรีย์ ให้พื้นที่อยู่อาศัย ด้วย กระเบื้องดินเผา แฮนเมด แม่ริม เซรามิค Maerim Ceramic Studio ณ ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ และวัสดุที่ผลิตขึ้นด้วยมือมนุษย์ ได้หวนคืนสู่ความนิยมอีกครั้ง ด้วยสีสัน และผิวสัมผัสที่เกิดจากกระบวนการทำมือ ทำให้ระลึกได้ว่า บางทีสิ่งของเครื่องใช้ก็ไม่จำเป็นต้องเนี้ยบในทุกชิ้น ทุกจุดก็ได้ แต่สามารถเว้นพื้นที่ให้ผู้ใช้งานได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางความรู้สึกนึกคิด เป็นเหมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ที่มีพื้นที่ให้ได้คิดต่อ ซึ่งงานศิลปะชิ้นนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือเป็นวัสดุแต่งบ้าน ที่มาเพิ่มความสุนทรีย์ในการอยู่อาศัยได้ในทุกทุกวัน วันนี้ room พาทุกท่านมารู้จักกับ กระเบื้องดินเผา ท้องถิ่นจากเชียงใหม่ ที่แต่ละชิ้นมีสเน่ห์ที่แตกต่างกัน สร้างความพิเศษด้วยผิวสัมผัสคราฟต์ กระเบื้องดินเผา ผลิตด้วยดินจากอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เคลือบด้วยสีเฉพาะตัว ที่ทางสตูดิโอผสมขึ้นเอง ด้วยสูตรที่คิดค้น และพัฒนาต่อเนื่องมากว่า 50 ปี ผ่านการผลิตโดยช่างในท้องถิ่น ทุกแผ่นทำด้วยมือ แต่ละแผ่นมีเอกลักษณ์ หน้าตา ผิวสัมผัส และสีที่แตกต่างกัน โดยความเข้มอ่อนของสีจะขึ้นอยู่กับความร้อนของแต่ละแผ่นเมื่อนำไปเผาไฟ แผ่นที่โดนความร้อนมาก สีจะเข้ม ส่วนแผ่นที่โดนความร้อนน้อยลงมา สีจะอ่อนลงไป ทำให้เกิดเป็นสเน่ห์ของตัวแผ่น […]
Mr. New’s Cabin บ้านพักตากอากาศหลังเล็ก บนเนินโล่ง ที่ เชียงใหม่ ดื่มด่ำกับธรรมชาติผ่านการตั้งอยู่ของตัวบ้าน
Mr. New’s Cabin บ้านชั้นเดียวตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ ออกแบบโดย Housescape Design Lab เป็นบ้านที่ผู้ออกแบบนิยามว่าเป็น “กระท่อม” ของเจ้าของที่เป็นคนกรุงเทพฯ ที่สร้างเป็นบ้านสำหรับพักผ่อนตากอากาศในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งตั้งใจให้บ้านเชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยรอบด้วยการทำช่องเปิดรอบบ้าน และรับวิวน้ำหรือ Lake ที่อยู่หลังบ้าน สร้างด้วยวัสดุเกือบทั้งหมดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Housescape Design Lab ตั้งคำถามต่อสถาปัตยกรรมผ่านการออกแบบ ข้อความที่สถาปนิกตั้งใจสื่อสารลงไปในบ้านหลังนี้ คือ การออกแบบรูปทรงคล้ายหินจริง แต่สร้างด้วยวัสดุคอนกรีต ครอบเสานอกบ้าน และในบ้านที่ใต้อ่างล้างจาน เป็นการสร้างสิ่งคล้ายธรรมชาติให้เกิดคำถามถึงการมีอยู่ระหว่าง “ของจริง” และ “ของสังเคราะห์” ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันทั้งสองอย่างนั้นผสมกลมกลืนจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันไปแล้วในอาคารหลังหนึ่ง เช่น ในอาคารใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้า ผนังที่กรุด้วยวัสดุหน้าตาเหมือนกับหินจริง แต่ความจริงแล้วกลับเป็นวัสดุสังเคราะห์ขึ้นมาให้ดูเหมือนกับของจริง แต่ในความรับรู้ของคนที่ใช้งานเข้าใจว่านั่นคือหินจริง เป็นการตั้งคำถามที่เกิดจากความสงสัยของสถาปนิก ที่ออกแบบเป็นรูปทรงเหมือนหิน ให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นวัสดุธรรมชาติอยู่ภายในบ้าน แต่เป็นวัสดุอื่นที่ผ่านการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งเมื่อคนมาเห็นก้อนวัตถุนั้น จะเรียกสิ่งนั้นว่าอะไร คราฟต์บ้านด้วยวัสดุและช่างจากท้องถิ่นในบ้านหลังนี้ ผู้ออกแบบได้ทดลองเทคนิคการผลิตที่มากขึ้นจากผลงานก่อนหน้านี้ นอกจากหลังคา และคอนกรีตที่ใช้เป็นวัสดุจากโรงงาน วัสดุอื่นนอกจากสองอย่างนี้ใช้ของที่มีอยู่โดยรอบในรัศมี 10 กิโลเมตรทั้งสิ้น รวมไปถึงรายละเอียดอย่างประตู […]
