© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
จาก “กาก” สู่ “แก้ว” ใช้ซ้ำดี รีไซเคิลได้ เกิดขึ้นจากสิ่งที่รู้กันว่าในทุก ๆ เช้า ชาวโลกไม่ว่าจะชาติใดต่างก็ต้องการ “กาแฟ” แก้วแรกกันอยู่เสมอ ซึ่งนั่นก็ทำให้เกิดผลสืบเนื่องอันเป็นขยะปริมาณมหาศาลในทุกเช้าด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะจากแก้วกาแฟใช้แล้วทิ้ง หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น หลอด และไม้คนกาแฟ KAFFEEFORM บริษัทจากประเทศเยอรมนี จึงเกิดความคิดที่จะสร้างแก้วกาแฟที่ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น และผลิตจากเศษเหลือในอุตสาหกรรมร้านกาแฟ เพื่อให้เกิด Close Loop หรือการหมุนเวียนทรัพยากรอย่างสมบูรณ์ใน Circular Economy และสิ่งที่ถูกเลือกมาใช้เป็นวัสดุนั่นก็คือ “กากกาแฟ” นั่นเอง กว่า 3 ปี ที่ KAFFEEFORM ได้ทดลองสูตรลับเฉพาะในการขึ้นรูปแก้วกาแฟจากกากกาแฟให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีพอ น่าใช้ และดูดีเป็นมิตรต่อนักดื่ม ผลลัพธ์ที่ได้จึงกลายมาเป็นแก้วที่มีผิวสัมผัสเรียบเนียนแต่ผสมไปด้วยเส้นใยจากกากกาแฟ สามารถฉีดขึ้นรูปได้หลากหลาย ตั้งแต่แก้วที่ล้อเลียนมาจากแก้วใช้แล้วทิ้ง แก้ว Espresso แก้ว Cappucino และ แก้ว Latte มีความทนทาน ทั้งสามารถใส่ของร้อนได้ และตกไม่แตกอีกด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ใช้สูตรลับที่เป็น Plant […]
งานทดลองวัสดุ ที่ทีมนักออกแบบลุกขึ้นมาทำการทดลอง ด้วยการเลือกวัสดุจากธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวมาหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เพื่อเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเลือกวัสดุธรรมชาติเหลือทิ้งในกลุ่มพืชล้มลุกและเปลือกผลไม้ มาแปรรูปแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งยังเป็นการรณรงค์ในการช่วยกันลดของเสียในครัวเรือน โดยการนำกลับมาแปรรูปใหม่อีกครั้ง สำหรับชุดการทดลองครั้งแรก ได้หยิบวัสดุธรรมชาติมาทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ดอกดาวเรือง ต้นปอเทือง ดอกอัญชัน ดอกกล้วยไม้แห้ง และเปลือกมังคุด ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป 1.ดอกอัญชัน ดอกไม้ที่คุ้นเคยในการนำมาสกัดเป็นสีธรรมชาติ เมื่อตัวดอกดูดซับน้ำแล้วจะเกิดการพองตัว ด้านคุณสมบัติมีความโปร่ง แต่เปราะบางและไม่ยืดหยุ่น เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 2.ต้นปอเทือง พืชที่มักเห็นได้ตามท้องนาเนื่องจากมีคุณสมบัติในการบำรุงและรักษาหน้าดินในช่วงฤดูพักปลูกข้าว เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ในระดับหนึ่งคล้ายนกระดาษสาและแข็งแรง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง 3.ดอกกล้วยไม้แห้ง ดอกไม้ที่พบในตลาดอุตสาหกรรม สีสันสวยงาม อยู่ได้นาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติโปร่งแสง แต่เปราะบางและไม่คงรูป เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 4.