- Home
- room
room
UNTITLED.Thonglor บาร์ล้ำย่านทองหล่อบรรยากาศในโรงรับจำนำที่คนทุกคนต่างไร้ซึ่งชนชั้น
คอนเซ็ปต์ที่ตั้งใจเคลือบไว้ภายนอกบาร์สไตล์ Scifi Luxury แห่งนี้ Untitled.thonglor คือบาร์แห่งใหม่โดย“กันต์ ลีฬหะสุวรรณ” จากทีม “YOLO GROUP” ที่สร้างสรรค์มาแล้วทั้ง Teens of Thailand, Asia Today TAX และ Independence Cocktail Bar จึงรับประกันได้ถึงความเด็ด อย่างไม่ต้องสาธยายให้มากความ เพื่อสร้างบรรยากาศที่รับกับความเป็นทองหล่อ พื้นที่ที่มีความโดดเด่นในไลฟ์สไตล์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย การสร้างสัญลักษณ์ที่ทั้งโดดเด่น และกลมกลืนไปกับบริบทได้อย่างดี จึงทำให้ภาพภายนอกบาร์แห่งนี้จะมาในลุค AMERICAN PAWNSHOP จากยุค 1960s-1970s ที่ตั้งอยู่ติดๆ กัน มีการใส่ลูกเล่นกับป้ายร้านโดยเป็นฝีมือของดีไซเนอร์ไทยนามว่า “SKETCHEDBUK” (สุชาล ฉวีวรรณ) เป็นผูที่ทำ artwork ด้วยเทคนิค Glass Gilding และเพ้นต์มือทั้งหมด สร้างความย้อนแย้งว่าแท้จริงแล้วพื้นที่แห่งนี้คือบาร์ หรือโรงรับจำนำจริงๆ กันแน่? แต่เมื่อเดินเข้าสู่ภายใน รูปแบบพื้นที่จะแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง บรรยากาศล้ำยุคแต่คงร่วมสมัยไว้ด้วยวัสดุอย่างท่อทองแดง เบาะหนัง และกรอบรูปขนาดยักษ์ที่ให้อารมณ์แบบศิลปะจากยุค Renaissance ท่อทองแดงนั้น ทำหน้าที่ร้อยรัดทุกพื้นที่เข้าด้วยกันในคอนเซ็ปต์ […]
รีโนเวต ตึกแถวเก่าย่านสาทร ให้เปลี่ยนโฉมใหม่ทั้งภายในและภายนอก พร้อมดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้งานของ 3 ครอบครัวในตึกเดียว
DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: One and a Half architects บ้านหลังนี้เกิดขึ้นจากความต้องการหาบ้านหลังใหม่ให้กับลูกทั้งสองคนของเจ้าของบ้าน ซึ่งเริ่มจากการมองหาคอนโดมิเนียม แต่ด้วยราคาคอนโดมิเนียมกลางใจเมืองมีราคาที่สูงหลายสิบล้าน จึงกลับมาดูตึกแถวเดิมของครอบครัว อายุประมาณ 30 ปี ในย่านสาทร ซึ่งเหมาะสมทั้งทำเลและการเดินทางที่สะดวกสบาย ก่อนตัดสินใจเลือกที่จะรีโนเวตตึกแถวนี้ ให้เป็นบ้านใหม่ของครอบครัว โดยยังคงโครงสร้างอาคารเดิมไว้ แล้วปรับเปลี่ยนพื้นที่ภายในใหม่เพื่อให้เข้ากับความต้องการใช้งานของสมาชิกแต่ละคน #ขยายพื้นที่ใช้งานด้วยดับเบิ้ลสเปซในตึกแถว ความต้องการของเจ้าของบ้านที่บอกกับทีมสถาปนิกจาก One and a half Architects คือต้องการให้ลูกทั้งสองคนมีพื้นที่ของตัวเอง ต้องการคุณภาพการอยู่อาศัยเทียบเท่าคอนโดมิเนียมหรูกลางเมือง สถาปนิกจึงเริ่มต้นด้วยการสำรวจโครงสร้างอาคารเดิม ซึ่งพบว่ายังแข็งแรงใช้งานได้ดีอยู่ จากนั้นจึงออกแบบแก้ปัญหาพื้นที่เดิมแล้วจัดวางฟังก์ชันใหม่ โดยแบ่งกลุ่มภายในอาคารเป็น 3 ส่วนหลัก คือ พื้นที่ส่วนกลางที่ชั้น 1 พื้นที่ครอบครัวของลูกชายชั้น 2 และพื้นที่ครอบครัวของลูกสาวชั้น 3 จากของเดิมที่เคยมีเพดานเตี้ยได้แก้ปัญหาด้วยการตัดพื้นเดิมออก แล้วปรับให้แต่ละโซนมี ดับเบิ้ลสเปซเป็นของตัวเอง จัดการย้ายบันไดมาอยู่ในตำแหน่งใหม่ เพื่อขยายพื้นที่ใช้งานภายในให้กว้างขึ้น และออกแบบให้มีช่องแสงเหนือบันไดช่วยนำพาแสงสว่างเข้ามายังพื้นที่ภายในบ้านจึงดูโปร่งขึ้น #บ้านสามหลังในตึกเดียวสถาปนิกออกแบบฟาซาดอาคารให้มีรูปทรงเหมือนบ้าน 3 หลัง สะท้อนถึงการจัดสรรพื้นที่ภายในออกเป็น 3 ส่วน โดยใช้โครงสร้างเหล็กเจาะรูทำเป็นหน้าต่างเปิด-ปิดได้ ตัวฟาซาดทำหน้าที่กรองแสงแดด […]