Tree’s House บ้านชั้นเดียว พื้นที่อาศัยที่เติบโตไปพร้อมกับต้นไม้ใหญ่
Tree’s House บ้านชั้นเดียว ล้อมคอร์ท ที่ออกแบบให้พื้นที่อยู่อาศัยสอดประสานกับพื้นที่ปลูกต้นไม้ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เจ้าของบ้านหลงไหลได้อย่างพอดี DESIGNER DIRECTORYStudio Bewell บ้านที่สร้างบนที่ดินขนาด 99 ตารางวา ออกแบบโดย Studio Bewell ที่เจ้าของต้องการให้เป็นบ้านที่ตอบโจทย์ความหลงใหลของตนคือ การได้อยู่อาศัยท่ามกลางธรรมชาติ จากเดิมที่เจ้าของบ้านปลูกต้นไม้ในกระถางเพื่อแต่งบ้านหลังเดิม เมื่อสร้างบ้านหลังใหม่ จึงมอบโจทย์ และทำงานร่วมกับสถาปนิกให้กลายเป็นบ้านที่ใส่ความเป็นตัวเองลงไปเต็มที่ผ่านพื้นที่ที่ปล่อยให้ธรรมชาติเติบโตไปพร้อมกับตัวบ้าน บ้านที่สร้างขึ้นไปพร้อมกับการปลูกต้นไม้ ด้วยความเจ้าของบ้านรักการปลูกต้นไม้ ก็ได้เริ่มเข้ามาปลูกตั้งแต่ตอนที่บ้านกำลังสร้างอยู่ในขั้นตอนขึ้นโครงสร้าง จึงเหมือนเป็นการได้เฝ้ามองการเติบโตของต้นไม้ไปพร้อมๆ กับบ้านที่ค่อยๆ เป็นรูปเป็นร่าง ในพื้นที่ที่เผื่อไว้ให้ ต้นไม้ไม่ได้เป็นเพียงของตกแต่งแต่เป็นส่วนหนึ่งกับการใช้ชีวิต ในบ้าน Tree’s House มีพื้นที่ให้ปลูกต้นไม้ได้เกือบทุกจุด เพราะเจ้าของบ้านมองว่าต้นไม้ไม่ได้เป็นแค่ของสำหรับแต่งบ้าน แต่เป็นงานอดิเรก เป็นกิจกรรมที่รวมอยู่ในชีวิตประจำวันที่สร้างความสุขให้ตนเอง ในแต่ละวันที่ได้ปลูกต้นใหม่ๆ รดน้ำ ไปจนถึงเก็บกวาดใบไม้ ล้วนสร้างความสุขให้กับเจ้าของบ้าน Tree’s House จึงเป็นการออกแบบที่ทำให้เจ้าของได้มีความสุขกับทั้งการอยู่อาศัย และทำกิจกรรมที่รักตลอดทั้งวันที่ได้ใช้ชีวิตในพื้นที่แห่งนี้ ออกแบบฟังก์ชันให้ใช้งานได้เต็มที่ในพื้นที่จำกัด ในส่วนฟังก์ชันภายในบ้าน จัดสรรได้ครบตามที่เจ้าของบ้านต้องการ ออกแบบจัดวางตัวอาคารเกือบเต็มพื้นที่ดิน ซึ่งถึงแม้เจ้าของบ้านจะต้องการบ้านชั้นเดียว แต่ก็ยังใช้งานได้ครบถ้วน วัสดุหลักที่ใช้ เป็น ไม้ ผนังสีขาว และอิฐบล็อกสีเทา ตอบโจทย์ความต้องการใช้วัสดุโทนสีเข้มของเจ้าของบ้าน […]
10 สถาปนิก สาย รีโนเวท งานตึกแถว/ทาวน์โฮม
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยที่นิยม แพร่หลาย และมีการเปลี่ยนมือมากที่สุดประเภทหนึ่งก็คือ อาคารพาณิชย์ หรือที่เราเรียกว่า ตึกแถว ทาวน์โฮม นั่นเอง room จึงอยากขอแนะนำ 10 สถาปนิก ที่มีผลงานการรีโนเวทอาคารพาณิชย์เหล่านี้ได้อย่างน่าสนใจ 1 LP18 ทาวน์เฮาส์ที่รีโนเวตให้มีพื้นที่รอบบ้านเหมือนบ้านเดี่ยวออกแบบ: OAAS https://www.baanlaesuan.com/323820/design/living/oaas-lp18 2 บ้านเชียงใหม่ รีโนเวทแต่พอดี น้อยแต่มาก ลงตัว แบบล้านนามินิมัล ออกแบบโดย: Studio Mai Mai https://www.baanlaesuan.com/323414/design/living/studiomaimai-umong-house 3 รีโนเวทอพาร์ตเมนต์สู่บรรยากาศ มิดเซนจูรี่โมเดิร์น ออกแบบ: Otello Studio https://www.baanlaesuan.com/293491/design/living/apartment-renovation 4 อยู่กับศิลป์ ในสตูดิโอกึ่งที่พักรีโนเวตจากทาวน์โฮม ออกแบบ: Bangkok Tokyo Architecture https://www.baanlaesuan.com/256029/design/living/bkktokyo-nutdaohouse 5 รีโนเวตทาวน์โฮม ในเชียงใหม่ให้ขาวละมุน ออกแบบ: INLY STUDIO https://www.baanlaesuan.com/246564/design/living/inly-whiteandwood 6 รีโนเวต ตึกแถวเก่าย่านสาทร ให้เปลี่ยนโฉมใหม่ทั้งภายในและภายนอก พร้อมดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้งานของ 3 ครอบครัวในตึกเดียว […]