© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านอิฐ หลังเล็กชานเมืองดานังของเวียดนาม ดูเป็นมิตรด้วยวัสดุธรรมชาติ ที่ตอบรับกับสภาพอากาศในเขตร้อนชื้น อีกทั้งยังทำให้บ้านเปลี่ยนแปลงและเติบโตตามกาลเวลาไปพร้อมกับผู้อยู่อาศัย ออกแบบ: Hinz Studio, Vietnam หากกล่าวถึงผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มาแรงในบรรดาประเทศเเถบอาเซียน “ประเทศเวียดนาม” ย่อมติด 1 ใน 3 อันดับแรกอย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้ การออกแบบสถาปัตยกรรมของเวียดนาม ยังมีรูปแบบและการใช้วัสดุใกล้เคียงกับบ้านเรา อาทิ บ้านอิฐ ซึ่งส่งผลมาจากปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร โครงการ Chivi House บ้านสองชั้นขนาดพอเหมาะ ผลงานจาก Hinz Studio สตูดิโอออกแบบสัญชาติเวียดนาม ที่มีประสบการณ์การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมด้วยอิฐมาแล้วหลายโครงการ ชื่อ Chivi House เกิดจากการรวมกันของชื่อลูกสาวทั้งสองคนของเจ้าของบ้าน (Chi และ Vi) ด้วยขนาดกะทัดรัดเพียง 137 ตารางเมตร เเละตั้งอยู่บริเวณหัวมุมของทางสามแยกพอดี ทำให้สถาปนิกเลือกดึงประโยชน์ของที่ตั้งมาใช้กับสเปซของบ้านให้ได้มากที่สุด ด้วยการวางตำแหน่งฟังก์ชันทางสัญจรอย่างบันได และห้องน้ำให้ชิดกับผนังด้านที่อยู่ติดกับที่ดินเพื่อนบ้าน โดยให้ผนังด้านนี้เป็นผนังทึบทั้งหมด ส่วนด้านหน้าบ้านและด้านที่ติดถนนได้ออกแบบช่องเปิด และก่อผนังอิฐ ที่มีการเว้นจังหวะให้เกิดช่องลมเพื่อ ให้ลมและแสงธรรมชาติเข้ามาในบ้านได้ตลอดทั้งวัน ขณะเดียวกันก็สร้างความเป็นส่วนตัวให้สมาชิกในบ้านได้อย่างดีเยี่ยม นับเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องของที่ตั้ง […]
เมื่อปีกลาย Jaime Hayon (ไฮเม่ ฮายอน) ดีไซเนอร์ระดับโลกสัญชาติสเปน แปลงโฉมบ้านเก่าอายุกว่า 70 ปี ในซอยสมคิด ย่านชิดลม ให้กลายเป็น House of Fritz Hansen Bangkok โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดังจากเดนมาร์ก และในโอกาสที่เขาเยี่ยมเยือนไทยเพื่อเปิดนิทรรศการ Jaime Hayon Design Showcase เราจึงขอชวนคุณไปพูดคุย พร้อมทำความรู้จักกับดีไซเนอร์คนดังแบบเจาะลึก ทั้งแนวคิดงานดีไซน์ การใช้ชีวิตและการทำงานกับ Fritz Hansen (ฟริตซ์ ฮานเซ่น) หากใครได้พูดคุยกับ Jaime Hayon สักครั้ง เชื่อว่าต้องสัมผัสได้ถึงพลังงานแห่งการสร้างสรรค์อันเต็มเปี่ยม สำหรับ room เขาคือนักออกแบบผู้ไม่เคยกลัวที่จะทำทุกอย่างตามความคิด ไม่เคยยินยอมทำอะไรซ้ำสอง ไม่เชื่อเรื่องการหยุดพักเพื่อเฉลิมฉลองกับความสำเร็จ และปัญหาใหญ่สำหรับเขาคือ การมีเวลาที่ไม่เคยเพียงพอสำหรับการออกเดินทางเพื่อเรียนรู้ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และใช้ชีวิต “ผมพยายามเป็นผู้กำหนดเทรนด์อยู่เสมอ ผมชอบออกนอกกรอบ เล่นนอกกฎ อย่างงานออกแบบเก้าอี้ดีไซน์แรก ๆ ของผม ผมเลือกใช้พลาสติก ใช้แม่สีอย่างไม่ลังเล เป็นเก้าอี้สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลือง เพราะตอนผมได้เข้ามาสัมผัสโลกดีไซน์ใหม่ […]
อาคารใหม่ของ AUA (เอยูเอ) หรือโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา สะท้อนถึงอีกก้าวของการเติบโตผ่านภาพของสถาปัตยกรรมอิฐสูงตระหง่าน ที่เด่นสง่าท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อมย่านราชดำริ ที่นี่คืออาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาใช้งานได้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน หากใครมีโอกาสใช้เส้นทางถนนราชดำริหรือใช้บริการ BTS สายสีลมเชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่สะดุดตากับอาคารอิฐสูงตระหง่านที่โดดเด่นท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อม อาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาหรือ AUA (เอยูเอ) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2495 ก่อนจะย้ายมาเช่าที่ดินของสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันตั้งแต่ปีพ.