ทาวน์โฮม สีขาวของช่างภาพผู้รักแสงธรรมชาติ
ทาวน์เฮาส์รีโนเวต ของช่างภาพสายสตรีท ADD Candid (instagram.com/addcandid) โดดเด่นด้วยสีขาวสะอาดตา การเล่นระดับ และการเปิดรับแสงธรรมชาติ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INCHAN Atelier หากภาพภาพหนึ่งแทนคำได้เป็นล้านคำ บ้านหลังหนึ่งก็คงจะแทนภาพชีวิตของผู้อาศัยได้ เช่นเดียวกับบ้านทาวน์เฮ้าส์รีโนเวตสีขาวของคุณแอ๊ด-พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์ และคุณเมจิ ทาดา ที่ผ่านการรีโนเวตมาแบบไม่ธรรมดา ด้วยแนวคิดที่อยากให้บ้านเป็นเหมือนภาพสะท้อนบอกเล่าตัวตนของเจ้าของบ้านได้อย่างชัดเจน คล้ายผืนผ้าใบที่รอการแต่งแต้มจากผู้เป็นเจ้าของ “บ้านหลังนี้เป็นบ้านมือสองที่นำมาปรับปรุงใหม่ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของคุณแอ๊ด ตอนแรกตั้งใจว่าจะทำเป็นพื้นที่ให้บริการด้านความงามของคุณเมจิ สตูดิโอถ่ายภาพของคุณแอ๊ด และเป็นบ้านพักอาศัยด้วย แต่สุดท้ายก็ปรับเปลี่ยนในหลาย ๆ จุด จนเหลือแค่สตูดิโอกับบ้าน เป็นบ้านที่ค่อนข้างเปิดรับแสงธรรมชาติ เพราะด้วยความที่คุณแอ๊ดเป็นช่างภาพ แสงธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเขา” คุณนนท์-อินทนนท์ จันทร์ทิพย์ แห่ง INchan atelier สถาปนิกผู้ออกแบบบ้านหลังนี้ เล่าให้เราฟัง “บริเวณชั้นสองออกแบบเป็นทั้งสตูดิโอ ถ่ายภาพและแกลเลอรี่แสดงภาพของคุณแอ๊ด โดยเฉพาะแกลเลอรี่เป็นพื้นที่ที่ทำให้บ้านหลังนี้ มีพลวัต (Dynamic) มากขึ้น เพราะคุณแอ๊ด ใช้เป็นทั้งพื้นที่แสดงงานและรับแขกไปในตัว มีการ สับเปลี่ยนหมุนเวียนภาพถ่ายในแต่ละเดือน ด้านใน เป็นห้องทำงานของคุณแอ๊ด โดยออกแบบให้อิง กับสไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์ตามที่เขาตั้งใจด้วย ข้าวของจำพวกกล้องฟิล์ม อุปกรณ์ล้างอัด […]
room x Living Asean Design Talk 2023 URBAN FUSION / RURAL FLOURISH: Interweaving Urban and Rural Design งานเสวนาทางสถาปัตยกรรมที่ว่าด้วยการถักทอและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เมืองและชนบท
จบลงไปแล้วสำหรับกิจกรรม room x Living Asean Design Talk 2023 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2566 ในธีม URBAN FUSION / RURAL FLOURISH: Interweaving Urban and Rural Design งานเสวนาทางสถาปัตยกรรมที่ว่าด้วยการถักทอและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เมืองและชนบท กิจกรรมหนึ่งในงานบ้านและสวนแฟร์ Midyear ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร และนี่คือเนื้อหาที่เกิดขึ้นภายในงาน รวมทั้งภาพบรรยากาศที่หลายคนน่าจะอยากเห็นกัน งานนี้ได้ 4 สถาปนิกจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ม.ล. วรุตม์ วรวรรณ จาก Vin Varavarn Architects Ltd. กรุงเทพฯ คุณศุภวุฒิ บุญมหาธนากร จาก JaiBaanStudio เชียงใหม่ สองตัวแทนจากประเทศไทย นอกจากนั้นก็ยังมี Shunri […]