เปลือกมังคุด วัสดุที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติความแข็งแรงในระดับหนึ่ง แต่ยืดหยุ่นน้อย มีความทึบแสง เหมาะสำหรับนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ 5.ดอกดาวเรือง หากคุณเป็นสายไหว้พระ คงพบว่ามีดอกดาวเรืองเหลือทิ้งเต็มไปหมด ตัวดอกมีเส้นใยสูง เมื่อแห้งแล้วสีของดอกยังคงติดทนนาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ระดับหนึ่ง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง หลังจากทดลองและทราบคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดแล้ว จึงนำไปสู่การทดลองออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์เชิงดีไซน์ […]
จากมุมมองของผู้คนทั่วไปรูปลักษณ์อันคุ้นชิน ของสถาปัตยกรรม “สมัยใหม่” คงดูไม่เก่าแก่ พอจะให้นึกไปถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันอาคารที่เก่าคร่ำคร่าผ่านการ ใช้งานมาอย่างยาวนานและต้องอาศัย งบประมาณก้อนโตในการบำรุงรักษา หลาย คนอาจมองว่าไม่เอื้อต่อการอนุรักษ์สักเท่าไร ซึ่งในสภาพ “กลางเก่ากลางใหม่” เช่นนี้ คุณค่าของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จึงดู คลุมเครือยิ่งนักในบริบทปัจจุบัน แต่สำหรับ วีระพล สิงห์น้อย หรือ ช่างภาพสถาปัตยกรรมอิสระที่หลายคนรู้จัก ในนาม Beersingnoi ความงามของอาคาร เหล่านี้กลับสะดุดตาเขาจนกลายเป็นความ สนใจที่มาของโปรเจ็กต์งานอดิเรกในการ ติดตามเก็บบันทึกภาพงานสถาปัตยกรรม สมัยใหม่ในประเทศไทย ด้วยความตั้งใจ ที่จะเก็บบันทึกมุมมองความงามทางสถาปัตยกรรมในแบบของเขา บนความไม่แน่นอนว่า อาคารเหล่านั้นจะ”อยู่รอด”ถึงเมื่อไร และเมื่อชุดภาพเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่ ผ่านเพจ Foto_momo มุมมองผ่านเลนส์ ที่เฉียบขาดของวีระพลก็ดูเหมือนจะช่วย จุดประกายคุณค่าและความสนใจของคน รุ่นใหม่ในสถาปัตยกรรมจากยุคโมเดิร์น ได้ไม่น้อย ซึ่งเบื้องหลังการออกเดินทาง ตามหาตึกเก่า เขาได้พบกับอาจารย์ฤกษ์ดี โพธิวนากุล อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยก ร รมศาสต ร์ มหาวิทยาลัยศิลปาก ร ผู้มีความสนใจในสถาปัตยกรรม Modern Architecture เช่นเดียวกัน มิตรภาพที่ เบ่งบานท่ามกลางบรรยากาศโมเดิร์นนิสม์ […]
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือที่เราคุ้นกันในชื่อหอศิลป์ BACC นั้น เป็นหอศิลปวัฒนธรรมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านสื่อศิลปะและกิจกรรมต่าง ๆ มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนนิทรรศการที่น่าสนใจอยู่เสมอ และหอศิลป์แห่งนี้ก็ได้ดำเนินการมาจนครบ 10 ปี แล้ว ด้วยพันธกิจในการขับเคลื่อนให้ประชาชนเข้าใจคุณค่าและความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นไปจนถึงบริบทของโลก และอย่างที่เป็นข่าวในการต่อสัญญาโดยกรุงเทพมหานครไปอีก 10 ปี วันนี้ room จึงพามาพูดคุยกับ ผอ. ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่-ผู้อำนวยการของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถึง 10 ปี ที่ผ่านมา และอีก 10 ปี ที่หอศิลป์ฯแห่งนี้ กำลังก้าวเดินไป ทั้งบทบาทหน้าที่ที่อาจจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และแนวโน้มของนิยามความเป็นเมืองแห่งศิลปะของกรุงเทพฯ กทม. เคาะต่อสัญญา อีก 10 ปี ให้กับหอศิลป์เกิดอะไร? ทำไมถึงเป็นประเด็น? room : จากข่าวของการต่อสัญญา อีก 10 ปี โดยกรุงเทพมหานครให้กับทางหอศิลป์ฯ จริง ๆ แล้วเกิดอะไรขึ้น หอศิลป์ฯ ยังดำเนินการเหมือนเดิม หรือมีอะไรเปลี่่ยนแปลงไปหรือไม่? BACC : […]
ปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล เกิดขึ้นได้อย่างไร เรามีส่วนก่อปัญหานี้แค่ไหน ร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อเราหรือไม่ และมีแนวทางป้องกันแก้ไขอย่างไร ท่านผู้อ่านเคยสงสัยกันบ้างไหม? วันนี้ room หาคำตอบมาให้แล้ว ปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล เป็นอีกปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เริ่มมีการตื่นตัวมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเพราะภาพข่าวของสัตว์ทะเลที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกซึ่งย่อยสลายยากเหล่านี้ ภาพของเกาะขยะกลางทะเลขนาดใหญ่เท่าประเทศย่อม ๆ หรือแม้แต่ไมโครพลาสติกที่กลับมาสู่คนเมืองในรูปการปนเปื้อนทางอาหาร แต่ปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจากที่ใด เรามีส่วนกับการก่อปัญหานี้มากแค่ไหน และเราจะมีแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขได้ปัญหานี้ได้อย่างไร วันนี้ room จึงได้มาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงอย่าง ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ หัวหน้า หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการขยะพลาสติกในทะเล (Marine Plastics Abatement หรือ MPA) คณะสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา (SERD) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มาอธิบายและไขข้อสงสัยให้กับเราอย่างหมดเปลือก ปัญหาขยะพาสติกทางทะเล ปัญหาที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด room : ปัญหาขยะพาสติกทางทะเล บางครั้งอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว แท้จริงแล้วเกี่ยวข้องกับใครบ้าง? ศ.ดร.ธรรมรัตน์ : “จริง ๆ ปัญหาขยะทางทะเล ไม่ได้เกิดขึ้นจากกิจกรรมในทะเลอย่างเดียว มีการศึกษาว่า 80% นั้นมาจากขยะบนบกแทบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นผลพวงมาจากปัญหาขยะทางบกก่อนแล้วไหลลงสู่ทะเล โดยเฉพาะในพื้นที่ประเทศในทวีปเอเชียนั้นเป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก” room […]
เจาะลึกวิสัยทัศน์ของ ‘เดอะ ฟอเรสเทียส์’ โดย MQDC โครงการอสังหาฯที่ใหญ่สุดของไทย และแห่งแรกในโลกที่ออกแบบทุกมิติเพื่อการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ โดยมีแนวคิดมุ่งการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมควบคู่กันไป เพื่อส่งเสริมผู้คนที่อยู่อาศัยและเข้ามาใช้พื้นที่ได้มีสุขภาพที่ดีและมีความสุขมากขึ้น