ศ.2505 เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทางเอยูเอได้หมดสัญญาเช่าและจะต้องทำการส่งมอบที่ดินคืน แต่ด้วยความที่ผูกพันกับที่ดินผืนนี้มายาวนาน ทำให้ทางนายกสมาคมฯ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่จะขยับขยายให้อาคารทำหน้าที่มากกว่าโรงเรียนสอนภาษาอย่างที่ผ่านมา เพื่อให้กลายเป็นอาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมของประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาจัดกิจกรรมได้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอ ได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของ AUA โฉมใหม่ สำหรับการสร้างอาคารสาธารณะบนที่ดินที่มีศักยภาพสูงและมูลค่ามหาศาลใจกลางเมืองนั้นต้องอาศัยผู้ที่มองอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันระหว่าง AUA และบริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) โดยได้แบ่งที่ดินขนาด 5.6 ไร่ที่เช่าสำนักงานพระคลังข้างที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรก คือ ส่วนครึ่งด้านหน้าที่ดินที่ติดกับถนนราชดำริ สำหรับเป็นโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และพื้นที่ส่วนครึ่งหลังของที่ดินนั้น ในอนาคตจะกลายเป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี่ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกานั้นได้รับการออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ […]
บ้านโมเดิร์นสีขาว รูปลักษณ์โฉบเฉี่ยวที่เกิดจากแนวคิดอันเรียบง่าย การออกแบบผังบ้านในลักษณะของรูปโดนัท มีคอร์ตยาร์ดกลางบ้าน ช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดของที่ดิน และสร้างสเปซที่เปิดมุมมองสู่ธรรมชาติ และสร้างบรรยากาศน่าสบายให้กับทุกมุมบ้าน เจ้าของ Gems Heritage Co., Ltd. ออกแบบ Archive Studio โทร. 0-2235-6695 แม้ภายนอกของ บ้านโมเดิร์นสีขาว ย่านลาดพร้าวหลังนี้จะดูมีเส้นสายโฉบเฉี่ยว แต่ในความเป็นจริงแล้วทุกรายละเอียดและทุกเส้นสายที่เกิดขึ้นล้วนมาจากเหตุและผลที่แสนเรียบง่าย ซึ่งเป็นงานถนัดของ Archive Studio กับการออกแบบบ้านขนาด 2 ชั้นพร้อมพื้นที่ใช้สอยกว่า 533 ตารางเมตรของเจ้าของบ้านคู่แต่งงานใหม่ที่วางแผนจะมีลูกสองคนในอนาคต โดยสร้างอยู่บนที่ดินว่างเปล่าใกล้กันกับบ้านเดิมของครอบครัว ด้วยความที่ทั้งคู่เป็นนักธุรกิจ และฝ่ายภรรยามักอยู่บ้านเป็นหลัก ทีมสถาปนิกจึงตั้งใจออกแบบสเปซที่ดีเพื่อสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยให้กับเจ้าของบ้านในทุกมิติ ทั้งงานสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน และภูมิสถาปัตยกรรม เพื่อให้ทุกองค์ประกอบของบ้านเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน โดยทีมสถาปนิกได้คิดและออกแบบอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งพิจารณาความสัมพันธ์เชิงกายภาพกับพื้นที่ข้างเคียง ก่อนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อออกแบบตำแหน่งและขนาดฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ จนพัฒนาเป็นบ้านที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเจ้าของบ้าน ด้วยลักษณะอันจำกัดของที่ดิน จึงต้องสร้างอาคารให้ประชิดติดที่ดิน