สถาปัตยกรรม ไม้ไผ่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากขุนเขา และผืนน้ำ
Bamboo Light เป็นภัตตาคารแพลอยน้ำแบบที่หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นชินกับคำว่า สวนอาหาร แต่ด้วยการออกแบบของ ธ.ไก่ชน ผู้ชำนาญในด้านการใช้ ไม้ไผ่ จึงทำให้แพไม้ไผ่แห่งนี้มีความพิเศษไม่เหมือนใคร DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: ธ.ไก่ชน THAI Bamboo Architecture “ภูเขา และผืนน้ำ” เป็นนิยามของรูปลักษณ์ และรูปทรงที่เกิดขึ้นของโครงสร้าง ไม้ไผ่ในครั้งนี้ การออกแบบตั้งใจสร้างภาพเงาสะท้อนบนผืนน้ำ สอดคล้องไปกับภาพจำของภูเขาที่เรียงรายผ่านการออกแบบโครงสร้างหลังคาทำให้แพไม้ไผ่แห่งนี้มีภาพจำที่แตกต่างไปจากแพไม้ไผ่ในที่อื่น ๆ ปลายยอดแหลมที่เหมือนกับยอดเขา เปิดช่อง Sky Light เพื่อรับแสงธรรมชาติสู่พื้นที่ใช้งาน และยังช่วยขับเน้นความงามของโครงสร้างเหล็ก และไม้ไผ่ ที่ทำงานรับล้อกันไปตลอดทั้งโครงการ เสากลมขนาดเล็กที่ตั้งใจออกแบบบนผังแบบฟรีฟอร์มนั้น ทำให้เส้นสายที่เกิดขึ้นรับกันได้ดีกับแนวชายคาที่มีความโค้งพลิ้ว บรรจบกับบรรยากาศของวงกระเพื่อมบนผืนน้ำอย่างลงตัว และไม่กวนสายตา โครงสร้างเหล็กทาสีขาว และไม้ไผ่ที่ทำสีธรรมชาติ รวมทั้งหลังคาไม้ไผ่ที่ปล่อยเปลือย เป็นความตั้งใจเพื่อให้มองเห็นความงามของวัสดุที่สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา และในส่วนของที่นั่งได้มีการจัดวางโค้งรับไปกับแนวชายคาด้วยเช่นกัน การออกแบบคำนึงถึงคุณลักษณะของไม้ไผ่ในช่วงองศาของการดัดโค้ง เพื่อให้การทำงานร่วมกับวิศวกรเป็นไปได้โดยสะดวก และมีการคำนวณยื่นขออนุญาตก่อสร้างอย่างถูกต้องอีกด้วย นอกจากนี้ โครงสร้างไม้ไผ่ในโครงการ ยังมีการเลือกใช้โครงสร้างเหล็กเข้ามาช่วยในการจบงานระบบปรับอากาศ และปิดช่องว่างเพื่อกันแมลง และนี่คืออีกหนึ่งโครงการที่ท้าทายการใช้วัสดุพื้นถิ่นในรูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างลงตัว และน่าสนใจเป็นอย่างมาก ที่ตั้งBamboo Light […]
รวม 5 ไอเดีย มุมธรรมชาติ ของบ้านกลางเมืองใหญ่
เมื่อกล่าวถึงการอยู่อาศัย ธรรมชาติและความร่มรื่นนั้นนับว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่ในเมืองใหญ่นั้น พื้นที่จัดสวน หรือปลูกต้นไม้ก็ไม่ได้หาได้ง่ายนัก นี่คือ 5 ตัวอย่างอันน่าสนใจของการพาพื้นที่สีเขียวเข้าสู่ชีวิต จากบ้านที่ room ได้ไปประสบความร่มรื่นมาด้วยตัวเอง! บ้านล้อมต้นไม้ที่มีเรื่องราวในทุกจังหวะก้าวเดิน อ่าน: https://www.baanlaesuan.com/302008/design/living/calmness-inchan#สวนกระถางสอดรับกับสวนกลางบ้าน