ส่วนหนึ่งในนิทรรศการของกลุ่มนักออกแบบ Design PLANT และ Emerging PLANT ที่รวมตัวกันนำเสนอผลงานภายใต้แนวคิด DOMESTIC ในงาน Bangkok Design Week 2021
บ้านหลังเล็กที่ได้รับการ รีโนเวท ให้ ‘น้อยแต่มาก’ เน้นให้สเปซและฟังก์ชันมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา สร้างบรรยากาศให้โปร่งสบายด้วยแสงธรรมชาติ จัดวางเฟอร์นิเจอร์เพื่อแสดงพื้นที่ใช้สอยแทนการกั้นผนังห้องที่ทำให้อับทึบ ทั้งยังออกแบบให้ทุกพื้นที่ในบ้านสามารถใช้เป็นที่ทำงานได้ หลายครั้งที่ความท้าทายในการออกแบบของเหล่าสถาปนิกคือการ รีโนเวท บ้านเก่าที่ทรุดโทรมให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และคงท้าทายไปอีกขั้นกับการรีโนเวตบ้านเก่าอายุร่วมสิบปีที่มีสเปซที่สวยงามอยู่แล้ว ให้ยิ่งโดดเด่นขึ้นอีก อย่างเช่นบ้านหลังนี้ ด้วยขนาดพื้นที่ใช้สอยเพียง 160 ตารางเมตร จึงถือเป็นโจทย์ท้าทาย ที่ทำให้ผู้ออกแบบต้องค้นหาคำตอบของการออกแบบ โดยมีความชอบ และไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้านทั้งสองที่หลงรักสไตล์การตกแต่งอย่างเรียบง่ายเป็นสมการสำคัญ เพื่อให้ทุกสเปซในบ้านขนาดกะทัดรัดนี้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ เจ้าของ: คุณดุษฎี บุญชัยศรี และ คุณสริตา อุสาหพานิช ออกแบบ: คุณไธปันฬ์ นพลัดดารมย์ เเละ คุณอิทธิวัฒน์ พูนธนาทรัพย์ จาก Thaipanstudio น้อยแต่มาก ‘LESS IS MORE’ คือคำอธิบายถึงความชอบและสไตล์การตกแต่งที่เจ้าของบ้าน ส่งต่อให้กับผู้ออกแบบ เพื่อนำไปตีความให้กลายเป็นภาษาทางสถาปัตยกรรมที่สามารถอยู่อาศัยได้ โดยผู้ออกแบบเริ่มจากศึกษา และค้นหาจุดเด่นเดิมของบ้านไปพร้อมกับการเปลี่ยนให้คำว่า “น้อยแต่มาก” เป็นรูปธรรมด้วยแนวคิดการออกแบบ จนมาลงตัวกับสไตล์ “สแกนดิเนเวียน” ที่เน้นให้สเปซและฟังก์ชันมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา สร้างบรรยากาศการใช้พื้นที่ได้อย่างดีเยี่ยมด้วยแสงธรรมชาติ และการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เพื่อแสดงฟังก์ชันแทนการกั้นผนังห้องแบบอับทึบ ช่วยให้พื้นที่ชั้น 1 มีลักษณะคล้ายโถงขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นทุกพื้นที่ถึงกันทั้งหมด โดยมีห้องครัวขนาดใหญ่แยกออกไปชัดเจนด้วยบานประตูกั้น ช่วยป้องกันกลิ่นและควันจากการทำอาหาร ทุกพื้นที่พร้อมสำหรับทำงาน พื้นที่อื่น ๆ ของบ้านมีหัวใจสำคัญของการออกแบบอยู่ที่ […]
ยูโนะโมริ ออนเซ็น แอนด์ สปา (Yunomori Onsen & Spa) สาขาสาทร ในลำดับที่ 3 ต่อจากสาขาสุขุมวิท ซอย 26 และสาขาพัทยา ของ ยูโนะโมริ ที่ขึ้นชื่อด้านบริการสปาและทรีตเม้นต์ที่ผสานศาสตร์แห่งการบำบัดจากสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน
ฉากหวายกั้นพื้นที่ BILID ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการจับคู่ดีไซเนอร์รุ่นใหม่กับโรงงานผู้ผลิต ภายใต้โปรเจ็กต์ Emerging PLANT พื้นที่การเรียนรู้ด้านการออกแบบจากประสบการณ์จริง สนามธุรกิจของจริง สำหรับนักออกแบบรุ่นเล็ก ภายใต้การดูแลของรุ่นพี่มืออาชีพ BILID คือฝีมือการออกแบบของคุณศรัณย์พร บุญโต นักออกแบบรุ่นเล็กที่ร่วมมือกับแบรนด์ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์หวายชั้นนำของไทยอย่าง Corner 43 Decor ภายใต้คำแนะนำด้านการออกแบบจาก คุณธีรพจน์ ธีโรภาส ผู้ก่อตั้ง Kitt-Ta-Khon แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่โดดเด่นด้วยงานหัตถกรรมร่วมสมัย หลังจากจบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คุณศรัณย์พรได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Emerging PLANT ที่จัดขึ้นโดย Design PLANT และเริ่มทำงานออกแบบภายใต้โจทย์ DOMESTIC โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดแสดงผลงานร่วมกับนักออกแบบรุ่นพี่อีกหลายสิบสตูดิโอในงาน Bangkok Design Week 2021 ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 นี้ —- Did you know? – Design PLANT การรวมตัวกันของนักออกแบบจากหลากหลายความเชี่ยวชาญ ตั้งแต่รุ่นเก๋าไปจนถึงรุ่นใหม่ไฟแรง โดยในแต่ละปีจะร่วมกันจัดนิทรรศการงานออกแบบเพื่อนำเสนอผลงานภายใต้แนวคิดที่น่าสนใจ และตอบโจทย์บริบททางสังคมในช่วงเวลานั้น ๆ จนกลายเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีพลังการขับเคลื่อนวงการออกแบบไทย – Emerging PLANT คือเวทีรุ่นเล็กที่จัดขึ้นโดย Design […]
บ้านและสวน ขายหัวเราะ จับมือกันสร้างสรรค์ฉบับพิเศษของตัวเอง ทั้งผสมผสาน แลกเปลี่ยน เพื่อทดลองความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์รายวาระที่แตกต่าง
หากกล่าวถึงชื่อ FH Office หรือ ฟาร์มาฮอฟ เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะคุ้นหู แต่หากเป็นชื่อ ฟาสซิโน (Fascino) ร้านจำหน่ายยา และเวชภัณฑ์แบบครบวงจรที่มีสาขาทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง นั้น หลายคนอาจคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เนื่องจากแบรนด์ฟาสซิโนนั้นเป็นหนึ่งในเครือของบริษัทฟาร์มาฮอฟ และด้วยการดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 37 ปี ทำให้พื้นที่สำนักงานเดิมไม่ตอบโจทย์กับการเติบโตของธุรกิจและทีมงาน ทางบริษัทจึงตัดสินใจขยับขยายพื้นที่ใช้งาน โดยได้วางใจให้ คุณวรัญญู มกราภิรมย์ และคุณสณทรรศ ศรีสังข์ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง TA-CHA Design มารับหน้าที่ในการออกแบบในครั้งนี้ FH Office เป็นอาคารประเภทมิกซ์ยูสประกอบด้วยพื้นที่สำนักงาน 5 ชั้น โดยชั้น 6-7 เป็นพื้นที่พักผ่อนของผู้บริหาร รูปทรงอาคารมีลักษณะคล้ายตัวแอล (L) และเว้นระยะร่นตามที่กฎหมายควบคุมอาคารกำหนดไว้สำหรับรถดับเพลิงสามารถขับได้รอบอาคาร ซึ่งก่อนจะเป็นอาคารที่เห็นในปัจจุบัน แรกเริ่มนั้นพื้นที่โครงการมีอาคารสูง 3 ชั้น อยู่ก่อนแล้ว โดยจุดประสงค์แรกเริ่มคือการรีโนเวตอาคารเดิม แต่เมื่อทดลองกำหนดพื้นที่ใช้สอยในผังแล้ว ก็พบว่าอาคารดังกล่าวไม่สามารถรองรับความต้องการด้านการใช้งานได้เพียงพอ ดังนั้น จากแนวคิดการรีโนเวต จึงเปลี่ยนเป็นการรื้อถอนอาคารเดิม และสร้างอาคารใหม่สูง 7 ชั้น […]