เกิดเป็นการบังคับมุมมองให้เหลือเพียงด้านหลังที่ติดกับบึงน้ำทางทิศตะวันตก ผู้ออกแบบจึงตั้งใจเปิดมุมมองฝั่งนี้โดยเฉพาะ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายให้กับเจ้าของบ้าน โดยร่นระยะจากขอบที่ดินมาถึงตัวบ้านให้น้อยที่สุดตามที่กฎหมายกำหนด ในการช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอย (Minimum Setback) แล้วออกแบบแปลนบ้านให้มีลักษณะคล้ายโดนัทหรือการมีคอร์ตยาร์ดอยู่ตรงกลางบ้าน นอกจากจะลดความอึดอัดจากการถูกปิดล้อมแล้ว ยังทำให้ทุกฟังก์ชันในบ้านสามารถมองเห็นวิวคอร์ตยาร์ดได้ รวมถึงทำหน้าที่กระจายแสงธรรมชาติให้สามารถเข้ามาในบ้านได้อย่างทั่วถึง ช่วยให้เกิดบรรยากาศชวนผ่อนคลายและสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัวความพิเศษของบ้านหลังนี้ นอกจากเรื่องฟังก์ชันทั่วไปแล้ว ยังมีโชว์รูมจิเวลรี่ ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวเพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นฟังก์ชันพิเศษอันมีผลต่อการออกแบบงานสถาปัตยกรรม เนื่องจากผู้ออกแบบต้องจัดวางฟังก์ชันเพื่อแบ่งพื้นที่การใช้งานและการเข้าถึงอย่างชัดเจน โดยไม่ทำให้เจ้าของบ้านต้องสูญเสียความเป็นส่วนตัว ฉะนั้นด้านขวามือของบ้านจึงถูกกำหนดให้เป็นส่วนของโชว์รูมจิเวลรี่ โดยสามารถเข้าถึงคอร์ตยาร์ดกลางบ้านได้เช่นเดียวกันส่วนเรื่องมุมมองความเป็นส่วนตัวนั้น ผู้ออกแบบได้ออกแบบฟาซาดจากคานเหล็กขนาดใหญ่ความยาวกว่า […]
งานออกแบบชิ้นล่าสุดของ BodinChapa Architects กับการเลือกเก็บและนำความทรงจำทรงคุณค่าของร้านกาแฟเจ้าเก่าเจ้าเดิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาตีความหมายผ่านการประยุกต์ใช้สิ่งเดิมในบทบาทหน้าที่ใหม่ ซึ่งกลายมาเป็นภาพปัจจุบันอันร่วมสมัยของ Basic Space Coffee
พื้นที่ซึ่งสะท้อนความชื่นชอบในเรื่องรถยนต์อย่างแจ่มแจ้งของผู้เป็นเจ้าของ ที่ได้รับการออกแบบโดยแบ่งแยกส่วนพักอาศัย กับพื้นที่ซึ่งตอบโจทย์ความฝันในวัยเด็กอย่างเป็นสัดส่วนลงบนที่ดินผืนเดียวกันอย่างลงตัว
SCOPE Promsri เพื่อให้การสร้างสรรค์ความเป็นที่สุดครั้งใหม่ให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ของไทย นี่คือโครงการคอนโดมิเนียมที่กล้าลงทุนเลือกเฟอร์นิเจอร์สุดหรู และยังกล้าที่จะให้ลูกบ้านได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองได้ตามใจชอบ
ตีความฮันอกจากความเป็นบ้าน สู่ Cerulean Coffee Shop คาเฟ่รูปลักษณ์ทันสมัย เพื่อทำให้ที่นี่เป็นสถานที่เชื่อมโยงผู้คนกับสถาปัตยกรรม โดยใช้กาแฟเป็นตัวประสาน
คาเฟ่ของ Pont แบรนด์เครื่องคั่วกาแฟสัญชาติเกาหลี ที่ปรับปรุงจากบ้านไม้เก่าย่านยงซาน กรุงโซล ซึ่งพื้นที่เดิมของอาคารเคยเป็นสำนักงานการรถไฟ ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1940 อาคารทั้งสองด้านหันหน้าไปทางถนนแต่ละด้าน และมีประตูซึ่งดูเหมือนทางลัดไปยังพื้นที่ใกล้เคียง
โรงเรียนอนุบาลในเมืองนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่น ที่ HIBINOSEKKEI + Youji no Shiro ตั้งใจเปิดพื้นที่ให้เด็ก ๆ สัมผัสวิวธรรมชาติภายนอกจากภายในอาคารได้ตลอดวัน
บันทึกภาพ อาคารพัสดุยศเส - อาคารตึกบัญชาการ สำนักงานอายุร้อยปีของการรถไฟแห่งประเทศไทย ก่อนบางส่วนจะย้ายไปสู่ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ที่จะเปิดให้บริการปลายปีนี้
FENIX® วัสดุปิดผิวนวัตกรรมนำเข้าจากประเทศอิตาลีอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ว่ากันว่านี่คือวัสดุทางเลือกใหม่ที่จะมาสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับนักออกแบบในบ้านเรามากขึ้น