ส่วนที่น่าสนใจคือการที่บ้านหลังนี้ไม่เพียงออกแบบให้มีคอร์ตกลางที่เปี่ยมไปด้วยบรรยากาศธรรมชาติเท่านั้น แต่การเลือกเติมสวนกระถางเข้ามาในจุดที่เหมาะสม ก็ยังเป็นการสร้างความร่มรื่น และเชื่อมโยงบรรยากาศธรรมชาติเข้าไปสู่ทุกพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย การจัดสวนกระถางนั้น เป็นอีกวิธีการที่เรียบง่ายแต่ได้ผล เหมาะสำหรับบ้านในเมืองใหญ่ที่มักเป็นดาดแข็ง และมีพื้นที่ให้จัดการอย่างจำกัดเป็นอย่างมาก บ้านคอนกรีตเปลือย ที่สร้างจังหวะสอดประสานองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมให้รับกับบรรยากาศกึ่งเอาต์ดอร์อย่างลงตัว อ่าน: https://www.baanlaesuan.com/299430/design/living/dkwa-home-office #บ้านคอนกรีตเปลือยผสานความดิบ และธรรมชาติอย่างพอดี สอดแทรกธรรมชาติลงไปตามมุมบ้างที่เปิดออกสู่ภายนอก การผสมสวน และตัวอาคารให้ลงตัวในพื้นที่ไม่มาก แต่รับกันดีทั้งบรรยากาศ และวัสดุ มีการคำนึงถึงพฤติกรรมการใช้งาน เช่นการเดินผ่าน หรือ นั่งชม ควบคู่กับไปลักษณะพรรณ์ไม้ที่ลงตัว บ้านหลังนี้มีส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างสัจจะวัสดุ ความดิบ และความเนี๊ยบ ที่จัดวางองค์ประกอบร่วมกันเอาไว้อย่างน่าสนใจ ส่วนที่เป็นพื้นที่ใช้งานนั้นจะเป็นผนังฉาบเรียบขาว และไม้สีอ่อนที่ดูเรียบร้อย น่าสัมผัส แต่ในมุมที่ใกล้กับธรรมชาติหรือพื้นที่ภายนอกนั้น จะเริ่มใช้องค์ประกอบที่ปล่อยเปลือยผิววัสดุ หยาบกร้าน แต่งดงาม คล้ายเป็นการสร้างบทสนทนาที่เชื่อมโยงความเป็นสถาปัตยกรรมให้ค่อยๆเปลี่ยนไปสู่วัสดุตามธรรมชาติที่มีเสน่ห์ในร่องรอย และกาลเวลา อยู่กับศิลป์ ในสตูดิโอกึ่งที่พักรีโนเวตจากทาวน์โฮม อ่าน: https://www.baanlaesuan.com/256029/design/living/bkktokyo-nutdaohouse […]
บ้านล้อมต้นไม้ที่มีเรื่องราวในทุกจังหวะก้าวเดิน
ความสงบคือประเด็นสำคัญของบ้านหลังนี้ เมื่อสงบลงได้ ทุกอย่างจะสามารถดำเนินไปได้อย่างมั่นคง และนี่คือบ้านที่เกิดขึ้นด้วยความพยายามสานองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างให้เกิดบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการดำเนินไปของครอบครัวแม้จะอยู่ท่ามกลางเมืองใหญ่อันวุ่นวายอย่างย่านบางนาในกรุงเทพมหานคร DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INchan Atelier เพราะเป็นบ้านที่อยู่ในพื้นที่ใจกลางเมือง ประกอบกับการก้าวสู่ช่วงเวลาของการมีลูกของครอบครัวเจ้าของบ้าน การทำบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่จึงเป็นคำตอบที่ทำให้เกิดเป็นบ้านหลังนี้ขึ้นมา บรรยากาศที่คำว่า “ครอบครัว” จะดำเนินไปในอนาคตอันใกล้ รวมถึงในระยะยาว จึงก่อรูปเป็นคำว่า “สงบ” ขึ้นมา.ความสงบในที่นี้ มิใช่เพียงความสงบในความเป็นบ้าน แต่ยังรวมถึงในแง่ของจิตใจ ความรู้สึกร่วมของการได้มีพื้นที่ของกันและกัน การได้ใช้เวลาอยู่ใน Space ที่บรรจงเรียงร้อยเอาเรื่องราว และความงามเข้าด้วยกันอย่างลงตัว บ้านล้อมคอร์ต สร้างความเป็นส่วนตัวจากภายใน และเชื่อมโยงกับโลกใบนี้การออกแบบให้บ้านเป็นบ้านล้อมคอร์ตนั้น ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างความเป็นส่วนตัวที่จับต้องได้ให้เกิดขึ้น แต่ยังรวมไปถึงการร้อยเรื่องราว และกิจกรรมของทุกคนในบ้านให้รับรู้ซึ่งกันและกันได้อีกด้วย .พื้นที่ว่าง ซึ่งก็คือ สวน ที่อยู่กึ่งกลางของบ้านนั้น ช่วยเป็นเหมือนฉากหน้าให้กับเรื่องราวภายในบ้าน เป็นส่วนเชื่อมโยงทุกอย่าง ทั้งยังนำพาบรรยากาศเชื่อมโยงไปสู่ภายนอกผ่านช่องเปิดที่เห็นท้องฟ้าได้ สวน และแมกไม้นั้น มีการเติบโตต่างจากอาคาร เวลาที่ดำเนินไปจะทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกถึงความผูกพันที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนี่ก็อาจเป็นอีกฟังก์ชันหนึ่งที่สวนกลางบ้านอันมีต้นไม้ใหญอย่างต้นแจงต้นนี้จะให้ได้ โดยเฉพาะบ้านที่ต้องการสร้างช่วงเวลาที่ลูกจะได้เติบโตไปพร้อมกับบ้านอย่างบ้านหลังนี้ บ้านของคนรักการอ่าน (หนังสือ) ธรรมชาติ และความงามการที่บ้านล้อมคอร์ตนั้น หมายถึงการที่มีทางสัญจร หรือระเบียงทางเดินอยู่ในเกือบทุกส่วนของบ้าน ผู้ออกแบบจึงได้ใช้พื้นที่เหล่านี้ ตอบสนองความต้องการของเจ้าของบ้านนั่นก็คือใช้เป็นพื้นที่เก็บหนังสือ ของสะสมที่มีเรื่องราว และผลงานศิลปะไปพร้อมกัน ด้วยโจทย์ที่มาจากความเป็นคนรักการอ่าน […]
บ้านมินิมัล ในบรรยากาศแสงสลัว ที่มีพื้นที่ร่วมให้ครอบครัว
DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studio Path บ้านขนาดสองชั้นสำหรับสมาชิกครอบครัว 3 คน พ่อ แม่ ลูกที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สมุทรปราการหลังนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่รายล้อมไปด้วยบ้าน และอาคารอื่น ๆ โดยรอบ จึงทำให้การออกแบบจำเป็นที่จะต้องสร้างให้เกิดความเป็นส่วนตัว ในขณะที่ต้องเปิดรับบริบท แสง และลมให้เข้าสู่ตัวบ้านได้สะดวกด้วยเช่นกัน บ่อยครั้งที่ความโปร่ง โล่ง มักมาพร้อมกับแสงที่สว่างสดใส แต่แสงที่เจิดจ้าเกินไปก็อาจทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ยาก โดยเฉพาะกับประเทศไทย ประเทศที่แดดช่างร้อนแรง สภาวะน่าสบายของบ้านหลังนี้ จึงเป็นการเปิดรับแสงธรรมชาติแต่พอดี ในเงาสลัวที่อบอุ่น และผ่อนคลาย ผสานพื้นที่พิเศษของครอบครัว การออกแบบฟาซาดทางทิศเหนือที่สูงจากพื้นจรดเพดานชั้นสองในพื้นที่แบบ Double Volume นั้น จึงทำหน้าที่ช่วยเปิดให้แสงธรรมชาติและลมให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ภายในได้สะดวก อีกทั้งระแนงไม้ที่ยึดติดไว้กับบานเปิดที่มีบานกระจกนั้น ยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดรับลมธรรมชาติ หรือใช้การปรับอากาศ แต่ระแนงไม้เหล่านี้ ก็ยังช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว และกรองแสงภายนอกให้พอดีกับบรรยากาศผ่อนคลายภายในไปพร้อมกัน พื้นที่ภายในออกแบบให้เป็นโถงสูงแบบ Double Volume ที่รวมพื้นที่ส่วนกลางเพื่อให้สมาชิกครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทั้งยังเป็นการปรับใช้พื้นที่ของบ้านที่ไม่มากนักให้เกิดเป็นพื้นที่ซ้อนทับที่ลงตัวระหว่างห้องนั่งเล่น ส่วนรับประทานอาหาร และพื้นที่ห้องครัว เช่นเดียวกับพื้นที่ส่วนตัวที่ชั้นบนก็ยังสามารถเปิดเชื่อมถึงกันเป็นพื้นที่เดียวได้อีกด้วย การเลือกใช้วัสดุหลักอย่าง ไม้ และองค์ประกอบสีขาว ตัดกับคอนกรีตเปลือยผิวที่โครงสร้างบันได ยังช่วยให้แสงธรรมชาติที่เข้ามาสู่ภายในดูสว่างไสวโปร่งสบายตา นอกจากนี้พื้นผิวของวัสดุไม้ และคอนกรีตเปลือยยังสร้างความรู้สึกที่เชื่อมโยงสู่ธรรมชาติ รับกันดีกับแสงและเงาที่ส่องผ่านเข้ามาจากภายนอก […]
TAMNI HOSTEL เมื่อตำหนิ คือ เสน่ห์
“ตำหนิ” คือร่องรอยอันเป็นสิ่งยืนยันการข้ามผ่านกาลเวลาของสิ่งหนึ่งๆ เป็นร่องรอยที่สร้างเอกลักษณ์อันแตกต่างให้กับสิ่งๆนั้น เพราะฉะนั้น “Tamni Hostel” จึงเหมือนเป็นภาพแทนของร่องรอยสิ่งที่เป็นชุมชนในพื้นที่ซอยพระยาสิงหเสนีแห่งนี้นั่นเอง เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ดินของเจ้าของโรงแรม Tamni Hostel ในปัจจุบัน แต่หากย้อนกลับไป 30-50 ปีที่แล้ว การแบ่งพื้นที่เพื่อปล่อยเช่าคือคำตอบของธุรกิจในตอนนั้น จนกระทั่งผ่านกาลเวลา และพื้นที่ในซอยพระยาสิงหเสนี ได้ตกมาถึงคุณ ธัญ สิงหเสนี เจ้าของโรงแรมแห่งนี้ การนำพาพื้นที่แห่งนี้ให้ไปสู่ยุคสมัยถัดไปจึงเป็นเหมือนโจทย์สำคัญที่ทำให้ Tamni Hostel เกิดขึ้น การออกแบบ Tamni Hostel นั้น มีขึ้นเพื่อสร้างให้ชุมชนได้กลับมาคึกคักดังเช่นวันวานมากกว่าจะเป็นในแง่ของธุรกิจ เพราะเมื่อลักษณะของชุมชนที่ทำธุรกิจโรงกลึงขนาดเล็ก และค้าเหล็กเป็นสำคัญ เริ่มที่จะตามยุคสมัยไม่ทัน การเพิ่มความเป็นไปได้ใหม่ๆจึงเป็นเหมือนทางออกหนึ่งที่จะสร้างให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง Hostel, Cafe และพื้นที่สำนักงานผสมกับ AirBnb เป็นเหมือนกับห้องรับแขกของชุมชนที่ทำให้คนจากพื้นที่ต่างๆเดินทางเข้ามามากขึ้น เมื่อพื้นที่แห่งนี้กลับมาเป็น Destination ที่น่าสนใจ การต่อยอดไปในอนาคตก็คงไม่ไกลเกินจะเกิดขึ้นได้จริง ในส่วนของงานออกแบบนั้น อาคารทั้งหมดได้ถูกออกแบบจากโครงสร้างเดิมของ “หมู่ตึกแถว” ในซอยพระยาสิงหเสนี แห่งนี้ ผสานกับการเลือกใช้องค์ประกอบอาคารเดิมมาผสมผสานในการใช้งานใหม่ ซึ่งคอนเซปต์ในคำว่า “ตำหนิ” นั้นยังคงมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะการปรับใช้องค์ประกอบอาคารเดิมในรูปแบบใหม่นั้น เปรียบเสมือนชุมชนที่ต้องมีการปรับตัวไปตามยุคสมัย และมากกว่านั้น […]
ความรื่นรมย์ในบ้านตึกกลางเมืองที่ออกแบบไว้อย่างแยบยล
บ้านหลังนี้เป็นบ้านในที่ดินหน้าแคบเพียง 8 เมตร ตั้งอยู่ในย่านสาทรลึกเข้าไปในพื้นที่ที่ค่อนข้างเงียบสงบ แต่ด้วยลักษณะที่ดิน และความต้องการพื้นที่ใช้สอย การออกแบบให้บ้านหลังนี้มีลักษณะแบบตึกสูง 4 ชั้น จึงเป็นคำตอบ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INchan Atelier ด้วยฝีมือการออกแบบของ INchan Atelier บ้านหลังนี้ จึงไม่ใช่เพียงบ้านตึกหน้าแคบธรรมดา แต่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยสุนทรียะ และความรื่นรมย์ ผ่านการผสานธรรมชาติ และการสร้างองค์ประกอบของความเป็นบ้านให้สอดประสานไปในทุกพื้นที่อย่างลงตัว บ้านที่หายใจได้ เพราะการออกแบบบ้านที่มีลักษณะแคบลึกยาวเข้าไปถึงด้านในของที่ดินนั้น มักประสบกับการที่ลักษณะของผังการใช้งานจะมีช่องเปิดที่ด้านหน้า และด้านหลัง แต่สำหรับบ้านหลังนี้นั้น มีการคิดคำนึงถึงการสร้างช่องเปิดที่สอดคล้องไปกับการใช้งาน จากชั้นล่างที่เป็นส่วนต้อนรับ และพื้นที่ส่วนกลางของตัวบ้าน ผู้ออกแบบได้เลือกใช้พื้นที่หลังบ้านเป็นโต๊ะกลางที่สามารถใช้รับแขก และเป็นพื้นที่รับประทานอาหารได้ พื้นที่ส่วนนี้มีการเปิดพื้นที่โดยรอบเป็นสวนขนาดเล็กที่ริมบ้าน ได้ทั้งความสงบ และความร่มรื่น ประกอบกับการออกแบบพื้นที่ให้มีลักษณะเป็น Double Volume จึงทำให้พื้นที่ชั้นล่าง และชั้นลอยที่เป็นพื้นที่นั่งเล่นของบ้านหลังนี้มีความเชื่อมโยง และยังคงไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ต่อกัน คำว่า “หายใจได้” นั้น ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่การเปิดรับลมธรรมชาติเพียงเท่านั้น แต่จังหวะของมวลที่ว่าง ภายในบ้านจะช่วยลดความอึดอัดของการเป็นบ้านแบบอาคารหลายชั้นลง สร้างความรู้สึกสบายอย่างที่บ้านควรจะเป็นได้มากขึ้น นอกจากนี้ในชั้น 3 และ 4 ของบ้านหลังนี้ ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวอย่างห้องนอนนั้น […]
บ้านคอนกรีตเปลือย ที่สร้างจังหวะสอดประสานองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมให้รับกับบรรยากาศกึ่งเอาต์ดอร์อย่างลงตัว
DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: D KWA Architect บ้านคอนกรีตเปลือย หลังนี้ เป็น โฮม+ออฟฟิศ นั่นคือการมีพื้นที่สำนักงานอยู่ด้านหน้าบ้าน และตัวบ้านจริงจะซ่อนตัวอยู่หลังสำนักงานนั้นอีกที จึงทำให้บ้านหลังนี้มีบรรยากาศที่เงียบสงบ และมีความเป็นส่วนตัวที่สอดประสานกับองค์ประกอบกึ่งเอาต์ดอร์ภายในบริเวณบ้านได้อย่างน่าสนใจ #สำนักงานหน้าบ้านสะดวกธุรกิจสบายใจความเป็นส่วนตัวพื้นที่ด้านหน้าถูกออกแบบให้เป็นอาคารโกดัง และพื้นที่สำนักงานสำหรับผู้ที่มาติดต่อธุรกิจโดยเฉพาะ ซึ่งข้อดีของการวางตัวอาคารเช่นนี้คือความสะดวกในการเข้าถึง และสำนักงานนี้ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนพื้นที่ Buffer ที่จะช่วยซ่อนความเป็นส่วนตัวของตัวบ้านเอาไว้ที่ด้านหลังอีกด้วย ซึ่งผลพลอยได้จึงทำให้การออกแบบพื้นที่ต่างๆภายในบ้าน สามารถมีพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ที่โปร่ง โล่ง ได้มากขึ้นนั่นเอง #บ้านคอนกรีตเปลือยผสานความโมเดิร์นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างสัจจะวัสดุ ความดิบ และความเนี๊ยบ ที่จัดวางองค์ประกอบร่วมกันเอาไว้อย่างน่าสนใจ ส่วนที่เป็นพื้นที่ใช้งานนั้นจะเป็นผนังฉาบเรียบขาว และไม้สีอ่อนที่ดูเรียบร้อย น่าสัมผัส แต่ในมุมที่ใกล้กับธรรมชาติหรือพื้นที่ภายนอกนั้น จะเริ่มใช้องค์ประกอบที่ปล่อยเปลือยผิววัสดุ หยาบกร้าน แต่งดงาม คล้ายเป็นการสร้างบทสนทนาที่เชื่อมโยงความเป็นสถาปัตยกรรมให้ค่อยๆเปลี่ยนไปสู่วัสดุตามธรรมชาติที่มีเสน่ห์ในร่องรอย และกาลเวลา #การเชื่อมโยงพื้นที่ด้วยระนาบ และมุมมองจากโถงทางเข้านั้น เราจะรู้สึกถึงการเป็นห้องระนาบที่วางตัวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ก่อนจะมีการเปลี่ยนถ่ายระดับที่ส่วนทานอาหาร ในส่วนนี้ ระนาบของห้องนั่งเล่นที่วางตัวขวางกับแกนทางเข้าจะทำหน้าที่เชื่อมโยงเข้ามาเป็นอีกพื้นที่ที่มีมวลพื้นที่สร้างให้เกิดความรู้สึกที่หยุดนิ่ง เพดาน Double Volumn ในห้องนั่งเล่นนั้น ทำงานร่วมกับระนาบของทางเข้าที่แตกต่างกันทั้งวัสดุ และ Volume ของพื้นที่ได้อย่างดี เมื่อเราเดินเข้ามาถึงพื้นที่ภายใน ความรู้สึกของการ “พักผ่อน” จะเป็นสิ่งแรกที่เรานึกถึง แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเราเอนตัวลงนั่งบนโซฟา ชายคา และระนาบแนวนอนที่ต่อเนื่องไปทั้งอาคารจะสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงออกไปสู่สระว่ายน้ำ […]
Wongar บาร์ลับ บนชั้น 8 ย่านอารีย์ ที่ใส่ใจในบรรยากาศเป็นกันเอง ด้วยวิวเมือง และงานศิลปะ
งานออกแบบในพื้นที่แห่งนี้ เลือกใช้วัสดุที่คุ้นชินอย่างคอนกรีตเปลือย และสังกะสี เป็นเหมือนแบ็คกราวน์ของพื้นที่ มีการเลือกใช้หินสีเขียวในส่วนบาร์เพื่อสร้างความแตกต่าง และเน้นความสำคัญให้กับพื้นที่ จากนั้นส่วนที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่มากที่สุดกลับเป็นกล่องแสงเหนือบาร์ที่สามารถเปลี่ยนสีเพื่อย้อมบรรยากาศให้กับพื้นที่ได้ในโอกาสต่าง ๆ กัน เข้ากับความตั้งใจที่จะทำให้บาร์แห่งนี้เป็นมากกว่าแค่พื้นที่รับประทานอาหาร แต่คือความเป็นไปได้ในการสร้างพื้นที่สังคมของคนที่ชอบศิลปะ และได้พบปะกับคนที่น่าสนใจในแนวทางเดียวกัน ด้วยเพราะเหล่าหุ้นส่วนของร้านก็เป็นนักออกแบบกราฟิกที่ตั้งออฟฟิศอยู่ติดกับร้านแห่งนี้นั่นเอง การเลือกใช้วัสดุที่คุ้นชินนั้น เป็นการเชื่อมโยงบรรยากาศเป็นกันเองของความเป็น “ร้านอาหารแบบไทยสตรีทฟู้ด” สู่ “บาร์ลับลอยฟ้าสไตล์ญี่ปุ่น” ให้เข้ากันอย่างแนบเนียน ข้อดีของวัสดุเหล่านี้คือช่วยให้แขกที่มาใช้บริการไม่รู้สึกเกร็ง ผ่อนคลาย และเป็นกันเอง ในขณะที่รายละเอียดของวัสดุอย่าง อิฐดินเผา บาร์หินจริง และการใช้วัสดุไม้ Plywood ก็เสริมรายละเอียดในบรรยากาศละเมียดแบบญี่ปุ่นเอาไว้ได้อย่างดี และนี่คือบาร์ที่ตั้งใจเป็นแหล่งรวมตัวหลังเลิกงาน ทั้งมานั่งทานอาหารเย็น หรือจะต่อยาวไปตลอดค่ำคืนกับ Vibe อันน่าสนใจของพื้นที่แห่งนี้ก็เข้าที ที่ตั้งWongarชั้น 8 โครงการ The Hub พหล-อารีย์พิกัด https://goo.gl/maps/Ldi1dM7uyUj5QjiZA?coh=178571&entry=ttเปิดวันอังคาร-พฤหัสบดี 17.00-23.00 น. และวันศุกร์-อาทิตย์ 17.00-24.00 น.โทร.08-4096-5551 ออกแบบ: space+craftภาพ: Thanapol Jongsiripipatเรียบเรียง: Wuthikorn Sut